Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
Item การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ธนพรรณ เพชรเศษ; กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง; เกษร ขวัญมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการสอนความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่กับวิธีการสอนแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ชายและหญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ในการทดลอง ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 24 แผน และแบบประเมินเชิงปฏิบัติวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งที่ได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมีทักษะความคิดสร้างสรรค์โดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01Item การพัฒนาชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) เกษร ขวัญมา; รัถยา เชื้อกลาง; ชนม์ธิดา ยาแก้ว; กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ระดับชั้นอนุบาล 3 อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บผลการทดลอง คือ แบบประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions) และแบบสังเกตพฤติกรรม ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T - test ผลการวิจัยนี้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย จำนวน 9 ทักษะ สรุปผลการประเมินเด็กปฐมวัยมีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมก่อนการทดลองเท่ากับ 4.04 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 และค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมหลังการทดลองเท่ากับ 4.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีผลการประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้กิจกรรมชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ทุกคน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Item การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง; ธนพรรณ เพชรเศษ; เกษร ขวัญมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) สำหรับเด็กปฐมวัย 2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 3. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) ของเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค และการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายหญิง จำนวน 600 คน ซึ่งมีอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 300 คน และกลุ่มควบคุม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย แบบประเมินการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบบันทึกพฤติกรรมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 9 ด้าน คือ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ได้แก่ 1) ความจำที่นำมาใช้ (Working memory) 2) การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ความสามารถในการยืดหยุ่นความคิด (Cognitive Flexibility) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ได้แก่ 4) ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ (Focus Attention) 5) การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) 6) การประเมินตนเอง (Self - Monitoring) กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มทักษะปฏิบัติ ได้แก่ 7) ความสามารถในการริเริ่ม (Initiating) 8) การวางแผนและการจัดระบบ (Planning and Organizing) 9) การมุ่งเข้าสู่เป้าหมาย (Gold - Directed Persistence) โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค สามารถพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีคะแนนหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) โดยผ่านการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้Item การเปรียบเทียบความรู้และทักษะการสอนวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของนักศึกษา ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียและวิธีสอนแบบปกติ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยวิธีสอนแบบปกติ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างการเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ 4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างการเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2559 ห้อง UA จำนวน 40 คน ห้อง UB จำนวน 40 คน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) หลังจากนั้นใช้วิธีการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มที่ 2 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples) และ (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย รายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบปกติ รายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการสอนของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติไม่ต่างกัน นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจปานกลาง