การศึกษาการปลดปล่อยสารแอสตาแซนทินจากตำรับเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวสู่ผิวหนังสังเคราะห์และเมมเบรนสังเคราะห์

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาการปลดปล่อยสารแอสตาแซนทินจากตำรับเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวสู่ผิวหนังสังเคราะห์และเมมเบรนสังเคราะห์
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดแอสต้าแซนทิน ด้วยวิธี DPPH scavenging assay พบว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีค่า IC50 เท่ากับ 0.0017 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ทดสอบเทียบกับสารมาตรฐานวิตามินซี พบว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีค่า IC50 มากกว่าสารมาตรฐานวิตามินซีประมาณ 10 เท่า แสดงว่า สารสกัดแอสต้าแซนทินมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารมาตรฐานวิตามินซี ศึกษาลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) ทั้ง 2 ตำรับ และตำรับครีมเบสชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) ทั้ง 2 ตำรับ พบว่า ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) สูตรที่ 4 และตำรับครีมเบสชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) สูตรที่ 4 เป็นสูตรที่ดีที่สุด จากนั้นนำไปเตรียมครีม แอสต้าแซนทินชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) และครีมแอสต้าแซนทินชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O) แล้วนำไปทดสอบลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี และความคงตัวของตำรับ พบว่า ครีมแอสต้าแซนทินทั้ง 2 ชนิด ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความคงตัวดีที่สภาวะเร่ง (Heating-Cooling) และในที่มืดแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีในสภาวะที่มีแสงสว่าง (ริมหน้าต่าง) เป็นเพราะสารสกัดแอสต้าแซนทินไม่มีความคงตัวต่อแสง และถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายด้วยแสงจึงควรเก็บในภาชะที่มิดชิดกันแสง จากนั้นนำครีมเบสชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) ครีมเบสชนิดน้ำในน้ำ (W/O) ครีมแอสต้าแซนทินชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) และครีมแอสต้าแซนทิน (W/O) และจากการทำการศึกษาการแพร่ซึมผ่านด้วยวิธี Franz diffusion cell พบว่า แอสตาแซนตินสามารถแพร่ซึมผ่านผ่านเนื้อเยื่อสังเคราะห์ได้ดีกว่าเมมเบรนสังเคราะห์