การเปรียบเทียบความรู้และทักษะการสอนวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของนักศึกษา ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียและวิธีสอนแบบปกติ

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การเปรียบเทียบความรู้และทักษะการสอนวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของนักศึกษา ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียและวิธีสอนแบบปกติ
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยวิธีสอนแบบปกติ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างการเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ 4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างการเรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2559 ห้อง UA จำนวน 40 คน ห้อง UB จำนวน 40 คน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) หลังจากนั้นใช้วิธีการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยวิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มที่ 2 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples) และ (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดีย รายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบปกติ รายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการสอนของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติไม่ต่างกัน นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจปานกลาง
Description
Citation
View online resources
Collections