Suan Dusit University's Institutional Repository
คลังข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Communities in Suan Dusit
Select a community to browse its collections.
Recent Submissions
นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ สุพรรณบุรี เยี่ยมชมกระบวนการผลิตนมสวนดุสิต
(2025-05-08) โครงการปฏิบัติการอาหารแปรรูป มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ สุพรรณบุรี จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 ในเวลา 9.00 - 10.50 น. จำนวน 48 คน
โดยมีการจัดกิจกรรม La-orutis Guest (การผลิตนม) ร่วมกับทางโครงการปฏิบัติการอาหารแปรรูป (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)
เพื่อให้น้องๆได้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตนมสวนดุสิต
การพัฒนารูปแบบการตลาดเชิงรุก
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา หัวหิน, 2025-04-28) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา หัวหิน
การพัฒนารูปแบบการจัดการการเรียนรู้แบบ TPACK Model ต่อความสามารถทางภาษาอังกฤษในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ขวัญหทัย เชิดชู
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด TPACK Model ในรายวิชาภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถของนักศึกษาก่อนและหลังจากประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK Model และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด TPACK Model ในรายวิชา ภาษาอังกฤษ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด TPACK Model 2) โปรแกรมภาษาอังกฤษ มัลติมีเดีย ชุด English Discoveries Online 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการ เรียนการสอนแบบ TPACK Model 4) ข้อสอบ Placement test online ในชุด English Discoveries Online สถิติที่ใช้ในงานวิจัย 1) ใช้วิธี Paired Sample t-test เป็นการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ TPACK Model เพื่อดูความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการวิเคราะห์ความคิดเห็นในแบบสอบถามของนักศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในร้อยละ 76-100 ที่มีความคิดเห็นในระดับมาก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 และมีความคิดเห็นระดับ 51 75% จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 และมีความคิดเห็นระดับ 26-50% จำนวน 1 คน คิด เป็นร้อยละ 2.50 ตามลำดับ โดยในข้อคำถามนี้มีผู้เรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ประมาณร้อยละของผู้สอนมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียนที่รวมเทคโนโลยี เนื้อหา และวิธีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นด้านดังกล่าว ดังนี้ ผู้เรียนมีความคิดเห็นใน ร้อยละ 76-100 ที่มีความคิดเห็นในระดับมาก จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และมีความคิดเห็นระดับ 51-75% จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 และมีความคิดเห็นระดับ 26-50% จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7.50 ตามลำดับ โดยในข้อคำถามนี้มีผู้เรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 41 คน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) เอมอร ปันทะสืบ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาศาสตร์พระราชากับการศึกษาปฐมวัย ตอนเรียน LA จำนวน 12 คน ซึ่งได้ทำงานวิจัยในรูปแบบงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศาสตร์พระราชากับการศึกษาปฐมวัย โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Cornell Critical Thinking Test Level X) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณเท่ากับ 32.67 และ 47.50 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 5.82 และ 6.04 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น สามารถเรียนรู้จากบริบทจริง ตลอดสามารถให้เหตุผลและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดได้
การส่งเสริมพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรายวิชาสังคมอารยชน
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ยุสนีย์ โสมทัศน์
การศึกษาวิจัย เรื่องการส่งเสริมพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรายวิชาสังคมอารยชน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อพัฒนากิจกรรม การเรียนที่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาในรายวิชาสังคมอารยชน และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาในรายวิชาสังคมอารยชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และแบบประเมินพฤติกรรมการแบ่งปัน ความรู้ของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์รายวิชาสังคมอารยชน ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอนจะมีการบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย การสรุปความคิดรวบยอดด้วยแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การมอบหมายงานให้ค้นคว้าในประเด็นที่ตนเองสนใจ การสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศการเรียนรู้จากสถานการณ์ และการทำโครงการ หลังจากนั้นผู้สอนจะมอบหมายให้ผู้เรียนนำผลงานไปใส่ไว้ในกลุ่มเฟซบุ๊ก (Facebook) ของห้องเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2. พฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาในรายวิชาสังคมอารยชน พบว่า พฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ในภาพรวม ในระดับมากที่สุด (𝑥 ̅= 4.41, SD.=0.13) เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่าพฤติกรรม การแบ่งปันความรู้ที่นักศึกษาได้ดำเนิน ดังนี้ การถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้อื่น (𝑥 ̅= 4.76) รองลงมาคือ การกระจายความรู้ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร (𝑥 ̅= 4.55) การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน (𝑥 การกระจายความรู้ในรูปแบบอื่น ๆ (𝑥̅= 4.41) การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ (𝑥 ̅= 4.53) ̅= 4.12) และการส่งข้อมูล หรือความรู้ให้แก่ผู้รับ (𝑥 ̅= 4.06) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้สอนควรนำสื่อสังคม ออนไลน์เป็นสื่อเสริมในการสอนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษา นอกจากนี้ควรมีช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเพื่อแบ่งปัน ความรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น