Thesis
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Thesis by Title
Now showing 1 - 20 of 385
Results Per Page
Sort Options
Item A Comparative Study of Chinese Tourists' Attitude and Behavior towards Siam Paragon and Central World(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2015) Tan ZhuonaThe purpose of this research was to study the Chinese tourists' attitude and behavior towards Siam Paragon and Central World. Sample size was 400 Chinese tourists and the data were gathered from a survey which conducted in Siam Paragon and Central World in Bangkok, Thailand. Questionnaires were used as the tool to collect the data. The analytic statistics included descriptive statistics, t-test, F-test with Least Significant Difference (LSD), Paired t-test and Simple Linear Regression. The Accidental Sampling method were employed to collect the data from the sample of Chinese tourists in Siam Paragon and Central World at the Ratchaprasong area, Bangkok. The questionnaire was translated into Chinese and pretested to ensure the content validity and reliability.Item กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงานร้านพลก๊อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015) เลิศพล บรรลือการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงานร้านพลก๊อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการเลือกใช้บริการและเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของลูกค้า และ 3. เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงาน ร้านพลก็อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.959 จากลูกค้าที่ใช้บริการจํานวน 184 คน และพนักงาน ในร้านฯ จํานวน 6 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าความถี่ (X) ค่าเฉลี่ย (S.D.) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (T-test) ค่าสัมประสิทธ์สัมพันธ์ ANOVA และ Schelfe test และใช้การ วิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) เพื่อกําหนดกลยุทธ์Item กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ณัฐหทัย โสตาศรีการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานในสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้ ศึกษาปัจจัยการจัดการความรู้ที่มีต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และสร้างรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล การศึกษาใช้การวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสํานักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาล จํานวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .981 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ สําหรับข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นํามาจัดการสนทนากลุ่มเพื่อสร้างรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยใช้กลยุทธ์ทางการจัดการความรู้Item กลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ฤทัยรัตน์ ก่อเกียรติสกุลชัยการศึกษาเรื่องกลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชน ท่าด่านโฮมสเตย์ อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ศึกษาได้ทําการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ประกอบการด้านบ้านพัก ด้านกิจกรรม การท่องเที่ยว และ ด้านสินค้าที่ระลึก ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ มีแนวทางการใช้กลยุทธ์การตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ (สินค้า/บริการ) ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสาร (Document Analysis) วิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)Item กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) โศภิตา คงหอมการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นําชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช จําแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นําชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One - way ANOVA) ใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ (The Scheffe' Method)Item กลยุทธ์การสื่อสารและรับรู้แบรนด์ของลูกค้าในธุรกิจบริการ กรณีศึกษา บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015) ธิรดา พงศ์มั่นจิตการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารและการรับรู้แบรนด์ของลูกค้าในธุรกิจบริการกรณีศึกษา บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จํากัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของ บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จํากัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษา การรับรู้เรื่องแบรนด์ของลูกค้า บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จํากัด (มหาชน) และ 3) เพื่อ เปรียบเทียบการรับรู้เรื่องแบรนด์ของลูกค้า บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จํากัด (มหาชน) ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จํากัด (มหาชน) จํานวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ลูกค้าระยะสั้น และลูกค้าระยะยาว จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t-test และ One-way ANOVA เปรียบเทียบ รายคู่ด้วยวิธีการของวิธีเซฟเฟ (Scheffe's Method)Item การขาดงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) บุญชัย ยังทรัพย์การวิจัยเรื่อง การขาดงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อการขาดงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทํางานแรงผลักดันให้มาทํางาน และความสามารถในการมาทํางานที่มีผลต่อการขาดงาน ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) 3) เพื่อศึกษาการขาดงาน ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน ต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) จํานวน 400 คน ซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบ Quota Sampling โดยสุ่มจากประชากรตามตําแหน่งหน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันหลังจากนั้นจึงดําเนินการทําการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling)Item การจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) สุทิศา ปานอุทัยการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากร คือ ครู จํานวน 169 คน สุ่มตัวอย่างได้ทั้งหมด 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9772 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟItem การจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2015) ชุติมา เพชรรัตน์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้การจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549-2553 และแนวทางการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554- 2556 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัย เอกสาร (Documentary Research) เพื่อศึกษาวิธีการและผลการดําเนินงานที่ใช้การจัดการความรู้ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549- 2553 และจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของคณะทํางานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย (KM Team) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้และศึกษาแนวทางการพัฒนาหน่วยงานและมหาวิทยาลัยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554-2556 ผลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและการจัดสนทนากลุ่มนํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลความหมายและสรุปผลเพื่อจัดทําเป็นแนวทางการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554-2556Item การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาโคมศรีล้านนาภูมิปัญญาชาวบ้าน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ภูมิพัฒน์ สุภาจันทรสุขการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาโคมศรีล้านนา รวมทั้งการนําเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ของผลิตภัณฑ์โคมศรีล้านนา การดําเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mix Method Research) โดยการกําหนดผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ (Key Informants) ออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัย เชิงคุณภาพได้แก่ ผู้ประกอบการโคมศรีล้านนา นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรภาครัฐ ผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ในเขตจังหวัดลําปาง โดยใช้วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล 3 วิธี คือ การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์โคมศรีล้านนาจากกลุ่มประชาชนในจังหวัดลําปาง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)Item การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2014) นวลปราง รักษาภักดีการวิจัยเรื่องการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติการตามกระบวนการจัดการความรู้ระดับการปฏิบัติการตามกระบวนการองค์กรแห่งการเรียนรู้ และโมเดลการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์ คือผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามมีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.981 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.929 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสํารวจItem การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2013) นันทิชา ชูเชื้อการศึกษาเรื่องการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหน่งงาน และประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย คณะกรรมการ บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และเจ้าหน้าที่กองการศึกษา สังกัด เทศบาลนครเกาะสมุย อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 125 คน ได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมา 111 คน คิดเป็นร้อยละ 88.8 ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test, F - test โดยการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)Item การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามมมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) กัลยาณี ผลไม้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ใน 5 ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านบริการเด็ก ด้านสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ และด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครอง โดยจําแนกตามสถานภาพของผู้ปกครอง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็ก การดําเนินการศึกษา ใช้วิธีการสํารวจความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของเด็ก ในเขตอําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2553 จํานวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่าง จากการทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวจึงใช้วิธีการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเซฟเฟ (Scheffe's Multiple Comparison)Item การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) เกรียง ฐิติจำเริญพรการวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบ การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง (Brain-Based Learning) จําแนกตามภูมิหลังของครูโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จํานวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีเชฟเฟItem การจัดการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2015) จุฑามณี ปัญญายิ่งการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและอภิปรายผลการจัดการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จําแนกตามภูมิหลังของครู ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จํานวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวItem การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรีในทรรศนะของพนักงานครู(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) วัชราวุธ เกษมกุลดิลกการศึกษาเรื่องการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี ในทรรศนะของพนักงานครู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กร ปกครองท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี ในทรรศนะของพนักงานครู และเพื่อเปรียบเทียบการจัดการศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี ในทรรศนะของพนักงานครู จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทํางาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานครูที่ทําการสอนในโรงเรียนที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2553 จํานวน 168 คน ทําการเลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ เชฟเฟ (Scheffe's)Item การจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) ศรัณยา ขวัญทองการวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสภาพ ปัจจุบันของการจัดการศึกษา คือ ผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการโรงเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา จํานวน 82 คน ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา ได้แก่ผู้อํานวยการโรงเรียน จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาคเท่ากับ 98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้ประสาทการรับรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการซ้อน อายุ 3-5 ปี(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) เมธาพร ยะดอนใจการวิจัย เรื่องการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้ประสาทการรับรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการซ้อนอายุ 3-5 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการซ้อน อายุ 3-5 ปี ก่อนและหลัง การทํากิจกรรม โดยการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้ประสาทการรับรู้ และเปรียบเทียบ ความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการซ้อน อายุ 3-5 ปี ก่อนและหลังการทํากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กที่มีความพิการซ้อน คือ มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องทางสติปัญญา กําลังเรียนอยู่ในระดับ เตรียมความพร้อม กลุ่มงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว ศูนย์การศึกษา พิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จํานวน 6 คน เลือกมาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยทดลองเป็นรายบุคคล ระยะเวลา ในการทดลอง 17 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วันวันละ 30 นาที เป็นการฝึกปฏิบัติรายบุคคล เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้ประสาทการรับรู้ จํานวน 30 แผน และแบบประเมินความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 15 ข้อ ซึ่งมีทักษะ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 4 ด้าน คือ ด้านการนั่งและการยืน ด้านการเดินทรงตัว ด้านการวิ่งและ การกระโดด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์Item การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) กัญญา เทียมทัดการวิจัยเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เทศบาลเมืองหัวหิน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จํานวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น 98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟItem การจัดโปรแกรมเตรียมทักษะอาชีพพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019) อมรรัตน์ มีสัตย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาโดยใช้โปรแกรมเตรียมทักษะอาชีพพื้นฐาน และ 2) เปรียบเทียบทักษะอาชีพพื้นฐานสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา ก่อน และหลังการทดลอง การใช้โปรแกรมเตรียมทักษะอาชีพพื้นฐาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ คือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาในโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี กําลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาปานกลาง (Moderate) จํานวน 6 คน โดย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมเตรียมทักษะอาชีพพื้นฐานสําหรับ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูลจํานวน 6 โปรแกรม และแบบประเมิน ทักษะอาชีพพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบทักษะอาชีพพื้นฐาน โดยใช้วิธีทดสอบวิลคอกซัน