Browse
Recent Submissions
Item ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ศมานันท์ ทองธรรมชาติการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อสร้างตัวแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและอุปสรรคที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อกําหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาครัฐด้านการพัฒนาชุมชนแออัด กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร กลุ่มองค์กร อิสระและผู้นําชุมชน เทคนิคการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) จํานวน 28 คน แบบสอบถาม (Questionaire) จํานวน 397 คน และการเสวนากลุ่ม (Focus Group) จํานวน 12 คน การรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และจากแบบสอบถาม เครื่องมือในการวิเคราะห์ใช้ Content Analysis และ โปรแกรมสําเร็จรูป (SPSS) ผลการค้นพบที่ได้พบว่า ปัจจัยและอุปสรรคที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้แก่ อาชีพของชุมชนฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนรวมทั้งสภาพแวดล้อมของชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่าที่ผ่านมานั้นเป็นการพัฒนาที่เริ่มจากบุคคลภายนอกเข้าไปพัฒนา ณ ปัจจุบันนี้ เห็นว่าการพัฒนาควรจะเริ่มจากชุมชนเองเป็นผู้ริเริ่มและมีหน่วยงานภายนอกทําหน้าที่ประสานงานและให้การสนับสนุนแนะนําเท่านั้นชุมชนควรพึ่งตนเอง การพัฒนาจึงจะเกิดคุณค่าและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความภูมิใจให้แก่ชุมชนเอง ชุมชนต้องแก้ปัญหาด้วยชุมชนเอง สําหรับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนนั้นจะต้องกระทําควบคู่กันไปกับการพัฒนานั่นเองเสมือนเป็นเงาติดตามตัวไปตลอด การพัฒนาจะให้ประสบความสําเร็จจะต้องมีการสื่อสารที่ดีและตลอดไปItem การปลูกฝังวัฒนธรรมบริการเพื่อขับดันกลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สิทธิชัย ฝรั่งทองการศึกษาเรื่อง “การปลูกฝังวัฒนธรรมบริการเพื่อขับดันกลยุทธ์การจัดการลูกค้า สัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” นี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการแจกแบบสอบถามบุคลากรโรงพยาบาล เอกชน จํานวน 385 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการปลูกฝังวัฒนธรรมบริการที่มีต่อกลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนItem รูปแบบการสร้างความสมานฉันท์ของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) สุนทร เลิศไกรการวิจัยเรื่อง "รูปแบบการสร้างความสมานฉันท์ของผู้ต้องขังในเรือนจํากลางคลองเปรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบการสร้างความสมานฉันท์ของผู้ต้องขังในเรือนจํากลางคลองเปรม โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ซึ่งศึกษาทั้งการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญรวม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิผู้บริหารระดับสูงของกรมราชทัณฑ์ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ ด้านอาชญาวิทยา และกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจํากลางคลองเปรม จํานวน 20 คน สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่เรือนจํากลางคลองเปรมทั้งหมด จํานวน 279 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟItem รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรระดับเทศบาลของจังหวัดเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สุวิทย์ ศิริไกรวัฒนาวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการมูลฝอย ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการมูลฝอยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศ ไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เหมาะสมและยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Studies) การสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) และการประชาพิจารณ์รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอย (Public Hearing) กลุ่มเป้าหมาย คือ นายกเทศมนตรี เทศมนตรี บุคลากรของเทศบาลที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการมูลฝอย และประชาชนในเขตเทศบาลยางเนิ้ง เทศบาลเวียงฝาง เทศบาลตําบลสันป่าตอง และเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบบันทึกการทํา SWOT Analysis แบบสอบถามประกอบการประชาพิจารณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานItem กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วาสนา ดิษฐพรมการศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการ แข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ” มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความต่อเนื่องเชื่อมโยงและ สัมพันธ์กันของแต่ละกิจกรรมในโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ เพื่อศึกษาปัจจัย องค์ประกอบและคุณค่าผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอที่ผู้บริโภคพึงพอใจที่ส่งผลต่อการพัฒนาโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ โดยใช้วิธีแบบผสม (Mixed Methodology) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Technique) และเชิงปริมาณ (Quantitative Technique) โดยใช้ประเด็นคําถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารบริษัท จํานวน 28 คน และใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริโภคจํานวน 400 คน และผู้บริหารบริษัทจํานวน 150 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คํานวณผลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สําเร็จรูปItem การนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ประสพ ยลสิริธัมการนําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนําเกณฑ์คุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และเพื่อพัฒนาแนวทางในการนําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ในการนําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้กําหนดรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกําหนดผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารและ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมทั้งทําการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับประชากร จํานวน 453 คนItem การพัฒนาตัวแบบการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) วิทยา อรุณศิริเพ็ชรการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ 1) เพื่อสํารวจการรายงาน ภาคสมัครใจ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างตัวแบบการรายงานและ 3) เพื่อพัฒนา ตัวแบบการรายงาน สําหรับประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ รายงานประจําปี หรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ประจําปี 2553 ของ 8 กลุ่มอุตสาหกรรมบริษัทจดทะเบียน จํานวน 452 บริษัท และใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับตัวแบบการพัฒนารายงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 350 ชุด ส่วนการศึกษา เชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก 23 ท่าน กับผู้มีบทบาทการพัฒนาตัวแบบการรายงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กํากับดูแล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ นักวิชาการด้านบัญชีItem แนวทางการพัฒนาการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) วังสรา ทิพย์สกุลเดชการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวทางการประเมินโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน ในด้านปัญหา และอุปสรรคในการประเมินโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน ปัจจุบันยังไม่มีธนาคาร หรือหน่วยงานสถาบัน การเงินใดที่ทําการศึกษา และการเผยแพร่เอกสารที่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน นําไปใช้พิจารณาโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินว่าควรจะหยุดดําเนินการหรือควรจะปรับปรุงโครงการในทิศทางใด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ผู้บริหารโครงการความรับผิดชอบ ต่อสังคมของสถาบันการเงิน ผู้บริหารโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การภายนอก และ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การใน 2 ประเด็น คือ นโยบายการบริหารโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม และการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการประเมินโครงการ เพื่อตรวจสอบระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)Item การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) สุดารัตน์ เทพพิมลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมิน องค์กรด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ 3. เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบวิเคราะห์เอกสารเพื่อการวิจัย 2. แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สนับสนุนวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม 3. แบบสํารวจ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารตามองค์ประกอบของระบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach' s Alpha Coefficient) ในด้านความเหมาะสมโดยรวมเท่ากับ 95 และด้านความเป็นไปได้โดยรวมเท่ากับ 95 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 399 คน และเครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานItem รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2016) ดวงใจ เลิศชัยวรกุลการวิจัยเรื่อง รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการนําภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาแบบอย่างที่ดีของการนําภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการจัดการศึกษาบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อนําเสนอรูปแบบการนําภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพItem แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์เพื่อครองใจประชาชนของนายกเทศมนตรีไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) มณีลดา ดนตรีการศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์เพื่อครองใจประชาชนของ นายกเทศมนตรีไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาพลักษณ์ ความผูกพัน และการครองใจประชาชนของนายกเทศมนตรีไทย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อภาพลักษณ์นายกเทศมนตรีไทย3) แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของนายกเทศมนตรีไทย โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน วิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนายกเทศมนตรีที่มีดํารง ตําแหน่งไม่น้อยกว่า 3 วาระติดต่อกัน และนายกเทศมนตรี ที่ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติเข็มทอง สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี โดยสุ่มตัวอย่างมาทั้งสิ้น 400 คน ทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ถดถอยพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานItem กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ของนักสื่อสารการตลาดในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) รัชภูมิ เผ่าเสถียรพันธ์การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของนักสื่อสารการตลาดในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมทั่วไปของการสร้าง แบรนด์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของนักสื่อสารการตลาดในประเทศไทย ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อจํากัดที่มีผลต่อการสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส แสวงหาปัจจัยแห่งความสําเร็จในการสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส และนําเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของนักสื่อสารการตลาดในประเทศไทย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มนักสื่อสารทางการตลาดซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการ และกลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างแบรนด์ จากการวิจัยข้างต้นผู้วิจัยขอเสนอกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของนักสื่อสารการตลาดในประเทศไทย คือ “กลยุทธ์ 9 C” หรือ “9Cs Strategy”Item ตัวแบบการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019) อดิทักษ์ สุวิวัฒนชัยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สร้างตัวแบบเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และประเมินความเหมาะสมของตัวแบบ เครือข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกใช้วิธีวิจัย เชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครอง และศิษย์เก่าของโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ/ มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง (ฝ่ายประถม) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โรงเรียนสาธิตแห่งหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จํานวนทั้งสิ้น 358 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม และระยะที่สองใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจงในโรงเรียน สาธิตทั้ง 4 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลแบบบันทึกข้อมูลสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์Item การจัดการแบบบูรณาการเชิงรุกในสภาพการแข่งขันที่รุนแรงของโรงแรมระดับ 2 ดาว ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) จักกฤช ตรีวิชาการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางด้านการจัดการและสภาพ การแข่งขันของโรงแรมระดับ 3 ดาวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค ของกลยุทธ์ทางด้านการจัดการ และพัฒนากลยุทธ์ทางด้านการจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก ในสภาพการแข่งขันที่รุนแรงของโรงแรมระดับ 3 ดาวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และเพื่อให้ทราบแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางด้านการจัดการและนําเสนอแนวทางการดําเนินการในอนาคต โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพทําการวิเคราะห์และทําการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นItem มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2018) กัญญรัตน์ ซ้ายพัฒน์การวิจัย เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรใน ประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทุจริต และเสนอแนะมาตรการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) และใช้การการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะหรือรูปแบบการทุจริตที่เกิดขึ้นในสหกรณ์การเกษตรใน เป็นพฤติกรรมการกระทําผิดที่เข้าข่ายกฎหมายอาญาในฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ การยักยอกทรัพย์ การลักทรัพย์ การฉ้อโกง และฐานความผิดเกี่ยวกับเอกสารและการใช้ เอกสารปลอม มีผู้กระทําผิดหลักเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการหรือร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย และพฤติกรรม การทุจริตมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจให้เงินกู้ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจการจัดหาสินค้ามา จําหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต นอกจากนั้นยังเกิดขึ้นในการบริหารจัดการในสํานักงานด้วย ได้แก่ การทุจริตเกี่ยวกับเงินฝากของสหกรณ์ การทุจริตเกี่ยวกับเงินสด การนําเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แล้วบันทึกบัญชีเป็นเงินสํารอง และการนําทรัพย์สินของสหกรณ์ไปขายโดยมิชอบ ทั้งนี้ ปัจจัยที่เป็น สาเหตุของการกระทําผิดในสหกรณ์การเกษตร 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ 1) ตัวบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และ 2) ระบบบริหารและควบคุมที่ไม่มีประสิทธิภาพItem ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2)(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) วัชรวลี พราหมณ์แก้วการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้งานระบบสารสนเทศขององค์การบริหารส่วนตําบลกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2) เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตําบลกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2) และเพื่อหายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตําบล กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2) ระเบียบวิธีการวิจัยใช้แบบผสมผสาน (Mix Methodology) ทั้งนี้มีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามที่ใช้มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .96 ซึ่งประชากรในการวิจัยในครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศขององค์การ บริหารส่วนตําบลกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2) จํานวนทั้งสิ้น 2,219 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane, 1973) ในการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ ในองค์การบริหารส่วนตําบลกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่ม 2) จํานวน 350 คนItem แนวทางการประยุกต์กลยุทธ์น่านน้ำสีครามในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) นุรักษ์ มโนสุจริตธรรมการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมที่ใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อ 2. วิเคราะห์ศักยภาพของประเทศคู่แข่งขันที่สําคัญของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อ 3. ศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จ (Key Success Factor : KSF) ในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อ 4. นําเสนอแนวทางการประยุกต์กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean) ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อ และ 5. นําเสนอแนวทางในการปรับตัวของอุตสาหกรรมการส่งออกไก่เนื้อของไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันItem ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) นงนุช วิชญะเดชาการวิจัยเรื่องปัจจัยความสําเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และกิจกรรม การจัดการความรู้ที่จําเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย 2) ศึกษาการจัดการความรู้ในแต่ละสถานประกอบการของอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยความสําเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากนั้นตรวจสอบความถูกต้องด้วยการวิจัยเชิงปริมาณItem แนวทางการส่งเสริมมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) พิสิษฐ์ คำเอี่ยมรัตน์การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการส่งเสริมมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชนในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7.2) เพื่อศึกษา ปัจจัยปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการส่งเสริมมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน ในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 73) เพื่อศึกษาปัจจัยในการส่งเสริมมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน ให้สําเร็จ ในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 4) เพื่อศึกษาแนวทางการในการส่งเสริมมาตรฐาน การจัดการวิสาหกิจชุมชนในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เพื่อแสวงหาแนวทางการในการส่งเสริมมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชนที่สมบูรณ์และครบถ้วน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยในรูปแบบผสม (Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างItem รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมทางเพศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2018) ปารณีย์ วรสิทธิ์จิตติการศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางเพศผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้รูปแบบการป้องกันปัญหาอาชญากรรม ทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อนํามาใช้ลดวิกฤตปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และ อาชญากรรมทางเพศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ลดลง โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งศึกษาการวิจัยเชิง ปริมาณใช้แบบการทดสอบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปีบริบรูณ์ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้น พื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 119 โรงเรียนจํานวนทั้งสิ้น 398 คน เพื่อให้ได้รูปแบบการ ป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางเพศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านจิตวิทยา