Browse
Recent Submissions
Item A Review of Lexico-grammatical Features and their Functions in an Academic Discourse(2023-04-27) Woravit Kitjaroenpaiboon; Samniang Fahkrajang; Prissana Fongsarun; Wilasinee PloylermsaengItem การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย(2024-08-20) พรพิศ งามพงษ์; ธนศร วิสุทธิ์วารินทร์; อภิรดี ผลประเสริฐ; ประภัสร์ นกเลิศพันธุ์การจัดการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเริ่มต้นสำหรับเด็กปฐมวัยทุกคน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่สำคัญและมีผลต่อเด็กทุกๆคน ใน การสื่อสารในสังคมโลก ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วย ท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยทำให้เด็กปฐมวัยได้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะการฟัง สามารถเข้าใจ และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สามารถนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปใช้กับครอบครัว เพื่อน และสังคม บทความ นี้มุ่งเน้นการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย โดย รวบรวมข้อมูล โดยเริ่มต้นจากความเป็นมาของวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางความหมายของวิธีการ สอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง ประเภทของวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ตัวอย่างการตอบสนอง ด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบ ตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัยItem ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(2024-06-17) สายสุดา ปั้นตระกูลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 43คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาซอฟต์แวร์ส าเร็จรูปเพื่อการค านวณและ3)แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบรายคู่ก่อนหลัง (Paired-SampleT-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ผลการเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาซอฟต์แวร์ส าเร็จรูปเพื่อการค านวณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก(=4.12, SD.=0.82)Item การปลูกฝังพฤติกรรมในการแยกขยะในเด็ก(2023-06-22) ชูติวรรณ บุญอาชาทอง; สายสุดา ปั้นตระกูล; ภูริพจน์ แก้วย่องบทความนี้เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการปลูกฝังพฤติกรรมการคัดแยกขยะให้แก่คนในวัยเด็ก ในประเทศไทย จำนวน 12 แห่่ง รวมทั้ง วิธีการสร้างความรู้ เจตคติจนนำไปสู่พฤติกรรมที่ดี เกี่ยวกับการจัดการขยะการคัดแยกขยะแก่เด็ก และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน จึงเป็นการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมของเด็กการสร้างความรู้เรื่องการคัดแยกขยะสำหรับเด็กทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างนิทาน การเขียนการ์ตูน การแทรกใน บทเรียน หรือ การสร้้างเกม การสร้้างจิตสํานึกในการจัดการขยะควรเริ่มปลููกฝังตังแต่วัยเด็ก เด็กควรได้รับการปลููกฝังจิตสํานึกที่ดีในการจัดการขยะให้เกิดขึ้น เพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้้เป็นไปอย่่างถาวร อันจะส่่งผลต่อการแก้ปัญหาขยะได้อย่าง ยั่งยืนItem การนํากลยุทธ์ทางการตลาดบริการมาใช้ในการบริหารงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร(2023-04-30) ธันย์ณิชา ธนินจิรโชติพัชร; จิตชิน จิตติสุขพงษ์Item The Effects of Online Learning Management Towards English Grammar Achievement of Business English Students(2021-02-15) กนกวรรณ กุลสุทธิ์; สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค; ขจีนุช เชาวนปรีชา; สรพล จิระสวัสดิ์; วิลาสินี พลอยเลื่อมแสง; ลลิตา พูลทรัพย์; จุฬาลักษณ์ ปาณะศรีThis research study aimed to compare Business English students' achievement in English grammar before and after obtaining online learning management, and to explore their perceptions towards the development of English grammar knowledge. Quantitative and qualitative research were used. The subjects were 43 Business English senior students in Academic Year 2017 who did the tests and responded to the questionnaires and 5 students were purposively selected to have a group interview. Research instruments were the pretest-posttest, questionnaire and interview schedule. The content validity index of every question in the questionnaire was 1.00. Quantitative data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and dependent sample t-test. Major findings revealed that Business English students' achievement in English grammar improved after online self-study at the statistical significance level of .05. The students showed an agreement with the development of English grammar knowledge through online self-study. The first aspect showing a strong agreement indicated that students learned the content from online grammar exercises as much as they could. Findings from the interview revealed three aspects: being convenient for online self-study through Application, development of grammatical competence and an ability to apply their knowledge to take the TOEIC test.Item การพัฒนาภาชนะเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหารแนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานการผลิตในจังหวัดสมุทรสาคร(2024-05-30) ปฤณัต นัจนฤตย์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และนําทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย โดยนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และ 2. เพื่อประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหาร แนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 4 ขั้น โดยการสุ่มแบบเจาะจงที่หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย พบว่า การสัมภาษณ์นักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร ผู้ผลิตเบญจรงค์ และสังเกตการณ์ทําเครื่องเบญจรงค์ พบว่า จาน คือ ภาชนะที่นิยมใช้มาก การเขียนภาพและลายที่แสดงเอกลักษณ์ไทยประกอบด้วย ภาพสัตว์ ภาพดอกไม้ และลวดลายต่าง ๆ ผลการพัฒนาแบบร่างและคัดเลือกแบบร่างภาชนะเบญจรงค์ จํานวน 15 ชุด ชุดละ 3 แบบ จํานวน 45 ชิ้นงาน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผล ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 90 ถึง 98 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในระดับสูง โดยแบบร่างที่ได้รับการคัดเลือก คือ แบบไก่ แบบปลากัด แบบช้าง แบบนกยูง แบบดอกบัว แบบดอกราชพฤกษ์ แบบดอกกล้วยไม้ แบบลายรวงข้าว แบบลายมาลัย และ แบบลายดอกเข็ม ผลการสร้างต้นแบบภาชนะเบญจรงค์เป็นจานกลมขนาด 14 นิ้ว 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว ชุดละ 3 ใบ จํานวน 10 ชุด และการทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงตามแนวคิดของนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร จํานวน 5 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จํานวน 3 คน ตรวจสอบความเหมาะสมรายการอาหาร และ ช่างภาพอาหาร จํานวน 3 คน เลือกภาพ โดยเป็นการจัดอาหารแบบพอดีคํา อาหารว่าง และ อาหารหวานสําหรับงานเลี้ยงแบบบุฟเฟต์ และ ค็อกเทล มีแจกันและของตกแต่งที่สอดคล้องแนวคิดภาพและลวดลายของจาน ซึ่งแนวคิดหลักเน้นการสื่อความหมายในทางมงคล และเป็นสัญลักษณ์ อันแสดงเอกลักษณ์ของไทย 2. ผลประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะ พบว่า การจัดนิทรรศการเพื่อรับรองผลได้จัดขึ้น ณ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี และผู้วิจัยสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลรับรอง โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบ ด้านการออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จํานวน 18 คน ให้การรับรองคุณภาพทุกชุดได้ผลการรับรองระดับคุณภาพดีมากที่สุด ทั้งภาพรวมและด้านต่าง ๆ ของแต่ละชุดโดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.900-4.700Item การศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส”(2024-09-10) ประภัสร์ นกเลิศพันธุ์; เกวลี เพชราทิพย์งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยทําการศึกษาโดยรวบรวมคําทางวัฒนธรรมที่พบในบทบรรยายใต้ภาพ จากนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 2ประเด็น คือ ประเภทของคําทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ และข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า 1.คําทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพเรื่องดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา 2.ข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแปลผิด การแปลขาด และการเลือกใช้คําไม่เหมาะสม ประเภทของข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ การแปลผิด ลําดับรองลงมาคือการเลือกใช้คําไม่เหมาะสม และสุดท้ายคือการแปลขาดโดยประเภทของคําทางวัฒนธรรมที่พบข้อผิดพลาดมากที่สุดได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ จํานวน 66 คํา อันดับ 2 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ จํานวน 50 คํา อันดับ3 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา จํานวน 45 คํา อันดับที่ 4 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจํานวน 29 คํา และสุดท้ายได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม จํานวน 25 คํา จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าผู้แปลไม่ได้ศึกษานวนิยายและตัวบทฉบับละครอย่างละเอียด จึงทําให้ขาดความเข้าใจในศิลปะการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์ พร้อมด้วยผู้แปลอาจจะขาดความรู้เกี่ยวกับคําทางวัฒนธรรมในภาษาไทย ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยละครดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยามีคําทางวัฒนธรรมหลายคําที่เป็นภาษาโบราณ ซึ่งอาจจะยากต่อการทําความเข้าใจ ผู้แปลจึงไม่ได้ให้ความสําคัญในส่วนนี้Item ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้าน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตและให้บริการผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ(2023-12-31) ชูเกียรติ จากใจชน; จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์; สุวัลลี สัตยาอภิธาน; รุ่งฤดี กล้าหาญ; ศุภมิตร บัวเสนาะบทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคลและผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล กับผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยส่วนบุคคล ร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก 2. ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ดิจิทัลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.497, .475, .617 และ .586 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความสามารถทางด้านดิจิทัล สุขภาพจิต ความเครียดในงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.599, .647, .506 และ .705 ตามลำดับ) และ 3. ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และความสามารถทางด้านดิจิทัล ร่วมกันพยากรณ์ผลิตภาพได้ โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ 80.2%Item Personal Factors, Personality Types, and Stress affecting to Employees’ Burnout: A Case Study of a Food Service Company in Bangkok(2024-12-27) ชูเกียรติ จากใจชน; จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์; รุ่งฤดี กล้าหาญ; ศุภมิตร บัวเสนาะ; สุวัลลี สัตยาอภิธานประสงค์ของการวิจัยเชิงสําารวจครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาประเภทของบุคลิกภาพ ระดับความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงานจําาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และรุ่นของคน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ประเภทของบุคลิกภาพความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงาน และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะหมดไฟของพนักงาน โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ประเภทของบุคลิกภาพ และความเครียดของพนักงานร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย จําานวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพในงานพัฒนาตามแนวคิดของ John Holland แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทําางาน พัฒนาตามแนวคิดของ Maslach มีค่าความเชื่อมั่น .885, .828 และ .843 ตามลําาดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความเครียดและภาพรวมของภาวะหมดไฟของพนักงานอยู่ในระดับมากและปานกลาง 2) พนักงานเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟในการทําางาน ไม่แตกต่างกัน และพนักงานรุ่น Y กับรุ่น Z มีค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟในการทําางานไม่แตกต่างกัน 3) บุคลิกภาพแบบ Artistic มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์ และภาพรวมของภาวะหมดไฟ อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .283 และ .264 ตามลําาดับ) บุคลิกภาพแบบ Conventionalมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการขาดความสามารถในการทําางาน อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .338) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การเมินเฉยต่องาน และภาพรวมของภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 (r = -.306, -.338, -.368 และ -.261ตามลําาดับ) และ 4) บุคลิกภาพแบบ Artistic และความเครียด มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟ และร่วมกันพยากรณ์ภาวะหมดไฟของพนักงานได้โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ 50.9%Item การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน(2024-12-23) สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; จิรัฐ ชวนชม; อัมพร ศรีประเสริฐสุข; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; เบญจศรี ศรีโยธินบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอรูปแบบและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้นแบบของชุมชนการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนความสำคัญ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความวิชาการ บทความวิจัยรวมถึงการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหรือการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวสำหรับเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ โดยชุมชนมีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรกรรมภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศ การนำเสนอวิถีชีวิตด้านการเกษตรโดยเกษตรกรอย่างใกล้ชิด นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิทยาการเกษตรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเกษตรกรที่มีประสบการณ์และความภูมิใจเพื่อที่จะนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้และเกิดจิตสำนึก เข้าใจ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ พร้อมกับสัมผัสบรรยากาศของชุมชน การจำหน่ายสินค้าการเกษตร รวมถึงสินค้าเกษตรแปรรูปและยังเป็นการพัฒนาความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ตอบสนองกลุ่มคนเมืองที่มีความสนใจในวิถีชีวิตชนบท สัมผัสกับธรรมชาติ ร่วมกิจกรรมนันทนาการในชุมชน แสวงหาวิถีชีวิตที่สงบสุขและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตจากกิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร ประโยชน์สำคัญจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของสังคมและชุมชน โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษา ทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหา และอุปสรรครวมถึงแผนพัฒนาปรับปรุงการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนโอกาสการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ 5) สร้างการตลาดในยุคดิจิทัลเพื่อขยายฐานของการท่องเที่ยว 6) ออกแบบการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัย และ 7) ส่งเสริมการดูแลการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดItem การติดตามและประเมินการนําาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเป็นมิตรสําาหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม(2024-05-30) พรเพ็ญ ไตรพงษ์; ยุุทธพงษ์ ลีลีากิจไพศาล; อัมพร ศรีประเสริฐสุขItem การศึกษาติดตามและประเมินการนำผล งานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในโครงการการพัฒนาระบบการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเฉพาะรายแบบไร้รอยต่อของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน(2023-06-02) พรเพ็ญ ไตรพงษ์; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; อัมพร ศรีประเสริฐสุขItem จิตวิทยาในการดูแลผู้สูงวัย(2024-10-15) จิรัฐ ชวนชม; พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์; ปทุมพร โพธิ์กาศบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการนําจิตวิทยาไปใช้กับผู้สูงวัยซึ่งสังคมสูงวัยกลายเป็นประเด็นสําคัญของสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทยกําลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ดังนั้น เพื่อให้การก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างสง่างามและมีศักยภาพ การเข้าสู่การเป็นวัยผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น การเจ็บป่วย การเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลทําให้เกิดความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลงจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยจะเกิดมาจากทางด้านจิตใจ ดังนี้ 1) มีเหตุการณ์ร้ายแรงที่มากระทบกระเทือนความรู้สึกเช่น การสูญเสียคนที่รัก 2) ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุจึงจําเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด คนในครอบครัวควรพยายามปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจคนวัยนี้กิจกรรมที่เหมาะกับผู้สูงวัยเพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีดังนี้ กิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้ผู้สูงอายุ กิจกรรมตามประเพณีและศาสนา และกิจกรรมออกกําลังกาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุได้ปรับตัวเพื่อรักษาสุขภาวะด้านจิตใจและสังคมของตนเองโดยการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน และการนับถือศาสนา นอกจากนั้นการส่งเสริมและสร้างให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าในตนเอง หรือมีเป้าหมายในชีวิตนั้นถือว่าเป็นสิ่งสําคัญต่อการดําเนินชีวิต ผลที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้สูงวัยทําให้ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ประกอบไปด้วย สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และ สุขสงบItem Creative Products Based on Local Wisdom Derived from Mural Paintings of Suphan Buri Province, Thailand(2023-11-02) Titiya Netwong; Nuaon Khrouthongkhieo; Bunpod PijitkamnerdMural painting is a branch of fine art that reflects the excellent culture of Thailand and the devel-opment of creative products based on local resources to add value to the community. Promoting community-based tourism is implementing knowledge and findings from the study of mural paintings to be developed into creative products to create value-added local wisdom knowledge. The objectives of this research were to 1) design creative products based on local wisdom derived from mural paintings and 2) organise training and a workshop to pass on the knowledge of creat-ing creative products based on the wisdom of the mural paintings of Suphan Buri Province, Thai-land. The sample group consisted of 1) 75 people members of the community who set up murals in Suphan Buri Province, 2) five experts for evaluated product prototypes, 3) 400 tourists to sat-isfaction products, and 4) 22 participants for knowledge transfer. The research tools consisted of 1) The wisdom-based creative product prototype assessment form, 2. The wisdom-based creative product satisfaction questionnaire, and 3) The knowledge transfer project satisfaction assessment form. The data were analysed using mean, standard deviation, and content analysis. The research results were as follows: 1. The creative products of paper stencils framed from Wat Pratoosan and Wat No Bhuddhangkun had an overall satisfaction at a high level. The overall satisfaction was high for creative products using the 12 zodiac signs from Wat Chi Pa Khao to design and print on T-shirts. 2. The overall satisfaction in the knowledge transfer activities was at the highest level.Item The effect of metaverse technology on multicultural learning: Strengthening the social attitudes, cultural awareness and critical thinking skills of secondary school students(2025-01-23) Prisana Mutchima; Yutthapong Leelakitpaisarn; Bunpod Pijitkamnerd; Nattha Phiwma; Saisuda PantrakoolThepurposeofthisstudyistoinvestigatetheeffectofmetaversetechnologyonmulticulturallearningtostrengthenthesocialattitudes,culturalawarenessandcriticalthinkingskillsofsecondaryschoolstudents.Methodology:Aquasi-experimentalresearchmethodwasusedinthisstudytoequallydivide80secondaryschoolstudentsintheDusitdistrict,undertheOfficeoftheBasicEducationCommission,Bangkok,Thailandintoanexperimentalgroupandacontrolgroup.Theexperimentofthemetaverseonmulticulturallearninginaneightweekteachingperiodcomprisedfourcomponents:virtualculturalexploration,role-playing,discussionsandreflections,andcollaborativeprojects.Theresultsshowedasignificantdifferenceintheaverageoutcomesbetweenthegroups.Inconclusion,themajorfindingsincludethreedimensions:1)Studentswholearnthroughmetaversetechnologyhaveahigherlearningprogressthanstudentsintraditionalclassrooms.2)Socialattitudesandcriticalthinkingskillsfromutilizingmetaversetechnologyinlearningarebothstatisticallysignificant.3)Theoverallassessmentprovesthatmetaversetechnologyimprovesstudents'learningoutcomes.Therefore,thisstudysupportstheintegrationofmetaversetechnologyintoeducation,especiallyindevelopingthinkingskillsandsocialcompetenceinmulticulturallearning.Themetaversesupportedteachers’instructiontoenhancestudents’social,cultural,andcriticalthinkingskills.Item A Review of Lexico-grammatical Features and their Functions in an Academic Discourse(2023-04-27) Woravit Kitjaroenpaiboon; Samniang Fahkrajang; Prissana Fongsarun; Wilasinee PloylermsaegSuccessful academic and research writings require correct comprehension of lexical and grammatical uses as a method to understandthe meanings as well as the specific functions in the texts. Woravit Kitjaroenpaiboon and Kanyarat Getkham stated that academic and research writings are not a skill naturally acquired, but needs to be learnt and practiced.. Furthermore, plentiful scholars have proven that some lexical features and grammatical features are found predominantly in the classification not in ordinary language. The lexico-grammatical in this category do not adhere to and are somewhat different from what have been explained in the traditional grammar book. The above statements prove that if one wants to draft an effectively communicative academic or research papers, we should understand how lexico- grammatical function in the particular texts. This paper hence reviews both of related literatures and research studies particularly viewed 23 lexico-grammatical characteristics (i.e. tenses and aspects, passive voice, private, public and suasive verbs, pronouns, downtoners and hedges, possibility, necessity, and prediction modals, synthetic and analytic negations, ‘be’ as main verbs, emphatics, causative subordinations, ‘that’ compliment clauses, wh-clauses, ‘that’ deletion, coordinating conjunctions, sentence relatives, nouns, average word length, type/token ration, predicative and attributive adjectives, adverbs, split auxiliaries, infinitives, gerunds, and participial clauses) in academic and research writings. This review article can benefit researchers who are conducting academic or research papers or others intrigued in investigating specifically underlying communicative functions of a lexico- grammatical feature(s).Item การประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(2023-11-30) ปริศนา มัฌชิมา; บรรพต พิจิตรกำเนิด; สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค; วรัตต์ อินทสระ; สายสุดา ปั้นตระกูลบทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จํานวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า1) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียน (SDU 4S) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา รายข้อเนื้อหาความเหมาะสมของเนื้อหามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการติดตั้งใช้งานและการล็อกอินเข้าใช้ระบบ รายข้อการติดตั้งแอปพลิเคชันด้านรูปแบบการนําเสนอมีข้อความน่าสนใจและด้านการจัดการแอปพลิเคชัน 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่า ผู้เรียนที่มีอายุแตกต่างกันมีการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Item การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ในลักษณะแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี(2024-03-10) ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; ขจีนุช เชาวนปรีชา; จิรัฐ ชวนชม; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; สฤษดิ์ ศรีโยธิน; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; พรเพ็ญ ไตรพงษ์กรอบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทภาพรวมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรใน ลักษณะแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกออกเป็น 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 กำหนด แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและชัดเจนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวให้ชัดเจน มีการจัดผังเมืองสำหรับการท่องเที่ยว กำหนดภูมิสัญลักษณ์ Journal of Arts Management Vol. 8 No. 1 January - March 2024 | 402 วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567 (Landmark) ที่สำคัญในการท่องเที่ยว เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่แหล่งท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวทราบ รายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงขนาดพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว และระยะเวลาที่เหมาะสมในการ ท่องเที่ยว แนวทางที่ 3 การเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วม การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเปรียบเสมือนตัว จักรสำคัญในการกำหนดกรอบทิศทางและการขับเคลื่อนกลไกการบริหารจัดการในทิศทางที่เป็น ประโยชน์ ผลักดันการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ควบคู่กันไป และแนวทางที่ 4 การกำหนดสารสนเทศที่สำคัญต่อการท่องเที่ยว เช่น ข้อมูลสภาพอากาศ สภาพภูมิศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการเดินทางของนักท่องเที่ยว และการวางแผนการ ประกอบอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่ จากกรอบแนวทางทั้งสี่ จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรมี ความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวมีศักยภาพ สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้ นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว ทำให้เกิดการสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร และช่วยสร้างงานและ อาชีพให้กับคนในท้องถิ่นและครัวเรือน นอกจากนี้การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรใน ลักษณะแหล่งเรียนรู้ ยังเป็นการสร้างคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และเกิดความยั่งยืนในการท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่จังหวัดสุพรรณบุรItem The Tragic Fate of Chen Bailu in Sunrise(2024-06-29) NOPPARUT KHANOBTHAMMAKUN; WU YANQIN; DARARAT INTARAKUMNERD; PRAPAT NOCKLERDPUN; NAPAKKANYA TRARUNGRUANGThe drama "Sunrise" is the representative work of Mr. Cao Yu, a famous modern Chinese dramatist. It was created in 1963 and is a classic work in the history of modern Chinese drama. In his writing career, it is also one of the most meaningful works and the most worthwhile. A work of in-depth exploration by scholars. There are many three-dimensional characters created in this novel, and in the author's writing, they all have their own personalities and souls. Chen Bailu is one of the main characters in this work. She is a bourgeois intellectual woman. On the one hand, she strives to pursue the sun, light, and freedom. On the other hand, she is addicted to material enjoyment and continues to fall. Struggling in self-contradiction, dealing with love and marriage, and finally heading towards death. This article mainly focuses on Chen Bailu's transformation from old to new and love and marriage to analyze her image and tragic fate. She is innocent and kind, yearning for love, but she is also depressed, decadent, extravagant and vain. She is a contradictory struggling body. Due to both subjective and objective reasons in terms of character and time background, she became a woman with double tragedies in life and love, and her tragedy was also a tragic epitome of educated women during the Republic of China.
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »