Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Subject "กลยุทธ์การสื่อสาร"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ศุภศิริ บุญประเวศ; กาญจนา ผิวงาม; สุภัค เนตรบุษราคำการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง อาจารย์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยการบังเอิญ (Accidental Sampling) 2) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ด้านการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการบริหารการศึกษาจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 3) สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ จำนวน 7 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 5 แห่ง โดยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 4) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการรับรองรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การคำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI) การหาค่าความเที่ยง การหาค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) จากการศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ 10 แห่ง และต่างประเทศ 10 แห่ง โดยศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง 5 ประเภท พบว่า 1) รูปแบบการนำเสนอ ใช้ข้อความหรือตัวอักษรที่มีขนาดสั้นและใช้แฮชแท็ก (#) ในทุกข้อความ มีการใช้ภาพนิ่งหรือคลิปวิดีโอขนาดสั้นตามลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท 2) ความถี่ในการสื่อสาร มีการนำเสนอเนื้อหา 1-3 โพสต์ต่อวัน โดยมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน 3) ประเภทของเนื้อหา ได้แก่ 3.1) การสร้างและการประกาศตัวตน 3.2) การนำเสนอเนื้อหาหรือข่าวสารที่น่าสนใจ 3.3) การเผยแพร่กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ 4) ลักษณะการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารทางเดียว 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ลักษณะสำคัญของกลยุทธ์มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ช่องทางการเข้าถึง 2) รูปแบบการนำเสนอ 3) ความถี่ในการสื่อสาร 4) เนื้อหา และ 5) ลักษณะการสื่อสารItem กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา : รายงานกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ศุภศิริ บุญประเวศ; กาญจนา ผิวงาม; สุภัค เนตรบุษราคำการจัดกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเผยแพร่กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวิธีการดำเนินงานคือ 1. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยมุ่งเน้นที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ การรับสมัครนักศึกษา หรือผู้ที่ดูแลช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางซูม (Zoom) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. สรุปผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยในครั้งนี้ ปรากฏผลดังนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยทั้งหมด 332 คน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 80.72 จากผลการดำเนินงานนำมาสู่การสรุปผลรายด้าน ดังนี้ 1. ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61) 2. ด้านความรู้ความเข้าใจหลังการเข้าร่วมกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 4.46) สูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.49) 3. ด้านภาพรวมความพึงพอใจต่อการเข้าอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.63 คิดเป็นร้อยละ 92.67 เมื่อพิจารณาจำแนกรายประเด็นพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพีงพอใจในระดับพอใจมากที่สุดทุกประเด็น โดยประเด็นที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.60 รองลงมาคือ ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ค่าเฉลี่ย 4.65 คิดเป็นร้อยละ 93.00 ประเด็น ความเหมาะสมของระยะเวลาในการอบรม และประเด็นการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม ได้รับความสะดวก มีคะแนนความพึงพอใจเท่ากัน ค่าเฉลี่ย 4.64 คิดเป็นร้อยละ 92.80 ความพร้อมและความเหมาะสมของการจัดอบรม ค่าเฉลี่ย 4.61 คิดเป็นร้อยละ 92.20 และได้รับความรู้ ความเข้าใจ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60 ตามลำดับItem คู่มือองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จริง กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างการเข้าถึงของ Generation Z: 4C1P(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) ศุภศิริ บุญประเวศ กาญจนา ผิวงาม สุภัค เนตรบุษราคำ