Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กรรวิภาร์ หงษ์งาม"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่ม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กรรวิภาร์ หงษ์งาม; สุชีรา พลราชมการวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่ม และ 2) เพื่อหาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องหรือมีความเสี่ยงที่จะบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 6-8 ปี สุ่มเลือกแบบเจาะจง เพื่อทำการทดลองชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ แบบเดี่ยว คือ 1:3 และแบบกลุ่ม คือ 1:10 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทยพัฒนาไปสู่ชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ตามหลักการของทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น พัฒนาเป็นชุดแบบฝึกหัด จำนวน 6 ตอน ประกอบด้วย 1) การตระหนักในระบบเสียงของภาษา (Phonemic Awareness) 2) การฟังและเสียงของภาษา (Phonics) 3) การทดสอบคำศัพท์ (Vocabulary) 4) การส่งเสริมความคล่องในการอ่าน (Fluency) 5) การทดสอบความเข้าใจภาษา (Comprehension) 6) แบบทบทวนที่รวบรวมจากเนื้อหาหลักทั้ง 5 หัวข้อ และจัดทำวิดีโอการสอนตามทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น จำนวน 5 ตอน คณะผู้วิจัยพัฒนาชุดแบบฝึกหัดไปใส่ไว้ในรูปแบบการสอนออนไลน์ จากนั้นจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อทำการวิพากษ์หาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ และปรับปรุงแก้ไขชุดตามข้อเสนอแนะจากการวิพากษ์ของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยใช้การหาค่าความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ได้แก่ E1/E2 จากการวิพากษ์ พบว่า ค่าความสอดคล้อง IOC ของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัดภาษาไทย .80 และค่าความสอดคล้อง IOC ด้านเทคโนโลยีระบบออนไลน์ .82 เป็นค่าที่ยอมรับได้และถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีนำนวัตกรรมไปใช้ได้ เมื่อนำชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองแบบเดี่ยว 1:3 และแบบกลุ่ม 1: 10 เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้กับเด็ก 3 คน คือ E1/E2 (80/80) = 82.22/83.33 และแบบกลุ่ม 10 คน คือ E1/E2 (90/90) = 87/90 แปลว่ามีประสิทธิภาพมาก เมื่อแทนค่าเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยทดสอบค่า t-Test: Paired Two Sample for Means พบว่า คะแนนหลังเรียนแตกต่างจากคะแนนก่อนเรียน โดยคะแนนหลังเรียนมีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กรรวิภาร์ หงษ์งาม; ดนยา อินจำปา; กัลยา ชนะภัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการ 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มที่ให้ข้อมูลด้านสภาพปัจจุบันและความต้องการเทคโนโลยีดิจิทัล คือครูและผู้ปกครอง จำนวน 46 คน และกลุ่มที่ทดลองใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการที่พัฒนาขึ้นทดลองใช้กับเด็กพิการ 3 คน และทดลองภาคสนาม 45 คน เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) นิทานภาษาไทย ใช้สระเดี่ยวจำนวน 10 ตัว โดยเลือกคำศัพท์ในหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 มาทำเป็นนิทาน จำนวน 10 เรื่อง 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individualized Implementation Plans: IIP) ซึ่งเป็นแผนการสอนที่สอดคล้องกับเด็กพิการ 9 ประเภท รวม 90 แผน 3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการอ่านนิทาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ มีให้เลือกใช้ทั้งแบบทั่วไปและใช้ภาษามือ นิทานแต่ละหน้ามีภาพและมีปุ่มให้กดฟังเสียงอ่านเป็นประโยคหรือเลือกชี้อ่านคำศัพท์ที่สำคัญ โดยเมื่อนำเมาส์ไปชี้แล้วจะมีการเคลื่อนไหวของคำศัพท์เป็นสีแดงพร้อมภาพนูนขึ้นมา และหากเลือกใช้ภาษามือ จะมีภาษามือเมื่อชี้คำศัพท์และประโยคเช่นกัน 4) คู่มือการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจสภาพและความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการ จำนวน 30 ข้อ 2) แบบ 50 ข้อ 4) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน 50 ข้อ 50 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน =.80 ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพ โดยใช้ E1/E2 ใช้ค่า 80/80 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการ 3 ด้าน คือด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน การจัดเทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมด้านการอ่าน และการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการอ่าน พบว่าอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง และมีความต้องการอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าประสิทธิภาพในการทดลองเบื้องต้น E1/E2 มีค่าอยู่ที่ 86/90 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพสูง และเมื่อนำไปทดลองใช้ภาคสนามกับเด็กพิการ 45 คน พบว่า ค่าประสิทธิภาพสูงในเด็กพิการทางการเห็นและเด็กพิการทางการได้ยิน ส่วนเด็กพิการทางสติปัญญา เด็กพิการทางการพูดและภาษา เด็กพิการทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เด็กออทิสติกและเด็กพิการซ้อนพบว่ามีประสิทธิภาพด้านกระบวนการต่ำ ส่วนค่าประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์สูง เมื่อทดสอบ t-test พบว่ามีค่า P-value 0.00 < .05 แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ