Browse
Recent Submissions
Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อสุขภาพแบบคีโต (Ketogenic Diet)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) ณัชฌา พันธุ์วงษ์; พรทวี ธนสัมบัณณ์; มนฤทัย ศรีทองเกิด; บุญญาพร เชื่อมสมพงษ์งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมการพัฒนาผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่สุขภาพแบบคีโต โดยการศึกษาการนำแป้งที่มีคุณสมบัติต้านการย่อย (แป้งกล้วยน้ำว้า แป้งถั่วขาวและแป้ง อัลมอลด์) ทดแทนแป้งสาลีและสารให้ความหวานพลังงานต่ำ (น้ำตาลหล่อฮังก๊วยและสารให้ความหวานซูคราโรส) แทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เอแคลร์และชีสเค้ก โดยออกแบบการทดลองแปรปริมาณการทดแทนแป้งอยู่ในช่วง 10-50% และสารให้ความหวานที่ 100% ในอัตราส่วน 3 ระดับของสารให้ความหวานทั้งสองชนิด ผลการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์เอแคลร์มีค่าคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านรสชาติ ลักษณะ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยผลิตภัณฑ์เอแคลร์ที่มีการทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งต้านการย่อยที่เท่ากับร้อยละ 70 (แป้งอัลมอนด์ 30% แป้งถั่วขาว 20% และแป้งกล้วยน้ำว้า 20%) และสารให้ความหวานอัตราส่วนน้ำตาลหล่อฮังก๊วย 70% ต่อซูคราโรส 30% เป็นสิ่งทดลองที่เหมาะสมมากที่สุดโดยให้ค่าความชอบโดยรวมผลิตภัณฑ์ต้นแบบคะแนนเท่ากับ 7.63 ผลิตภัณฑ์ชีสเค้กมีค่าคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านกลิ่นรสหวาน ความเข้มรสหวาน และความชอบโดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยผลิตภัณฑ์มีชีสเค้กที่มีการทดแทนด้วยแป้งต้านการย่อยที่เท่ากับร้อยละ 60 (แป้งอัลมอนด์ 20% แป้งถั่วขาว 20% และแป้งกล้วยน้ำว้า 20%) และสารให้ความหวานอัตราส่วนน้ำตาลหล่อฮังก๊วย 70% ต่อซูคราโรส 30% เป็นสิ่งทดลองที่เหมาะสมมากที่สุดโดยให้ค่าความชอบโดยรวมผลิตภัณฑ์ต้นแบบคะแนนเท่ากับ 7.25 ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์พบว่าปริมาณพลังงานรวมคาร์โบไฮเดรตและไขมันเมื่อเทียบกับตำรับพื้นฐานทั้งผลิตภัณฑ์เอแคลร์และชีสเค้กในระดับที่ลดลง โดยคิดเป็นร้อยละพลังงานโดยรวมลดลงร้อยละ 15.40 (เอแคลร์) และ11.25 (ชีสเค้ก) ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้เก็บรักษาที่อุณหภูมิแช่เย็นมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคตลอดการเก็บรักษา 10 วัน ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อสุขภาพแบบคีโตที่ผลิตได้เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารแนวรูปแบบคีโตItem รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้โมบายช่วยเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) รัตนา กลิ่นจุ้ยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้โมบายช่วยเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้โมบายช่วยเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้โมบายช่วยเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในชั้นเรียนปฐมวัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน การวิจัยนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความเห็นและความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้แอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมบายช่วยเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันยูทูปและติ๊กต๊อกสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันซี 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติ t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายพรรณนา ผลการวิจัย 1) ผู้เรียนกลุ่มเจเนอเรชันซีมองว่าการเรียนเครื่องมือบนโมบายยังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการออกเสียง ในหลากหลายรูปแบบจากการใช้เครื่องมือหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ มีความสะดวกในการใช้งานจากการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทำให้ไม่มีข้อจำกัด ด้านสถานที่และเวลา 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคุณภาพเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามีระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดที่สูงขึ้น โดยทักษะด้านการฟังก่อนการทดลองใช้รูปแบบฯ ร้อยละ 57.84 อยู่ในระดับต่ำ และหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ ร้อยละ 82.66 อยู่ในระดับมาก และมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการทดสอบการพูดทั้งสามครั้ง โดยมีเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยครั้งที่ 1 ได้ร้อยละ 73.33 อยู่ในระดับดี ครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 78.33 อยู่ในระดับดี และครั้งที่ 3 ได้ร้อยละ 85.42 อยู่ในระดับดีมาก ระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในระดับที่เห็นด้วยมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้สูงขึ้นItem ผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจ ทักษะการสื่อสารและทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) รังสรรค์ มาระเพ็ญ; อริยา ดีประเสริฐการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ 1 กลุ่มวัดผล ก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2564 เลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่มละ 9-10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความมั่นใจ 2) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร 3) แบบประเมินทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการ พยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (mean=3.88, SD=0.23 และ mean=3.63, SD=0.26) เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนหลังการทดลองพบว่าคะแนนเฉลี่ย ความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-6.07) คะแนนทักษะการสื่อสารในการเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังใช้ Role play simulation อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และคะแนนทักษะการปฎิบัติ การพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองส่วนใหญปฏิบัติได้อย่างชำนาญ จากผลการศึกษานี้สามารถนำการใช้ Role play simulation มีช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน ส่งเสริมทักษะการสื่อสารในการเยี่ยมบ้าน และส่งเสริมทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลได้Item การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุกของนักศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) อัษฎา พลอยโสภณ; รัตนาพร หลวงแก้ว; นงเยาว์ นุชนารถการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการฯ ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประกอบด้วย กรุงเทพฯ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานครนายก ศูนย์การศึกษาลำปาง จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ ได้แก่ กรุงเทพฯ จำนวน 35 คน และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการฯ 2) แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง 3) แบบวัดกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก 4) แบบสอบความความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวฯ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหาจากโปรแกรม QDA Miner Lite Program และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ t-test ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงสร้างการบริหาร กิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการนักศึกษา และการกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครอง มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ด้านกระบวนการ พบว่า บริการสนเทศ การป้องกันปัญหา การแนะแนวอาชีพ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ด้านผลผลิต พบว่า มีการให้บริการปรึกษาเมื่อนักศึกษาเผชิญความเครียด มีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะเผชิญความเครียด และนักศึกษามีทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองและสถานศึกษา มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ การบริหารจัดการ (Administrative) บุคลากร (Staff) กิจกรรม (Activity) วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) และการประเมินผล (Assessment) 3. ผลศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก พบว่า รูปแบบการบริหารงานแนะแนวสามารถเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05Item ผลของการใช้การเรียนรู้แบบรร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยว ต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในการจัดการศึกษาแบบผสมผสาน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) พรรณ ปาละสุวรรณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ 5 เดี่ยว และ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยวต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหาร และการบริการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมแบบทีม คู่ เดี่ยว ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยใช้สถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการพูด ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น หลังการเรียนรู้โดยวิธีการแบบร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยว 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยว อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และผู้เรียนชอบกิจกรรมในรูปแบบร่วมมือกันแบบเดี่ยว คู่ ทีมเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน โดยมีความคิดเห็นว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยว ทำให้ไม่น่าเบื่อ ขณะเรียนสมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือกันได้ใช้ความคิดร่วมกันได้ฝึกการทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่เน้นวิธีการสอนแบบทีม คู่ เดี่ยว สามารถสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาภาษาอังกฤษให้ผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ทำให้อยากเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น และอยากให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษItem การพัฒนาต้นแบบปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงจากวัสดุเหลือทิ้งชุมชน ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อสงเสริมคุณภาพดินปลูก และยกระดับผลผลิตพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; สุรชาติ สินวรณ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR สูตรที่เหมาะสมร่วมกับระบบน้ำหยด โดยคัดแยกแบคทีเรีย PGPR ในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญของพืชนำมาพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR เพื่อส่งเสริมคุณภาพดินปลูกเพื่อยกระดับผลผลิตเมล่อนและข้าว ในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อเป็นต้นแบบของชุมชน โดยเก็บแบคทีเรียรอบรากพืช นำมาคัดแยกแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ โดยทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติแบบ F-test ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ที่ใส่น้ำหมักมูลไส้เดือน 2 ลิตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมลอนพันธุ์ออเร้จน์แมน โดยแสดงค่าเฉลี่ยความกว้างใบ ค่าเฉลี่ยความยาวใบ ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของล้าต้น ค่าเฉลี่ยขนาดผล ค่าเฉลี่ยน้ำหนักผลและค่าเฉลี่ยความหวาน มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ต่อการเจริญของข้าวพบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 2 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวมากที่สุด 226.32 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมา ได้แก่ ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 1 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวเท่ากับ 120.21 กิโลกรัม/ไร่ และข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ตำรับที่ 3 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวน้อยที่สุดเท่ากับ 103.55 กิโลกรัม/ไร่Item ต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัยในเขตพื้นที่ภาคกลาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สุรชาติ สินวรณ์; ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; ยุธยา อยู่เย็น; ทิพาวรรณ วรรณขัณฑการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัย ได้แก่ นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนแล้ง นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงดินจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน นำไปใช้ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและเมล่อน นวัตกรรมการจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนปลูกมะเขือเทศ โดยใช้คลื่นแสงเสริม และ 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและการใช้ต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัย โดยจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาซึ่ง มีอาชีพเกษตร จำนวน 262 คน ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564-10 กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้แบบประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบ นวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัยหลังการอบรม และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมจำนวนทั้งสิ้น 262 คนเป็นชาย จำนวน 174 คน (66.41%) และเป็นหญิง จำนวน 189 คน (72.14%) มีระยะเวลาในการทำการเกษตรในช่วง 16-20 ปี มีจำนวน 134 คน (51.15%) ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 213 คน (81.30%) มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 83 คน (31.68%) มีรูปแบบการใช้ปุ๋ยชีวภาพ โดยการซื้อใช้สูงสุดเท่ากับ 117 คน (44.66%) ในส่วนของคะแนนในการทำแบบทดสอบความรู้ของผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการต้นแบบ นวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะแล้งตามแนวทางเกษตรกรปลอดภัยในเขตภาคกลาง จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถทำได้ 10 คะแนน จำนวน 138 คน (52.67%) ส่วนการประเมินความรู้ความเข้าใจเล่มคู่มือในส่วนระดับมาก โดยมีเนื้อหามีความสอดคล้องและตรงประเด็น จำนวน 180 คน (68.70%) ขนาดอักษรมีความเหมาะสม จำนวน 202 คน (77.10%) การศึกษานำไปสู่การพัฒนาทักษะและวิธีการ จำนวน 260 คน (99.24%) ได้รับความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นจากการอ่านเล่มคู่มืออบรม จำนวน 190 คน (72.52%) และการศึกษาเล่มคู่มือ ท่านมีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ จำนวน 183 คน (69.85%) ผลประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อการสาธิตวิธีการ สูงสุดในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ โดยผลการประเมินคะแนนระดับ 5 (มากที่สุด) ในประเด็น การสาธิต ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจสามารถนำขั้นตอนไปปรับใช้ได้ จำนวน 117 คน (44.66%) อุปกรณ์และเอกสารประกอบการสาธิต มีความเหมาะสมและเพียงพอ จำนวน 211 คน (80.53% ขั้นตอนการสาธิต ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ จำนวน 243 คน (92.75%) ผู้จัดอบรมใช้ภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายระหว่างการสาธิต จำนวน 139 คน (53.05%) การดำเนินงานได้ใช้พื้นที่ประสาน ณ ฟอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยมีสถานที่ทั้งแบบสาธิตการปลูกพืช การผลิตปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน การวิเคราะห์ปุ๋ย สารเคมีและสารกำจัดจัดศัตรูพืช การวิเคราะห์เพื่อรับรอง GAP การให้คำปรึกษาทางการตลาดให้แก่เกษตร และการวิจัยและการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางItem การจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนที่เหมาะสมร่วมกับการจัดช่วงคลื่นแสงต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลผลิตพืชโรงเรือนในพื้นที่ภาคกลางในภาวะภัยแล้ง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สุรชาติ สินวรณ์; ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; ทิพาวรรณ วรรณขัณฑ์; วราภรณ์ เศรษฐพฤกษาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมกับการเติบโต และผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 2. วิเคราะห์ต้นทุน-รายได้ของการใช้เทคโนโลยีคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 3. เพื่อส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนโดยใช้คลื่นแสง เสริมที่เหมาะสมไปยังวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่เป้าหมาย และ 4. ลดปริมาณการใช้น้ำในโรงเรือน ลงไปร้อยละ 20 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในส่วนที่ 1 คือ การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยดในโรงเรือนออกแบบการทดลองแบบ CRD จำนวน 8 ตำรับการทดลอง เพื่อทดสอบผลต่อคุณภาพน้ำอันได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิของน้ำ ค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลาย (BOD) ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) ค่าฟอสฟอรัส ค่าการน้ำ ไฟฟ้า ค่าไนเตรท และค่าไนไตร์ทในน้ำตัวอย่าง ทำการทดสอบ 3 ซ้ำ ส่วนที่ 2 การพัฒนาแสงเสริมในการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน โดยออกแบบการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ; RCBD Split Plot โดยแบ่ง Main Plot เป็นชนิดของการให้แสง และ Subplot เป็นแบบความเข้มแสงที่ระดับ 150 และ 200 mmol-1s-2 โดยแต่ละแถว Main Plot ได้แก่ A B C D และควบคุม จะมีการปลูกมะเขือเทศจำนวนแถวละ 40 ต้น โดยแบ่งเป็นความเข้มแสงที่ระดับ 150 mmol-1s-2 จำนวน 20 ต้น และ 200 mmol-1s-2 และจำนวน 20 ต้น ส่วนแถวควบคุมจะมี 40 ต้น โดยให้แสงเสริมในช่วง 18.00 -22.00 น. ทุกวัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนการเติบโตและผลผลิต ต้นทุน-รายได้ และร้อยละของการประหยัดน้ำในการปลูกเปรียบเทียบกับผลผลิต โดยเครื่องมือที่อุปกรณ์ในการศึกษาในการวิเคราะห์โครงสร้างและคุณลักษณะของสารปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการวิเคราะห์คลื่นและความเข้มแสงเสริม รวมถึงการวัดขนาดน้ำหนัก และคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ ในส่วนที่ 1 การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยด พบว่า สารที่พัฒนาขึ้นในทุกตำรับการทดลองสามารถบำบัดคุณภาพน้ำได้ดี โดยในส่วนตำรับ การทดลองที่ 4 (ซีโอไลต์ชนิดผง 1 กรัม + ไทเทเนียม 0.01 กรัม + ไคโตซานผง 0.03 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) สามารถทำให้ค่าเฉลี่ยต่ำ ได้แก่ BOD เท่ากับ 3.37 mg/l ค่าฟอสฟอรัส เท่ากับ 0.001 mg/l และค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 1,224.33 ms/cm ขณะที่ตำรับการทดลองที่ 7 ให้ค่าเฉลี่ย DO เฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 8.4 mg/l และให้ค่าไนไตร์ทเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 0.0029 ml/g ค่าไนเตรทเท่ากับ 0.66 mg/g ส่วนตำรับการทดลองที่ 8 ให้ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกรดที่สุดอยู่ระหว่าง 7.28 และอุณหภูมิ ในน้ำให้ค่าใกล้เคียงกันในทุกตำรับการทดลอง ส่วนที่ 2 ในการพัฒนาคลื่นแสงเสริมต่อมะเขือเทศในโรงเรือนแบบกึ่งปิด (ปิดในช่วง 11.00-14.00 น.) ที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้คลื่นแสงเสริมระหว่างสีแดงและสีน้ำเงิน อัตรา 1:1 ที่ความเข้มแสง 200 mmol-1s-2 ร่วมกับแสงสีขาวที่ 3000 K ซึ่งทำให้มะเขือเทศในโรงเรือนตอบสนองในรูปแบบการเติบโตทั้งจำนวนข้อที่เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 80.4 ข้อ เส้นรอบลำต้นที่ค่าเฉลี่ย 5.06 cm น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนรากและลำต้น เท่ากับ 1,105.3 g ผลผลิตทั้งในส่วนน้ำหนักผลเฉลี่ยสูงสุดต่อต้นเท่ากับ 1228.5 g และความหวานเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 12 องศาบริกซ์ รวมถึงสามารถประหยัดน้ำจากการเพาะปลูก ถึงร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองควบคุมItem การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริม ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) รวี ศิริปริชยากรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดย บูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออก เสียงภาษาอังกฤษและการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษฯ ของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษฯ ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อความสนุกสนาน (English for Fun) รหัสวิชา 1072319 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 ห้อง NA จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงตามหลักโฟ นิกส์ (Phonics) 3) แบบประเมินการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมิน ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษฯ มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ โดยเฉลี่ย 0.98 ซึ่งมีความสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด และค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.07/86.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) คะแนนทักษะการ อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ โดภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46Item กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; จิรัฐ ชวนชม; อัมพร ศรีประเสริฐสุข; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; พรเพ็ญ ไตรพงษการวิจัยนี้มุ่งศึกษา ดังนี้ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการบริการกับระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ได้แก่ ผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลรวมความคาดหวังในการบริการที่มีต่อแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ 80.71 จากคะแนนเต็ม 7) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยว ประเมินความพร้อมในการบริการที่ได้รับจากที่อื่นสูงกว่าสิ่งที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการบริการที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านความสุภาพ อย่างคงเส้นคงวาไม่พบความแตกต่าง ผลการศึกษาระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการ และวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมากเกิน 5.60 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 7) ยกเว้นคุณภาพการบริการด้านการเห็นอกเห็นใจ (ค่าเฉลี่ย = 5.56) และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (ค่าเฉลี่ย = 5.41) 2) ผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีการพัฒนาคุณภาพบริการแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 4.03) ซึ่งเป็นเพียงด้านเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยเกิน 4.00 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนในด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ 3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการ (2) ปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพ การบริการในด้านต่าง ๆ (3) พัฒนาวิทยากร/นักสื่อความหมายให้มีคุณภาพ และ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้คุณภาพการบริการItem การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะ Oracy ของ นักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศโดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สินชัย จันทร์เสม; เอมมิกา วชิระวินท์; ชนินทร์ ฐิติเพชรกุล; กุสุมา คำผางการวิจัยนี้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ และ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตอุทิศโดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกับเทคโนโลยีดิจิทัล ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์แรกเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้บริหารและครู จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร แนวทางการพัฒนาทักษะ Oracy ในประเทศอังกฤษของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ รวมถึงนำผลจากการสำรวจความต้องการพัฒนาทักษะความต้องการ Oracy ของครู ผู้บริหารและผู้ปกครองโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มาใช้ในการออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียน โดยกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบเนื้อหา ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดประเมินรวมถึงสื่อการเรียนรู้ ในการประเมินหลักสูตรได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตร ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านเนื้อหา 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพของหลักสูตรได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับมากที่สุด จากนั้นผู้วิจัยทำการทดลองการใช้หลักสูตรในการอบรมนักเรียนเพื่อประเมินหลักสูตร ผู้เข้าอบรมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 18 คน ผู้เข้าร่วมทั้งหมดถูกเลือกโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผลจากการสำรวจพบว่า ความต้องการ Oracy Skills ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับสำคัญมากในทุกองค์ประกอบและทุก Stand โดยรวมแล้วมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.93 สำหรับการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการประเมินในกระบวนการประเมินหลักสูตร Wilcoxon Singed Rank test (WSRT) พบว่า ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการประเมินของนักศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p =.002).Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) อรรถ ขันสี; อัศพงษ์ อุประวรรณา; สังวาลย์ ชมพูจา; จรรยา โท๊ะนาบุตรการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เนื้อว่านหางจระเข้ต่อน้ำเชื่อม เพื่อพัฒนาตํารับเนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นรส เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหวานสําหรับรับประทานและเพื่อสุขภาพ และเพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-45 ปี จํานวน 100 คน โดยใช้วิธีการสํารวจตัวอย่าง (Sample Survey) เนื่องจากคณะผู้วิจัยได้กําหนดกลุ่มทดลองเป้าหมายเป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-45 ปี และมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารหวานเพื่อสุขภาพในชีวิตประจําวัน โดยพัฒนาแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีพื้นที่การวิจัยในอำเภอเมือง จังหวัดลําปาง ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้บริโภคเป้าหมายที่มีต่อแนวทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม พบว่า เนื้อว่านหางจระเข้ควรมีขนาดชิ้นประมาณ 1.5–2 เซนติเมตร บรรจุในภาชนะขนาด 5 ออนซ์ และเมื่อพิจารณาจากการแต่งสีเขียวของแอปเปิลเขียว พบว่า สีดังกล่าวเป็นสีที่สัมพันธ์และบ่งบอกเอกลักษณ์ของสีแอปเปิ้ลเขียวและพัฒนาเป็นกลิ่นรสแอปเปิ้ลเขียว โดยพิจารณาใช้สีเขียวของแอปเปิ้ลเขียวเพื่อใช้ในการแต่งสีและกลิ่นของผลิตภัณฑ์ต่อไป 2. ผลการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมและนำไปวิเคราะห์ทางกายภาพ พบว่า เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมแต่ละสูตรที่พัฒนาขึ้นไม่ส่งผลต่อค่าความสว่าง (L*) ของผลิตภัณฑ์ (p>0.05) แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของน้ําตาลสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าความเป็นสีแดง (a*) ของเนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (p≤0.05) และสูตรที่ได้รับการยอมรับ จากผู้ทดสอบสูงที่สุด คือ เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมที่มีสัดส่วนน้ำตาล : กรดซิตริก : น้ำเปล่า คือ 60 : 0.5 : 39.5 ซึ่งได้รับคะแนนอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และเมื่อนําตัวอย่างไปพัฒนาต่อด้วยการ แต่งสี และกลิ่น พบว่าการแต่งสีและกลิ่นส่งผลให้เกิดความชอบของผลิตภัณฑ์สูงยิ่งขึ้นโดยตัวอย่างที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุด คือ ตัวอย่างเนื้อว่านหางจระเข้เสริมสีเขียวแอปเปิ้ลเจือจาง 100 เท่า ร้อยละ 5 ร่วมกับกลิ่นแอปเปิ้ลเขียว ร้อยละ 0.01 โดยได้รับคะแนนความชอบอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก 3. จากการนําตัวอย่างไปทดสอบอายุการเก็บรักษาโดยการแช่เย็นและใช้สารกันบูด คือ โซเดียมเบนโซเอตความเข้มข้น ร้อยละ 0.5 ของน้ำหนักอาหาร พบว่า ตัวอย่างทั้งสองมีอายุการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 60 วัน โดยมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยอิงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำว่านหางจระเข้ คือ ไม่เกิน 1x104 CFU/ มิลลิลิตร และ 100 CFU/มิลลิลิตร ตามลําดับ โดยไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า pH ปริมาณ ของแข็งที่ละลายน้ำได้และค่าสี (CIE-Lab) (p>0.05) เมื่อนําตัวอย่างที่ได้ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้แต่งสีเขียวแอปเปิ้ลและกลิ่นแอปเปิ้ลเขียวได้รับคะแนน ความชอบอยู่ในระดับปานกลางถึงมากItem การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของละมุดออร์แกนิคเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) จิราภรณ์ ทองตัน; วรพงศ์ ภู่พงศ์; ธนิกานต์ นับวันดีการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดใบละมุดอินทรีย์ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ แยกองค์ประกอบทางเคมี ได้ผลดังนี้ วิธีการสกัดที่ดีที่สุด คือ วิธีการหมัก (Maceration) ใช้ร้อยละ 95 เอทานอลเป็นตัวทำละลาย ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสกัดใบละมุดออร์แกนิคสดด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าสารสกัดใบละมุดสดที่สกัดด้วยวิธีการหมัก ด้วยร้อยละ 95 เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน ค่า IC50 ดีที่สุด ที่ 0.038± 0.003 และค่า TEAC (mg TE/g crude extract) ที่ 31.188± 0.003 และผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS มีค่า IC50 ดีที่สุดที่ 0.051± 0.003 และค่า TEAC (mg TE/g crude extract) ที่ 47.98± 0.003 ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสกัดใบละมุดสด สกัดด้วยร้อยละ 95 เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนาน 1 วัน มีการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสดีที่สุด ที่ร้อยละ 99.92 และเมื่อเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิก (Kojic acid) มีค่า 4.78 มิลลิกรัมสมมูลกรดโคจิกต่อกรัมสารสกัด ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส มีค่า IC50 เท่ากับ 0.25±0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร คิดเป็น 0.32 เท่าของ epigallocatechin gallate (EGCG) สารสกัดใบละมุดอินทรีย์ที่ความเข้มข้น 0.0001-1.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ของผิวหนังมนุษย์ โดยมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตอยู่ระหว่างร้อยละ 85.36-104.27 แยกองค์ประกอบทางเคมีตามฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้องค์ประกอบทางเคมีคือ MyricitrinItem นวัตกรรมการฝึกอบรมทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการสำหรับบุคลากรวัยทำงาน (Re-Skill/ Up-Skill) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) (ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) จิรานุช โสภา; พรรณี สวนเพลง; ชุติมา จักรจรัส; พิมพ์รวี ทหารแกล้ว; ณัฐปรียา โพธิ์พันธุ์; วริษฐา แก่นสานสันติ; ศริญญา ประเสริฐสุด; ทินกร ชุณหภัทรกุลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (Travel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 2) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 30 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้กับบุคคลาการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ผลการวิจัยพบว่า 1) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (Travel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์นำเที่ยว มาสอนให้กับเยาวชนในท้องถิ่น ใช้เวลาในการฝึกอบรม 2 วัน ภาคทฤษฎี 12 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 105 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจมากในทีมวิทยากร เนื้อหาการอบรมสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และมีคาดหวังให้ทางทีมวิจัยต่อยอดการจัดอบรมในหัวข้ออื่น ๆ 2) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ส่งผลกระทบต่อการจัดการฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) ด้วยการปรับเปลี่ยนการฝึกอบรม 2 รูปแบบ คือ - การฝึกอบรมในพื้นที่ (Onsite) ให้กับการพนักงานแผนกประกอบอาหาร (Food production) สุขาภิบาลและความปลอดภัยของผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 310 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจมากในทีมวิทยากร เนื้อหาการอบรมสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และมีคาดหวังให้ทางทีมวิจัยต่อยอดการจัดอบรมในหัวข้ออื่น ๆ - การฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ (Online) ด้วยการนำ 6 หลักสูตร ได้แก่ ยุวมัคคุเทศก์ นำเที่ยว พนักงานแผนกแม่บ้าน พนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานแผนกประกอบอาหาร พนักงานแผนกอาหารและเครื่องดื่ม สุขาภิบาลและความปลอดภัยของผู้สัมผัสอาหาร ในแพลตฟอร์มออนไลน์ YouTube : Upskill HCD SDU MOOCs และ SDU MOOCs (ที่ https://mooc.dusit.ac.th/) มีจำนวนคลิปวิดีโอ 200 คลิป ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนได้ทุกเวลาItem การพัฒนากิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะ กระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ(2022) พวงผกา ปวีณบําเพ็ญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) 2) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 หลังใช้กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (โครงการละออพลัส) ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 19 คน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ลําปาง ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย (descriptive statistic) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสําหรับศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีองค์ประกอบ คือ 1) ตัวชี้วัด 2) สาระของกิจกรรม 3) วัตถุประสงค์กิจกรรม 4) วัสดุอุปกรณ์ 5) ขั้นตอนของกิจกรรมและระยะเวลา 6) การประเมินผล 7) แผนการจัดกิจกรรม 8) เรื่องราวประกอบกิจกรรม และ 9) ใบกิจกรรมสําหรับนักเรียน 2. หลังใช้กิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด สําหรับศตวรรษที่ 21 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 แสดงพฤติกรรมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีความถี่ของพฤติกรรมสูงสุด คือ ด้านการแก้ปัญหา รองลงมาคือ ด้านการใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพและด้านการตัดสินใจตามลําดับ 3. นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อทุกกิจกรรมในระดับมาก นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้สึกทางบวกต่อทั้ง 3 กิจกรรม มีความคิดเห็นทางบวกต่อเรื่องราว (story) ประกอบกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาItem นวัตกรรมการสร้างสรรค์สมรรถนะบุคลากรและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรม โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์; ปณิศา มีจินดาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อม และสร้างแผนธุรกิจเพื่อบุกเบิกการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยทางการตลาดในการพัฒนานวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัล และตราเมือง/ตราผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างสรรค์หลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และผู้ประ กอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรมโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูล และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง จากการศึกษาความเป็นไปได้ของการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เป็นการท่องเที่ยวขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการพัฒนา ซึ่งผลการวิจัยนี้ถูกใช้ในการพัฒนาแผนธุรกิจเพื่อบุกเบิกการประกอบการการท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ส่วนผลการวิจัยเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ 2 ชี้ให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยว คุณค่าตราของแหล่งท่องเที่ยว และการรับรู้ต่อคุณสมบัตินวัตกรรม ส่งผลต่อปัจจัยด้านความพึงพอใจ และความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว การยอมรับสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณถูกใช้ในการพัฒนาแผนนวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัลและการสร้างตราเมือง/ตราผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ส่วนผลการวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ความต้องการในการฝึกอบรมของทั้ง 3 หลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยของทั้ง 3 การศึกษาได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรม ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกItem การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่องานธุรกิจด้วยกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สุภารัตน์ คุ้มบำรุงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูทในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่อธุรกิจ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท ในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่อธุรกจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 (ชั้นปีที่ 2) และลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม เพื่องานธุรกิจ ตอนเรียน A1 จำนวนผู้เรียนทั้งหมด 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเพื่องานธุรกิจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยค่าเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลมไม่อิสระ (Dependent-samples t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเกมจำนวน 6 ครั้ง มีสัดส่วนอยู่ระหว่าง ร้อยละ 85 -100 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด การทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ย 10.13 คะแนน ส่วนหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 15.05 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และจากการทดสอบค่าที พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูท ผู้เรียนมีความคิดเห็น ด้านกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .864) และกิจกรรมเกมบนแอปพลิเคชันคาฮูทช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจเรียนรู้มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .911) และมีข้อเสนอแนะต่อการจัดการกรรมการเรียนรด้วยเกมบนแอปพลิเคชั้นคาฮูทเป็นกิจกรรมที่สนุก สร้างความสนใจ ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนและมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้Item ผลการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) อันธิฌา สายบุญศรี; จิราพร เกษรสุวรรณ์; ศิริพร นันทเสนีย์; อริยา ดีประเสริฐการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental design) แบบวัดก่อนและหลังการทดลอง (Nonrandomized Control Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 87 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 44 คน และกลุ่มควบคุม 43 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม และกลุ่มควบคุมจะได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกมและแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่อง การพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภายในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้สถิติ Paired Samples t-Test และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน แบบใช้เกมกับกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยใช้สถิติ t-test independent ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นของนักศึกษา พยาบาลกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกมสูงกว่านักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุม ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) แว่นแก้ว ลีพึ่งธรรมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบออนไลน์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่เลือกลงทะเบียนเรียนวิชาฝรั่งเศสศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนวัฒนธรรมฝรั่งเศส แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้เกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสหลังการใช้กิจกรรมตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ระดับร้อยละ 84.66 ซึ่งสูงกว่าค่าระดับที่ผู้วิจัยตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ร้อยละ 70 คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสของผู้เรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการตั้งเป้าหมายและการวางแผนด้านการเรียนเพื่อให้ประสบผลสําเร็จ ด้านความรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง ด้านความอดทนและความตั้งใจมุ่งมั่นในการเรียนให้ประสบผลสําเร็จ และด้านความทะเยอทะยานให้ผลงานเป็นที่ยอมรับและเกิดความก้าวหน้า หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการจัดการเรียนการสอนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าระดับที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ระดับปานกลาง 3. ความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันประกอบการเรียนการสอนในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน (ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านเครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านความรู้) อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าระดับที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในสมมติฐานการวิจัย คือ ระดับปานกลางItem การประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) เอื้ออารี จันทร; ทิพสุดา คิดเลิศ; พัฒนชัย จันทรหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปีของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหลักสูตรระบุจุดเน้นที่สำคัญ คือ การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยรุ่นใหม่รองรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มระบบ แต่ด้วยสถานการณ์โลกที่มีการพลิกผันตลอดเวลา ทำให้คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการจัดทำงานวิจัยฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรและศึกษา ความต้องการเพิ่มเติมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร 2 มิติ คือ มิติด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมิติของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การคำนวณหาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI) โดย การเก็บข้อมูลจากผู้เรียน จำนวน 120 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรจำนวน 31 คน ทั้งในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปางและนครนายก โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปาง และนครนายก แต่ละพื้นที่ ๆ ละ 5 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโควต้า ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ทุกด้านมีผลค่าเฉลี่ยประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก (𝑥 = 3.67 - 4.10) ผลการประเมินทั้ง (1) ด้านปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเรียนรู้ และ (2) ด้านการเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มเกิดความพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ iPad เป็นเครื่องมือในการเรียนและการทำงานเนื่องจากสามารถ ทำงานได้หลากหลายรูปแบบ (3) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่า เมื่อผ่านไป 1 ปี กลุ่มผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามความคาดหวังของหลักสูตรในประเด็นการสร้างสื่อประกอบการเรียนรู้มากที่สุด (4) ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร มีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน สำหรับความต้องการจำเป็นที่มากที่สุด คือ ความสามารถเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ค่า PNImodified คือ .18 รองลงมา คือ ความสามารถในการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ และความสามารถในการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ค่า PNImodified คือ .14 โดยมีข้อเสนอแนวทางพัฒนา หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นการลงมือปฏิบัติโดยเสริมความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ด้านสุขภาวะของเด็กในโลกดิจิทัล การให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อดูแลเด็ก ในยุคดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ และทักษะการคิดเชิงคำนวณ เสนอให้จัดหาหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ online หรือชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ ด้านใช้การบูรณาการ รายวิชาบูรณาการชิ้นงานในภาคเรียนเพื่อลดภาระงานของผู้เรียน แต่เน้นการใช้แนวคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการ (project-based learning) ใช้การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริงในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ