Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กัญญทอง หรดาล"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item การศึกษายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กัญญทอง หรดาล; พรภัทร อินทรวรพัฒน์; ประศาสน์ นิยม; รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งข้อมูลเชิงเอกสาร เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างรอบด้านเพื่อตอบโจทย์การวิจัยหลัก คือ การค้นสังเคราะห์ผลการวิจัยยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ในการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ควรมีจุดเน้นในการพัฒนา ดังนี้ 1. พัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะ Business Intelligence (BI) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของพื้นที่ในเขต EEC 2. พัฒนาผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยและในเขตพื้นที่ EEC ในการพัฒนา Business Model ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เหมาะสม 3. จัดทำมาตรการป้องกันผลกระทบเมื่อเกิดภาวะสถานการณ์ไม่ปกติที่มีต่อผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเขตพื้นที่ EEC 4. ประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยในระบบความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC 5. ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อเสริมพลังในการอยู่รอดของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ EEC 6. เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับจังหวัดอื่น ๆ หรือเชื่อมกับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในระดับต่ำ 7. จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ให้กับห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC ให้มีความพร้อมในการยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวตอบสนอง Health and Wellness Economy ในเชิงปฏิบัติ 8. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย 9. การส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการที่นำไปสู่ความร่วมมือในการบรรลุผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐในเขตพื้นที่ EEC ที่ต้องเข้าบูรณาการการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 10. เสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพและความปลอดภัยให้กับพื้นที่ อีกทั้งคณะวิจัยยังเสนอกลยุทธ์เสริมเป็นจุดเน้นในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรองรับวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด -19 ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยั่งยืนรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นหลังการบรรเทาลงของการระบาดของไวรัสโควิด-19 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Economy) ของพื้นที่ในเขต EEC อย่างครบวงจรเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก 3. สร้างความร่วมมือเชื่อมโยงระหว่างประเทศ/ ภูมิภาค 4. ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวปลอดภัย 5. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว 6. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC สุดท้ายผู้มีส่วนได้เสียกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขต EEC ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันชี้นำการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ EEC ไปสู่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวปลอดภัยมีความพร้อมในเชิงอุปทาน ร่วมไปกับการส่งเสริมธุรกิจและการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับ Wellness Economy อย่างไรก็ตามประเทศไทยควรมีมาตรการรองรับที่เป็นรูปธรรมและเข้มงวดต่อการบังคับใช้ในกรณีประเทศต้องฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังวิกฤติโควิด-19 ที่ไม่ทำให้เกิดการระบาดซ้ำในอนาคต จึงต้องพัฒนาเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่ปกติในอนาคต เพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC เป็นเครื่องยนต์หลักในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนItem ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์; กัญญทอง หรดาล; พรภัทร อินทรวรพัฒน์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อนของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักท่องเที่ยว จำนวน 1,200 คน ผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 25-30 คน แยกตามรายจังหวัด ซึ่งการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลจากทั้งจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากมีความได้เปรียบทางด้านทุนทางทรัพยากรและกิจกรรมการบริการเชิงสุขภาพที่มีมาตรฐาน มีภาพลักษณ์การบริการที่ได้รับการยอมรับ มีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ควบคู่กับการบริการเชิงสุขภาพมีระยะทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้ธุรกิจบริการส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย SHA มีศักยภาพสูงทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การสื่อสารการตลาดมีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการทุพพลภาพ หลายชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีความรู้ และเข้มแข็งในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงระบบ อย่างไรก็ตามยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงเกี่ยวกับการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวยังได้รับการพัฒนาไม่ทั่วถึงมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานและปลอดภัย ด้านภาพลักษณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวและปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่เมือง โดยเฉพาะเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี หลายชุมชนที่มีศักยภาพยังขาดการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการนำเสนออัตลักษณ์ และชูความโดดเด่นของแต่ละชุมชนที่มีศักยภาพ ขาดการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจบริการและภาคีเครือข่าย จำนวนแรงงานและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังไม่เพียงพอยังขาดประสิทธิภาพการบริหารจัดการการสื่อทางการตลาดขาดการประสานงาน และการบูรณาการข้อมูลข่าวสารระหว่างเครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคบริการทางการท่องเที่ยว ผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญต่อภาพลักษณ์ความปลอดภัย ควรเร่งส่งเสริมความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ต้องป้องกันให้พื้นที่พ้นจากโรคระบาด เช่น ไวรัสโควิด-19 หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ และ ผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การใช้แนวคิดกระบวนการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Co-Creation) เพื่อการพัฒนาเอกลักษณ์ตราสัญลักษณ์ (Brand Identity) และพัฒนาความโดดเด่นอย่างเฉพาะเจาะจงของการบริการเชิงสุขภาพและธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งระบบในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) การพัฒนาภาพลักษณ์ (Image) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้มีความโดดเด่นแตกต่างตามกรอบทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด และ 3) สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication: IMC) 4) การพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยง เร่งรัดพัฒนาการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงสื่อสัญลักษณ์ตามเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยการสนับสนุนการลงทุนพัฒนาคมนาคมและโลจิสติกส์ ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรการศึกษา ชุมชนและภาคีเครือข่ายทางการท่องเที่ยว 5) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคลัสเตอร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และผลักดันการเป็นพันธมิตรร่วมกับภาคธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ และ 6) กำหนดกรอบมาตรฐานทางด้านความปลอดภัย เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวItem รูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กัญญทอง หรดาล; รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์; ประศาสน์ นิยมการสร้างมูลค่าเพิ่มการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพการณ์ของการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกบนฐานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพปัญหาและสิ่งสนับสนุนของการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกบนฐานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเลือกทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยผลการวิจัยพบว่า สถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านความสะอาด มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวมีความพร้อมในการป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) หรือโรคระบาดอื่น ๆ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต้องมีความสวยงามและน่าสนใจ รวมไปถึงบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยที่สนับสนุนส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในมุมมองของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และในท้ายที่สุดสำหรับรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จำเป็นต้องเข้าถึงองค์ประกอบทางด้านการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพอย่างครบถ้วน และมีความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ/แพร่เชื้อจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) หรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในปัจจุบันนี้