Dissertation

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 239
  • Item
    การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูปฐมวัยในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2016) จิตติพร บ่มไล่
    การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอํานาจการทํางานของครูปฐมวัยในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการเสริมสร้างพลังอํานาจการทํางานของครูปฐมวัยในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอํานาจการทํางานของครูปฐมวัยในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างพลังอํานาจการทํางานของครูปฐมวัยในโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • Item
    การสื่อสารวัฒธรรมด้วยอัตลักษณ์ล้านนากับการพัฒนาธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) เสกสรร เลิศรังสี
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมล้านนาที่สามารถสื่อสารและนํามาเป็นส่วนประกอบธุรกิจของโรงแรมในภาคเหนือ (2) เพื่อศึกษาจุดสนใจของวัฒนธรรมล้านนา ที่เป็นส่วนประกอบเชิงอัตลักษณ์ล้านนาของโรงแรมในภาคเหนือ และ (3) เพื่อนําเสนอการสื่อสารวัฒนธรรมด้วยอัตลักษณ์แบบล้านนาในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักดําเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 4 กลุ่ม คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมล้านนา (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร (3) ผู้ประกอบการหรือ ผู้บริหารโรงแรม และ (4) นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จํานวน 38 คน และทําการสนทนากลุ่มจากผู้ให้การสัมภาษณ์ข้อมูลสําคัญ 6 กลุ่ม คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมล้านนา (2) ผู้ประกอบการโรงแรมแบบล้านนา (3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร (4) นักวิชาการ ด้านวัฒนธรรม (5) นักวิชาการด้านธุรกิจโรงแรม และ (6) นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบด้านวัฒนธรรม จํานวนทั้งหมด 14 คน และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบผลการสังเคราะห์การสื่อสาร วัฒนธรรมด้วยอัตลักษณ์แบบล้านนาในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการบริหารโรงแรมแบบล้านนาในภาคเหนือหรือตัวแทนที่ ได้รับมอบหมายจํานวน 160 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • Item
    การปรับกระบวนทัศน์เพื่อปรับปรุงการจัดการ ในองค์กรภาครัฐ ที่ทำงานด้านคนพิการ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สรวงสุดา พูลเจริญ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและสภาพ กระบวนทัศน์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการบริหารจัดการในองค์กรภาครัฐที่ทํางานด้านคนพิการ และ เสนอแนวทางการปรับกระบวนทัศน์เพื่อปรับปรุงการจัดการโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ข้าราชการในองค์กรภาครัฐที่ทํางานด้านคนพิการ คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือนักวิชาการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เอ็นจีโอ และผู้แทนคนพิการ
  • Item
    มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่มีต่อนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2018) สำราญ สุดจิตร
    การศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่ มีต่อนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” มีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันอาชญากรรมที่มีต่อนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต การวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการ วิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานกองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กลุ่มหน่วยงาน ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางอาชญาวิทยาและเหยื่ออาชญากรรมใน จังหวัดภูเก็ต และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการก่ออาชญากรรมในจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งสิ้น 35 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกําลังพล เจ้าหน้าที่ตํารวจในสถานีตํารวจภูธรจังหวัดภูเก็ต
  • Item
    ภาวะผู้นำสตรีแบบผู้รับใช้และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีนักการเมืองสตรีในสภาไทย ปี พ.ศ. 2553
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) สุนันทน์ญา เทียนศิริยกานนท์
    การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นําสตรีแบบผู้รับใช้และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีนักการเมืองสตรีในรัฐสภาไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาวะผู้นําสตรีแบบผู้รับใช้รวมถึงยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยของนักการเมืองสตรีในรัฐสภาไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสหสัมพันธ์และนําเสนอรูปแบบภาวะผู้นําสตรีแบบผู้รับใช้และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยใหม่ ที่เหมาะสมในอนาคตโดยใช้วิธีการศึกษาคือการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi-methods) โดยการศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเริ่มต้นจากระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 35 คน อย่างละเอียด และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐสภาโดยใช้สูตรการคํานวนของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 359 คน นํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดรูปแบบภาวะผู้นําสตรีแบบผู้รับใช้และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยใหม่
  • Item
    แนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) บสบง เลิศรังษี
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การบริหารจัดการ การนํานโยบาย กรุงเทพฯ สู่เมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานครไปปฏิบัติ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคสําคัญและแนวทางแก้ไขในการนํานโยบายกรุงเทพฯ สู่เมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติให้ประสบความสําเร็จ (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบชุมชนที่ประสบความสําเร็จในการ ดําเนินการให้ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนที่น่าอยู่ และ (4) ลักษณะของเมืองกรุงเทพฯ ที่น่าอยู่ และ แนวทางการดําเนินการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้าน เมืองน่าอยู่ และตัวแทนจากทุกภาคส่วน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประธานกรรมการชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จํานวน 332 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ One - Way ANOVA
  • Item
    รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) สุรพล เคยบรรจง
    การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน และการดําเนินงานบริหารสถานศึกษาตามขอบข่ายภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 15 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กร ด้านการบริหารสถานศึกษา และด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งใช้การสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 39 คน จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 13 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูและบุคลากรของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวนทั้งสิ้น 343 คน ประมวลผลข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเบี่ยงเบน ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต
  • Item
    ยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ปรภฏ ศศิประภา
    การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคของแผนพัฒนานักกีฬาในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติในอดีตและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ และ 3) เพื่อนําเสนอยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติที่ ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (QUALITATIVE RESEARCH) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (IN-DEPTH INTERVIEW) จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (KEY INFORMANTS) ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง นักกีฬาผู้ฝึกสอน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาทีมชาติ จํานวน 17 ท่าน และดําเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (QUANTITATIVE RESEARCH) เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น (VERIFICATION) ของยุทธศาสตร์ ด้วยการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้อง จํานวน 493 คน
  • Item
    แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเชิงพาณิชย์ ภายใต้ระบบมาตรฐาน (Code of Conduct) ในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วิเศษ ชมเดช
    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบย่อยของธุรกิจการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเชิงพาณิชย์ ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมภายใต้ระบบมาตรฐาน (Code of Conduct) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจและความพึงพอใจของเกษตรกรในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ภายใต้ระบบมาตรฐาน CoC ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมภายใต้ระบบ มาตรฐาน CoC ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกุ้งขาวแวนนาไมของผู้ส่งออก เพื่อกําหนดแนวทางการ บริหารที่ทําให้เกษตรกรสนใจเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเชิงพาณิชย์ภายใต้ระบบมาตรฐาน CoC และสามารถดําเนินธุรกิจการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรและผู้ส่งออก ในขณะเดียวกันก็ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ สําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข โดยใช้แบบ สัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้ส่งออก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และแบบ สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย หลังจากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประมวลผลและสังเคราะห์ตีความหมาย ด้วยวิธีวิจัยคุณภาพ และเพื่อแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมภายใต้ระบบ มาตรฐานต่อไป
  • Item
    กลยุทธ์ตลาดต่างประเทศเชิงรุกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อสร้างตลาดในอาเซียน: ศึกษาเฉพาะเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงโดยใช้แรงเหวี่ยง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) อุทัย ชุมลักษณ์
    การวิจัยครั้งนี้ให้ความสนใจศึกษาเฉพาะ “เสาสปัน" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อสร้างและในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของธุรกิจเสาสปัน 2) ศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จในการส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อสร้างในการเข้าสู่ ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบธุรกิจเสาสปัน และ 3) ศึกษารูปแบบกลยุทธ์การตลาดต่างประเทศที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อสร้างในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบธุรกิจเสาสปัน ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทําการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) จํานวน 28 คน ประกอบด้วย ข้าราชการประจํา ข้าราชการการเมือง ระดับบริหาร ที่ทําหน้าที่กํากับดูแลกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารสถาบัน การเงิน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกและการตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจ ก่อสร้าง ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมเสาสปัน ผู้ประกอบธุรกิจเสาเข็มคอนกรีตอื่น ๆ ตลอดจน วิศวกรระดับบริหาร การสนทนากลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเสาสปัน การตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ โดยผู้เชี่ยวชาญ
  • Item
    รูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคกลางตอนบน (ปทุมธานี)
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) พา เหมือนประยูร
    การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคกลางตอนบน (ปทุมธานี) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาและรูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนและอุปสรรคของการพัฒนาจากรูปแบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี เพื่อค้นหารูปแบบของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรต่างๆ ที่ควรนําไปใช้ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมีการวิจัยเชิงคุณภาพมีการกําหนดผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ ผู้สนับสนุนการสอนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวน 14 คน และการสนทนากลุ่ม คือ การระดมสมองของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี จํานวน 1 ครั้ง จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคําถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคําถามในการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม จํานวน 2 ฉบับ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และ การจัดสนทนากลุ่มได้นํามาวิเคราะห์และแจกแจงเนื้อหาสาระ จากนั้นผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแบบโดยการสังเคราะห์จากผลการศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนและอุปสรรคของการพัฒนาจากรูปแบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี เพื่อค้นหารูปแบบของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรต่างๆ ที่ควรนําไปใช้ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมีการวิจัยเชิงคุณภาพมีการกําหนดผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ ผู้สนับสนุนการสอนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวน 14 คน และการสนทนากลุ่ม คือ การระดม สมองของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี จํานวน 1 ครั้ง จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคําถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคําถามในการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม จํานวน 2 ฉบับ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และ การจัดสนทนากลุ่มได้นํามาวิเคราะห์และแจกแจงเนื้อหาสาระ จากนั้นผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแบบโดยการสังเคราะห์จากผลการศึกษา
  • Item
    รูปแบบการจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) วุธพันธ์ เนตรเพชราชัย
    การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการที่ส่งผลต่อความสําเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของวิสาหกิจขนาดกลาง, ความสําเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อความสําเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง และรูปแบบการจัดการที่ส่งผลต่อความสําเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง โดยใช้การวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่เป็นประธานกรรมการ, กรรมการ หรือรองกรรมการผู้จัดการ วิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ กับการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประธานกรรมการ, กรรมการ, รองกรรมการผู้จัดการวิสาหกิจ ขนาดกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจํานวน 387 คน โดยแบบสอบถามได้ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นซึ่ง ปัจจัยการจัดการทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.87 และความสําเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน, การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทาง
  • Item
    ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ชุบชีวิต และสร้างตราสินค้าใหม่ให้พรรคการเมือง : กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) สุนีย์ ศรไชยธนะสุข
    การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ชุบชีวิตและสร้างตราสินค้า ใหม่ให้พรรคพรรคการเมือง: กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพของตราสินค้าของพรรคการเมืองกรณีศึกษาพรรคเพื่อไทยและเพื่อสร้างยุทธศาสตร์การสื่อสาร ในการรณรงค์ ชุบชีวิตการสร้างตราสินค้าให้กับพรรคการเมืองโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยผู้วิจัยได้กําหนดการเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับบุคคลผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชน และนักธุรกิจ การศึกษาเอกสาร หลักฐาน แนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และนําข้อมูลจากข้างต้นมาสังเคราะห์สร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่มีสิทธิในการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในภาคต่าง ๆ ของประเทศ
  • Item
    ตัวแบบสมรรถนะหลักขององค์การเภสัชกรรมเพื่อรองรับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) ศิวพล สุวัณณุสส์
    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ตัวแบบสมรรถนะหลักขององค์การเภสัชกรรมเพื่อรองรับการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะหลักขององค์การเภสัชกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาและวิเคราะห์ตัวแบบสมรรถนะหลัก และหลักการบริหารการจัดการขององค์การเภสัชกรรมที่มีส่วนเพิ่มสมรรถนะขององค์กรให้สอดรับกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเพื่อนําเสนอตัวแบบสมรรถนะหลักของ องค์การเภสัชกรรมเพื่อรองรับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถสร้างศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในยุคปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะในการรองรับต่อวัฒนธรรม การบริหารจัดการ รูปแบบใหม่ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยการวิเคราะห์สภาพสมรรถนะขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับการวิเคราะห์และตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ TOWS Matrix เป็นตารางการวิเคราะห์ที่นําข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส จุดแข็งกับอุปสรรค จุดอ่อนกับโอกาส และจุดอ่อนกับอุปสรรคเพื่อกําหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ประเภทต่างๆ ในเชิงรุกเชิงป้องกัน เชิงแก้ไข และเชิงรับ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิง ก (In-depth Interview) โทยามาวิเคราะห์เพื่อกําหนดตัวแบบสมรรถนะขององค์กร วิเคราะห์กับแนวคิดนโยบาย ทฤษฎี หลักการบริหารจัดการ และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในและภายนอกองค์กร
  • Item
    กลยุทธ์การสร้างความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ศุภชัย ผ่องแผ้ว
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปของไทย ศึกษาปัจจัยสําคัญเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ การแข่งขันของอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป และเพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและมีการตรวจสอบผลโดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  • Item
    ภาวะผู้นำด้านการเลือกตั้ง กับยุุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรแนวธรรมาภิบาลอัจฉริยะ เพื่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพในอนาคตของประเทศไทยศึกษากรณี: คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) สิบทิศ วุฒิชาติ
    การวิจัยดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ เรื่อง “ภาวะผู้นําด้านการเลือกตั้ง กับยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการองค์กรแนวธรรมาภิบาลอัจฉริยะเพื่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพในอนาคตของประเทศไทย ศึกษากรณี: คณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด (กกต.จว.)" มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นําด้านการเลือกตั้ง ในความพยายามที่จะบริหารจัดการกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนที่จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และความยุติธรรมอันดีงาม โดยหวังที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยที่มั่นคงในอนาคตให้กับประเทศไทยสําหรับระเบียบวิธีวิจัยในกระบวนการศึกษานั้น ได้ใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Multi-Method Research) ทั้งการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการศึกษาวิจัยในภาคสนาม (Field Research) กล่าวคือ นอกจากการสํารวจตรวจสอบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ยังดําเนินการวิจัยจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการเลือกตั้งโดยตรงจํานวน 323 คน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ดีที่สุด สามารถช่วยยืนยันความถูกต้อง สมบูรณ์ให้กับผลของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้ดําเนินการควบคู่กันโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 40 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้นํา นักบริหารระดับสูงและเคยมีประสบการณ์ด้านการบริหารงานจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้นําด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นําของสํานักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งทั้งอดีตและปัจจุบัน
  • Item
    ยุทธศาสตร์การรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมผ่านมิวสิควิดีโอ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) ศิริกาญจน์ ยิ้มประยัติ
    การศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์การรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมผ่านมิวสิควิดีโอมีวัตถุประสงค์ ศึกษาวิเคราะห์การรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมผ่านมิวสิควิดีโอเพื่อนําไปสู่การสร้าง ยุทธศาสตร์การรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมผ่านมิวสิควิดีโอโดยใช้วิธีการศึกษาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับมิวสิควิดีโอ จํานวนทั้งสิ้น 35 คน และใช้วิธีการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย และตรวจสอบยุทธศาสตร์ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ แจกแบบสอบถาม จํานวนทั้งสิ้น 383 ชุด ผลการศึกษาระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สร้างยุทธศาสตร์การรณรงค์ปลูกฝัง ค่านิยมผ่านมิวสิควิดีโอโดยใช้ชื่อว่า “กลยุทธ์มิวสิควิดีโอที่ยอดเยี่ยม”
  • Item
    มิติใหม่ในการจัดการทุนมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) น้ำเพชร ฉัตรปุญญานนท์
    การวิจัยเรื่อง มิติใหม่ในการจัดการทุนมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อออกแบบกิจกรรมการสกัดความรู้ที่ฝังแน่นของแรงงานในกระบวนการ เรียนรู้จากฐานการทํางาน 2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการสกัดความรู้ที่ฝังแน่นของแรงงาน ในกระบวนการเรียนรู้จากฐานการทํางาน นํามาแก้ปัญหาการทํางานประจําและสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของทุนมนุษย์ 3. เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการทดลองใช้กิจกรรมการสกัดความรู้ที่ฝังแน่นของแรงงานในกระบวนการเรียนรู้จากฐานการทํางานโดยใช้กรอบการประเมินการฝึกอบรมของ Kirkpatrick และประเมินผลลัพธ์ของการจัดการทุนมนุษย์ตามกรอบการประเมินผล การปฏิบัติงานราชการ 4 มิติ 4. เสนอต้นแบบการพัฒนาแรงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นทุนมนุษย์ด้วยการสกัดความรู้ในกระบวนการเรียนรู้จากฐานการทํางาน โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ทําการศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และการทดลอง (Experiment Method) สําหรับกลุ่มเป้าหมาย และการศึกษาเชิงปริมาณ Method) ในการประเมินผล
  • Item
    มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019) สรายุธ รื่นนมย์
    การศึกษาวิจัยเรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการพัฒนาพฤตินิสัยของ ผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการดําเนินการ ด้านการแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยผู้ต้องขังวัยหนุ่ม และเพื่อให้ได้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางโดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญรวมทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริหารในกรมราชทัณฑ์ รองอธิบดีที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง กลุ่มผู้บริหารทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้าน อาชญาวิทยาและด้านทัณฑวิทยา กลุ่มนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ และการจัดสนทนากลุ่ม ย่อยกับผู้ต้องขังวัยหนุ่ม (อายุ 18-25 ปี) ทั้งที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโปรแกรม กําลังดําเนินการตาม โปรแกรม และที่เคยผ่านการดําเนินการตามโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูมาแล้ว (Focus group) สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง และสํานักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล กับเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยของประชากร แบ่งออกเป็นผู้ตอบแบบสอบถามจากทัณฑสถานวัยหนุ่ม กลาง จํานวน 161 ราย และจากสํานักพัฒนาพฤตินิสัยส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ จํานวน 59 ราย รวมทั้งสิ้น 220 ราย
  • Item
    รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2015) พิมพ์มณี แก้วมหาวงศ์
    การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสําหรับบุคคลที่มี ความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว สําหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในปัจจุบัน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัว สําหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสนับสนุนการจัดการและ 3) ตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสําหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสนับสนุนการจัดการ