Dissertation
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Dissertation by Title
Now showing 1 - 20 of 239
Results Per Page
Sort Options
Item กระบวนการเกิดอาชญากรรมในแง่มุมของพุทธธรรม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2017) วิศิษฏ์ เจนนานนท์การวิจัยเรื่อง “กระบวนการเกิดอาชญากรรม ในแง่มุมของพุทธธรรม" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้สาเหตุการเกิดอาชญากรรมและรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมตามหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎก โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ซึ่งศึกษา ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล สําคัญ รวม 5 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งเป็นนักวิชาการ ราชบัณฑิตทางด้านพุทธศาสนา และปรัชญา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการทางด้านอาชญาวิทยา กลุ่มบุคลากร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มบุคคลผู้ที่เคยต้องโทษ และพ้นโทษ มาแล้ว และไม่กลับไปกระทําความผิดซ้ํา และกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจํากลางคลองเปรม รวมจํานวน 25 คนItem กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) เดช เฉิดสุวรรณรักษ์การวิจัยเรื่อง กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการ วิเคราะห์ สภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการจัดการของภาครัฐกับปัญหา กากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีความสําคัญ และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ทําให้มีผลกระทบ ในวงกว้างทั้งในเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชน ผลกระทบการส่งออกสินค้าของไทยกับมาตรการที่สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศประกาศใช้ และการขนย้ายหรือธุรกรรมนอกระบบที่ไม่มีการควบคุมดูแล ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยงานภาครัฐของไทย หลายหน่วยกําลัง เริ่มทําการศึกษา และได้เร่งพยายามพัฒนาขีดความสามารถให้แก่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกับบริษัท ขนาดกลาง-ย่อย ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทั้งในด้านของการออกกฎหมาย การพัฒนาบุคคลากร และการควบคุมItem กระบวนทัศน์การจัดการตลาดกลางผักและผลไม้ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) กัญญานนท์ กมลยะบุตรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดําเนินงาน ปัญหาอุปสรรคของการจัดการตลาดกลางผักและผลไม้ วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสําเร็จที่ทําให้การจัดการตลาดกลาง ผักและผลไม้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนําเสนอกระบวนทัศน์ของการจัดการตลาดกลางผัก และผลไม้ของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารระดับสูงของตลาดกลางผักและผลไม้ ทั้ง 4 ภาค และผู้เชี่ยวชาญภาครัฐและนักวิชาการ จํานวนทั้งสิ้น 15 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล กลุ่มเป้าหมายจํานวน 398 คน ประกอบด้วย ผู้ค้าหรือคนกลาง เกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในตลาดกลางสุรนครเมืองใหม่ จังหวัดนครราชสีมาItem กระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อธำรงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) กันณวัน อภิรักษ์ธนากรการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงอุปสรรค และข้อจํากัดในการพัฒนากระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา คุณภาพกระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สุดท้ายศึกษาถึงรูปแบบและ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อธํารงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงอุปสรรค และข้อจํากัดในการพัฒนากระบวน ทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา คุณภาพกระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สุดท้ายศึกษาถึงรูปแบบและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อธํารงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนที่เหมาะสมItem กระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 2561)(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) นันทิดา ทองเจือการศึกษา เรื่อง กระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) ในปัจจุบัน และเพื่อนําเสนอกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) 2) ขั้นการร่างกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสม และเป็นไปได้ของกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เอกสาร ผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานItem กลยุทธ์การจัดการคุณภาพบริการหลังการขาย เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) อิศรทรัพย์ รัตนอมรชัยการศึกษาเรื่องกลยุทธ์การจัดการคุณภาพบริการหลังการขายเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้ซื้อระบบกระจายเสียงชนิดไร้สายด้านคุณภาพ การให้บริการหลังการขาย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการหลังการขายสําหรับผู้ซื้อระบบ กระจายเสียงชนิดไร้สาย 3) ความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย โดยใช้วิธี การศึกษา คือ การวิจัยแบบผสมผสาน ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก นายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจซื้อ (ผู้ซื้อ) และผู้ใช้ ประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์เทศบาล สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนในการตัดสินใจ ซื้อในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ที่ใช้ระบบกระจายเสียงชนิดไร้สายรวม 62 หน่วยงาน ทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและ การวิเคราะห์ถดถอยพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานItem กลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ศรานนท์ นนทวงษ์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดําเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษาภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน 2) ศึกษาแบบอย่างที่ดีในการดําเนินงานประกัน คุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) เสนอกลยุทธ์การจัดการตามระบบการประกัน คุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชน 2) ขั้นการออกแบบการจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 162 คน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการประกันคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาตรวจสอบความเหมาะสมของข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem กลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ก่อสิทธิ์ ดีวงศ์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาอุปสรรค การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และ 2) เพื่อเสนอกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 2) ขั้นการออกแบบการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 177 คน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาตรวจสอบ ความเหมาะสมของกลยุทธ์ จํานวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจง ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem กลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) สุจิตรา วสุวัตการวิจัย “กลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน” เป็นการศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านโอกาส และอุปสรรค ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ด้านจุดแข็ง และจุดอ่อน ในการ บริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบนในปัจจุบัน 3) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อเสนอกลยุทธ์การจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ ในเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants ) ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 25 คน ดําเนินกรรมวิธีทางการวิจัยกําหนดเป็นกลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 399 ชุด เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อผลการวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าวItem กลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบสนองต่อการรับรู้คุณค่าในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) ไพโรจน์ ซึงศิลป์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบสนองต่อการรับรู้คุณค่า ในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสําคัญสําหรับผู้บริหารและ นักการตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าใจถึงผู้บริโภค เพื่อเสนอกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้านการตลาดสําหรับบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้มีลักษณะพิเศษคือ มีความคงทนถาวร และ มีราคาสูง ผู้บริโภคต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะบางท่านในชีวิตหนึ่งอาจจะใช้กระบวนการดังกล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าในการซื้อที่อยู่อาศัยและ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องกับการรับรู้คุณค่าของผู้ซื้อบ้านใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสม (Mix Research) คือ การวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดย การวิจัยเชิงคุณภาพกําหนดผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด (Brain Storming Workshop) คือ ผู้ที่ซื้อบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 70 คน แบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม และกําหนดผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 5 คน กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จํานวน 5 คน และกลุ่มตัวแทนสมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จํานวน 5 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สําหรับผู้จะซื้อและผู้ซื้อบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจํานวน 438 ชุดItem กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาเฉพาะในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) สรรเสริญ อินทรัตน์การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จํานวน 7 จังหวัด คือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะละ และนราธิวาส เป็นกรณีศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มข้าราชการในองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 4 คน กรรมาธิการแปรญัตติขององค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 2 คน กลุ่มพระสงฆ์ จํานวน 2 รูป นักวิชาการ จํานวน 3 คน นักข่าวประจําท้องถิ่น จํานวน 3 คน และผู้มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์Item กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) สุริยา สุวรรณประสิทธิ์การวิจัย เรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม” เป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในการบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภาวะคุกคาม และปัจจัยที่มีผลต่อบริหารจัดการของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อเสนอ กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) คือ ข้าราชการสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติจํานวน 25 คน และดําเนินกรรมวิธีทางการวิจัย กําหนดเป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการสู องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 371 ชุด เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นของข้าราชการจากหน่วยขึ้นตรงของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจํานวน 12 หน่วย ที่มีต่อผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้มาซึ่งแสดงผลในรูปแบบของ PRINCIPLE StrategyItem กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2018) วรวรรษ เทียมสุวรรณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน 3) ประเมินกลยุทธ์ การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน ใช้วิธี การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้อํานวยการโรงเรียน/รองผู้อํานวยการ และหัวหน้าฝ่ายทั้ง 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารงานวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ และฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 48 โรงเรียน จํานวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จํานวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่มItem กลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) ชุติกาญจน์ เลาหะนาคีวงศ์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารในโรงเรียนผู้นําการเปลี่ยนแปลง 2) ศึกษาแบบอย่างที่ดีในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ และ 3) นําเสนอกลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารและแบบอย่างที่ดีในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การร่างกลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารในโรงเรียนผู้นําการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ทรงคุณวุฒิ การเก็บรวบรวม ข้อมูลใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และจัดสัมมนา แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วาสนา ดิษฐพรมการศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการ แข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ” มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความต่อเนื่องเชื่อมโยงและ สัมพันธ์กันของแต่ละกิจกรรมในโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ เพื่อศึกษาปัจจัย องค์ประกอบและคุณค่าผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอที่ผู้บริโภคพึงพอใจที่ส่งผลต่อการพัฒนาโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ โดยใช้วิธีแบบผสม (Mixed Methodology) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Technique) และเชิงปริมาณ (Quantitative Technique) โดยใช้ประเด็นคําถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารบริษัท จํานวน 28 คน และใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริโภคจํานวน 400 คน และผู้บริหารบริษัทจํานวน 150 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คํานวณผลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สําเร็จรูปItem กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) โกวิทย์ ตันฑ์มานะธรรมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทํากลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนจําหน่ายเครื่องปรับอากาศ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง (1) ลักษณะของธุรกิจ (2) สภาพแวดล้อมภายนอก และ (3) การเจริญเติบโตที่มุ่งเน้นการกระจายตัวของธุรกิจ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีเรื่องความอยู่รอดขององค์กร โดยผู้วิจัยใช้เทคนิคการศึกษาแบบผสม (Mixed Research) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัย การค้นคว้าเอกสาร และ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจตัวแทนจําหน่าย เครื่องปรับอากาศ โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นตัวแทนของหน่วยงาน ภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ กลุ่มที่ 3 เป็นผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนจําหน่ายเครื่องปรับอากาศที่มียอดขายสูง และดําเนินกิจการมากกว่า 5 ปี นําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนจําหน่ายเครื่องปรับอากาศ จํานวน 220 ราย โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ แบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ อัตราร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ ความแปรปรวน (ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)Item กลยุทธ์การพัฒนาการตลาดบริการเชิงบูรณาการของธุรกิจ แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศที่เป็นสมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) นันทพล หาญศักดิ์วงศ์การศึกษาเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดบริการเชิงบูรณาการของธุรกิจ แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศที่เป็นสมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสําเร็จ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมของการตลาดบริการเชิงบูรณาการของธุรกิจแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศที่เป็นสมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติใช้วิธีศึกษา คือ วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทน จากสถานประกอบการธุรกิจแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ จํานวน 10 ท่าน ที่เป็นระดับเจ้าของกิจการกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงที่มีความรับผิดชอบในงานด้านการตลาดของสถานประกอบการนั้นๆ จากนั้นผู้วิจัยได้นํากลยุทธ์ที่ได้จากการวิจัยในเชิงคุณภาพดังกล่าว ไปตรวจสอบความสมบูรณ์ของกลยุทธ์ในมุมมองของลูกค้าผ่านการทําสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวแทนของลูกค้า ที่ได้รับการคัดเลือกแบบคละจากผู้ปกครองและนักศึกษาที่สนใจหาข้อมูลในการไปศึกษาต่อ ต่างประเทศจํานวน 42 ท่าน และทําการตรวจสอบด้วยวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถามสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติจํานวน 71 สถานประกอบการ เพื่อยืนยันกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดบริการเชิงบูรณาการ ในขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากร และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของประชากรItem กลยุทธ์การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) วิไลรัตน์ สุภามาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาอุปสรรคของกระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาปัจจัยความสําเร็จของการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดชัยภูมิให้ประสบความสําเร็จ 3) ค้นหาแนวทางในการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ 4) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) เริ่มจากค่าการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกคลัสเตอร์ 62 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson product - moment correlation) และการศึกษาเชิง คุณภาพ (Qualitative Method) โดยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการศึกษา จํานวน 23 ราย การสนทนากลุ่ม ประชุมสมาชิกคลัสเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาItem กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถหลักในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) ภาดล อามาตย์การศึกษาเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาความสามารถหลักในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความสามารถหลักในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปของประเทศไทย วิเคราะห์หากลยุทธ์การพัฒนาความสามารถหลักในแข่งขัน และกลยุทธ์การแข่งขันที่เหมาะสมสําหรับอุตสาหกรรม ส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปไทย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเริ่มต้นจากการวิจัยเอกสาร และใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 234 ราย และทําการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 15 ราย แล้วนําเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ตรวจสอบและให้ความเห็นItem กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถในการให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) อัษฎางค์ แสวงการการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการขนส่งสินค้าทางถนนและระดับของความสามารถของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการกําหนดกลยุทธ์การพัฒนาความสามารถในการให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ที่ใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผลอย่างครบถ้วน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการรวบรวมและศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อศึกษาบริบทของการขนส่งสินค้าทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนปัญหาของการให้บริการขนส่งสินค้าทางถนน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง (Structure Questionnaire) ประกอบกับการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความเห็นที่เป็นคําถามแบบปลายเปิดเพื่อจะศึกษาถึงระดับความสามารถของผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองส่วนประกอบกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน เพื่อวิเคราะห์หากลยุทธ์ การพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน และนําเสนอร่างกลยุทธ์ที่ได้ในการจัดการประชุมระดมความคิด (Brainstorming Workshop) เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอภิปราย วิพากษ์ วิจารณ์ และระดมความคิดสําหรับนําไปเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ในการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการพัฒนาความสามารถหลักในการให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ