รูปแบบการจัดการความรู้การเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดอ่างทอง

No Thumbnail Available
Date
2014
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Abstract
การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการความรู้การเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบ ความสําเร็จในจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ที่ประสบความสําเร็จ จังหวัดอ่างทอง 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จตามมาตรฐานกรมประมง (GAP) และ เกณฑ์การประกวดเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 3) ศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบบุคคลกับปัจจัย การผลิตในการเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดิน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเลี้ยงปลาในบ่อดิน ตามมาตรฐาน (GAP) กรมประมงกับ เกณฑ์การประกวดเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ที่ส่งผลให้ เกษตรกรประสบความสําเร็จ และสร้างรูปแบบการเลี้ยงปลาในบ่อดินที่ประสบความสําเร็จ ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในบ่อดินในจังหวัดอ่างทอง ตามมาตรฐาน (GAP และ Safety level) กรมประมงใช้ในการสํารวจความรู้ เรื่องที่ทําการวิจัยในครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของการจัดการความรู้ที่เป็นอยู่ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .905 (In-depth Interview) และ 2) การสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ให้ข้อสําคัญ จํานวน 9 คน ใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา (Content analysis) เพื่อตรวจสอบยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการจัดสนทนากลุ่ม(In-depth interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย X ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) ตรวจสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Schaffer Method) ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) และค่าทดสอบความแตกต่างตามสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบ (t-test) ส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อสร้าง รูปแบบการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ที่ประสบความสําเร็จในจังหวัดอ่างทอง
Description
Citation
View online Resources
Collections