Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กัลยาภรณ์ จันตรี"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมชะลอวัย (ครีมลดเลือนริ้วรอย) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าว กข.43(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ขวัญจิต อิสระสุข; อรพิณ โกมุติบาล; อมรรัตน์ สีสุกอง; ปิยนุช พรมภมร; จิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์; กัลยาภรณ์ จันตรี; ศราวุธ จินดารัตน์; สุชาดา โทผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ประสิทธิภาพ การป้องกันแสงแดดความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ไฟโบรบลาสต์ของสารสกัดจากข้าวกข.43 และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนสเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัย สกัดผงข้าวขาวและข้าวกล้อง กข.43 ที่แห้งแล้วด้วยตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95, 70, 50, 30 และ 0 (น้ำปราศจากอิออนร้อยละ 100) ด้วยวิธีการหมัก ผลการวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม และสารแกมมาออริซานอล พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 มีปริมาณสารต้านออกซิเดชันโดยรวมสูงกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ไฟโบรบลาสต์ พบว่า สารสกัดข้าวขาวและข้าวกล้อง กข.43 ที่ความเข้มข้น 5-100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดด้วยวิธี DPPH, FRAP, HRSA และ SRSA assays พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 มีประสิทธิภาพการยับยั้ง อนุมูลอิสระ DPPH และค่า FRAP สูงกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 ส่วนการยับยั้งอนูมูลอิสระ Hydroxyl และ Superoxide พบว่า สารสกัดข้าวขาว กข.43 มีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 การวัด ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดของสารสกัด พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 ที่สกัดด้วยน้ำปราศจาก อิออนมีค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดสูงกว่าสารสกัดส่วนอื่น การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของ สารสกัดในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดข้าวกล้องที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และสารสกัดข้าวขาวที่สกัดด้วยน้ำปราศจากอิออนมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยสามารถยับยั้งการสลายตัวของอัลบูมินได้ และสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 ที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 30 มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนสได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 130.93±13.99 มิลลิกรัมต่อมิลลิลตร ตั้งตำรับครีมและเซรั่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 (ความเข้มข้นร้อยละ 0.27 โดยน้ำหนัก) พบว่า ตำรับที่เตรียมได้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น มีสีเหลืองอ่อน และ ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต้องห้ามทางเครื่องสำอาง ตำรับครีมมีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5330.00±562.30 เซนติพอยส์ และ 6.77±0.34 ตามลำดับ ส่วนตำรับเซรั่มมีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 403.10±7.20 เซนติพอยส์ และ 6.73±0.05 ตามลำดับ ตำรับครีมและตำรับเซรั่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าว กข.43 มีความคงตัวดีทางเคมีกายภาพภายใต้สภาวะอุณหภูมิห้องและสภาวะเร่ง จากผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากข้าวกล้อง กข 43 มีฤทธิ์ทางชีวภาพโดยรวมดีกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 จึงเหมาะกับการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัยได้Item การศึกษาการปลดปล่อยสารแอสตาแซนทินจากตำรับเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวสู่ผิวหนังสังเคราะห์และเมมเบรนสังเคราะห์(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กัลยาภรณ์ จันตรี; ทิฐิมา ภาคภูมิ; นิฏสุดา อิ่มเสถียร; ณัฐฏรัตน์ ศรีบุรินทรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดแอสต้าแซนทิน ด้วยวิธี DPPH scavenging assay พบว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีค่า IC50 เท่ากับ 0.0017 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ทดสอบเทียบกับสารมาตรฐานวิตามินซี พบว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีค่า IC50 มากกว่าสารมาตรฐานวิตามินซีประมาณ 10 เท่า แสดงว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารมาตรฐานวิตามินซี ศึกษาลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) ทั้ง 2 ตำรับ และตำรับครีมเบสชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) ทั้ง 2 ตำรับ พบว่า ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) สูตรที่ 4 และตำรับครีมเบสชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) สูตรที่ 4 เป็นสูตรที่ดีที่สุด จากนั้นนำไปเตรียมครีม แอสต้าแซนทินชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) และครีมแอสต้าแซนทินชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) แล้วนำไปทดสอบลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับ พบว่า ครีมแอสต้าแซนทินทั้ง 2 ชนิด ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความคงตัวดีที่สภาวะเร่ง (Heating-Cooling) และในที่มืดแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีในสภาวะที่มีแสงสว่าง (ริมหน้าต่าง) เป็นเพราะสารสกัดแอสต้าแซนทินไม่มีความคงตัวต่อแสง และถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายด้วยแสงจึงควรเก็บในภาชะที่มิดชิดกันแสง จากนั้นนำครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) ครีมเบสชนิดน้ำในน้ำ (W/O) ครีมแอสต้าแซนทินชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) และครีมแอสต้าแซนทิน (W/O) และจากการทำการศึกษาการแพร่ซึมผ่านด้วยวิธี Franz diffusion cell พบว่า แอสตาแซนตินสามารถแพร่ซึมผ่านผ่านเนื้อเยื่อสังเคราะห์ได้ดีกว่าเมมเบรนสังเคราะห์Item การสกัด ความคงตัว และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร oxyresveratrol จาก แก่นมะหาด(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อรพิณ โกมุติบาล; ศรีสุดา ธารงพิรพงษ์; กัลยาภรณ์ จันตรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร oxyresveratrol การแยกสารให้บริสุทธิ์ และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากแก่นมะหาด จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร oxyresveratrol ที่เหมาะสมคือการสกัดด้วย 80% ethanol ในอัตราส่วนของพืชต่อตัวทำละลายเป็น 1:10 โดยวิธีการแช่ (maceration) ที่อุณหภูมิ 30 °C เมื่อทำการแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี สามารถแยกสารบริสุทธิ์ได้ 2 ชนิดคือ oxyresveratrol เป็นสารองค์ประกอบหลัก และสาร resorcinol โดยทำการยืนยันโครงสร้างด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปี จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้ด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay พบว่าสาร resorcinol จะมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าสาร oxyresveratrol เมื่อทำการทดสอบด้วยวีธี DPPH จะแสดงค่า IC50 เท่ากับ 11.16 ± 0.15 และ 20.18 ± 0.10 µg/mL ตามลำดับ และเมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี ABTS จะแสดงค่า IC50 เท่ากับ 10.93 ± 0.23 และ 22.13 ± 0.34 µg/mL ตามลำดับItem การสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกล้วยไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบใหม่ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง; วิทวัส รัตนถาวร; ปิยนุช พรมภมร; ทัศนีย์ พาณิชย์กุล; จรัสฟ้า โหมดสุวรรณ; กัลยาภรณ์ จันตรี; อมรรัตน์ สีสุกอง; อรทัย โกกิลกนิษฐ; ณัติฐพล ไข่แสงศรงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากดอกกล้วยไม้ ช้างกระ อุดร ซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ โดยเปรียบเทียบการสกัด 4 วิธี คือ การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย เอทานอล การสกัดด้วยอัลตราโซนิค การสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวด และการกลั่น พร้อมสกัด ซึ่งกล้วยไม้ช้างกระ และอุดรซันไฌน์มีร้อยละการสกัดสูงที่สุดเมื่อสกัดด้วยการใช้ตัวทำละลาย ส่วนแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้มีร้อยละการสกัดสูงที่สุดเมื่อสกัดด้วยวิธีอัลตราโซนิค สำหรับปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ พบว่า กล้วยไม้อุดรซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ที่สกัด ด้วยวิธีใช้ตัวทำละลายให้ปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงที่สุด ส่วนกล้วยไม้ช้างกระสกัดด้ว อัลตราโซนิคให้ปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงสุด สอดคล้องกับฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การสกัดกล้วยไม้อุดรซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดทั้งวิธี DPPH และ ABTS ส่วนกล้วยไม้ช้างกระสกัดด้วยวิธีอัลตราโซนิคให้ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด การวิเคราะห์สารในกลุ่มฟีนอลิกด้วย HPLC พบว่า สารสกัดกล้วยไม้มีสารในกลุ่มฟีนอลิก 3 ชนิด คือ gallic acid, chlorogenic acid และ caffeic acid และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 5 ชนิด คือ myricetin, luteolin, kaempferol, apigenin และ anthocyanin จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารหอมระเหยด้วย gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) เทคนิค headspace solid phase micro extraction (HS-SPME) ของดอกสดกล้วยไม้ช้างกระ และอุดรซันไฌน์ สารสำคัญที่พบ คือ β-ocimene ให้แนวกลิ่น citrus, tropical, green, terpene และ woody ส่วนแคทลียาหว่าหยวน บิวตี้ สารสำคัญที่พบ คือ p-cresol ให้แนวกลิ่น phenolic การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส คอลลาจิเนส และอีลาสเทส พบว่า การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัลตรา โซนิค และการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวดสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีกว่าการกลั่นพร้อมสกัด และเมื่อทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes) พบว่า สารสกัดกล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิด ที่สกัดด้วยการกลั่นพร้อมสกัดมีฤทธิ์ในการยับยั้งและฆ่าเชื้อ P.acnes ได้สูงที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน CCD-986 SK พบว่า สารสกัดที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัลตราโซนิค และการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ CCD-986 SK ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดดอกกล้วยไม้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง บำรุงผิว โดยตำรับเครื่องสำอางบำรุงผิวจากสารสกัดดอกกล้วยไม้ช้างกระ และจากสารสกัดดอก กล้วยไม้อุดรซันไฌน์ ถูกนำไปทดสอบความคงตัวภายใต้สภาวะ 4, 25, 35 (เฉพาะต ารับกล้วยไม้อุดร ซันไฌน์) 45 องศาเซลเซียส สภาวะเร่ง (Heating-cooling cycle) และสภาวะแสงส่องผ่าน พบว่า ทุกตำรับมีลักษณะเนื้อครีมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดการแยกชั้น ค่า pH ความหนืด และค่าสีมีการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่มีผลต่อตำรับItem ความชุกของการบาดเจ็บระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของกลุ่มทอเสื่อกก อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อรพิณ โกมุติบาล; กัลยาภรณ์ จันตรี; พจน์ ภาคภูมิ; พงษ์สิทธิ์ บุญรักษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทำทางการทํางานที่เป็นอันตราย และความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทํางาน (WMSDs) ของคนกลุ่มผู้ทอเสื่อกก หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตําบล อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ดัดแปลงมาจาก Standard Nordic Questionnaire และแบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมร่วมกับการสังเกตท่าทางการทํางานด้วยแบบด้านการยศาสตร์ ประเมินผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการบาดเจ็บระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 7 วัน และ 1 เดือน พบว่าความชุกมากสุดที่เข่า คิดเป็นร้อยละ 51.80 และ 54.87 ตามลําลับ รองลงมาคือ บริเวณหลังส่วนล่าง คิดเป็นร้อยละ 47.18 และ 44.10 บริเวณที่มีความชุกเป็นอันดับสาม คือ หัวไหล่ คิดเป็นร้อยละ 43.60 และ 42.05 ตามลําดับ และจากการประเมินความเสี่ยงโดยใช้ RULA ผล การศึกษาพบว่า มีความเสี่ยงระดับ 3 ถึง 4 ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการทํางานเป็นการทํางานแบบซ้ำ ๆ และมีการยกแขน งอแขน และโยกตัวไปข้างหน้าและมีการใช้แรงแบบสถิตทําให้เกิดปัญหาItem ความสามารถต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรท้องถิ่นใน อ.เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี เพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อรพิณ โกมุติบาล; อรอนงค์ ทองมี; กัลยาภรณ์ จันตรี; สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์; ทิฐิมา ภาคภูมการศึกษาความสามารถต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรท้องถิ่นโดยเลือกข้าวโพด กล้วย ถั่วลันเตา ผักคะน้า และผักโขม ใน อ. เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ศึกษาทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน สารประกอบฟลาโวนอยด์ และสารประกอบฟีโนลิก และศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดพืชสมุนไพรต่อเซลล์มะเร็ง นอกจากนั้น ได้พัฒนาพืชสมุนไพรใน อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้แปรรูปเป็นน้ำสกัดสมุนไพร คุกกี้สมุนไพร ข้าวเกรียบ Cornflake Cookie (คุกกี้ คอนเฟลก) และ Peanut Butter Crispy Rice Trets (ซีเรียลบรา) ซึ่งให้ค่าปริมาณสารอาหารโปรตีน ไขมันและไฟเบอร์ เพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากนั้น ผักโขมที่ท้าละลายด้วยเอทานอล ให้ปริมาณฟีโนลิก และสารประกอบฟลาโวนอยด์ 8.17 mg QE/g dry extract และ 7.49 mg QE/g dry extract ตามลำดับ โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเท่ากับ 1.12, 0.89 และ 0.72 mg/ml เมื่อเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP assay ตามลำดับ และยังพบว่า ผักโขม และถั่วลันเตาให้ % cytotoxicity เท่ากับ 92.07 และ 97.23 ตามลำดับ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง (Vero Cell) ดังนั้นจากประโยชน์และความเป็นพิษของพืช ดังกล่าวเหมาะที่จะนำมาพัฒนาเป็นอาหารเสริมสุขภาพต่อไปได้เพราะพืชเหล่านี้หาได้ง่ายในชุมชนItem ศึกษาการซึมผ่านแผ่นกั้นผิวหนังหมูในหลอดทดลองของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในสารสกัดใบขลู่จากตํารับไมโครอิมัลชัน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ขวัญจิต อิสระสุข; กัลยาภรณ์ จันตรี; ปิยนุช พรมภมร; ธรรมนูญ รุ่งสังข์; ทัศนย์ พาณิชย์กุลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการซึมผ่านแผ่นกั้นผิวหนังหมูในหลอดทดลองของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในสารสกัดใบขลู่จากตํารับไมโครอิมัลชัน สกัดใบขลู่ด้วยวิธีการหมักด้วย ตัวทําละลายเอทานอลร้อยละ 99 วิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวมและฟลาโวนอยด์รวม ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu assay และAluminium chloride method ตามลําดับ พบว่า สารสกัดมีปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวมเท่ากับ 54.61±0.53 mgGAE/กรัมสารสกัด และปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์รวมเท่ากับ 536.18±2.31 mgQE/กรัมสารสกัด วิเคราห์ปริมาณสารออกฤทธิ์ 4,5-Di-O caffeoylquinic acid ในสารสกัดใบขลู่ด้วยวิธี High performance liquid chromatography พบว่า สารสกัดใบขลู่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ 4,5-Di-O-caffeoylquinic acid เทากับ 9.359 ug/mL การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบขลู่ ด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดที่สกัดมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่กําจัดอนุมูลอิสระได้ 50% เท่ากับ 0.4638±0.058 mg/mL เทียบกับสารควบคุมเชิงบวกวิตามินซี สารสกัดใบขลู่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ผิวหนังมนุษย์ ทดสอบ ด้วยวิธี SRB assay เตรียมตํารับไมโครอิมัลชันในรูปแบบน้ํามันในน้ําด้วยแบบจําลองภาพ pseudo ternaryphase diagrams พบว่า ตํารับที่เหมาะสมประกอบด้วยสารสกัดใบขลู่ 0.2 ร้อยละโดยน้ําหนัก ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของตํารับไมโครอิมัลชันที่มีสารสกัดใบขลู่ด้วยเครื่องอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่า ไมโครอิมัลชันที่เตรียมได้มีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลม มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 24.397±1.20 nm และมีค่าการกระจายตัวเฉลี่ยเท่ากับ 0.397±0.05 ประเมินตํารับไมโครอิมัลชันที่ มีสารสกัดใบขลู่ทางเคมีกายภาพ พบว่า ไมโครอิมัลชันมีสีเขียวใสเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความหนืดเล็กน้อย มีค่าสี L*a*b* เท่ากับ +8.29±0.76, +2.27±0.07, +0.26±0.09 ตามลําดับ มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 6.08 ประเมินความคงตัวของไมโครอิมัลชันที่เตรียมได้ที่สภาวะอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 เดือน อุณหภูมิร้อนสลับเย็นเป็นเวลา 6 รอบ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 เดือน ผลการประเมิน พบว่า ไมโครอิมัลชันที่มีสารสกัดมีความคงตัวดี ไม่เปลี่ยนแปลงทุกสภาวะที่ทดสอบโดยเทียบกับสภาวะเริ่มต้น และผลการประเมินการแพร่ซึมผ่านผิวหนังในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดใบขลู่ที่เตรียมในรูปแบบไมโครอิมัลชันสามารถแพร่ผ่านชั้นผิวหนัง Stratum corneum ได้ จากผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าไมโครอิมัลชันที่มีสารสกัดจากใบขลู่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางสําหรับผิวหนังได้Item สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวอ่อนของข้าวไรซ์เบอร์รี่และการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสําเร็จรูป(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) อมรรัตน์ สีสุกอง; กัลยาภรณ์ จันตรี; อรพิณ โกมุติบาล; ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง; สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี; หทัยรัตน์ ปิ่นแก้ว; จิราภรณN บุราครงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ระยะการเก็บเกี่ยวต่าง ๆ ได้แก่ ระยะเม่า และระยะข้าวแก่ และศึกษาการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสําเร็จรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ผง โดยปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ศึกษา ได้แก่ ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ และความสามารถในการ ต้านอนุมูลอิสระ (EC50) พบว่า ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดของสารสกัดตัวอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี่ ระยะเม่า มีค่าสูงกว่าในข้าวระยะแก่ (p≤0.05) คือ มีค่าเท่ากับ 49.88 และ 25.48 mg GAE/g extract ตามลําดับ ส่วนปริมาณฟลาโวนอยด์ของสารสกัดตัวอย่างข้าวในระยะเม่า มีปริมาณ ฟลาโวนอยด์ สูงกว่าในข้าวไรซ์เบอร์รี่ระยะแก่ (p≤0.05) คือ มีค่าเท่ากับ 31.71 และ 21.48 mg QE/g extract ตามลําดับ ส่วนความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดตัวอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี่ในระยะเม่ามีค่าสูงกว่าข้าวในระยะแก่ (p≤0.05) คือ มีค่า EC50 เท่ากับ 0.12 และ 0.33 ตามลําดับ ดังนั้น จึงคัดเลือกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในระยะเม่ามาใช้ในการทดลองต่อไป การศึกษาการทําแห้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ผงโดยใช้วิธีการทําแห้งแบบโฟมแมท โดยศึกษาปริมาณของเมโทเซลที่เหมาะสม ที่ใช้เป็นสารก่อโฟม โดยแปรผันปริมาณเมโทเซล 3 ระดับ คือ ร้อยละ 3, 4 และ 5 โดยน้ำหนัก และ แปรผันเวลาที่ใช้ในการตีโฟม 2 ระดับ คือ 10 และ 15 นาที พบว่า โฟมที่มีค่าโอเวอร์รันสูงสุด และ ความหนาแน่นต่ําสุด ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมในการทําแห้งแบบโฟมแมท คือ การใช้ปริมาณของ เมโทเซลร้อยละ 5 ใช้เวลาในการตีโฟม 15 นาที ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหาร สําเร็จรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ผง ด้านกลิ่นรส 3 กลิ่นรส ได้แก่ รสธรรมชาติ รสชาเขียว และ รสช็อกโกแลต ได้ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า เครื่องดื่มธัญญาหารสูตรรสช็อกโกแลตได้คะแนนการทดสอบด้านกลิ่นสูงสุด (7.58) เครื่องดื่มธัญญาหารสูตรรสชาเขียว ได้รับคะแนนการทดสอบด้านสีสูงสุด คือ 7.50 คะแนนด้านรสชาติ และความมัน พบว่า เครื่องดื่มธัญญาหารทั้ง 3 สูตร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนคะแนนความชอบโดยรวม พบว่า เครื่องดื่ม ธัญญาหารสูตรรสชาเขียว ได้รับคะแนนสูงสุด คือ 7.42 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับเครื่องดื่มธัญญาหารรสธรรมชาติ และรสช็อกโกแลต