การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่ม

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่ม
Recommended by
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่ม และ 2) เพื่อหาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านในระยะแรกเริ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องหรือมีความเสี่ยงที่จะบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 6-8 ปี สุ่มเลือกแบบเจาะจง เพื่อทำการทดลองชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ แบบเดี่ยว คือ 1:3 และแบบกลุ่ม คือ 1:10 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทยพัฒนาไปสู่ชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ตามหลักการของทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น พัฒนาเป็นชุดแบบฝึกหัด จำนวน 6 ตอน ประกอบด้วย 1) การตระหนักในระบบเสียงของภาษา (Phonemic Awareness) 2) การฟังและเสียงของภาษา (Phonics) 3) การทดสอบคำศัพท์ (Vocabulary) 4) การส่งเสริมความคล่องในการอ่าน (Fluency) 5) การทดสอบความเข้าใจภาษา (Comprehension) 6) แบบทบทวนที่รวบรวมจากเนื้อหาหลักทั้ง 5 หัวข้อ และจัดทำวิดีโอการสอนตามทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น จำนวน 5 ตอน คณะผู้วิจัยพัฒนาชุดแบบฝึกหัดไปใส่ไว้ในรูปแบบการสอนออนไลน์ จากนั้นจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อทำการวิพากษ์หาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ และปรับปรุงแก้ไขชุดตามข้อเสนอแนะจากการวิพากษ์ของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยใช้การหาค่าความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ได้แก่ E1/E2 จากการวิพากษ์ พบว่า ค่าความสอดคล้อง IOC ของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัดภาษาไทย .80 และค่าความสอดคล้อง IOC ด้านเทคโนโลยีระบบออนไลน์ .82 เป็นค่าที่ยอมรับได้และถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีนำนวัตกรรมไปใช้ได้ เมื่อนำชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองแบบเดี่ยว 1:3 และแบบกลุ่ม 1: 10 เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมพัฒนาการฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้กับเด็ก 3 คน คือ E1/E2 (80/80) = 82.22/83.33 และแบบกลุ่ม 10 คน คือ E1/E2 (90/90) = 87/90 แปลว่ามีประสิทธิภาพมาก เมื่อแทนค่าเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยทดสอบค่า t-Test: Paired Two Sample for Means พบว่า คะแนนหลังเรียนแตกต่างจากคะแนนก่อนเรียน โดยคะแนนหลังเรียนมีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description
Citation
View online resources
Collections