Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ"
Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
Item การทดสอบตลาดและการบริหารหน้าที่ธุรกิจเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด: กรณีศึกษา กระชาย (นครปฐม) ขมิ้น (ตาก) พริก (สุพรรณบุรี) พริกไทย (จันทบุรี)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; จารุณี วิเทศการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการตั้งชื่อตราของเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทย (2) ทดสอบตลาดเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทย (3) หาแนวทางการบริหารหน้าที่ธุรกิจด้านการตลาดเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารของธุรกิจอาหาร และผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของเครื่องปรุงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารมีความคิดเห็นว่าโครงสร้างบรรจุภัณฑ์โดยรวมของซอสเย็นตาโฟ สามเกลอผง และซอสสามเกลอ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนซอสผัดฉ่า ซอสข้าวหมก และสามเกลอก้อน อยู่ในระดับดี ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าโครงสร้างบรรจุภัณฑ์โดยรวมของเครื่องปรุงทุกชนิด อยู่ในระดับดี 1. กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารและกลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่า การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์โดยรวมของเครื่องปรุงทุกชนิด อยู่ในระดับดี 2. การตั้งชื่อตราสินค้าและการออกแบบโลโก้ของเครื่องปรุงพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารและกลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าทั้งชื่อตรา “ไทยเมด (Thai Made)” และโลโก้ของเครื่องปรุงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก 3. การทดสอบตลาดเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยกับกลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อเครื่องปรุงซอสผัดฉ่า สามเกลอผง และซอสสามเกลอ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนซอสข้าวหมก ซอสเย็นตาโฟ และสามเกลอก้อน อยู่ในระดับดี 4. ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเครื่องปรุงทั่วไป พบว่า 4.1 ด้านผลิตภัณฑ์ ต้องการใช้เครื่องปรุงในรูปแบบซอสปรุงรส รองลงมาคือ ผงปรุงรส และต้องการเครื่องปรุงที่สามารถใช้ปรุงอาหารได้หลายเมนู 4.2 ด้านราคา ต้องการเครื่องปรุงที่มีราคาเหมาะสมกับปริมาณ รองลงมาคือ ราคาเหมาะสมกับลักษณะหรือรูปแบบบรรจุภัณฑ์ 4.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้บริโภคต้องการซื้อเครื่องปรุงจากร้านสะดวกซื้อ รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารต้องการซื้อเครื่องปรุงจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เช่น เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี) รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต 4.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนใหญ่พบเห็นโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องปรุงทางสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่อโฆษณาออนไลน์ ต้องการการส่งเสริมการขายในรูปแบบการลดราคาและการซื้อ 1 แถม 1 5. แนวทางการบริหารหน้าที่ธุรกิจด้านการตลาดเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด มีดังนี้ 5.1 ด้านผลิตภัณฑ์ นำเสนอจุดเด่นของเครื่องปรุงใน 5 ด้าน คือ คุณภาพของวัตถุดิบ ความสะดวกในการใช้งานความปลอดภัยในการบริโภค คุณค่าโภชนาการ และความแตกต่างของประโยชน์ใช้สอย 5.2 ด้านราคา ซอสผัดฉ่า ซอสข้าวหมก สามเกลอก้อน สามเกลอผง และซอสสามเกลอ มีราคาเป็นที่ยอมรับได้ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะสามเกลอก้อนที่ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าราคาคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนซอสเย็นตาโฟมีราคาสูงกว่าระดับที่ผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารยอมรับได้ และผู้บริโภคก็มีความคิดเห็นว่าเป็นระดับราคาที่มีความคุ้มค้าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องปรุงชนิดอื่น 1.1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แบ่งออกเป็น (1) จำหน่ายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ในระยะแรกเพื่อให้เกิดการรู้จักตราสินค้าใหม่ แล้วจึงขยายช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (2) จำหน่ายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และซูเปอร์มาร์เก็ต สำหรับกลุ่มร้านอาหาร (3) จำหน่ายโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพราะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักด้านการประกอบอาหาร ด้านการส่งเสริมการตลาด ใช้วิธีการดังนี้ (1) ใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์ในลักษณะการเป็นสปอนเซอร์รายการอาหาร และจัดทำคลิปวิดีโอสาธิตการใช้เครื่องปรุง (2) ใช้โฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้กับกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจการทำอาหารว่า ไม่ว่าใครก็สามารถปรุงอาหารได้รสชาติอร่อยแบบไทยได้หากใช้เครื่องปรุงนี้ (3) ใช้การลดราคาในระยะแรกเพื่อดึงดูดความสนใจ (4) สาธิตการใช้เครื่องปรุง (5) ใช้แผ่นพับเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงItem การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชน ไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; ศิริวรรณ เสรีรัตน์; สุภารัตน์ น้ำใจดีการวิจัยครังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ดังเดิม ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มชนไทยทรงดำ (2) ศึกษาศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ (3) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัย และพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิจัย (R1) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน ชุมชน ผู้ประกอบการในท้องถิ่น บุคลากรของหน่วยงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) การพัฒนา (D1) พัฒนารูปแบบกิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (3) การวิจัย (R2) กลุ่มนักท่องเที่ยวทดลองปฏิบัติกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น (4) การพัฒนา (D2) ประเมินผลกิจกรรมด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลุ่มชนไทยทรงดำที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีการสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมมาจากบรรพบุรุษ โดยสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิม ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ การแต่งกาย ลายผ้า ภาษา อาหาร บ้านเรือน ประเพณี และอาชีพ 2. ศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน ศึกษาใน 3 ประเด็น คือ 2.1 กิจกรรมที่จะพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การย้อมผ้า การเรียนภาษาไทดำ และการเย็บลายดอก 2.2 ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย (1) สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ ได้แก่ โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ป้ายบอกสถานที่ สินค้าที่ระลึก และสถานที่จอดรถ ส่วนสิ่งที่ควรมีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว บริการห้องน้ำสาธารณะ (2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวมีจำนวน 3 หมู่บ้านจากทั้งหมด 8 หมู่บ้านที่เป็นชาวไทยทรงดำ ที่เป็นกลุ่มผู้นำการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมไทดำบ้านดอน (3) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์และสร้างศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น 2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า กลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ขึ้นในพื้นที่ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนารูปแบบกิจกรรม การจัดกิจกรรม และการประเมินผลกิจกรรม 3. นักท่องเที่ยวมีทัศนคติโดยรวมและรายด้านต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านพื้นที่ ด้านความยั่งยืนในพื้นที่ และด้านปฏิสัมพันธ์ 4. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอนในระดับมาก และผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 5. แนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย ด้านผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ด้านรูปแบบกิจกรรม ด้านสื่อการนำเสนอ และด้านสภาพแวดล้อมItem การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์; ศุภวรรณ อภิชาติไตรสรณ์; จินตนา ตันสุวรรณนนท์; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; วิภาวี วลีพิทักษ์เดช; สุทิตา จุลกนิษฐ์; รัตนา วงศ์รัศมีเดือน; ภูชิตต์ ภูริปาณิก; สุภาภรณ์ สมไพบูลย์; สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์; รรินทร วสุนันต์; สุรพงษ์ นิ่มเกิดผล; นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; สุริษา ประสิทธิ์แสงอารีย์; รติญา นนทิราช; สวรรยา พิณเนียม; อัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ; นุชฤดี รุ่ยใหม่; วิสาขา เทียมลม; มนสินี สุขมาก; ศานสันต์ รักแต่งาม; ชุษณะ จันทร์อ่อนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) ศึกษาองค์ประกอบและสภาพปัจจุบันของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (3) ศึกษาการรับรู้ ความคาดหวัง และ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานคือวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐจำนวน 5 คน และภาคเอกชนจำนวน 3 คน รวมถึงการใช้แบบสังเกตในการลงพื้นที่โดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ในขณะที่วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน ผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี และนักท่องเที่ยว โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 460 คน ได้รับการตอบกลับ 423 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการสื่อสารแบรนด์อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งองค์ประกอบของการสื่อสารแบรนด์จังหวัดประกอบด้วย (1) ผู้ผลิตและผู้ส่งสาร คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการฐานะผู้กำหนดนโยบาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนแบรนด์น้องเหน่อในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (2) สาร คือ การกำหนดอัตลักษณ์และบทบาทของการมาสคอต (3) การสื่อสารการตลาด คือ การใช้สื่อและกิจกรรมในการสื่อสารแบรนด์จังหวัด (4) ผู้รับสาร คือ ประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่มีการรับรู้ มีส่วนร่วมเกี่ยวกับสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารแบรนด์ ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างของมาสคอต ความชัดเจนในการกำหนดอัตลักษณ์ของมาสคอตน้องเหน่อ และการใช้สื่อและการวางแผนการสื่อสารการตลาดด้านการรับรู้ส่วนใหญ่มีการรับรู้วัตถุประสงค์ในการสร้างมาสคอตน้องเหน่อ ส่วนความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสาร แบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อพบว่า ความพึงพอใจ และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อประกอบด้วย 11 ประเด็น ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างของ มาสคอต (2) การกำหนดแนวทางการสื่อสารและการนำเสนอภาพลักษณ์ (3) ความชัดเจนใน การสะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี (4) บทบาทของมาสคอตในฐานะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (5) การปรากฏตัวของน้องเหน่อ (6) การใช้สื่อในการสื่อสารมาสคอต (7) การสื่อสารด้วยการเล่าเรื่อง (8) การสร้างแผนการสื่อสารเชิงรุก (9) เกณฑ์ในการขออนุญาตใช้ตราน้องเหน่อ (10) การกำหนดองค์ประกอบมาตรฐานของตราน้องเหน่อ และ (11) มาตรฐานการผลิตหุ่นน้องเหน่อให้สอดคล้องกับมาสคอตน้องเหน่อItem นวัตกรรมไอศกรีมลดพลังงานจากผลไม้ท้องถิ่นไทยและกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์; ศิริวรรณ เสรีรัตน์; ปณิศา มีจินดา; .กนกกานต์ วีระกุล; จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา; นราธิป ปุณเกษม; ณัชนก มีประถม; นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; วิทยา ศิริพันธ์วัฒนา; กันต์กนิษฐ์ จงรัตนวิทย์; นคร แซ่สี; นพมาศ กลัดแก้ว; สุธิดา โสดา; อกนิษฐ์ เลิศสิริศรีสกุล; เนาวรัตน์ เลิศมณีพงศ์งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมไอศกรีมลดพลังงานจากผลไม้ ท้องถิ่นไทยและกลยุทธ์นวัตกรรมการตลาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ กึ่งทดลอง และเชิงปริมาณ ผลลัพธ์จากการวิจัยเชิงคุณภาพได้ไอศกรีมลด พลังงานผลไม้ท้องถิ่นไทย 10 รายการที่ผู้บริโภคชื่นชอบ ได้แก่ มะม่วงสุก กล้วยหอมทอง มะขาม หวาน เสาวรส ลูกตาลอ่อน ขนุน ส้มสายนำผึ้ง มังคุด สับปะรดศรีราชา และแคนตาลูป ชื่อตรา “Healthee Fruitee” บรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลากได้รับการพัฒนาและทดสอบในช่วงของการทดสอบตลาด การทดสอบตลาดเพื่อวัดทัศนคติของผู้บริโภคต่อไอศกรีมลดพลังงานจากผลไม้ไทยโดยให้ผู้บริโภค 394 คน ทดลองชิมประกอบด้วย ชาวไทย จำนวน 198 คน และชาวตะวันตก จำนวน 196 คน ถูกใช้ในการวิจัยกึ่งทดลอง และเชิงปริมาณ พร้อมทั้งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ ความน่าจะเป็น (Non–probability sampling) ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคประเมินไอศกรีมลดพลังงานผลไม้ท้องถิ่นไทย 10 รายการ ในคุณค่าด้านประสาทสัมผัส ด้านโภชนาการ ด้านอารมณ์ และความคุ้มค่าทางการเงินอยู่ในระดับปานกลางและดี ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคมีความพึงพอใจโดยรวมความตั้งใจที่จะซื้อ และการแนะนำ/บอกต่อไอศกรีมลดพลังงานจากผลไม้แต่ละรายการอยู่ในระดับปานกลางและดี ส่วนทัศนคติของผู้บริโภคต่อชื่อตรา บรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลากนั้นอยู่ในระดับดีเป็นส่วนใหญ่ ผลการพิสูจน์สมมติฐานพบว่า คุณค่าด้านประสาทสัมผัส ด้านโภชนาการ ด้านอารมณ์ และความคุ้มค่า ทางการเงินส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวม ความตั้งใจที่จะซื้อ และการแนะนำ/บอกต่อไอศกรีม ลดพลังงานยิ่งไปกว่านั้น นวัตกรรมการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ กลยุทธ์นวัตกรรมการตลาด ทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าและป้ายฉลาก และพฤติกรรมการบริโภคในอดีต ส่งผลต่อพฤติกรรม ภายหลังการบริโภคไอศกรีมลดพลังงาน การนำไปใช้ประโยชน์ทางการตลาดของไอศกรีมลดพลังงาน จากผลไม้ไทยถูกรวบรวมอยู่ในการวิจัยครั้งนี้Item แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย หนองคาย เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; อภิญญา ทหราวานิช; จารุณี วิเทศการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อค้นหาวัตถุดิบท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ และเพื่อหาแนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ชุมชน/ เกษตรกร/ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดละ 12 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน และนักท่องเที่ยว จังหวัดละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วัตถุดิบท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยพิจารณาจากคุณค่าของวัตถุดิบ 3 ด้าน คือ ด้านโภชนาการ คุณค่าด้านเศรษฐกิจ และคุณค่าด้านวัฒนธรรม/วิถีชีวิต ได้รายชื่อวัตถุดิบท้องถิ่น 3 อันดับในแต่ละจังหวัดดังนี้ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผักหวานป่า สับปะรดนางแล ชาอัสสัม จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ปลายี่สก ปลาบึก ปลาเผาะ จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ปูม้า มะนาวแป้นรำไพ ปลาอกแล้ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ หอยเจาะ ลางสาด สะตอ 2. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านโภชนาการ โดยนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งในรูปแบบของเมนูอาหารหรือในรูปแบบของขนมขบเคี้ยวที่ผลิตจากวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมที่จะบริโภคในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไปในแต่ละระดับอายุ และสามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติของวัตถุดิบท้องถิ่นชนิดนั้นได้ รวมถึงการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณค่าโภชนาการที่จะได้รับอย่างชัดเจน ในขณะที่ตัววัตถุดิบก็ต้องมีความสด สะอาด และปลอดภัยต่อการบริโภคด้วย 3. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำวัตถุดิบท้องถิ่นไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น นำไปทำเป็นซอส น้ำสลัดครีม ทั้งใน ระดับวิสาหกิจชุมชน โอท็อป และระดับอุตสาหกรรม การใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขันเป็นการสร้างทั้งมูลค่าเพิ่มและสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นควรถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าโภชนาการที่มีอยู่ในวัตถุดิบ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพให้กับผู้ประกอบการ 4. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านวัฒนธรรม/วิถีชีวิต โดยการเชื่อมโยงเรื่องวัฒนธรรมด้านอาหารของท้องถิ่นเข้ากับการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม การอนุรักษ์ให้มีการปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบท้องถิ่นไว้ เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชน เช่น ชาวเรือประมง สวนผักพื้นบ้าน การสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนหรือผู้สนใจให้ได้รู้จักชนิดของวัตถุดิบในแต่ละพื้นที่ เป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป