Browse
Recent Submissions
Item การประเมินหลักหลักสูตรฝึกอบรมให้เยาวชนมีคุณธรรม เรื่องความซื่อสัตย์ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเนรัญชราราม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) อดิเรก สรรพประเสริฐรายงานการวิจัย เพื่อประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมให้เยาวชนมีคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเนรัญชรากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเนรัญชราราม จังหวัดเพชรบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 100 คน ได้แก่ ผู้บริหารจํานวน 2 คน คณะครู 18 คน และนักเรียนเยาวชน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบ ประเมินผล ของการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้เยาวชนมีคุณธรรม เรื่องความซื่อสัตย์ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเนรัญชราราม จังหวัดเพชรบุรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน ลักษณะของ แบบประเมินเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) รวมทั้งหมด 5 ด้าน 1) ด้าน หลักสูตรการฝึกอบรมจํานวน 10 ข้อ 2) ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจํานวน 5 ข้อ 3) ด้าน คุณธรรมและจริยธรรมจํานวน 4 ข้อ 4) ด้านความซื่อสัตย์จํานวน 6 ข้อ 5) ด้านการประเมินกิจกรรม จํานวน 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ในการวิเคราะห์ความมีคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์จากหลักสูตรการอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)Item การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ยุพา ทรายละเอียดการวิจัยเรื่อง การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนา เด็กเล็กในเขตอําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ความสัมพันธ์กับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นปฐมวัย ปีการศึกษา 2555 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จํานวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่า t-test และ F-testItem การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) สุมาลี เจริญรอยการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จํานวน 144 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ (Seheffe' Method)Item สภาพการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในสังกัดสำนักบริหารงานศึกษาพิเศษ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) หัฏฐวรรณ พรวนต้นไทรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดําเนินงานจัดการเรียนร่วมและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดําเนินงานจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้าง SEAT ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนศึกษา สงเคราะห์ สังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จํานวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพการดําเนินงานจัดการเรียนร่วมตาม โครงสร้าง SEAT วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีItem การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ศศิธร อารมย์ดีการศึกษาเรื่อง การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 จําแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคลของบุคลากรการศึกษาและขนาดของสถานศึกษาที่แตกต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธี การศึกษาสํารวจโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่สังกัดสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 จํานวน 300 คน จากนั้นนํามาประมวลผลและวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-testItem การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) สหัสชัย นาคพันธ์ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอําเภอกะปง 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอําเภอกะปงจําแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอําเภอกะปง จํานวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานItem แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ยุวลักษณ์ จันทสุวรรณการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้สอดคล้องกับการเป็น องค์กรนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของบุคลากรที่สอดคล้องกับการเป็น องค์กรนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะของบุคลากรในศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Contact Center) ในปัจจุบัน 3) เพื่อสร้างตัวแบบแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเพื่อมุ่งสู่ การเป็นองค์กรนวัตกรรม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง พนักงานบริษัทเอกชนที่ดําเนินธุรกิจด้านศูนย์การให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ จํานวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ (Correlation & Regression Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 4 ท่าน เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และได้จัด การสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้บริหารของหน่วยงานศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Contact Center) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรItem ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษา โรงเรียนอัมพวันศึกษา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ลักขณา เจริญสุขการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบทรรศนะของผู้ปกครอง ต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนอัมพวันศึกษา โดยจําแนกตามภูมิหลังของผู้ปกครอง ใช้วิธีการวิจัย เชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครอง จํานวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีเซฟเฟItem กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) โศภิตา คงหอมการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นําชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช จําแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นําชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One - way ANOVA) ใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ (The Scheffe' Method)Item การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) สุดาศรี สิงห์ทองการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนเอกชนเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จําแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรครู จํานวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 72 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ (Scheffe' Method)Item รูปแบบการจัดการความรู้การเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดอ่างทอง(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) กฤตภาส สุขะชีวานนท์การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการความรู้การเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบ ความสําเร็จในจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ที่ประสบความสําเร็จ จังหวัดอ่างทอง 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จตามมาตรฐานกรมประมง (GAP) และ เกณฑ์การประกวดเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 3) ศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบบุคคลกับปัจจัย การผลิตในการเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดิน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเลี้ยงปลาในบ่อดิน ตามมาตรฐาน (GAP) กรมประมงกับ เกณฑ์การประกวดเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ที่ส่งผลให้ เกษตรกรประสบความสําเร็จ และสร้างรูปแบบการเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบความสําเร็จ ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในบ่อดินในจังหวัดอ่างทอง ตามมาตรฐาน (GAP และ Safety level) กรมประมงใช้ในการสํารวจความรู้ เรื่องที่ทําการวิจัยในครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของการจัดการความรู้ที่เป็นอยู่ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .905 (In-depth Interview) และ 2) การสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ให้ข้อสําคัญ จํานวน 9 คน ใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา (Content analysis) เพื่อตรวจสอบยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการจัดสนทนากลุ่ม(In-depth interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย X ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) ตรวจสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Schaffer Method) ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) และค่าทดสอบความแตกต่างตามสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบ (t-test) ส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อสร้าง รูปแบบการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ที่ประสบความสําเร็จในจังหวัดอ่างทองItem ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพในการให้บริการอาคารที่พัก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) วริษฐา แก่นสานสันติการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพในการให้บริการอาคารที่พักมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จําแนกตามเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โครงการอาคารที่พัก และศึกษาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพในการให้บริการอาคารที่พักมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ เป็นนักศึกษาที่เข้ามาพักในโครงการอาคารที่พัก วิทยาเขตสุพรรณบุรี และโครงการอาคารที่พัก ศูนย์หัวหิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พศ. 2552 จํานวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม ข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยจะทําการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟItem การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ศิริทิพย์ ชมพูการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหาร จัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จําแนก ตามสถานภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้นําชุมชน และประชาชนทั่วไป จํานวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามการมีส่วนการร่วมของชุมชนต่อ การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการเรียนการสอน 2. ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย 3. ด้าน การตัดสินใจ 4. ด้านการมีส่วนร่วม และการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test: Independent Samples) การทดสอบ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีของ Scheffe'Item การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล จังหวัดจันทบุรี(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) กมลรัตน์ ขวัญแก้วการศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล จังหวัดจันทบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล จังหวัดจันทบุรี จําแนก ตาม เพศ อายุ สถานภาพ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา รายได้ และประสบการณ์ในการทํางาน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในในการศึกษา คือ พนักงานครูเทศบาล จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2556 จํานวน 168 คน ทําการเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 9467 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ คือ Cronbach's Alpha ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ t-test และ ANOVA (F-test) และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's)Item ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) ฝนทอง ทรัพย์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและเปรียบเทียบปัญหาการดําเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาล เมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยจําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน ตําแหน่ง/หน้าที่ ระดับชั้นที่สอน และขนาดของโรงเรียนที่สอน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการ ดําเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จํานวน 119 คน และผู้เชี่ยวชาญในการดําเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง จํานวน 20 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe 's Test), และการวิเคราะห์เนื้อหาItem รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา : กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ส่วนสำนักงานใหญ่(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) เพ็ญนภา สวามีชัยการวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา: กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ส่วนสํานักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและ เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากร 2) ลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรกับลักษณะการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มบริษัท น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ส่วนสํานักงานใหญ่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยใช้แบบสอบถามชนิดประเมิน ค่า (Rating Scale) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จํานวน 137 คน จาก ประชากรทั้งหมด 210 คน ตามกรอบแนวคิดปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสําเร็จของงาน (Achievement) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) ด้าน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (Work Itself)ด้านความรับผิดชอบ (Responsibility) และด้านความก้าวหน้า ในตําแหน่งหน้าที่การทํางาน (Advancement) และลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (Personal Master) ด้านแบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) ด้านการเรียนรู้ของทีม (Team Learning) และด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) และค่าความสัมพันธ์ (Correlation)และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยนำผลการวิจัยเชิงปริมาณมาร่างรูปแบบการจัดการความรู้และนําเสนอผู้ร่วมสนทนากลุ่ม เพื่อสะท้อน ผลการวิจัยเชิงปริมาณและพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการประมวลผลItem การรับรู้ของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี ต่อมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย ตามนโยบายป้องกันอุบัติเหตุจราจร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) พิชญา พิพัฒน์บรรณกิจการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี ที่มีต่อมาตรการบังคับใช้กฎหมายจราจร ตามนโยบายป้องกันอุบัติเหตุ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรีกับการรับรู้ของประชาชนต่อมาตรการ การบังคับใช้กฎหมาย ตามนโยบายป้องกันอุบัติเหตุจราจรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จํานวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทดสอบค่า ความเชื่อมั่นได้ 957 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติแบบ t-test และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการแบบ Sheffe โดยกําหนด ค่านัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05Item ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาในระดับปวช. และปวส. ของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพตะกั่วป่า จังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ยุพเยาว์ ชาติชำนาญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาในระดับปวช. และปวส.ของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จําแนกตามสถานภาพของนักศึกษาประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา สาขาวิชาที่เลือก เรียน และอาชีพของผู้ปกครอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของ วิทยาลัยการอาชีพตะกั่วป่า จํานวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าวิกฤติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวItem ความความหวัง การรับรู้จริงต่อการบริการและความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรมสวนดุสิตเพลส กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) ปัทมวรรณ รุ่งโรจน์การวิจัยเรื่อง ความคาดหวัง การรับรู้จริงต่อการบริการและความภักดีของ ผู้ใช้บริการโรงแรมสวนดุสิตเพลส กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความภักดี ของผู้ใช้บริการโรงแรมสวนดุสิตเพลส กรุงเทพมหานคร จําแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (2) เพื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้จริงของผู้ใช้บริการ (3) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จริงต่อการบริการกับความภักดีของผู้ใช้บริการ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการบริการกับความภักดีของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ใช้บริการโรงแรมสวนดุสิตเพลส จํานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test Indipendent t-tes Paired t-test ค่า F-test และเปรียบเทียบ รายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันItem ทรรศนะต่อการจัดการศึกษาด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนในเขตอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) ผ่องภักดิ์ จันทรภาพการวิจัยเรื่อง ทรรศนะต่อการจัดการศึกษาด้วยระบบการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนในเขตอําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทรรศนะต่อการจัดการศึกษาด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครู โรงเรียนในเขตอําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งจําแนกตามเพศ อายุ ช่วงชั้นที่สอน และประสบการณ์ในการสอนผ่านระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในเขตอําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ที่ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จํานวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีเซฟเฟ