กลยุทธ์การพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
กลยุทธ์การพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง
Recommended by
Abstract
งานวิจัยเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทของประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยว ศักยภาพสูง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง และ 3) เสนอกลยุทธ์การพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม ในส่วนของวิธีวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้การแจกแบบสอบถาม จำนวน 826 ชุด แก่นักท่องเที่ยวศักยภาพสูง โดยแบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 426 ชุด และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 ชุดในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศ 3 พื้นที่ ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี และสุราษฏร์ธานี ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้านบริการการท่องเที่ยวและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรูหรา จำนวน 20 คน บริบทในภาพรวมของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ของจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเพราะมีสิ่งดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแบบที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมไปถึงลักษณะวิถีความเป็นอยู่ และอัธยาศัยใจคอของคนไทย ล้วนแล้วแต่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่งในส่วนของอุปทานด้านการท่องเที่ยวในส่วนของการพัฒนาการท่องเที่ยวหรูหรานั้น พบว่า ประเทศไทยมีที่พักแรมระดับห้าดาวขึ้นไปเพียงพอ มียานพาหนะที่หรูหรา มีร้านอาหารที่หรูหราใช้วัตถุดิบดี มีบุคลากรที่ได้รับการศึกษาและการอบรม เพื่อสร้างคุณภาพการบริการที่เป็นเลิศ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเป็น ‘Luxury leisure destination’ ได้อย่างไรก็ตามทุกจุดของประเทศไทยไม่สามารถเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแบบหรูหรา มีเพียงเฉพาะบางจุดเท่านั้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพไม่สูง และมีภาพลักษณ์ของการเป็นประเทศที่ Value for Money ดังนั้น ภาพลักษณ์ของการเป็น Luxury leisure destination จึงยังไม่ชัดเจนนักในสายตานักท่องเที่ยวทั้งทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ดังนั้นต้องเริ่มต้นจากการจัด Segment หรือการแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ชัด มีการแบ่งโซน บริการทางการท่องเที่ยวให้ชัด ณ.วันนี้ ประเทศไทยพยายามจับกลุ่มเป้าหมายด้านการท่องเที่ยวหรูหราแบบเฉพาะกลุ่ม โดยวางตำแหน่งทางการตลาดให้ประเทศไทยเป็น Luxury wedding and honeymoon destination, Luxury MICE destination, Luxury yacht destination, Luxury medical and wellness destination, Luxury sport tourism destination โดยจุดเน้นหลักของการท่องเที่ยวหรูหราในประเทศไทย คือ การดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่การได้รับประสบการณ์จากสถานที่ที่ไปไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่หรูหรา หรือประสบการณ์ที่ได้สัมผัสถึงความจริงแท้ ความเป็นธรรมชาติและความเป็นท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติศักยภาพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีช่วงอายุ 21-30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพด้านบริการ และส่วนมากจะเป็น เจ้าของธุรกิจแต่มีรายได้ 25,001-30,000 $ ส่วนในด้านประสบการณ์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงของประเทศไทย พบว่า ในรอบ 5 ปี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงานต่างประเทศ จำนวน 2-5 ครั้ง เดินทางเพื่อพักผ่อนต่างประเทศ จำนวน 2-5 ครั้ง เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงาน/พักผ่อนในสถานที่ ท่องเที่ยวต่างประเทศแห่งหนึ่งนานมากกว่า 7 วัน จำนวน 2-5 ครั้ง เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงาน/ พักผ่อนในสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศแห่งหนึ่งนานมากกว่า 7 วัน จำนวน 2-5 ครั้ง เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อธุรกิจหรือการงานเป็นเดินทางมาครั้งแรก และในประเด็นเคยเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อพักผ่อนนั้น นักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย 2-5 ครั้งผ่านการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดนี้ผ่านช่องทางสื่อใหม่ (เว็บไซต์/ Blog/ เครือข่ายออนไลน์ เป็นต้น) ใช้ระยะเวลา น้อยกว่า 7 วัน ในการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนี้ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดที่เดินทางมาคือ ต้องการพักผ่อน และส่วนใหญ่จะจัดการการเดินทางด้วยตนเอง โดยเลือกประเภทของที่พักแรมเป็นโรงแรม และร่วมเดินทางมากับเพื่อนน้อยกว่า 3 คน ใช้ระยะเวลาตลอกทั้งทริปน้อยกว่า 7 วัน ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 10,001-30,000 $ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยศักยภาพสูง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันตก จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 31.67 เป็นเพศชายน้อยกว่าเพศหญิง จำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 58.85 มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 199 คน ร้อยละ 49.63 มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 61.10 ประกอบอาชีพ ด้านบริการ จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 29.68 และส่วนมากเป็นพนักงานระดับผู้ปฎิบัติการ จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.41 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณรายได้ รายได้ต่ำกว่า 300,000 บาท จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 68.08 ไทย ด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหราสำหรับนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงของประเทศไทย พบว่า ในรอบ 5 ปี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงานต่างประเทศเป็นครั้งแรก เดินทางเพื่อพักผ่อนต่างประเทศ จำนวน 2-5 ครั้ง เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงาน/พักผ่อนในสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศแห่งหนึ่งนานมากกว่า 7 วัน เป็นครั้งแรก เดินทางเพื่อธุรกิจหรือการงาน/พักผ่อนในสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศแห่งหนึ่งนาน มากกว่า 7 วัน และเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อธุรกิจหรือการงาน จำนวน 2-5 ครั้ง และในประเด็นเคยเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อพักผ่อนนั้น นักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทยเป็น 2-5 ครั้ง ผ่านการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดนี้ผ่านช่องทางสื่อใหม่ (เว็บไซต์/ Blog/ เครือข่ายออนไลน์ เป็นต้น)
Description
Citation
View online resources
Collections