Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Title
Now showing 1 - 20 of 99
Results Per Page
Sort Options
Item กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมด้านการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สำหรับนักศึกษารายวิชาเทคโนโลยีข้าว(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) อานง ใจแน่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมการสาธิตในการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียน (2) เพื่อศึกษาผลการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนที่ได้จากการจัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ คณะโรงเรียนการเรือน ศูนย์การศึกษาลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีข้าว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบสังเกตสังเกตการทำกิจกรรมและ (2) แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมสาธิตการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนตามกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรูแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมการสาธิตใน การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ ตามที่ผู้สอนสาธิต ทั้งในด้านการเตรียมวัตถุดิบ การปรุงประกอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติให้ได้เมนูขนมที่ถูกต้องบรรลุตามเป้าหมายการเรียนรู้ และผลการศึกษาความพึงพอใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนที่ได้จากการจัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (คาเฉลี่ยเทากับ 4.62)Item กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; จิรัฐ ชวนชม; อัมพร ศรีประเสริฐสุข; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; พรเพ็ญ ไตรพงษการวิจัยนี้มุ่งศึกษา ดังนี้ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการบริการกับระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ได้แก่ ผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลรวมความคาดหวังในการบริการที่มีต่อแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ 80.71 จากคะแนนเต็ม 7) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยว ประเมินความพร้อมในการบริการที่ได้รับจากที่อื่นสูงกว่าสิ่งที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการบริการที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านความสุภาพ อย่างคงเส้นคงวาไม่พบความแตกต่าง ผลการศึกษาระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการ และวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมากเกิน 5.60 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 7) ยกเว้นคุณภาพการบริการด้านการเห็นอกเห็นใจ (ค่าเฉลี่ย = 5.56) และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (ค่าเฉลี่ย = 5.41) 2) ผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีการพัฒนาคุณภาพบริการแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 4.03) ซึ่งเป็นเพียงด้านเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยเกิน 4.00 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนในด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ 3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการ (2) ปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพ การบริการในด้านต่าง ๆ (3) พัฒนาวิทยากร/นักสื่อความหมายให้มีคุณภาพ และ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้คุณภาพการบริการItem กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) จิรัฐ ชวนชม; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พรเพ็ญ ไตรพงษ์; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ขจีนุช เชาวนปรีชา; นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศินงานวิจัย เรื่อง กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี วัตถุประสงค์ของ การวิจัยเพื่อศึกษาความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว ความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยี ความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยว ความเข้มแข็งของชุมชน การประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยว การประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวและสร้างกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการแบบเจาะจง รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยมีดังนี้ ความคาดหวังในการรับบริการต่อนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.19, S.D. = .69) ส่วนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.36, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.14, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.34, S.D. = .74) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความเข้มแข็งของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .72) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.35, S.D. = .73) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.43, S.D. = .75) การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.02, S.D. = .50) สำหรับกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อ เพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการดำเนินการเกษตรแบบครัวเรือนในการพึ่งพาตนเองและการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อการพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ในการนำความรู้มาช่วยเหลือเกษตรในพื้นที่ในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ ขั้นตอนที่ 3 การยกระดับเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม นำแนวคิดทางการบริหารมาปรับใช้ในการเกษตร ประกอบการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมการผลิตItem กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ศุภศิริ บุญประเวศ; กาญจนา ผิวงาม; สุภัค เนตรบุษราคำการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง อาจารย์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยการบังเอิญ (Accidental Sampling) 2) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ด้านการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการบริหารการศึกษาจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 3) สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ จำนวน 7 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 5 แห่ง โดยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 4) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการรับรองรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การคำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI) การหาค่าความเที่ยง การหาค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) จากการศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ 10 แห่ง และต่างประเทศ 10 แห่ง โดยศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง 5 ประเภท พบว่า 1) รูปแบบการนำเสนอ ใช้ข้อความหรือตัวอักษรที่มีขนาดสั้นและใช้แฮชแท็ก (#) ในทุกข้อความ มีการใช้ภาพนิ่งหรือคลิปวิดีโอขนาดสั้นตามลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท 2) ความถี่ในการสื่อสาร มีการนำเสนอเนื้อหา 1-3 โพสต์ต่อวัน โดยมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน 3) ประเภทของเนื้อหา ได้แก่ 3.1) การสร้างและการประกาศตัวตน 3.2) การนำเสนอเนื้อหาหรือข่าวสารที่น่าสนใจ 3.3) การเผยแพร่กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ 4) ลักษณะการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารทางเดียว 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ลักษณะสำคัญของกลยุทธ์มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ช่องทางการเข้าถึง 2) รูปแบบการนำเสนอ 3) ความถี่ในการสื่อสาร 4) เนื้อหา และ 5) ลักษณะการสื่อสารItem กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา : รายงานกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ศุภศิริ บุญประเวศ; กาญจนา ผิวงาม; สุภัค เนตรบุษราคำการจัดกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเผยแพร่กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวิธีการดำเนินงานคือ 1. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยมุ่งเน้นที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ การรับสมัครนักศึกษา หรือผู้ที่ดูแลช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางซูม (Zoom) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. สรุปผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยในครั้งนี้ ปรากฏผลดังนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยทั้งหมด 332 คน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 80.72 จากผลการดำเนินงานนำมาสู่การสรุปผลรายด้าน ดังนี้ 1. ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61) 2. ด้านความรู้ความเข้าใจหลังการเข้าร่วมกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 4.46) สูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.49) 3. ด้านภาพรวมความพึงพอใจต่อการเข้าอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.63 คิดเป็นร้อยละ 92.67 เมื่อพิจารณาจำแนกรายประเด็นพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพีงพอใจในระดับพอใจมากที่สุดทุกประเด็น โดยประเด็นที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.60 รองลงมาคือ ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ค่าเฉลี่ย 4.65 คิดเป็นร้อยละ 93.00 ประเด็น ความเหมาะสมของระยะเวลาในการอบรม และประเด็นการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม ได้รับความสะดวก มีคะแนนความพึงพอใจเท่ากัน ค่าเฉลี่ย 4.64 คิดเป็นร้อยละ 92.80 ความพร้อมและความเหมาะสมของการจัดอบรม ค่าเฉลี่ย 4.61 คิดเป็นร้อยละ 92.20 และได้รับความรู้ ความเข้าใจ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60 ตามลำดับItem การจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนที่เหมาะสมร่วมกับการจัดช่วงคลื่นแสงต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลผลิตพืชโรงเรือนในพื้นที่ภาคกลางในภาวะภัยแล้ง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สุรชาติ สินวรณ์; ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; ทิพาวรรณ วรรณขัณฑ์; วราภรณ์ เศรษฐพฤกษาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมกับการเติบโต และผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 2. วิเคราะห์ต้นทุน-รายได้ของการใช้เทคโนโลยีคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 3. เพื่อส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนโดยใช้คลื่นแสง เสริมที่เหมาะสมไปยังวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่เป้าหมาย และ 4. ลดปริมาณการใช้น้ำในโรงเรือน ลงไปร้อยละ 20 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในส่วนที่ 1 คือ การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยดในโรงเรือนออกแบบการทดลองแบบ CRD จำนวน 8 ตำรับการทดลอง เพื่อทดสอบผลต่อคุณภาพน้ำอันได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิของน้ำ ค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลาย (BOD) ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) ค่าฟอสฟอรัส ค่าการน้ำ ไฟฟ้า ค่าไนเตรท และค่าไนไตร์ทในน้ำตัวอย่าง ทำการทดสอบ 3 ซ้ำ ส่วนที่ 2 การพัฒนาแสงเสริมในการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน โดยออกแบบการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ; RCBD Split Plot โดยแบ่ง Main Plot เป็นชนิดของการให้แสง และ Subplot เป็นแบบความเข้มแสงที่ระดับ 150 และ 200 mmol-1s-2 โดยแต่ละแถว Main Plot ได้แก่ A B C D และควบคุม จะมีการปลูกมะเขือเทศจำนวนแถวละ 40 ต้น โดยแบ่งเป็นความเข้มแสงที่ระดับ 150 mmol-1s-2 จำนวน 20 ต้น และ 200 mmol-1s-2 และจำนวน 20 ต้น ส่วนแถวควบคุมจะมี 40 ต้น โดยให้แสงเสริมในช่วง 18.00 -22.00 น. ทุกวัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนการเติบโตและผลผลิต ต้นทุน-รายได้ และร้อยละของการประหยัดน้ำในการปลูกเปรียบเทียบกับผลผลิต โดยเครื่องมือที่อุปกรณ์ในการศึกษาในการวิเคราะห์โครงสร้างและคุณลักษณะของสารปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการวิเคราะห์คลื่นและความเข้มแสงเสริม รวมถึงการวัดขนาดน้ำหนัก และคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ ในส่วนที่ 1 การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยด พบว่า สารที่พัฒนาขึ้นในทุกตำรับการทดลองสามารถบำบัดคุณภาพน้ำได้ดี โดยในส่วนตำรับ การทดลองที่ 4 (ซีโอไลต์ชนิดผง 1 กรัม + ไทเทเนียม 0.01 กรัม + ไคโตซานผง 0.03 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) สามารถทำให้ค่าเฉลี่ยต่ำ ได้แก่ BOD เท่ากับ 3.37 mg/l ค่าฟอสฟอรัส เท่ากับ 0.001 mg/l และค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 1,224.33 ms/cm ขณะที่ตำรับการทดลองที่ 7 ให้ค่าเฉลี่ย DO เฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 8.4 mg/l และให้ค่าไนไตร์ทเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 0.0029 ml/g ค่าไนเตรทเท่ากับ 0.66 mg/g ส่วนตำรับการทดลองที่ 8 ให้ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกรดที่สุดอยู่ระหว่าง 7.28 และอุณหภูมิ ในน้ำให้ค่าใกล้เคียงกันในทุกตำรับการทดลอง ส่วนที่ 2 ในการพัฒนาคลื่นแสงเสริมต่อมะเขือเทศในโรงเรือนแบบกึ่งปิด (ปิดในช่วง 11.00-14.00 น.) ที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้คลื่นแสงเสริมระหว่างสีแดงและสีน้ำเงิน อัตรา 1:1 ที่ความเข้มแสง 200 mmol-1s-2 ร่วมกับแสงสีขาวที่ 3000 K ซึ่งทำให้มะเขือเทศในโรงเรือนตอบสนองในรูปแบบการเติบโตทั้งจำนวนข้อที่เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 80.4 ข้อ เส้นรอบลำต้นที่ค่าเฉลี่ย 5.06 cm น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนรากและลำต้น เท่ากับ 1,105.3 g ผลผลิตทั้งในส่วนน้ำหนักผลเฉลี่ยสูงสุดต่อต้นเท่ากับ 1228.5 g และความหวานเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 12 องศาบริกซ์ รวมถึงสามารถประหยัดน้ำจากการเพาะปลูก ถึงร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองควบคุมItem การจัดฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; เธียรรัตน์ ฉัตรภัทรพล; ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์; ศริญา ประเสริฐสุด; เตชิตา ภัทรศรงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี (2) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี (3) เพื่อบูรณาการผลการศึกษาการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และผลการศึกษาการเสนอแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ที่นำไปสู่การจัดฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 40 แห่ง พบว่า กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวศักยภาพระดับดีมาก มีจำนวน 5 แห่ง กลุ่มศักยภาพระดับดี จำนวน 7 แห่ง กลุ่มศักยภาพระดับปานกลางจำนวน 9 แห่ง และกลุ่มศักยภาพระดับควรปรับปรุง จำนวน 19 แห่ง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลักของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสูงสุดคือ 16.26 คะแนน รองลงมาได้แก่ ศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมี 14.58 คะแนน ถัดมาคือศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 12.79 คะแนนส่วนศักยภาพการให้บริการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีค่าคะแนนต่ำสุดคือ 12.22 คะแนน ทั้งนี้ภาพรวมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 55.85 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับศักยภาพที่ควรปรับปรุง โดยประเด็นและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี 4 ประเด็น คือ (1) ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (2) การส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (3) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (4) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยได้จัดทำฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูล ตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ค่าคะแนนศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว โดยจัดทำให้อยู่ในรูปแบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลในการบริหารจัดการพื้นที่และการวางแผนงานด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรีItem การประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) เอื้ออารี จันทร; ทิพสุดา คิดเลิศ; พัฒนชัย จันทรหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปีของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหลักสูตรระบุจุดเน้นที่สำคัญ คือ การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยรุ่นใหม่รองรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มระบบ แต่ด้วยสถานการณ์โลกที่มีการพลิกผันตลอดเวลา ทำให้คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการจัดทำงานวิจัยฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรและศึกษา ความต้องการเพิ่มเติมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร 2 มิติ คือ มิติด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมิติของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การคำนวณหาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI) โดย การเก็บข้อมูลจากผู้เรียน จำนวน 120 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรจำนวน 31 คน ทั้งในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปางและนครนายก โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปาง และนครนายก แต่ละพื้นที่ ๆ ละ 5 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโควต้า ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ทุกด้านมีผลค่าเฉลี่ยประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก (𝑥 = 3.67 - 4.10) ผลการประเมินทั้ง (1) ด้านปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเรียนรู้ และ (2) ด้านการเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มเกิดความพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ iPad เป็นเครื่องมือในการเรียนและการทำงานเนื่องจากสามารถ ทำงานได้หลากหลายรูปแบบ (3) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่า เมื่อผ่านไป 1 ปี กลุ่มผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามความคาดหวังของหลักสูตรในประเด็นการสร้างสื่อประกอบการเรียนรู้มากที่สุด (4) ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร มีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน สำหรับความต้องการจำเป็นที่มากที่สุด คือ ความสามารถเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ค่า PNImodified คือ .18 รองลงมา คือ ความสามารถในการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ และความสามารถในการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ค่า PNImodified คือ .14 โดยมีข้อเสนอแนวทางพัฒนา หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นการลงมือปฏิบัติโดยเสริมความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ด้านสุขภาวะของเด็กในโลกดิจิทัล การให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อดูแลเด็ก ในยุคดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ และทักษะการคิดเชิงคำนวณ เสนอให้จัดหาหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ online หรือชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ ด้านใช้การบูรณาการ รายวิชาบูรณาการชิ้นงานในภาคเรียนเพื่อลดภาระงานของผู้เรียน แต่เน้นการใช้แนวคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการ (project-based learning) ใช้การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริงในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศItem การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) แว่นแก้ว ลีพึ่งธรรมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบออนไลน์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่เลือกลงทะเบียนเรียนวิชาฝรั่งเศสศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนวัฒนธรรมฝรั่งเศส แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้เกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสหลังการใช้กิจกรรมตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ระดับร้อยละ 84.66 ซึ่งสูงกว่าค่าระดับที่ผู้วิจัยตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ร้อยละ 70 คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสของผู้เรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการตั้งเป้าหมายและการวางแผนด้านการเรียนเพื่อให้ประสบผลสําเร็จ ด้านความรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง ด้านความอดทนและความตั้งใจมุ่งมั่นในการเรียนให้ประสบผลสําเร็จ และด้านความทะเยอทะยานให้ผลงานเป็นที่ยอมรับและเกิดความก้าวหน้า หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าระดับที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ระดับปานกลาง 3. ความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการเรียนการสอนในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน (ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านเครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านความรู้) อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าระดับที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ระดับปานกลางItem การพัฒนากิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะ กระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ(2022) พวงผกา ปวีณบําเพ็ญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) 2) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 หลังใช้กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 19 คน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ลําปาง ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย (descriptive statistic) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีองค์ประกอบ คือ 1) ตัวชี้วัด 2) สาระของกิจกรรม 3) วัตถุประสงค์กิจกรรม 4) วัสดุอุปกรณ์ 5) ขั้นตอนของกิจกรรมและระยะเวลา 6) การประเมินผล 7) แผนการจัดกิจกรรม 8) เรื่องราวประกอบกิจกรรม และ 9) ใบกิจกรรมสําหรับนักเรียน 2. หลังใช้กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด สําหรับศตวรรษที่ 21 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 แสดงพฤติกรรมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีความถี่ของพฤติกรรมสูงสุด คือ ด้านการแก้ปัญหา รองลงมาคือ ด้านการใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพและด้านการตัดสินใจตามลําดับ 3. นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อทุกกิจกรรมในระดับมาก นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้สึกทางบวกต่อทั้ง 3 กิจกรรม มีความคิดเห็นทางบวกต่อเรื่องราว (story) ประกอบกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาItem การพัฒนาข้อมูลและฐานข้อมูลบนระบบสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเครือข่ายสินค้าเกษตรและสินค้าเด่นประจำอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) แทนทัศน์ เพียกขุนทด; อัฐเดช วรรณสินธีรกร; อาภาพรรณ สัตยาวิบูลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพของสมาชิกเครือข่ายสินค้าทางการเกษตรและสินค้าเด่นประจำอำเภอโดยชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์ฐานข้อมูล โดยเผยแพร่ฐานข้อมูลสมาชิกเครือข่ายผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนและประกอบการตัดสินใจในการวางแผนของจังหวัด และเป็นข้อมูลประกอบการลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด และ นักวิชาการของมหาวิทยาลัยดุสิตสามารถใช้เป็นข้อมูลผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่ เพื่อประเมินผลและเป็นข้อมูลในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมต่อไป ผลการศึกษา พบว่า วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับการอนุมัติจดทะเบียนขาดการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทำให้ไม่ทราบถึงสถานภาพ ว่ายังมีการดำเนินงานอยู่หรือไม่ สำหรับข้อมูลสินค้า OTOP ของ จ.สุพรรณบุรีนั้น สินค้า OTOP ของจังหวัดสุพรรณบุรีมีข้อมูลการขายออนไลน์ไม่มีการแบ่งประเภทข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยตรง ฐานข้อมูลเครือข่ายสินค้าทางการเกษตรและสินค้าเด่นประจำอำเภอโดยชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดจากการระดมความคิดจากองค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียที่จะเป็นผู้ใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล เพื่อรองรับการบันทึกข้อมูล คณะทํางาน เจ้าหน้าที่และผู้บริหารทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลาง ในการใช้งานระบบและออกรายงานสารสนเทศต่าง ๆ แสดงผลข้อมูลของวิสาหกิจชุมชนที่เป็นปัจจุบัน มีข้อมูลการประเมินศักยภาพโดยโมเดล canvas สามารถเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเครือข่ายสินค้าเกษตรและสินค้าเด่นประจำอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรีทำให้หน่วยงานทราบถึงข้อมูลส่วนตัว สินค้าและบริการ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วิธีการดำเนินธุรกิจ ช่องทางการติดต่อกับลูกค้า การรวมทั้งความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนว่าต้องการความช่วยเหลือในด้านใดจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจระบบในระดับดี ระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีสามารถนําไปใช้งานได้ จากการประชุมร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและหน่วยงานในพื้นที่โดยที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นควรนำข้อมูลของทุกหน่วยงานดังกล่าวมาพัฒนาร่วมกันบนระบบโดยทำการเผยแพร่ในฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ช่ายของจังหวัดสุพรรณบุรีและดำเนินการฝึกอบรมการใช้งานระบบให้มีการใช้อย่างแพร่หลายโดยใช้การอบรมแบบออนไลน์ให้กับบุคลากรในหน่วยงานราชการและเครือข่ายเกษตรกรในโอกาสต่อไปItem การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาไทยเพื่องานบริการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้(2022) วรัญญาภรณ์ ศรีสวรรค์นล; รัตนา กลิ่นจุ้ย; ศิริกร โรจนศักดิ์; วสันต์ นิลมัยงานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาไทยเพื่องานบริการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจการบินบชั้นปีที่ 1 โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาธุรกิจการบินชั้นปีที่ 1 จํานวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาบริบทการจัดการเพื่ออุตสาหกรรมการบริการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ จํานวน จํานวน 1 ชุด 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาไทยเพื่องานบริการ คะแนนเต็ม 20 คะแนน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ จํานวน 1 ชุด ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาไทยเพื่องานบริการโดยใช้ สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ มีคะแนนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 จํานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักศึกษามีคะแนนประเมินทักษะด้านการพูดภาษาไทยเพื่องานบริการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทย เพื่องานบริการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94) และพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ได้รับความพึงพอและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านกิจกรรมการ เรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะผู้สอน และด้านการพัฒนาผู้เรียน ตามลําดับItem การพัฒนาชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ตสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) เอื้ออารี จันทร; ภิรดี วัชรสินธุ์; พัฒนชัย จันทรดิจิทัลมายด์เซ็ต คือ ปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคิจิทัล เนื่องจากเกี่ยวข้องกับทัศนคติที่พร้อมจะปรับตัว รวมถึงแรงจูงใจที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นในการเรียนรู้ ทำให้ดิจิทัลมายด์เซ็ตมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (Snowball sampling) นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 56 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต แบบประเมินดิจิทัลมายด์เซ็ต แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ได้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ตซึ่งเป็นชุดกิจกรรมแบบผสมผสานโดยมีสัดส่วนการเรียนรู้แบบออนไลน์ : ออนไซต์ : ออนแอร์และออนดีมานด์ เท่ากับ 50:30:20 แผนกิจกรรมการเรียนรู้มีระยะเวลาโดยรวม 60 ชั่วโมง ขั้นตอนของการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สำรวจตนเองและตั้งค่าเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ฝึกคิดอย่างรวดเร็ว ปรับวิถีคิด ขั้นที่ 3 พัฒนาต้นแบบแห่งความท้าทาย ขั้นที่ 4 ทบทวนและเรียนรู้จากผลงานและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผลของการใช้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิต พบว่า นักศึกษามีการพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต เพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .64 จัดอยู่ในระดับมาก สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีดิจิทัลมายด์เซ็ตในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .62 เมื่อพิจารณาคุณลักษณะดิจิทัลมายด์เซ็ตรายด้าน พบว่า นักศึกษาระบุว่าตนเองมีการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลมายด์เซ็ตเพิ่มสูงขึ้นในทุกมิติ โดยมิติด้านอารมณ์มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิต นักศึกษาทุกคนได้รับการบ่มเพาะ ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง เสริมความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดความตระหนักรู้และมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้น สามารถพัฒนาให้เป็นผู้มีดิจิทัลมายด์เซ็ต และมีใจเปิดกว้างพร้อมรับการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตได้ ทั้งนี้ ผลประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .60Item การพัฒนาต้นแบบการจัดการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) อรนุช ชูศรี; ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; ดวงเนตร ธรรมกุล; เรณู ขวัญยืน; ณัฐรพี ใจงาม; ปณวัตร สันประโคน; พีรยุทธ รัตนเสลานนท์การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบการจัดการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) เพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการจัดการดูแลสุขภาพ 3) จัดทำฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและติดตามการมารับบริการสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 4) พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ของการพึ่งพิงของผู้สูงอายุและ ความเป็นไปได้ใน การพัฒนาแอพพลิเคชั่น จากผู้ให้ข้อมูล 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนา Application และประชุมวางแผนการจัดการดูแลโดยคณะผู้วิจัย โปรแกรมเมอร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลองตอง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาร่างรูปแบบการจัดการดูแลผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แล้วจัดประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะ อสม. และผู้ดูแลจำนวน 18 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน และพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นในผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผ่าน การตรวจสอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบประเมินประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณา และสถิติที ระยะที่ 3 นำแบบแผนการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและแอพพลิเคชั่นไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ร่วมกับติดตามเยี่ยมบ้านต่อความเครียดของผู้ดูแลจากผลวิเคราะห์ด้วยสถิติ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าหลังใช้โปรแกรม (สัปดาห์ที่ 6)และติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) พบค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนใช้โปรแกรม (สัปดาห์ที่ 0) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของ p < .05 โปรแกรมนี้จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการลดความเครียดของผู้ดูแล สรุป: งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนอื่นเพื่อการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพItem การพัฒนาต้นแบบปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงจากวัสดุเหลือทิ้งชุมชน ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อสงเสริมคุณภาพดินปลูก และยกระดับผลผลิตพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; สุรชาติ สินวรณ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR สูตรที่เหมาะสมร่วมกับระบบน้ำหยด โดยคัดแยกแบคทีเรีย PGPR ในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญของพืชนำมาพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR เพื่อส่งเสริมคุณภาพดินปลูกเพื่อยกระดับผลผลิตเมล่อนและข้าว ในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อเป็นต้นแบบของชุมชน โดยเก็บแบคทีเรียรอบรากพืช นำมาคัดแยกแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ โดยทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติแบบ F-test ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ที่ใส่น้ำหมักมูลไส้เดือน 2 ลิตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมลอนพันธุ์ออเร้จน์แมน โดยแสดงค่าเฉลี่ยความกว้างใบ ค่าเฉลี่ยความยาวใบ ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของล้าต้น ค่าเฉลี่ยขนาดผล ค่าเฉลี่ยน้ำหนักผลและค่าเฉลี่ยความหวาน มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ต่อการเจริญของข้าวพบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 2 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวมากที่สุด 226.32 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมา ได้แก่ ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 1 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวเท่ากับ 120.21 กิโลกรัม/ไร่ และข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ตำรับที่ 3 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวน้อยที่สุดเท่ากับ 103.55 กิโลกรัม/ไร่Item การพัฒนาทักษะการฟัง การพูดสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการบินเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการสนทนา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิริกร โรจนศักดิ์; วาสนา จักร์แก้วการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูดสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการบินเพื่อเพิ่มพูนทักษะในสนทนา และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังการพูดก่อนและหลังเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สาขาธุรกิจการบินเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการงานวิจัย คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยมีดังนี้ ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับการทดสอบ Question/Answer-Based เป็นอันดับสูงสุด เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง โดยผู้สอนได้ใช้คำถามจาก FAQs ของ Bangkok airways, Thai Smile Airways, Nok Air websites ซึ่งเป็นคำถามที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยที่ผู้เรียนต้องตอบแบบต่อตัวในเวลา 1.10 นาที ทำให้เกิดกระบวนการคิดสร้างประโยค นำคำศัพท์ (Vocabulary) ที่ต้องใช้หรือเกี่ยวข้องกับบริบทนั้น ๆItem การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย; อริยา ดีประเสริฐการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment: MCI) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกมบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) เพื่อหาประสิทธิผลของเกมบริหารสมองต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ใช้เกมบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ระยะเวลาของโปรแกรม 12 สัปดาห์ วัดผลก่อนทดลองในสัปดาห์แรก และวัดผลหลังเสร็จสิ้นการทดลอง และในระยะติดตามในสัปดาห์ที่ 12 ประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย จากการประเมินด้วยแบบประเมินพุทธิทางปัญญา (MoCA-T) โดยมีค่าคะแนนน้อยกว่า 25 คะแนน และการประเมินด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น (MMSEThai 2002) จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment ( MoCA) ฉบับภาษาไทย (MoCA-T) แบบประเมินคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) ผลจากการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60) มีอายุเฉลี่ย 68.26 ปี (SD. = 4.85) สถานภาพคู่ (ร้อยละ 93.3) สำเร็จการศึกษาในระดับปฐมศึกษา (ร้อยละ 93.3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสามารถในการรู้คิดของสมองก่อน และหลังการทดลองใช้นวัตกรรม และระยะติดตาม ด้วยแบบประเมิน MoCA-Thai 8 ด้าน พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรู้คิดของสมองก่อน และหลังการทดลองใช้นวัตกรรม และระยะติดตาม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณภาพชีวิตก่อนการทดลองใช้นวัตกรรม เกมบริหารสมอง และระยะติดตาม พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อน และหลังการเสร็จสิ้นการทดลองใช้นวัตกรรมเกม ในระยะติดตาม คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมเกมบริหารสมอง มีระดับความพึงพอใจระดับมากสุด โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจมากสุด (Mean = 5.00, SD. = .000)Item การพัฒนานาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้ จากวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเพื่อรักษาคุณภาพและลดการสูญเสียผลผลิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; สุรชาติ สินวรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักและผลไม้จากวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ เปลือกกุ้งต้ม และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ได้แก่ ชานอ้อย และไขอ้อย โดยนาโนเซลลูโลสอิมัลชัน ช่วยลดอัตราการสูญเสียน้ำยืดอายุการเก็บรักษา และชะลอ การเน่าเสียของผักและผลไม้ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 5 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ซึ่งได้แก่ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่เคลือบนาโนเซลลูโลส อิมัลชัน ตำรับการทดลองที่ 2 เคลือบสารเชิงพาณิชย์ ตำรับการทดลองที่ 3 เคลือบนาโนเชลลู โลสอิมัลชันความเข้มข้น 6% ตำรับการทดลองที่ 4 เคลือบนาโนเชลลูโลสอิมัลชันความเข้มข้น 8% และตำรับการทดลองที่ 5 เคลือบนาโนเซลลูโลสอิมัลชันความเข้มข้น 10% วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติแบบ T-test, F-test ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลข้อมูลจากโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จากการวิจัย พบว่ามะนาวในตำรับการทดลองที่ 1 มีการสูญเสียน้ำหนักมะนาวน้อยที่สุดและมะนาวในตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักมะนาวมากที่สุด จากการสูญเสียน้ำหนักของมะนาวทำให้มะนาวตำรับการทดลองที่ 5 มีปริมาณน้ำคั้นมะนาวมากที่สุด มะม่วงในตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักมะม่วงน้อยที่สุด ทั้งยังมีค่าความหนาแน่นเนื้อของมะม่วงน้อยที่สุด และหน่อไม้ฝรั่งตำรับการทดลองที่ 1 มีการสูญเสียน้ำหนักหน่อไม้ฝรั่งน้อยที่สุดและตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักหน่อไม้ฝรั่งมากที่สุดItem การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ในวิชาวิจัยและนวัตกรรม และศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ดวงเนตร ธรรมกุล; รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย; ลัดดาวัลย์ เตชางกูร; ชญานิศ ชอบอรุณสิทธิการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 99 คน และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก จำนวน 118 คน ประจำปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในทั้ง 2 รายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินผลการเรียนรู้ (Course learning outcome) แบบทดสอบความรู้ในรายวิชาศักยภาพการนำฯ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00, 0.67-1.00 และ 0.67-1.00 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินผลการเรียนรู้ และแบบทดสอบความรู้ได้ 0.90 และ 0.65 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการเรียนรู้รายวิชาวิจัยและนวัตกรรม ผลการเรียนรู้ทุกด้าน ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.94, 3.64, 3.73, 3.97, 3.69 และ 91.33, S.D. = 0.47, 0.58, 0.50, 0.47, 0.55 และ 10.13 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, 4.33, 4.35, 4.53, 4.39 และ 106.73, S.D. = 0.29, 0.36, 0.36, 0.40, 0.35 และ 6.20 ตามลำดับ) สำหรับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า ก่อนการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.56, 3.42, 3.46, และ 82.75, S.D. = 0.36, 0.46, 0.46, และ 8.92 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.36, 3.64, S.D. = 0.47, 0.49 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม (x ̅ = 4.25, 4.26, และ 100.53, S.D. = 0.36, 0.40 และ 8.21 ตามลำดับ) ผลการเรียนรู้รายด้านอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (x ̅ = 4.11, 4.12, และ 4.17, S.D. = 0.41, 0.40 และ 0.39 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่าผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 2 รายวิชาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า นักศึกษาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ห้องเรียนกลับด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่า การใช้ห้องเรียนกลับด้านช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ดีขึ้น ดังนั้น การใช้ห้องเรียนกลับด้านสามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดีและเหมาะสมItem การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่องานธุรกิจด้วยกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สุภารัตน์ คุ้มบำรุงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูทในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่อธุรกิจ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท ในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่อธุรกจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 (ชั้นปีที่ 2) และลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม เพื่องานธุรกิจ ตอนเรียน A1 จำนวนผู้เรียนทั้งหมด 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่องานธุรกิจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยค่าเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลมไม่อิสระ (Dependent-samples t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเกมจำนวน 6 ครั้ง มีสัดส่วนอยู่ระหว่าง ร้อยละ 85 -100 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด การทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ย 10.13 คะแนน ส่วนหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 15.05 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และจากการทดสอบค่าที พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท ผู้เรียนมีความคิดเห็น ด้านกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .864) และกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูทช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจเรียนรู้มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .911) และมีข้อเสนอแนะต่อการจัดการกรรมการเรียนรด้วยเกมบนแอปพลิเคชั้นคาฮูทเป็นกิจกรรมที่สนุก สร้างความสนใจ ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนและมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้