Browse
Recent Submissions
Item การสกัด ความคงตัว และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร oxyresveratrol จากแก่นมะหาด(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อรพิณ โกมุติบาล; ศรีสุดา ธำรงพิรพงษ์; กัลยาภรณ์ จันตรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร oxyresveratrol การแยกสารให้บริสุทธิ์ และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากแก่นมะหาด จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร oxyresveratrol ที่เหมาะสมคือการสกัดด้วย 80% ethanol ในอัตราส่วนของพืชต่อตัวทำละลายเป็น 1:10 โดยวิธีการแช่ (maceration) ที่อุณหภูมิ 30 °C เมื่อทำการแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี สามารถแยกสารบริสุทธิ์ได้ 2 ชนิด คือ oxyresveratrol เป็นสารองค์ประกอบหลัก และสาร resorcinol โดยทำการยืนยันโครงสร้างด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปี จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารบริสุทธิ์ ที่แยกได้ด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay พบว่าสาร resorcinol จะมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่ ดีกว่าสาร oxyresveratrol เมื่อทำการทดสอบด้วยวีธี DPPH จะแสดงค่า IC50 เท่ากับ 11.16 ± 0.15 และ 20.18 ± 0.10 µg/mL ตามลำดับ และเมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี ABTS จะแสดงค่า IC50 เท่ากับ 10.93 ± 0.23 และ 22.13 ± 0.34 µg/mL ตามลำดับItem การพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ศศิพร ต่ายคำ; ศุภพล กิจศรีนภดล; สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน และ (2) พัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน โดยวิธีการเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด (Criterion sampling) พบว่า กระบวนการสร้างแบรนด์ของวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปผลไม้ไม่เป็นไปตามแนวคิดการสร้างแบรนด์ ปัญหาการสร้างแบรนด์ของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้การสร้างแบรนด์ ขาดความรู้การสร้างแบรนด์ ขาดงบประมาณการสร้างแบรนด์ และลักษณะของวิสาหกิจชุมชนที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา (2) การพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน มีองค์ประกอบเชิงกระบวนการ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่าย ความรู้ ผู้รู้ และงบประมาณ (2.2) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ทุนชุมชน การบริหารจัดการ การผลิต ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารภายในองค์กร (2.3) กระบวนการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน 7 ขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์ SWOT และ STP การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ การทดสอบตลาด การสื่อสารแบรนด์ และการประเมินผลแบรนด์ และ (2.4) ผลลัพธ์ รูปแบบผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบกับผู้ร่วมวิจัยหรือกลุ่มทดลอง โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposeful sampling) จำนวน 1 กลุ่ม ตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนด พบว่า ผู้บริโภครับรู้แบรนด์ของกลุ่มทดลองผ่านการจัดแสดงสินค้าและสิ่งบ่งชี้แบรนด์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เกิดการพัฒนาแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคระดับบน ส่งออกไปยังประเทศจีนและจำหน่ายในต่างประเทศItem พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกประจำจังหวัดนครนายก : มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) แสงอรุณ เชื้อวงษ์บุญการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่ เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่และเพื่อศึกษาแนวทางในการทำการตลาด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้นำและตัวแทนในชุมชนหมู่บ้านพรหมพชร อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแกะสลักผัก ผลไม้และสบู่ จำนวน 12 คน ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครนายก จำนวน 15 คน และกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดนครนายก ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ จำนวน 80 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบคำถามในการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์จัดเรียงแต่ละประเด็นแล้วเขียนเป็นความเรียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้อธิบายผลการศึกษา พบว่า ชุมชนหมู่บ้านพรหมพชร มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด ต้องการสบู่ทำความสะอาดร่างกาย ทั้งสบู่ก้อน สบู่เหลวและครีมอาบน้ำเพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนในชุมชน สำหรับสบู่ก้อนผสมสารสกัดจากเนื้อมะปรางต้องการทั้งสีขุ่นและสีใส รูปร่างเหมือนลูกมะปรางเพราะดูเหมือนมะปรางจริง ๆ สีของสบู่ก้อนควรเป็นสีใกล้เคียงกับสีของมะปรางที่สุก คือ สีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นที่หอมเหมือนสบู่หอมอื่น ๆ ให้มีกลิ่นอ่อน ๆ มีลวดลายเป็นร่องเป็นริ้วสวยงามบนก้อนสบู่ เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแกะสลักผัก ผลไม้และสบู่ให้การยอมรับสบู่ผสมสารสะกัดจากเนื้อมะปรางชนิด S1C2 และชนิด S2C2 ทั้งที่เป็นเนื้อสีขุ่นและเนื้อสีใส ที่มีสีใกล้เคียงสีของมะปรางมากที่สุด สำหรับลายริ้วที่เหมาะสมกับการแกะสลักเป็นมะปรางริ้วประดิษฐ์ 3 ลำดับแรกคือ ลายริ้วตรง ลายริ้วเกลียวและลายริ้วใบไม้ ส่วนผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการทำสบู่และการทำมะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่ผสมสารสกัดจากเนื้อมะปราง มีความคิดเห็นและให้ความสำคัญต่อ ด้านการใช้วัสดุท้องถิ่นในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการดำรงลักษณะของศิลปหัตถกรรม ด้านรูปลักษณ์และการใช้ประโยชน์และด้านความสวยงาม ตามลำดับ การศึกษาแนวทางในการทำการตลาด ในการจัดจำหน่ายมะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่ จากการสนทนากลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเกี่ยวกับสบู่ สบู่สมุนไพรและเครื่องสำอางค์ในจังหวัดนครนายก พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่เป็นแนวความคิดที่ดีและทำได้สวยงาม ควรทำเป็นอัตลักษณ์ของนครนายกให้ได้ ควรทำทั้ง 2 แบบ คือมะปรางที่ยังไม่ปอกริ้วและมะปรางที่ปอกริ้ว ทั้งเนื้อสบู่สีขุ่นและเนื้อสบู่สีใส กลิ่นของสบู่ควรทำให้มีกลิ่นหอมและให้หอมอยู่นาน ควรให้ได้กลิ่นที่ใกล้เคียงมะปรางมากที่สุด ด้านบรรจุภัณฑ์ควรทำกล่องบรรจุภัณฑ์โดยเปิดหน้าต่างมีแผ่นพลาสติกใสให้เห็นผลิตภัณฑ์และหาวิธีปิดช่องหน้าต่างเพื่อจะช่วยให้มีราคาสูงและช่วยให้สีของผลิตภัณฑ์ไม่ซีด ด้านราคา มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่เป็นงานฝีมือที่ประดิษฐ์ทีละชิ้นทำรูปร่างขึ้นมาเหมือนรูปร่างมะปรางจริงในขนาดน้ำหนัก 50 กรัม ควรจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าสบู่อื่นๆ ในราคาก้อนละประมาณ 50 บาท ด้านการจัดจำหน่าย จังหวัดนครนายกมีกลุ่มหัตถกรรมในอำเภอปากพลีคือกลุ่มหัตถกรรมไทยพวน เป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานวัฒนธรรมและหน่วยงานการท่องเที่ยวของจังหวัด กลุ่มที่ผลิตมะปรางริ้วประดิษฐ์ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมหนึ่งของไทยควรจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มหัตถกรรมไทยพวนจังหวัดนครนายก โดยจัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้มีการสาธิตการแกะสลักมะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่ให้นักท่องเที่ยวได้ชมขั้นตอนการทำที่ต้องประณีตและสวยงาม พร้อมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่จะได้ราคาที่สูงขึ้นและจัดวางจำหน่ายในร้านนารายณ์ภัณฑ์และร้านต่าง ๆ ในสนามบินได้ซึ่งส่วนมากจะจำหน่ายให้กับชาวต่างชาติ เป็นการเผยแพร่ผลงานฝีมือทางวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อีกทางหนึ่งItem การวิจัยและพัฒนาระบบการหมุนเวียนพลังงานความร้อนที่สญเสียจากกระบวนการเผาอิฐดินเผาเพื่อใช้ในการอบแห้งอิฐดินเผาดิบ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) วิทวัส รัตนถาวร; สุทัศน์ จันบัวลา; วัลลภ รัตนถาวรงานวิจัยนมุ่งเน้นในการออกแบบและพัฒนาระบบหมุนเวียนพลังงานความร้อนจากกระบวนการเผาอิฐดินเผาโดยการใช้พลังงานความร้อนที่สูญเสียจากกระบวนการเพื่อใช้ในการอบแห้ง อิฐดินเผาดิบและลดปัญหาความชื้นของอิฐดินเผาดิบในช่วงฤดูฝนจากผลการทดสอบดำเนินการ ภายใต้สภาพแว้ดล้อมที่มีอุณหภูมอากาศ (ambient temperature) อยู่ระหว่าง 32 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (humidity) อยู่ระหว่างร้อยละ 85.2 - 88.5 และอุณหภูมิจากกระบวนการเผาอิฐดินเผาอยู่ระหว่างประมาณ 232 – 242 องศาเซลเซียส พบว่าระบบการหมุนเวียน พลังงานความร้อนมีประสิทธิภาพในการลดระยะเวลาในการอบแห้งอิฐดิบลง เนื่องจากสามารถลดปริมาณความชื้นภายในอากาศได้มากถึงร้อยละ 40 และจากการทดสอบสมบัติของอิฐดินเผาที่ผ่านกระบวนอบแห้งเปรียบเทียบกับการตากแห้งแบบท้องถิ่น พบว่า อิฐดินเผาที่ผ่านกระบวนการอบแห้ง ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส (ความชื้นร้อยละ 50.4) มีความสามารถในการรับแรงอัดสูงที่สุดอยู่ที่ 12.23 MPa ร้อยละการดูดซึมน้ำต่ำที่สุด คือ 20.06%Item แนวทางการพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) องค์อร สงวนญาติ; วิจิตรา ศรีสอน; อรอุมา เจริญสุข; นาฏยา ต๊ะลีการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคลกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (เกรดเฉลี่ยรวม (GPA)) ของนักศึกษา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในแต่ละหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในกรุงเทพมหานคร ชั้นปีที่ 3 รหัส 58 ทั้ง 7 คณะ โดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 370 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารคณะที่จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 7 คน ซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการศึกษา การจัดการศึกษา แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลักษณะทั้ง 3 ด้าน (ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข) อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ เมื่อเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคลกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีสถานภาพส่วนบุคคล เพศ คณะที่ศึกษา หลักสูตรที่ศึกษา และเกรดเฉลี่ยรวม (GPA) ที่แตกต่างกันมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพครอบครัวที่แตกต่างกันมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับเกรดเฉลี่ยรวม (GPA) ของนักศึกษาโดยใช้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยควรมีการกำหนดนโยบายและแนวทางต่าง ๆ ที่ชัดเจนในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา หรือกำหนดหน่วยงานกลางในการดูแลรับผิดชอบ มุ่งเน้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ผ่านกิจกรรม โครงการจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยที่เป็นรูปธรรมควบคู่กับการเรียนการสอนในแต่ละเทอมอย่างต่อเนื่อง มิใช่กำหนดหน้าที่ให้อาจารย์หรือบุคลากรผู้ใดผู้หนึ่ง หรือหน่วยงานด้านใดหน่วยงานหนึ่งของคณะที่ต้องรับผิดชอบในการพัฒนา อย่างไรก็ตามคณะก็ควรส่งเสริม สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรในคณะ จัดกระบวนการเรียนการสอนหรือการจัดฝึกอบรมที่สอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา ผ่านการออกแบบกิจกรรม การจัดบรรยากาศ การใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ พร้อมจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดูแลนักศึกษาที่เข้มแข็ง ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักศึกษาสามารถพูดคุย แนะนำปรึกษาได้ รวมถึงการจัดระบบการให้บริการกับนักศึกษาในหลายช่องทางผ่านระบบเว็บไซต์ หรือ Social media หรือ Facebook เป็นต้นItem การพัฒนาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; รุ่งนภา ป้องเกยรติชัย; อรนุช ชูศรี; รังสรรค์ มาระเพ็ญ; ณัฐรพี ใจงามการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานดานสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2) ศึกษาการจัดการด้านการสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวเด็กปฐมวัย 3) พัฒนาแผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน และ 4) สืบค้นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และวิธีปฏิบัติที่สะท้อนต่อการสร้างเสริมสุขภาพของครูใหญ่ และครูพี่เลี่ยง แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการของครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย และขอคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ จํานวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูใหญ่ และครูพี่เลี้ยงเด็กส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในศูนย์เด็กเล็ก มากกว่า 10 ปี มีความรู้ และทัศนคติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 4.09, S.D. = 0.45) และมีวิธีปฏิบัติที่สะท้อน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 3.03, S.D. = 0.55) ระดับดี 2. บิดา มารดา มีการรับรู้ความสามารถในการจัดการส่งเสริมสุขภาพ ความพยายาม และความรวมมือกันของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ย 43.55, 12.43, และ 29.40 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรวมมือกันของผู้ปกครองในการสงเสริมสุขภาพทั้ง 5 แห่ง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) 3. สภาพการดำเนินงานด้านสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเขตบางพลัด เป็นไปตามกรอบมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุข และการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบนฐานความต้องการของครูพี่เลี้ยงและอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ แผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและแผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กโดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ อันได้แก่ ด้านผู้นําด้านการบริหารจัดการ ด้านการสร้างเครือข่าย และการสนับสนุน และด้านความรู้ ความสามารถของบุคลากร ข้อเสนอแนะ: ศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมโดยมีบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือสมาชิกครอบครวเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียนโดยเน้นพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารของเด็กItem การพัฒนาตำรับอาหารไทยจากปลานวลจันทร์ทะเล(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) จารุณี วิเทศ; ปริศนา เพียรจริง; จารินี ศาสนติจรรยาพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับอาหารไทยประเภทอาหารคาวจากปลานวลจันทร์ทะเล จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ผัดพริกขิง ลาบ และคั่วกลิ้ง ทำการวิเคราะห์คุณภาพทางประสาทสัมผัส ด้วยวิธีให้คะแนนความชอบแบบ 9-point hedonic scale และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (nutrition value) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ทดสอบให้การยอมรับอาหารไทยตำรับปลานวลจันทร์ทะเล ตำรับที่ 2 ทั้ง 3 ชนิด โดยปลานวลจันทร์ทะเลฟูผัดพริกขิง ได้รับคะแนนความชอบมากกว่าตัวอย่างอื่น โดยลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมได้คะแนน 8.00± 0.53 , 8.27 ± 0.59, 7.93 ± 0.70, 7.47 ± 0.83, 7.27 ± 0.88 และ 7.73 ± 0.59 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ความชอบมาก ลักษณะปรากฏ สี เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) จากปลานวลจันทร์ทะเลฟูผัดพริกขิงตำรับที่ 1 ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม จะให้พลังงาน 323.19 กิโลแคลอรี โปรตีน 28.56 กรัม ไขมัน 15.74 กรัม ความชื้น 45.07 กรัม และเถ้า4.11 กรัม รองลงมาคือ ลาบปลานวลจันทร์ทะเลตำรับที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ความชอบมาก โดยลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมได้คะแนน 7.60 ± 1.59 , 7.80 ± 0.77, 7.27 ± 1.44, 6.47 ± 1.64, 7.33 ± 0.62 และ 7.53 ± 0.64 ตามลำดับ ทางด้านเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม จะให้พลังงาน 208.70 กิโลแคลอรี โปรตีน 20.55 กรัม ไขมัน 9.04 กรัม ความชื้น 91.54 กรัม และเถ้า 8.78 กรัม และคั่วกลิ้งปลานวลจันทร์ทะเลตำรับที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ความชอบมาก โดยลักษณะที่ปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมได้คะแนน 7.47 ± 1.64, 7.57 ± 0.94, 7.40 ± 1.40, 6.67 ± 1.23, 7.07 ± 1.39 และ7.33 ± 1.45 ตามลำดับ ทางด้านกลิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม จะให้พลังงาน 260.80 กิโลแคลอรี โปรตีน 21.09 กรัม ไขมัน 13.25 กรัม ความชื้น 79.02 กรัม และเถ้า 3.98 กรัมItem การพัฒนาตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มเพื่อสุขภาพ จังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อรรถ ขันสี; สังวาลย์ ชมภูจา; ขวัญนภา สุขครการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อพัฒนาตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มเพื่อสุขภาพโดยการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่อตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้ม และ 2. วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มเพื่อสุขภาพเพื่อทำการคัดเลือกตำรับก๋วยเตี๋ยวมาตรฐาน ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก บุคลากรด้านอาหาร เช่น อาจารย์ นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและบริการมหาวิทยาลัยสวนดุสิตศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง จำนวน 105 คน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มบุคคลภายนอก ได้แก่ กลุ่มร้านค้าและกลุ่มผู้บริโภคก๋วยเตี๋ยวในจังหวัดลำปาง จำนวน 100 คน วิธีการศึกษานี้ประกอบด้วย 1. การศึกษาการยอมรับตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มโดยใช้แบบประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส 2. การศึกษาเชิงสำรวจเพื่อยืนยันผลการยอมรับตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้ม และ 3. การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้ม โดยใช้โปรแกรม INMU – Daily-menu Plan (IDP) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส และแบบสอบถามการยอมรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการยืนยันผลการยอมรับตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มเพื่อสุขภาพเบื้องต้นก่อนนำไปสู่การวิเคราะห์ทางโภชนาการต่อไป โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติเชิงพรรณา (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า จากการคัดเลือกตำรับก๋วยเตี๋ยวมาตรฐาน จำนวน 3 ตำรับ ตำรับก๋วยเตี๋ยวมาตรฐานของอรรถ ขันสี (2558) ได้รับความชอบจากผู้ทดสอบชิมในระดับชอบมากที่สุด และได้ถูกเลือกนำมาศึกษาการทดสอบด้วยการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยการให้ระดับคะแนนความชอบ 9 ระดับ (9 – Point Hedonic Scale Test) เกี่ยวกับคุณภาพด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.93±0.81, 7.86±0.88, 7.96±0.91 และ 7.98±0.77 ตามลำดับ แสดงถึงการยอมรับในระดับชอบมาก บ่งชี้ได้ว่ามีการยอมรับตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มเพื่อสุขภาพ เช่นเดียวกับการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อสรุปและยืนยันผลการยอมรับตำรับนี้ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคยอมรับ ร้อยละ 99 มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 99 เหตุผลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพราะมีความแปลกใหม่ ร้อยละ 26.56 และรองลงมาคือ มีคุณค่าทางโภชนาการ ร้อยละ 26.02 ตามลำดับ ในขณะที่การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของตำรับก๋วยเตี๋ยวไข่น้ำแร่ผักบุ้งส้มด้วยโปรแกรม INMU – Daily-menu Plan (IDP) พบว่า การบริโภคก๋วยเตี๋ยวตำรับนี้ จำนวน 1 ถ้วย (ประมาณ 450 กรัม) ให้พลังงานรวม 366 กิโลแคลอรี เห็นได้ว่าก๋วยเตี๋ยวตำรับนี้สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย มีรสชาติที่ดี และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม และเป็นเมนูทางเลือกของผู้บริโภคที่รักสุขภาพอีกด้วยItem การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในถัง UASB ของ โรงงานผลิตเอทานอล(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) วาศนศักดิ์ ลิ้มควรสุวรรณ; พันชัย เม่นฉายการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ (Organic Loading Rate : OLR) และสารแขวนลอยที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์และประสิทธิภาพของระบบ UASB ได้ทําการทดสอบปัจจัยต่างๆ ในระบบ UASB ระดับห้องปฏิบัติการทําจากแผ่นอะคริลิคสีใส (acrylic) ทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 15 cm ยาว 15 cm สูง 58 cm มีพื้นที่หน้าตัด 225 cm2 ปริมาตรใช้งาน รวมถังละ 10 L เติมตะกอนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีค่า SMA อยู่ที่ 0.21 g COD g-1 VSS day-1 ทําการเดินระบบที่มี OLR ที่ 2 gCOD/Lreactor และ 4 gCOD/Lreactor ที่ความเข้มข้นสารอินทรีย์ในรูปของซีโอดีอยู่ที่ประมาณ 16,000 mg/L มีอัตราการป้อน 0.3 L/hr มีระยะเวลาในการกักเก็บ (Hydraulic Retention Time : HRT) ประมาณ 7 วัน ภายใต้สภาวะไร้อากาศ เป็นเวลา 30 วัน พบว่าที่ OLR 2 gCOD/Lreactor ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ในรูปซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 85-90 แต่เมื่อเพิ่ม OLR เป็น 4 gCOD/Lreactor ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ในรูปของซีโอดีลดลง เหลือร้อยละ 35-50 ส่วนการทดสอบการเพิ่มสารแขวนลอยในน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบนั้นพบว่า ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ สารแขวนลอย และอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพของระบบ UASB มีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่มากกว่า 4 มิลลิเมตรลดลง จากมีอยู่ในระบบร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 0 นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางด้านสถิติ ด้วยโปรแกรม SPSS version 17.0 ของสารแขวนลอยที่เติมและไม่เติมในน้ําเสียป้อนเข้าระบบต่อการผลิตก๊าซชีวภาพทางพบว่า p-value เท่ากับ .002 แสดงให้เห็นว่า ปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01Item การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความกตัญูกตเวทีของคนไทย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สรรเสริญ อินทรัตน์; แหวนทอง บุญคํา; วิฑูร นิลอุบล; จักรพันธ์ คําแก้วการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและแนวโน้มของความกตัญูกตเวทีของคนไทย องค์ประกอบของสาเหตุที่ส่งผลต่อความกตัญูกตเวทีของคนไทย พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความกตัญูกตเวทีและศึกษาแนวทางเสริมสร้างความกตัญูกตเวที ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ สอบถามจากลูกที่เลี้ยงดูแม่ ในทุกภาค รวม 2,331 คน สัมภาษณ์เชิงลึก ลูกที่เลี้ยงดูแม่ 120 คน และจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละภาค เพื่อตรวจสอบโมเดลและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อแนวทางการเสริมสร้างความกตัญูกตเวทีของคนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คนที่เลี้ยงดูแม่มีความกตัญูกตเวทีต่อแม่ในระดับมาก (𝑥𝑥= 5.48 , SD = 1.06) และในทุกภาคล้วนมีความกตัญูกตเวทีต่อแม่ในระดับมาก โดยให้เหตุผลว่า เพราะแม่เป็นผู้ให้กําเนิดเลี้ยง และดูแลลูกตั้งแต่เป็นทารก มีความรักแม่และผูกพันตลอด เป็นหน้าที่หลักของลูกที่ต้องตอบแทน บุญคุณแม่ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ในอนาคต 10-15 ปีข้างหน้า คนไทยโดยทั่วไปจะมีความ กตัญูกตเวทีต่อแม่ลดน้อยลง เพราะคนเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น ต้องทํางานหาเงินให้มีรายได้เพียงพอ กับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และต้องดูแลครอบครัวตนเองด้วย ทําให้ความสัมพันธ์กับแม่ลดน้อยลงและมีเวลาในการอบรมสั่งสอนลูกน้อยลง ขณะที่ลูกใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการใช้โซเชียลมีเดียและเกิดประโยชน์นี้อยู่ 2. ความกตัญูกตเวทีของคนไทยประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ครอบครัวเลี้ยงดูคู่คุณธรรม ความมีสํานึกของลูกในการทดแทนบุญคุณแม่ และการเป็นแบบอย่างที่ดีของแม่และ สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว 3. โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความกตัญูกตเวทีของคนไทยในภาพรวมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องและกลมกลืนกับโมเดลทางทฤษฎีที่กําหนดไว้ โดยมีค่า 𝑥𝑥2/df เท่ากับ 1.059 p Value เท่ากับ .331 GFI เท่ากับ .996 CFI เท่ากับ 1.000 และ RMSEA เท่ากับ .996 อิทธิพลทางตรง สูงสุดในโมเดล คือ ครอบครัวเลี้ยงดูคู่คุณธรรม มีค่าเท่ากับ .652 รองลงมาคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีของแม่และสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว มีค่าเท่ากับ .414 อิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ความมีสํานึกของลูกในการทดแทนบุญคุณแม่ผ่านครอบครัวเลี้ยงดูคู่คุณธรรม มีค่าเท่ากับ .416 4. แนวทางการเสริมสร้างความกตัญูกตเวทีของคนไทย ต้องเป็นหน้าที่หลักของครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงที่แม่สูงวัย/ทํางานไม่ได้/เจ็บป่วย แม่ต้องทําเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความกตัญกตเวทีให้ลูกได้เห็นและให้ลูกปฏิบัติ เพื่อปลูกฝังค่านิยมในจิตใจ เลี้ยงดูปลูกฝังลูกให้อยู่คู่คุณธรรม เพื่อให้ลูกมีสํานึกในการทดแทนบุญคุณแม่ต้องดูแลแม่ทั้งกายและใจ ไม่ทอดทิ้งแม่เด็ดขาด โดยมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนหลักทํางานบูรณาการร่วมกับเครือข่าย เช่น วัด โรงเรียน สาธารณสุขและโรงพยาบาล อสม. กํานันและผู้ใหญ่บ้าน สื่อสารมวลชน องค์กรบริษัท/ห้างร้าน จัดให้มีบ้านกตเวทิตาคุณ ในชุมชนสําหรับผู้สูงอายุที่ลูกหลานไม่สามารถดูแลได้ดีพอหรือไม่มีลูกหลานดูแล และต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพราะการดูแลผู้สูงอายุเป็นงานยากเหนื่อยและเครียดItem การแปรรูปผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ด้วยสมุนไพรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย; ปริศนา เพียรจริง; ปารินดา สุขสบาย; พันชัย เม่นฉาย; จารุณี วิเทศงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ในน้ำสมุนไพรที่ใช้สารธรรมชาติ ทดแทนความหวานจากน้ำตาล และศึกษาแนวทางในการนำเครื่องดื่มที่พัฒนาได้มาจัดทำเอกสาร ข้อมูลเพื่อขอมาตรฐานอาหารและยา ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้และส่งเสริมระบบการตลาดผ่านระบบออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ในน้ำใบเตย ที่ใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทรายสูตรที่เหมาะสมคือ มีความเข้มข้นของหญ้าหวาน เท่ากับ 0.0006ml/ml ส่วนเครื่องดื่มว่านหางจระเข้ในน้ำเก๊กฮวยที่ใช้หล่อฮังก๊วยทดแทนน้ำตาลทราย สูตรที่เหมาะสมคือ มีความเข้มข้นของหล่อฮังก๊วยเท่ากับ 0.0042ml/ml โดยได้รับการยอมรับจากผู้ทดสอบประสาทสัมผัสในค่าระดับคะแนนเฉลี่ย 6.96 ± 1.67 และ 7.28 ± 1.27 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าเครื่องดื่มว่านหางจระเข้ในน้ำใบเตยที่ใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทรายสูตรที่เหมาะสมมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยพบว่าปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของเครื่องดื่มที่ใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทราย และใช้หล่อฮังก๊วยทดแทนน้ำตาลทราย มีค่าเท่ากับ 554 ± 0.01 และ 375 ± 0.06 mg Quercetin/g extract ตามลำดับ ส่วนปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 301 ± 0.01 และ 176 ± 0.02 mg GAE/g extract ตามลำดับ ส่วนค่า IC50 เท่ากับ 22.63 และ 48.89 mg/mL ตามลำดับ และให้พลังงาน เท่ากับ 8.64 และ 22.28 แคลอรี ตามลำดับ ผู้วิจัยออกแบบฉลากต้นแบบมีขนาด 6.5 x 17 เซนติเมตร แบบสติ๊กเกอร์ประกอบด้วย 4 ด้าน และพบว่า จากผู้บริโภค จำนวน 113 คน (เพศหญิง ร้อยละ 52.21) ส่วนใหญ่พอใจกับขวดทรงกลม พลาสติกใส ที่มีขนาด 250 มิลลิลิตรมากที่สุด เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ในน้ำสมุนไพร เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ (กลุ่มที่ 1) ในการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและค้าขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร โดยยื่นเอกสารที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้วิจัยได้จัดตั้งศูนย์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ในน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ใช้สมุนไพรให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรหลักสอง หมู่ 1 ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัด สมุทรสาคร และจัดทำระบบส่งเสริมการขายแบบ online โดยการขายผ่าน Page Facebook สร้าง บัญชีผู้ใช้ใหม่เลือกหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และกำหนดเป็นเครื่องดื่มว่านหางจระเข้Item รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สุชาดา โทผล; สมศักดิ์ เจริญพูล; จันทรกานต์ ทรงเดช; ณัฐธิดา กิจเนตร; เมฐินีย์ นุ้ยสุด; สุทัศน์ ด่านตระกูลรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพและความต้องการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของชุมชน และรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน คณะผู้วิจัยร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับชุมชนเพื่อกำหนด แผนการดำเนินงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้สูงอายุ 340 คน เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุ 3 ด้าน คือ การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง การออกกำลังกาย และอาหาร รวมทั้งศึกษาศักยภาพชุมชนที่ได้จากการรับรู้ของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากสนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลเชิงปริมาณของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 58.24 อายุ อยู่ระหว่าง 60 – 69 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.18 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 65.88 ระดับการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 88.24 อาชีพรับจ้างทั่วไปหรือเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 26.18 และ 25.59 ตามลำดับ รายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 51.76 ส่วนมากป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 76.17 2. ศักยภาพชุมชนในการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นด้วย ว่าเป็นสิ่งสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ประเด็นเกี่ยวกับผู้นำชุมชน ทรัพยากรบุคคล การสื่อสารในชุมชน และประเด็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะ 3. การศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน พบว่า ประกอบด้วย 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ผู้สูงอายุสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมมีความหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน ประกอบด้วยความรู้ ปฏิบัติการ และสันทนาการ 3) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลา น้อย และ 4) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์และวัตถุดิบประกอบต้องหาได้ง่ายจากชุมชน 4. การสร้างแกนนำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ มีกระบวนการคัดเลือกจากเทศบาล ตำบลท่าเสด็จ จำนวน 10 คน และผ่านการอบรมโดยคณะผู้วิจัย 5. การจัดทำคู่มือกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน เพื่อให้เทศบาลตำบลท่าเสด็จใช้เป็นเครื่องมือ ในการจัดอบรมแกนนำและผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องItem การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) วันปิติ ธรรมศรี; จามรี กลางคาร; สุวิทย์ นำภาว์; เกียรติดำรง สังคมศิลป์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพื่อส่งเสริมการลดใช้สารเคมีในชุมชน ศึกษาเปรียบเทียบภาวะสุขภาพเพื่อส่งเสริมการลดใช้สารเคมีในชุมชน ศึกษาการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษของเกษตรกรในชุมชนสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ตัวแทนเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวของจังหวัดสระบุรี จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (T-Test) ผลการวิจัยมีดังนี้การจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนเฉลี่ย พบว่า ข้าวนาปีแบบใช้สารเคมี มีต้นทุนรวมเฉลี่ยสูงกว่าข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมี คือ 4,330 บาทต่อไร่ และ 3,906 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนกำไรเฉลี่ยของข้าวนาปีแบบใช้สารเคมีน้อยกว่าข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมี คือ 5,570 บาทต่อไร่ 6,054 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี พบว่า ความคุ้มค่าในการลงทุนเพาะปลูกข้าวแบบไม่ใช้สารเคมีมากกว่าแบบใช้สารเคมี จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมีมากกว่าแบบใช้สารเคมี จากการเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี จำนวน 24 คน พบว่า เกษตรกรไม่มีอาการแสดงความผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 91.67 และมีอาการผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 8.33 จากการสุ่มเมล็ดข้าวของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี จำนวน 12 แปลง (เกษตรกร 1 คนต่อแปลงข้าว 1 แปลง) เพื่อหาปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างใน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทรอยด์และกลุ่มคาร์บาเมต ด้วยเครื่อง Gas Chromatography (GC) พบว่า มีการปนเปื้อน จำนวน 8 แปลงซึ่งเป็นสารคลอร์ไพริฟอส ซึ่งอยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เมื่อทำการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบว่า มีค่าเกินมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดจำนวน 5 แปลง คิดเป็นร้อยละ 41.67 ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปศึกษาหาปริมาณการรับสัมผัสต่อวัน (Average daily dose; ADD) จากการบริโภคข้าวของเกษตรกร ซึ่งพบว่า ปริมาณการรับสัมผัสต่อวันของเกษตรกร จำนวน 8 คน มีค่าระหว่าง 0.0015-0.0082 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่า Acceptable Daily Intake (ADI) หรือ ค่าที่ยอมรับได้ในการรับสารเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยน้ำหนัก) คือที่ระดับ 0.001 พบว่า เกษตรกรทั้ง 8 คน ได้รับสารเกินกว่าค่าที่กำหนด อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการได้รับสารคลอร์ไพริฟอส จึงนำไปคำนวณหาค่า Hazard Quotient (HQ) ซึ่งพบว่ามีค่าน้อยกว่า 1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับผลการศึกษาการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ และการศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของเกษตรกรในชุมชนด้วยการใช้กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้วิจัย เกษตรกรและผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า โดยรวมเกษตรกรให้การยอมรับต่อแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษทั้ง 8 ด้านเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 ซึ่งมีเกณฑ์การยอมรับอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจของเกษตรกรโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากเช่นเดียวกันItem การศึกษาวัฏจักรชีวิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) จารินี ศานติจรรยาพร; ปริศนา เพียรจริงการศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง 1 ตัน โดยเริ่มจากการประเมินการเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลในหนึ่งรอบการเลี้ยงใน 1 ปี การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดิน และการถอดก้างปลานวลจันทร์ทะเลเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ ทำการประเมินวัฎจักร โดยทำการประเมินบัญชีรายการสารขาเข้า ชาออก และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP), ภาวะความเป็นกรด (Acidification Potential, AP), ภาวะการเพิ่มขึ้นของธาตุอาหารในนํ้า (Eutrophication Potential, EP) และความเป็นพิษโลหะหนัก (Marine toxicity: MRT) ซึ่งได้แก่ แคดเมียมและตะกั่ว หลังจากทำการประเมินพบว่า การเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลมีปริมาณสารขาเข้าและออกที่มากที่สุด คือ น้ำทะเลที่ใช้ในกิจกรรมการเพาะฟักลูกปลา โดยพลังงานไฟฟ้าใช้เพื่อการให้อากาศ และการสูบน้ำเป็นกิจกรรมที่พบมากที่สุด ส่วนการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดินมีปริมาณสารขาเข้าและออกเป็นน้ำทะเลในปริมาณมากเช่นกัน โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อการให้อากาศในบ่อปลาเป็นกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้น การถอดก้างปลานวลจันทร์ทะเลเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้างแช่แข็ง มีการใช้ตู้เย็นเพื่อแช่ปลาเป็นกิจกรรมหลัก เมื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากหน่วยหน้าที่ทั้งหมดพบว่า หน่วยเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลก่อผลกระทบทางด้านภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งระบบ 58,915.69 KgCO2 eq ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการให้ออกซิเจน และสูบน้ำ หน่วยหน้าที่ที่ก่อผลกระทบทางด้านด้านภาวะโลกร้อนรองลงมาคือ หน่วยถอดก้างปลา โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4,266.26 KgCO2 eq ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญ คือ การใช้ตู้เย็นเพื่อแช่ปลาถอดก้าง ส่วนการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดินปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,912.31 KgCO2 eq โดยกิจกรรมหลักที่เป็นสาเหตุ คือ การใช้พลังงานเพื่อให้อากาศ และการสูบน้ำ ส่วนการก่อมลพิษในรูปแบบภาวะฝนกรดจะเกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงในบ่อดินมากที่สุด คือ 2423.74 KgSO2 eq ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานเพื่อให้อากาศ และการปลดปล่อยแอมโมเนียจากบ่อ การก่อผลกระทบภาวะธาตุอาหารเกินในแหล่งน้ำพบมากจากการเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเล โดยพบว่ามีค่า 373 Kg PO4-3 eq ส่วนการก่อผลกระทบความพิษต่อสัตว์ทะเล พบเพียงตะกั่วที่ปล่อยออกจากระบบการเพาะเลี้ยง โดยพบตะกั่วรวมกัน 7 กิโลกรัม กิจกรรมการใช้พลังงาน การปล่อยของเสียออกจากระบบ และการใช้ตู้เย็นเป็นสาเหตุหลักของการก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรจะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยการใช้พลังงานทดแทน เข่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์Item การพัฒนาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สุทัศน์ จันบัวลา; วิทวัส รัตนถาวร; มานะ เอี่ยมบัว; วัชรากรณ์ เนตรหาญงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ แกลบ เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด ก้านปาล์มน้ำมัน และก้านมะพร้าว สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ผลการศึกษาพบว่า แกลบให้ค่าความร้อน 3860 Kcal/kg ความชื้น ร้อยละ 6.3 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 0.83 ปริมาณเถ้าร้อยละ 7.5 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 18.5 เหง้ามันสำปะหลัง ให้ค่าความร้อน 5316.6 Kcal/kg ความชื้นร้อยละ 7.8 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 2.22 ปริมาณเถ้าร้อยละ 11 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 56 ซังข้าวโพด ให้ค่าความร้อน 6,654.1 Kcal/kg ความชื้นร้อยละ 8.1 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 0.34 ปริมาณเถ้าร้อยละ 8.2 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 20.1 ก้านปาล์มน้ำมัน ให้ค่าความร้อน 5,200 Kcal/kg ความชื้นร้อยละ 8.4 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 2.21 ปริมาณเถ้าร้อยละ 7.1 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 23.54 ก้านมะพร้าว ให้ค่าความร้อน 5,112.6 Kcal/kg ความชื้นร้อยละ 7.3 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 0.18 ปริมาณเถ้าร้อยละ 7.3 ปริมาณ สารระเหยร้อยละ 25.4Item รูปแบบการกระจายน้ำและขอบเขตการเปียกชื้นของดินจากระบบชลประทานแบบหยดน้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่แห้งแล้ง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สุรชาติ สินวรณ์; ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ ทิพาวรรณ วรรณขัณฑ์รูปแบบการเปียกชื้นของดินในแปลงทดลองปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ตำบลทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีตลอดช่วงฤดูปลายฝน ปี พ.ศ. 2560 (เดือนตุลาคม 2559-พฤษภาคม 2560) โดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 โดยใช้พื้นที่ทดลอง 3.15 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อหาผลโดยรวมของการให้น้ำชลประทาน วิธีการให้น้ำชลประทานทั้ง 4 วิธี คือ ระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) และ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ต่อการเติบโต ผลผลิตหัวสด องค์ประกอบของผลผลิต การดูดใช้ธาตุอาหารหลัก (NPK) ประสิทธิภาพของพืชในการใช้น้ำชลประทานและผลตอบแทนจากการปลูกมันสำปะหลังโดยระบบชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยผลการให้น้ำชลประทานและวิธีการชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยวิธีการเฉลี่ยจากการใช้น้ำชลประทานทุกระบบแสดงให้เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโต ผลผลิตหัวสด การดูดใช้ธาตุอาหารหลัก (NPK) ในช่วงการให้น้ำโดยระบบชลประทานแบบต่างๆ และมีรูปแบบการเปียกชื้นในดินที่เตกต่างกันด้วยเช่นกัน รวมถึงประสิทธิภาพการใช้น้ำของมันสำปะหลังอย่างชัดเจน โดยที่ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้ผลตอบสนองโดยรวมสูงที่สุด รองลงมาระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) และระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน 40 (SDI) ขณะที่การศึกษาในรูปแบบการเปียกชื้นในดินจากระบบชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของหัวจ่ายน้ำจากต้นมันสำปะหลังที่ 5 10 และ 15 เซนติเมตรแนวขวาง และหัวจ่ายน้ำที่ ระยะ 10 30 และ 40 เซนติเมตร ตามระยะแนวดิ่ง โดยวัดความชื้นในดินที่ระยะทันทีหลังให้น้ำเสร็จ หลังให้น้ำเสร็จเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและหลังให้น้ำเสร็จเป็นเวลา 3 ชั่วโมง โดยพบว่าที่ระยะแนวขวางการให้น้ำผ่านหัวจ่ายน้ำที่มีระยะห่างจากต้นมันสำปะหลังที่ 5 เซนติเมตร จะให้การรูปแบบการกระจายน้ำอย่างสม่ำเสมอกว่าระยะห่างของหัวอื่นๆ ส่วนในแนวดิ่งรูปแบบการกระจายจะสม่ำเสมอและคงที่ เมื่อให้น้ำที่ระยะลึก 40 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื่องจากเป็นระยะต่ำกว่ารากมันสำปะหลังทำให้ไม่เกิดการแช่น้ำของราก (หัว) มันสำปะหลัง และอยู่ใกล้กับระยะรากมันสำปะหลังทำให้สามารถดูดใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระยะอื่น การปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ในแปลงทดลองมันสำปะหลังโดยใช้พันธุ์ห้วยบง 80 ในปลายฤดูฝนปี พ.ศ. 2560 ในพื้นที่ 3.15 ไร่ โดยระบบชลประทานทั้ง 4 แบบ ซึ่งเมื่อพิจารณาต้นทุนและรายได้ของการปลูกมันสำปะหลังที่ใช้ระบบชลประทานแต่ละแบบแล้ว พบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังจากการใช้ระบบชลประทานทั้ง 4 แบบ ให้ผลผลิตมันสำปะหลังที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเมื่อมีการใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 7,097 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) เท่ากับ 5,707 กิโลกรัมต่อไร่ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) เท่ากับ 3,392 กิโลกรัมต่อไร่ และแบบหยดบนผิวดิน (SDI) เท่ากับ 2,914 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเมื่อนำราคากลางของมันสำปะหลังในภาคกลาง ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ราคาของมันสำปะหลังสดจะเท่ากับ 2.20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้จากผลผลิตมันสำปะหลังที่เกิดจากการให้น้ำจากระบบชลประทานแบบต่างๆ คือ การใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้รายได้สูงที่สุดเท่ากับ 15,613 บาทต่อไร่ รองลงมาคือระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) เท่ากับ 12,555.40 บาทต่อไร่ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) เท่ากับ 7,462.40 บาทต่อไร่ และระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) เท่ากับ 6,410.80 บาทต่อไร่ เมื่อนำต้นทุนรวม (คงที่+ผันแปร) มาหักออกจากรายได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่า รายได้ที่เหลือคือรายได้เหนือต้นทุน ซึ่งการใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้รายได้เหนือต้นทุนสูงที่สุดเท่ากับ 11,578 บาทต่อไร่ ส่วนระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) ให้รายได้เหนือต้นทุนต่ำที่สุดเท่ากับ 2,818 บาทต่อไร่Item การจัดการมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนในกรุงเทพมหานครฯ โดยการวิเคราะห์การไหลของวัสดุ กรณีศึกษาโทรศัพท์มือถือ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย; เสรีย์ ตู้ประกายการศึกษาเรื่องการจัดการมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนในกรุงเทพมหานครฯ โดยการวิเคราะห์การไหลของวัสดุ กรณีศึกษาโทรศัพท์มือถือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สัดส่วนมูลฝอยอันตรายต่อมูลฝอยจากบ้านเรือนทั้งหมด 2. สำรวจประเภทและปริมาณของซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม และ 3. วิเคราะห์การไหลของวัสดุของโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม โดยศึกษามูลฝอยอันตราย 19 ชนิด จากการสุ่มตัวอย่างมูลฝอยในรถเก็บขนมูลฝอยของสำนักเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม 2560 และศึกษาการไหลของวัสดุจากกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร 2 กลุ่ม คือ ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนของมูลฝอยอันตรายต่อมูลฝอยทั้งหมด อยู่ในช่วง ร้อยละ 0.01 - 0.16 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 0.055 พบมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนมากที่สุดในเขตลาดกระบัง และคลองสาน พบน้อยที่สุดในเขต พญาไท บางแค ตลิ่งชัน และจอมทอง สัดส่วนของซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมต่อมูลฝอยอันตรายทั้งหมด อยู่ในช่วงร้อยละ 0.00 – 80.81 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 32.87 โดยพบซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมในเขตทวีวัฒนามากที่สุด และพบน้อยที่สุดในเขตบางกอกน้อย ประเภทของซากโทรศัพท์โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมที่พบมากที่สุดคือ สายไฟชาร์ตโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 38.30 รองลงมาคือ แบตเตอรี่สำรอง คิดเป็นร้อยละ 28.55 และพบว่า โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ไปสู่ตลาดโทรศัพท์มือสองประมาณร้อยละ 35 รองลงมามี 2 ส่วน คือ เก็บไว้ที่บ้าน และขายให้ซาเล้ง ประมาณร้อยละ 15 ลำดับสามมี 2 ส่วน คือ ขายร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือ และทิ้งถังขยะ ประมาณร้อยละ 10 ลำดับที่สี่ คือ ขายให้ร้านรับซื้อของเก่า ประมาณร้อยละ 8 ลำดับที่ห้า คือ ส่งไปยังแหล่งรวบรวมซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ประมาณร้อยละ 5 และลำดับสุดท้ายคือ การบริจาคให้คนรู้จัก หรือคนที่ต้องการ ประมาณร้อยละ 2Item การวิจัยและพัฒนาอิฐมอญ – มวลเผาโดยใช้วัสดุเหลือใช้จากโรงงาน อุตสาหกรรม (ระยะที่ 1)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สุทัศน์ จันบัวลา; วิทวัส รัตนถาวร; อาภาพรรณ สัตยาวิบูลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ผงฝุ่นที่เหลือจากอุตสาหกรรมโรงโม่หินสำหรับ ปรับปรุงสมบัติของอิฐดินเผามวลเบา โดยการเติมผงฝุ่นที่เหลือจากอุตสาหกรรมโรงโม่หินร้อยละ 10, 20, 30, 40 % โดยปริมาตร และเผาที่อุณหภูมิ 1000, 1100 oC ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณของผงฝุ่นจากจากโรงงานอุตสาหกรรมโรงโม่หินส่งผลให้อิฐดินเผามวลเบา มีค่าความพรุนตัวและการดูดซึมเพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำความร้อนและความหนาแน่นลดลง การเพิ่มอุณหภูมิเผาส่งผลให้ความพรุน และการดูดซึมน้ำลดลง ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเติมผงฝุ่นร้อยละ 40% และเผาที่อุณหภูมิ 1000 oC ชิ้นงานมีสมบัติที่ดีที่สุดคือ ความหนาแน่น 1.43 g / cm3 ความต้านทานแรงอัด 12.15 MPa การนำ ความร้อน 0.48 W/mK และการดูดซึมน้ำ 21.20Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผงเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟจากชุมชนบ้านบ่อสี่เหลี่ยม อำเภองาว จังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) วราภรณ์ วิทยาภรณ์; วีระพงศ์ วิรุฬห์ธนกฤษณ์; ฐิติวรฎา ใยสำลี; ปรียานิตย์ ตั้งธานาภักดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผงจากวัตถุดิบเมล็ดกาแฟของชุมชนบ้านบ่อสี่เหลี่ยม อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟของชุมชนบ้านบ่อสี่เหลี่ยม อำเภองาว จังหวัดลำปาง พบว่า กาแฟที่ปลูกเป็นสายพันธุ์อาราบิก้า ผลผลิตต่อปีประมาณ 5,000 กิโลกรัม ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีจำหน่าย ได้แก่ เมล็ดกาแฟกะลา เมล็ดกาแฟชนิด Honey process และเมล็ดกาแฟคั่ว ผลการศึกษาสภาวะในการทำแห้งแบบพ่นฝอย พบว่า อุณหภูมิขาเข้าของเครื่องทำแห้งที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผง คือ ที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ชนิดของสารเคลือบที่ใช้ห่อหุ้มสารสกัดกาแฟโดยใช้วิธีเอนแคปซูเลชัน คือ มอลโทเดกซ์ทรินที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 10 สูตรของกาแฟผสมสำเร็จรูปชนิด 3 in 1 ที่พัฒนาได้ ประกอบด้วย กาแฟผง ร้อยละ 15.88 น้ำตาลทราย ร้อยละ 36.29 ครีมเทียม ร้อยละ 47.63 กลิ่นรสกาแฟ ร้อยละ 0.10 และกลิ่นรสคาราเมล ร้อยละ 0.10 เมื่อทำการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า คะแนนความชอบเฉลี่ยของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กาแฟผสมสำเร็จรูปชนิด 3 in 1 อยู่ในระดับชอบปานกลางถึงมาก (7.4±0.8) ผู้บริโภคร้อยละ 92 ยอมรับผลิตภัณฑ์กาแฟผสมสำเร็จรูปชนิด 3 in 1 ที่พัฒนาได้ และผู้บริโภค ร้อยละ 88 ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ถ้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการวางจำหน่ายในท้องตลาด ผลด้านความพึงพอใจต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผงเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟ” พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากถึงมากที่สุดItem การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; ศิริพร นันทเสนีย์; ลัดดาวัลย์ เตชางกูร; พิไลพร สุขเจริญการวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาและรูปแบบการสอนของอาจารย์ในรายวิชากลุ่มวิชาชีพรายวิชาภาคทฤษฎี/ทดลองของคณะพยาบาลศาสตร์และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชากลุ่มวิชาชีพรายวิชาภาคทฤษฎี/ทดลองที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนในศตวรรษที่ 21 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีด้วยการสำรวจรูปแบบการเรียนรู้และรูปแบบการสอน และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจะนำไปสุ่ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้จากแบบประเมิน VARK สำหรับนักศึกษาพยาบาลใช้รูปแบบการเรียนรู้ ผ่านการอ่านเขียน (R) ร้อยละ 30.90 เรียนรู้ผ่านการได้ยินหรือได้ฟัง (A) ร้อยละ26.31 และเรียนรู้ผ่านการกระทำ (K) ร้อยละ 24.15 และเรียนรู้ผ่านการมองเห็น (V) ร้อยละ 18.64 อาจารย์พยาบาลใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการอ่านเขียน (R) ร้อยละ 30.00 เรียนรู้ผ่านการได้ยินหรือได้ฟัง (A) ร้อยละ 26.67 เรียนรู้ผ่านการกระทำ (K) ร้อยละ 23.33 และเรียนรู้ผ่านการมองเห็น (V) ร้อยละ 20.00 2. รูปแบบการสอนของอาจารย์ตามแนวคิดของ Grasha (1994) นักศึกษาเห็นว่า รูปแบบการสอนโดยยกตนเป็นต้นแบบ ในระดับมาก (Mean = 3.95, S.D. = 0.74) รองลงมาคือ รูปแบบการสอนแบบเป็นอาจารย์ (Mean = 3.90, S.D. = 0.74) รูปแบบการสอนแบบเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Mean = 3.89, S.D. = 0.76) รูปแบบการสอนโดยการมอบหมายงาน (Mean = 3.89, S.D. = 0.75) และรูปแบบการสอนโดยเป็นผู้เอื้ออำนวย (Mean = 3.88, S.D. = 0.77) ในขณะที่อาจารย์พบว่าตนเองมีรูปแบบการสอนแบบเป็นอาจารย์ ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.29, S.D. = 0.62) รองลงมา คือ สอนโดยยกตนเป็นต้นแบบ (Mean = 4.20, S.D. = 0.66) สอนโดยการมอบหมายงาน (Mean = 4.14, S.D. = 0.71) สอนโดยเป็นผู้เอื้ออำนวย (Mean = 4.12, S.D. = 0.75) และสอนแบบเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Mean = 3.95, S.D. = 0.79) 3. กระบวนการเรียนการสอนในรายวิชากลุ่มวิชาชีพรายวิชาภาคทฤษฎี/ทดลองที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1) การจัดเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบลดเวลาเรียน และเพิ่มเวลารู้ 3) การมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการเรียนรู้ และ 4) การใช้สื่อและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน