ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อนของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักท่องเที่ยว จำนวน 1,200 คน ผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 25-30 คน แยกตามรายจังหวัด ซึ่งการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลจากทั้งจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากมีความได้เปรียบทางด้านทุนทางทรัพยากรและกิจกรรมการบริการเชิงสุขภาพที่มีมาตรฐาน มีภาพลักษณ์การบริการที่ได้รับการยอมรับ มีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ควบคู่กับการบริการเชิงสุขภาพมีระยะทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้ธุรกิจบริการส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย SHA มีศักยภาพสูงทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การสื่อสารการตลาดมีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการทุพพลภาพ หลายชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีความรู้ และเข้มแข็งในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงระบบ อย่างไรก็ตามยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงเกี่ยวกับการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวยังได้รับการพัฒนาไม่ทั่วถึงมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานและปลอดภัย ด้านภาพลักษณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวและปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่เมือง โดยเฉพาะเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี หลายชุมชนที่มีศักยภาพยังขาดการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการนำเสนออัตลักษณ์ และชูความโดดเด่นของแต่ละชุมชนที่มีศักยภาพ ขาดการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจบริการและภาคีเครือข่าย จำนวนแรงงานและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังไม่เพียงพอยังขาดประสิทธิภาพการบริหารจัดการการสื่อทางการตลาดขาดการประสานงาน และการบูรณาการข้อมูลข่าวสารระหว่างเครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคบริการทางการท่องเที่ยว ผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญต่อภาพลักษณ์ความปลอดภัย ควรเร่งส่งเสริมความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ต้องป้องกันให้พื้นที่พ้นจากโรคระบาด เช่น ไวรัสโควิด-19 หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ และ ผลตามรายวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การใช้แนวคิดกระบวนการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Co-Creation) เพื่อการพัฒนาเอกลักษณ์ตราสัญลักษณ์ (Brand Identity) และพัฒนาความโดดเด่นอย่างเฉพาะเจาะจงของการบริการเชิงสุขภาพและธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งระบบในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) การพัฒนาภาพลักษณ์ (Image) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้มีความโดดเด่นแตกต่างตามกรอบทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด และ 3) สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication: IMC) 4) การพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยง เร่งรัดพัฒนาการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงสื่อสัญลักษณ์ตามเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยการสนับสนุนการลงทุนพัฒนาคมนาคมและโลจิสติกส์ ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรการศึกษา ชุมชนและภาคีเครือข่ายทางการท่องเที่ยว 5) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคลัสเตอร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และผลักดันการเป็นพันธมิตรร่วมกับภาคธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ และ 6) กำหนดกรอบมาตรฐานทางด้านความปลอดภัย เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว