การทดสอบตลาดและการบริหารหน้าที่ธุรกิจเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด: กรณีศึกษา กระชาย (นครปฐม) ขมิ้น (ตาก) พริก (สุพรรณบุรี) พริกไทย (จันทบุรี)

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การทดสอบตลาดและการบริหารหน้าที่ธุรกิจเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด: กรณีศึกษา กระชาย (นครปฐม) ขมิ้น (ตาก) พริก (สุพรรณบุรี) พริกไทย (จันทบุรี)
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการตั้งชื่อตราของเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทย (2) ทดสอบตลาดเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทย (3) หาแนวทางการบริหารหน้าที่ธุรกิจด้านการตลาดเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารของธุรกิจอาหาร และผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของเครื่องปรุงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารมีความคิดเห็นว่าโครงสร้างบรรจุภัณฑ์โดยรวมของซอสเย็นตาโฟ สามเกลอผง และซอสสามเกลอ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนซอสผัดฉ่า ซอสข้าวหมก และสามเกลอก้อน อยู่ในระดับดี ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าโครงสร้างบรรจุภัณฑ์โดยรวมของเครื่องปรุงทุกชนิด อยู่ในระดับดี 1. กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารและกลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่า การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์โดยรวมของเครื่องปรุงทุกชนิด อยู่ในระดับดี 2. การตั้งชื่อตราสินค้าและการออกแบบโลโก้ของเครื่องปรุงพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารและกลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าทั้งชื่อตรา “ไทยเมด (Thai Made)” และโลโก้ของเครื่องปรุงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก 3. การทดสอบตลาดเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยกับกลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อเครื่องปรุงซอสผัดฉ่า สามเกลอผง และซอสสามเกลอ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนซอสข้าวหมก ซอสเย็นตาโฟ และสามเกลอก้อน อยู่ในระดับดี 4. ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเครื่องปรุงทั่วไป พบว่า 4.1 ด้านผลิตภัณฑ์ ต้องการใช้เครื่องปรุงในรูปแบบซอสปรุงรส รองลงมาคือ ผงปรุงรส และต้องการเครื่องปรุงที่สามารถใช้ปรุงอาหารได้หลายเมนู 4.2 ด้านราคา ต้องการเครื่องปรุงที่มีราคาเหมาะสมกับปริมาณ รองลงมาคือ ราคาเหมาะสมกับลักษณะหรือรูปแบบบรรจุภัณฑ์ 4.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้บริโภคต้องการซื้อเครื่องปรุงจากร้านสะดวกซื้อ รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารต้องการซื้อเครื่องปรุงจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เช่น เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี) รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต 4.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนใหญ่พบเห็นโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องปรุงทางสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่อโฆษณาออนไลน์ ต้องการการส่งเสริมการขายในรูปแบบการลดราคาและการซื้อ 1 แถม 1 5. แนวทางการบริหารหน้าที่ธุรกิจด้านการตลาดเพื่อนำเครื่องปรุงจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยใหม่เข้าสู่ตลาด มีดังนี้ 5.1 ด้านผลิตภัณฑ์ นำเสนอจุดเด่นของเครื่องปรุงใน 5 ด้าน คือ คุณภาพของวัตถุดิบ ความสะดวกในการใช้งานความปลอดภัยในการบริโภค คุณค่าโภชนาการ และความแตกต่างของประโยชน์ใช้สอย 5.2 ด้านราคา ซอสผัดฉ่า ซอสข้าวหมก สามเกลอก้อน สามเกลอผง และซอสสามเกลอ มีราคาเป็นที่ยอมรับได้ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะสามเกลอก้อนที่ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าราคาคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนซอสเย็นตาโฟมีราคาสูงกว่าระดับที่ผู้ประกอบการ/ผู้ปรุงอาหารยอมรับได้ และผู้บริโภคก็มีความคิดเห็นว่าเป็นระดับราคาที่มีความคุ้มค้าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องปรุงชนิดอื่น 1.1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แบ่งออกเป็น (1) จำหน่ายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ในระยะแรกเพื่อให้เกิดการรู้จักตราสินค้าใหม่ แล้วจึงขยายช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (2) จำหน่ายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และซูเปอร์มาร์เก็ต สำหรับกลุ่มร้านอาหาร (3) จำหน่ายโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพราะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักด้านการประกอบอาหาร ด้านการส่งเสริมการตลาด ใช้วิธีการดังนี้ (1) ใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์ในลักษณะการเป็นสปอนเซอร์รายการอาหาร และจัดทำคลิปวิดีโอสาธิตการใช้เครื่องปรุง (2) ใช้โฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้กับกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจการทำอาหารว่า ไม่ว่าใครก็สามารถปรุงอาหารได้รสชาติอร่อยแบบไทยได้หากใช้เครื่องปรุงนี้ (3) ใช้การลดราคาในระยะแรกเพื่อดึงดูดความสนใจ (4) สาธิตการใช้เครื่องปรุง (5) ใช้แผ่นพับเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องปรุง
Description
Citation
View online resources
Collections