Dissertation
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Dissertation by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 239
Results Per Page
Sort Options
Item ยุทธศาสตร์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของจังหวัดในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) ดิเรก ถึงฝั่งการศึกษายุทธศาสตร์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เพื่อเพิ่ม ศักยภาพการแข่งขันของจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการรูปแบบใหม่และแบบเดิม วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข จัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แนวทางในการบริหารงานของจังหวัดรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และยุทธศาสตร์ การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้ ทําการศึกษากับภาคราชการ กับหัวหน้ากลุ่มจังหวัด 19 จังหวัด ภาคเอกชนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ภาควิชาการจากอาจารย์ มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)Item ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรที่เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) ศิริพันธ์ จุรีมาศการวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการเป็นหนี้เสียของลูกหนี้ นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกิดขึ้นในระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัย ความสําเร็จและวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของลูกหนี้ รวมทั้งบทเรียนทั้งในด้านดีและไม่ดีที่เกิดจากความสัมพันธ์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยได้มีการเสนอยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ของลูกหนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทําการศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ (Key Informants) ประกอบด้วยเจ้าของกิจการ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินItem การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) สมลักษณา ไชยเสริฐการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของประชาชน ในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตํารวจ สถานีตํารวจนครบาล (กต.ตร.สน.) ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กต.ตร.สน. และนําเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กต.ตร.สน. ที่เพิ่มศักยภาพในการบริหารงานสถานีตํารวจนครบาล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth- Interview) การจัดประชุมเวทีสาธารณะ (Public Meeting) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) คือ ประชาชนที่เป็น กต.ตร.สน. ประธานชุมชนหรือผู้แทนชุมชนในเขตพื้นที่สถานีตํารวจนครบาล 9 แห่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนในคณะกรรมการ ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.)Item การพัฒนากระบวนทัศน์การสื่อสารแห่งคุณธรรมแบบบูรณาการเพื่อการเสริมสร้างภาพลักษณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ชนะเทพ สวนแก้วการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนทัศน์การสื่อสารแห่งคุณธรรมแบบบูรณา การเพื่อการเสริมสร้างภาพลักษณ์สํานักงานตํารวจแห่งชาติ” โดยการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ตลอดจนภาพลักษณ์ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อแสวงหายุทธศาสตร์ในการสื่อสารแบบบูรณาการในการสร้างภาพลักษณ์ โดยพัฒนาเป็นกระบวนทัศน์การสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อภาพลักษณ์แห่งคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.)Item การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเขตปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ชวลิต สวัสดิ์ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดเขตปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การบริหารจัดการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตําบล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพItem การปลูกฝังกระบวนทัศน์ใหม่ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานด้านการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ : กรณีศึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ดิเรก ดีประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพกระบวนทัศน์ในปัจจุบัน ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในที่มีผลต่อสมรรถนะใน การปฏิบัติงาน 2) เสนอกระบวนทัศน์ใหม่ ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ที่ทํางานด้านการรักษา ความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ 3) เสนอแนวทางการปลูกฝัง กระบวนทัศน์ใหม่ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ที่ทํางานด้านการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกําหนดผู้ให้ ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) คือ ผู้บริหาร ระดับนโยบาย และผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จํานวน 27 คน รวมทั้งผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) คือ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับผู้ปฏิบัติ จํานวน 25 คนItem ยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ปรภฏ ศศิประภาการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคของแผนพัฒนานักกีฬาในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติในอดีตและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ และ 3) เพื่อนําเสนอยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติที่ ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (QUALITATIVE RESEARCH) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (IN-DEPTH INTERVIEW) จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (KEY INFORMANTS) ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง นักกีฬาผู้ฝึกสอน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาทีมชาติ จํานวน 17 ท่าน และดําเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (QUANTITATIVE RESEARCH) เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น (VERIFICATION) ของยุทธศาสตร์ ด้วยการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้อง จํานวน 493 คนItem กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาเฉพาะในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) สรรเสริญ อินทรัตน์การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จํานวน 7 จังหวัด คือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะละ และนราธิวาส เป็นกรณีศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มข้าราชการในองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 4 คน กรรมาธิการแปรญัตติขององค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 2 คน กลุ่มพระสงฆ์ จํานวน 2 รูป นักวิชาการ จํานวน 3 คน นักข่าวประจําท้องถิ่น จํานวน 3 คน และผู้มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์Item กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) เดช เฉิดสุวรรณรักษ์การวิจัยเรื่อง กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการ วิเคราะห์ สภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการจัดการของภาครัฐกับปัญหา กากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีความสําคัญ และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ทําให้มีผลกระทบ ในวงกว้างทั้งในเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชน ผลกระทบการส่งออกสินค้าของไทยกับมาตรการที่สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศประกาศใช้ และการขนย้ายหรือธุรกรรมนอกระบบที่ไม่มีการควบคุมดูแล ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยงานภาครัฐของไทย หลายหน่วยกําลัง เริ่มทําการศึกษา และได้เร่งพยายามพัฒนาขีดความสามารถให้แก่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกับบริษัท ขนาดกลาง-ย่อย ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทั้งในด้านของการออกกฎหมาย การพัฒนาบุคคลากร และการควบคุมItem การปลูกฝังวัฒนธรรมบริการเพื่อขับดันกลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สิทธิชัย ฝรั่งทองการศึกษาเรื่อง “การปลูกฝังวัฒนธรรมบริการเพื่อขับดันกลยุทธ์การจัดการลูกค้า สัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” นี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการแจกแบบสอบถามบุคลากรโรงพยาบาล เอกชน จํานวน 385 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการปลูกฝังวัฒนธรรมบริการที่มีต่อกลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนItem รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรระดับเทศบาลของจังหวัดเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สุวิทย์ ศิริไกรวัฒนาวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการมูลฝอย ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการมูลฝอยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศ ไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เหมาะสมและยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Studies) การสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) และการประชาพิจารณ์รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอย (Public Hearing) กลุ่มเป้าหมาย คือ นายกเทศมนตรี เทศมนตรี บุคลากรของเทศบาลที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการมูลฝอย และประชาชนในเขตเทศบาลยางเนิ้ง เทศบาลเวียงฝาง เทศบาลตําบลสันป่าตอง และเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบบันทึกการทํา SWOT Analysis แบบสอบถามประกอบการประชาพิจารณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานItem กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วาสนา ดิษฐพรมการศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการ แข่งขันของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ” มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความต่อเนื่องเชื่อมโยงและ สัมพันธ์กันของแต่ละกิจกรรมในโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ เพื่อศึกษาปัจจัย องค์ประกอบและคุณค่าผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอที่ผู้บริโภคพึงพอใจที่ส่งผลต่อการพัฒนาโซ่คุณค่าของกิจการเคหะสิ่งทอ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การประยุกต์การจัดการโซ่คุณค่าในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ โดยใช้วิธีแบบผสม (Mixed Methodology) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Technique) และเชิงปริมาณ (Quantitative Technique) โดยใช้ประเด็นคําถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารบริษัท จํานวน 28 คน และใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริโภคจํานวน 400 คน และผู้บริหารบริษัทจํานวน 150 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คํานวณผลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สําเร็จรูปItem ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) นงนุช วิชญะเดชาการวิจัยเรื่องปัจจัยความสําเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และกิจกรรม การจัดการความรู้ที่จําเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย 2) ศึกษาการจัดการความรู้ในแต่ละสถานประกอบการของอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยความสําเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากนั้นตรวจสอบความถูกต้องด้วยการวิจัยเชิงปริมาณItem ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์การ กรณีศึกษา : สถาบันการบินพลเรือน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สุวลักษณ์ ห่วงเย็นการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์การ กรณีศึกษา : สถาบันการบินพลเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบ สัมภาษณ์โดยใช้กับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้บริหารระดับสูง จากองค์การชั้นนําด้านการบินที่ได้รับการประเมินผลงานบริหารสํานักงานจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจอยู่ในระดับดีจํานวน 3 หน่วยงาน คือ 1) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด 2) บริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จํากัด และ 3) บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) รวมทั้งหมดจํานวน 7 คน และ 2) พนักงานสถาบันการบินพลเรือนทั้งหมดจํานวน 297 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก นํามาวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test และ One-Way ANOVAItem การประยุกต์กลยุทธ์ E-marketing เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันสำหรับโรงแรมขนาดเล็กในเขตเมืองพัทยา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) ณรงค์ หงษ์สมาทิพย์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนํา กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในเขตเมืองพัทยา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการรวบรวมจากการตอบแบบสอบถามของผู้ใช้บริการโรงแรม ขนาดเล็กในเขตเมืองพัทยา จํานวน 400 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์โรงแรมขนาดเล็กในเขตเมืองพัทยาจํานวน 15 โรงแรม หลังจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่มีผลกระทบจากการใช้กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์สําหรับโรงแรมขนาดเล็กในเขตเมืองพัทยา พบว่า จุดแข็งของการใช้กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ คือ กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต้นทุนต่ำ สามารถลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากขั้นตอนส่วนใหญ่บนอินเตอร์เน็ตเป็นแบบอัตโนมัติ สามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น การจองห้องพักออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใช้บริการสามารถหาข้อมูลได้ทางอินเตอร์เน็ตยิ่งไปกว่านั้น กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์ที่มี ประสิทธิภาพง่ายต่อการประยุกต์ต่อธุรกิจทุกประเภทItem ตัวแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วรเศรษฐ วิทยกุลการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างตัวแบบ (model) การพัฒนาคุณภาพชีวิต การทํางานของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายตรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล ผู้วิจัยได้ใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สําคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนแรกได้จากการสังเกต (Observation) โดยเข้าไป มีส่วนร่วมเพื่อสังเกตถึงชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตํารวจ สายตรวจ เพื่อนํามาประเมินถึงระดับคุณภาพชีวิตการทํางาน ส่วนที่สองได้จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเอกสาร (Documentary Research) ตลอดจนงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่วนที่สามได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Experts) รวม 36 คน ประกอบด้วย นายตํารวจที่เป็นผู้บังคับบัญชาของสายตรวจ ตัวเจ้าหน้าที่ตํารวจสายตรวจเอง และผู้แทนภาคประชาชน ซึ่งทําหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงาน ตํารวจระดับสถานีตํารวจ (กต.ตร.สน.) จากนั้นผู้วิจัยได้จัดให้มีการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อบูรณาการและสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดให้ตกผลึก จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายตรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาลที่มีความเป็นไปได้ และสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย และส่วนที่ 4 ได้มีการนําตัวแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตํารวจสายตรวจ สังกัดกองบังคับการตํารวจนครบาล จํานวน 380 นาย โดยใช้วิธีวิจัยปริมาณเชิงสํารวจ ผ่านแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 9616 จากนั้นนําข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟItem การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) จิระพันธ์ สวัสดีการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานครวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและความต้องการพัฒนาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาที่มีผลต่อคุณภาพ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร และ 3) เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) โดยใช้วิธีการศึกษา ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการนําเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิธีการ ดําเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาระบบการบริหารสถานศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยการสอบถาม วิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เพื่อทราบสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค และความต้องการพัฒนาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร เพื่อหาข้อมูลไปใช้ในการออกแบบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานคร โดยการกําหนดหลักการ ส่วนประกอบ ร่าง และนําเสนอร่างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานคร โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและนําเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานItem การพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อเตรียมเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) ปัญญา อนันตธนาชัยการวิจัยเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นําของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อเตรียมเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความจําเป็นและความคาดหวังต่อการพัฒนาภาวะผู้นําของบุคลากรรุ่นใหม่และเตรียมเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ค้นหาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เหมาะสมกับการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นํา และค้นหาสมรรถนะหลักที่จําเป็นต่อการพัฒนาสร้างเสริมให้เกิดขึ้นในตัวบุคลากรรุ่นใหม่ รวมทั้งค้นหาคุณลักษณะพิเศษของผู้บริหารมือ อาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเพื่อนําเสนอตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นําของบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อเตรียมเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ดําเนินการ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลหลักจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) การสนทนากลุ่ม (focus group) และการจัดกิจกรรม เวทีเสวนา จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (key informants) 3 กลุ่ม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบุคลากรสายสอน และบุคลากรสาย สนับสนุนการสอน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกItem การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การดําเนินงานพัฒนาการบริหาร จัดการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสํานักงานนโยบายและ แผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารของหน่วยงานที่มีบทบาท ภารกิจเกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง จํานวน 32 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ สํารวจความ คิดเห็นของข้าราชการและผู้รับบริการของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงานที่มีต่อแนวทาง จํานวน 115 คน โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานItem ยุทธศาสตร์การวางผังเมืองระดับท้องถิ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษาการวางผังเมือง อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์การวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การวางผังเมืองระดับท้องถิ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา การวางผังเมืองอําเภอสามพรานและอําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารพัฒนากับการวางผังเมือง ศึกษาการวางผังเมืองระดับท้องถิ่น และหารูปแบบเพื่อนําเสนอการบริหารพัฒนาการวางผังเมืองของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นํานโยบายของรัฐมาดําเนินการกําหนดแนวทางในการวางผังเมือง พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารพัฒนาการวางผังเมือง เป็นเครื่องมือ ที่สําคัญต่อการกําหนดยโยบาย อุดมการณ์ และแนวคิดของการวางผังเมือง การบริหารอย่างไร จึงจะพัฒนาการวางผังเมืองสู่ยุทธศาสตร์ของการวางผังเมืองที่เหมาะสม 2. การวางผังเมืองระดับท้องถิ่น จากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ของการวางผังเมืองประกอบกับข้อมูลการสัมภาษณ์ พบว่ามักจะขาดข้อมูลพื้นฐานของความต้องการและข้อจํากัดในท้องถิ่น และขาดการเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม 3. ยุทธศาสตร์ในการวางผังเมืองระดับท้องถิ่นรูปแบบของการบริหารพัฒนาการวางผังเมืองของกรุงเทพมหานครนั้นควรจะมีรูปแบบของ 7 P's