HUSO-Article

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 53
  • Default Image
    Item
    การพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ
    (2024-07-05) ศศิพร ต่ายคำ; สุทิตา จุลกนิษฐ์; ศรวิชา กฤตาธิการ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรในการพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ และ 2) พัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน และสำรวจการยอมรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของเกษตรกร 200 คน และทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหุคูณ ค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์หนักขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ประสบปัญหาบุคลากรความรู้ งบประมาณ อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อม ส่วนหนึ่งแก้โดยให้ความรู้การใช้สื่อสังคมออนไลน์แก่เกษตรกร ส่วนการรับรู้ประโยชน์และความง่ายต่อการใช้งานสื่อการตลาดออนไลน์มีผลต่อทัศนคติการใช้สื่อการตลาดออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) รูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ ประกอบด้วย การจัดหลักสูตร การจัดการพื้นที่การเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนรู้รูปแบบผ่านการรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง และ 3) ผลการทดสอบหลังเรียนรู้สูงกว่า ก่อนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.37, S.D. = 0.67)
  • Default Image
    Item
    กลยุทธ์การตลาดกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร
    (2024-01-08) ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; วิณาภรณ์ แตงจุ้ย; สฤษดิ์ ศรีโยธิน; จิรัฐ ชวนชม
    การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวหรือชุมชน ในด้านกลยุทธ์การตลาดกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการคิดขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. คือ ทรัพยากรท้องถิ่น ต้องให้คนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ไม่ท าลายหรือบุกรุกเพิ่ม แต่น าทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่มาสร้างกิจกรรมทางการท่องเที่ยว และมีระบบการจัดการที่ดีที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์สามารถใช้เป็นจุดขาย มีประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สามารถสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชน และชาวบ้านให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรจึงเป็นสิ่งส าคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวหรือชุมชนต้องให้ความส าคัญ และสามารถน ามาใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • Default Image
    Item
    จิตรกรรมฎีกาพาหุง ศาลาการเปรียญวัดชีปะขาว อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
    (2023-05-03) เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว; บรรพต พิจิตรกำเนิด; ฐิติยา เนตรวงษ์
    ฎีกาพาหุง หรือพุทธชัยมงคลคาถา หรือบทสวดพาหุงมหากา เป็นชื่อพระคาถาในพระพุทธศาสนา ใช้สวดสรรเสริญ ชัยชนะ 8 ประการที่พระสมณโคดมทรงมีเหนือมนุษยและอมนุษย์ กิจกรรมดีก่า ผ้าหุ้มเป็นภาพเล่าเรื่องชัยชนะครั้งสำคัญของพระพุทธองค์ตามบทสวดดังกล่าว ในพุทธประวัติพระพุทธองค์ทรงชนะมารหลายครั้ง แต่ชัยชนะครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่นับรวม 8 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่หนึ่ง เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงชนะพญามาร ครั้งที่สอง ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ครั้งที่สาม ทรงชนะช้างนาฬาคิรี ครั้งที่สี่ ทรงชนะองคุลิมาล ครั้งที่ห้า ทรงชนะนางจินจมานวิกา ครั้งที่หก ทรงชนะสัจจกะนิครนถ์ ครั้งที่เจ็ด ทรงชนะพระยานาคนันโทปะนันทะ และครั้งที่แปด ทรงชนะพระพกาพรหม กิจกรรมดีก่าผ้าห้วงที่ปรากฏในศิลปกรรมไทยตามวัดต่าง ๆ มักเล่าเรื่องชุดชัยชนะครั้งสำคัญครบ 8 ครั้ง โดยถ่ายทอดหนึ่งเรื่องหนึ่งฉาก ภาพวาดมีทั้งที่วาดบนผนังพระอุโบสถระหว่างบานหน้าต่าง หรือวาดไว้บนแผ่นไม้ประดับอาคาร แต่จิตรกรรมฎีกาพาหุงที่ศาลาการเปรียญวัดชีปะขาว มีความแตกต่างไปจากวัดอื่น ๆ คือ เขียนเล่าเรื่องฎีกาพาหุงอย่างละเอียด บางเรื่องขยายเนื้อความหนึ่งเรื่องออกมามากกว่าหนึ่งฉาก หรือมีการแทรกเนื้อความตอนท้ายของฎีกาพาหุงตอนอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเพิ่มชัยชนะอีกครั้งหนึ่งคือ ชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงมีต่อสุนทรีปริพาชิกา ซึ่งฎีกาพาหุงบางสำนวนนับเป็นชัยชนะอีกครั้งหนึ่งที่เพิ่มเติมจากชุดฎีกาพาหุง 8 ครั้ง
  • Default Image
    Item
    ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการเปลี่ยนผ่านจากพื้นที่จัดเก็บสู่พื้นที่การเรียนรู้
    (2025-06-06) สายสุดา ปั้นตระกูล; บรรพต พิจิตรกำเนิด; ปริศนา มัชฌิมา
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อน าเสนอถึงการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากเดิมที่เป็นเพียงแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศไปเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่ทันสมัยโดยการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในมิติต่างๆได้แก่การให้บริการและกิจกรรมบางอย่างมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปหรือบางบริการอาจไม่มีความจาเป็นอีกต่อไปนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ที่มักเป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือมีส่วนร่วมนอกเหนือจากบริการเข้าถึงความรู้ในลักษณะเดิม สุดท้ายบทความได้เสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่การเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในมิติกายภาพทรัพยากรและเทคโนโลยีและบทบาทของบุคลากรที่ทาหน้าที่ให้บริการในฐานะผู้ให้บริการในพื้นที่การเรียนรู้
  • Default Image
    Item
    การพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการสงวนรักษาและเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี
    (2024-05-02) บรรพต พิจิตรกำเนิด; เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว; ฐิติยา เนตรวงษ์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัล และนักวิชาการด้านงานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 416 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) คลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการสงวนรักษาในรูปแบบดิจิทัล 2) แบบประเมินคลังภูมิปัญญาดิจิทัล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินคุณภาพคลังภูมิปัญญาดิจิทัล ด้านเนื้อหามีคุณภาพในด้านความถูกต้อง ความสมบูรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา ปริมาณของเนื้อหา การใช้ภาษา และภาพประกอบ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านการออบแบบและการจัดรูปแบบคลังภูมิปัญญาดิจิทัลภาพรวม และด้านประโยชน์และการนำไปใช้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  • Default Image
    Item
    การศึกษาสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม
    (2024-12-27) อภิญรัตน์ สุนทรพรพันธ์; ศุภศิริ บุญประเวศ; สุขุม เฉลยทรัพย์; สุภาภรณ์ ตั้งดําเนินสวัสดิ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวน 288 คน ได้มาจากการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมกับตัวแปรตามกรอบแนวคิดในการวิจัย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และค่าความตรงเท่ากับ 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม มีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)ความสามารถในการสื่อสาร 2)ความสามารถทางอารมณ์ 3) การสื่อสารเชิงอารมณ์ และ 4) ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม และสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการสื่อสารเชิงอารมณ์ และด้านความสามารถในการสื่อสาร ตามลําดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําสุด คือ ด้านความสามารถทางอารมณ์
  • Default Image
    Item
    ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
    (2025-02-24) อภิญรัตน์ สุนทรพรพันธ์; ศุภศิริ บุญประเวศ; สุขุม เฉลยทรัพย์; สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; จิรานุช โสภา
    บทความนี้นําเสนอความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในองค์กร โดยภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมเป็นลักษณะของผู้บริหารที่มุ่งเน้นการใช้จริยธรรมในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสําเร็จเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ทําให้เกิดความยุติธรรมและเป็นธรรมกับทุกคนโดยคํานึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี ตลอดจนการสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทีมงานทําให้เกิดความไว้วางใจ ความร่วมมือ และการทํางานร่วมกันของคนในองค์กรซึ่งเป็นบรรยากาศของการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการในสังคมปัจจุบันมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยไม่ทําลายทรัพยากรธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมบนความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใสซึ่งส่งผลที่ดีต่อความยั่งยืนขององค์กรการบริหารองค์กรด้วยหลักคุณธรรม และมีภาวะผู้นําที่เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งด้านพฤติกรรม ความยุติธรรม ความเคารพนับถือ ความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ ความรับผิดชอบ และความเอาใจใส่มุ่งเน้นการบริหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน ธรรมาภิบาล และการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมสิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความไว้วางใจและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร รวมถึงการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารจึงควรพัฒนาภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม ควบคู่กับความรู้ความสามารถ เพื่อบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณธรรม สร้างแรงบันดาลใจ และขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
  • Default Image
    Item
    กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
    (2025-05-16) ศุภศิริ บุญประเวศ; สุขุม เฉลยทรัพย์; สุภัค เนตรบุษราคำ; กาญจนา ผิวงาม
  • Default Image
    Item
    A Review of Lexico-grammatical Features and their Functions in an Academic Discourse
    (2023-04-27) Woravit Kitjaroenpaiboon; Samniang Fahkrajang; Prissana Fongsarun; Wilasinee Ploylermsaeng
  • Default Image
    Item
    การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย
    (2024-08-20) พรพิศ งามพงษ์; ธนศร วิสุทธิ์วารินทร์; อภิรดี ผลประเสริฐ; ประภัสร์ นกเลิศพันธุ์
    การจัดการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเริ่มต้นสำหรับเด็กปฐมวัยทุกคน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่สำคัญและมีผลต่อเด็กทุกๆคน ใน การสื่อสารในสังคมโลก ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วย ท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยทำให้เด็กปฐมวัยได้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะการฟัง สามารถเข้าใจ และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สามารถนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปใช้กับครอบครัว เพื่อน และสังคม บทความ นี้มุ่งเน้นการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย โดย รวบรวมข้อมูล โดยเริ่มต้นจากความเป็นมาของวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางความหมายของวิธีการ สอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง ประเภทของวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ตัวอย่างการตอบสนอง ด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบ ตอบสนองด้วยท่าทางสำหรับเด็กปฐมวัย
  • Default Image
    Item
    ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
    (2024-06-17) สายสุดา ปั้นตระกูล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 43คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาซอฟต์แวร์ส าเร็จรูปเพื่อการค านวณและ3)แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบรายคู่ก่อนหลัง (Paired-SampleT-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ผลการเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาซอฟต์แวร์ส าเร็จรูปเพื่อการค านวณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการค านวณ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก(=4.12, SD.=0.82)
  • Default Image
    Item
    การปลูกฝังพฤติกรรมในการแยกขยะในเด็ก
    (2023-06-22) ชูติวรรณ บุญอาชาทอง; สายสุดา ปั้นตระกูล; ภูริพจน์ แก้วย่อง
    บทความนี้เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการปลูกฝังพฤติกรรมการคัดแยกขยะให้แก่คนในวัยเด็ก ในประเทศไทย จำนวน 12 แห่่ง รวมทั้ง วิธีการสร้างความรู้ เจตคติจนนำไปสู่พฤติกรรมที่ดี เกี่ยวกับการจัดการขยะการคัดแยกขยะแก่เด็ก และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน จึงเป็นการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมของเด็กการสร้างความรู้เรื่องการคัดแยกขยะสำหรับเด็กทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างนิทาน การเขียนการ์ตูน การแทรกใน บทเรียน หรือ การสร้้างเกม การสร้้างจิตสํานึกในการจัดการขยะควรเริ่มปลููกฝังตังแต่วัยเด็ก เด็กควรได้รับการปลููกฝังจิตสํานึกที่ดีในการจัดการขยะให้เกิดขึ้น เพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้้เป็นไปอย่่างถาวร อันจะส่่งผลต่อการแก้ปัญหาขยะได้อย่าง ยั่งยืน
  • Default Image
    Item
    The Effects of Online Learning Management Towards English Grammar Achievement of Business English Students
    (2021-02-15) กนกวรรณ กุลสุทธิ์; สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค; ขจีนุช เชาวนปรีชา; สรพล จิระสวัสดิ์; วิลาสินี พลอยเลื่อมแสง; ลลิตา พูลทรัพย์; จุฬาลักษณ์ ปาณะศรี
    This research study aimed to compare Business English students' achievement in English grammar before and after obtaining online learning management, and to explore their perceptions towards the development of English grammar knowledge. Quantitative and qualitative research were used. The subjects were 43 Business English senior students in Academic Year 2017 who did the tests and responded to the questionnaires and 5 students were purposively selected to have a group interview. Research instruments were the pretest-posttest, questionnaire and interview schedule. The content validity index of every question in the questionnaire was 1.00. Quantitative data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and dependent sample t-test. Major findings revealed that Business English students' achievement in English grammar improved after online self-study at the statistical significance level of .05. The students showed an agreement with the development of English grammar knowledge through online self-study. The first aspect showing a strong agreement indicated that students learned the content from online grammar exercises as much as they could. Findings from the interview revealed three aspects: being convenient for online self-study through Application, development of grammatical competence and an ability to apply their knowledge to take the TOEIC test.
  • Default Image
    Item
    การพัฒนาภาชนะเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหารแนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานการผลิตในจังหวัดสมุทรสาคร
    (2024-05-30) ปฤณัต นัจนฤตย์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และนําทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย โดยนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และ 2. เพื่อประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหาร แนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 4 ขั้น โดยการสุ่มแบบเจาะจงที่หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย พบว่า การสัมภาษณ์นักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร ผู้ผลิตเบญจรงค์ และสังเกตการณ์ทําเครื่องเบญจรงค์ พบว่า จาน คือ ภาชนะที่นิยมใช้มาก การเขียนภาพและลายที่แสดงเอกลักษณ์ไทยประกอบด้วย ภาพสัตว์ ภาพดอกไม้ และลวดลายต่าง ๆ ผลการพัฒนาแบบร่างและคัดเลือกแบบร่างภาชนะเบญจรงค์ จํานวน 15 ชุด ชุดละ 3 แบบ จํานวน 45 ชิ้นงาน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผล ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 90 ถึง 98 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในระดับสูง โดยแบบร่างที่ได้รับการคัดเลือก คือ แบบไก่ แบบปลากัด แบบช้าง แบบนกยูง แบบดอกบัว แบบดอกราชพฤกษ์ แบบดอกกล้วยไม้ แบบลายรวงข้าว แบบลายมาลัย และ แบบลายดอกเข็ม ผลการสร้างต้นแบบภาชนะเบญจรงค์เป็นจานกลมขนาด 14 นิ้ว 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว ชุดละ 3 ใบ จํานวน 10 ชุด และการทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงตามแนวคิดของนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร จํานวน 5 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จํานวน 3 คน ตรวจสอบความเหมาะสมรายการอาหาร และ ช่างภาพอาหาร จํานวน 3 คน เลือกภาพ โดยเป็นการจัดอาหารแบบพอดีคํา อาหารว่าง และ อาหารหวานสําหรับงานเลี้ยงแบบบุฟเฟต์ และ ค็อกเทล มีแจกันและของตกแต่งที่สอดคล้องแนวคิดภาพและลวดลายของจาน ซึ่งแนวคิดหลักเน้นการสื่อความหมายในทางมงคล และเป็นสัญลักษณ์ อันแสดงเอกลักษณ์ของไทย 2. ผลประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะ พบว่า การจัดนิทรรศการเพื่อรับรองผลได้จัดขึ้น ณ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี และผู้วิจัยสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลรับรอง โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบ ด้านการออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จํานวน 18 คน ให้การรับรองคุณภาพทุกชุดได้ผลการรับรองระดับคุณภาพดีมากที่สุด ทั้งภาพรวมและด้านต่าง ๆ ของแต่ละชุดโดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.900-4.700
  • Default Image
    Item
    การศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส”
    (2024-09-10) ประภัสร์ นกเลิศพันธุ์; เกวลี เพชราทิพย์
    งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยทําการศึกษาโดยรวบรวมคําทางวัฒนธรรมที่พบในบทบรรยายใต้ภาพ จากนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 2ประเด็น คือ ประเภทของคําทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ และข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า 1.คําทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพเรื่องดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา 2.ข้อผิดพลาดในการแปลคําทางวัฒนธรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแปลผิด การแปลขาด และการเลือกใช้คําไม่เหมาะสม ประเภทของข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ การแปลผิด ลําดับรองลงมาคือการเลือกใช้คําไม่เหมาะสม และสุดท้ายคือการแปลขาดโดยประเภทของคําทางวัฒนธรรมที่พบข้อผิดพลาดมากที่สุดได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ จํานวน 66 คํา อันดับ 2 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ จํานวน 50 คํา อันดับ3 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา จํานวน 45 คํา อันดับที่ 4 ได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจํานวน 29 คํา และสุดท้ายได้แก่คําทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม จํานวน 25 คํา จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าผู้แปลไม่ได้ศึกษานวนิยายและตัวบทฉบับละครอย่างละเอียด จึงทําให้ขาดความเข้าใจในศิลปะการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์ พร้อมด้วยผู้แปลอาจจะขาดความรู้เกี่ยวกับคําทางวัฒนธรรมในภาษาไทย ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยละครดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยามีคําทางวัฒนธรรมหลายคําที่เป็นภาษาโบราณ ซึ่งอาจจะยากต่อการทําความเข้าใจ ผู้แปลจึงไม่ได้ให้ความสําคัญในส่วนนี้
  • Default Image
    Item
    ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้าน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตและให้บริการผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
    (2023-12-31) ชูเกียรติ จากใจชน; จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์; สุวัลลี สัตยาอภิธาน; รุ่งฤดี กล้าหาญ; ศุภมิตร บัวเสนาะ
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคลและผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล กับผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยส่วนบุคคล ร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก 2. ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ดิจิทัลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.497, .475, .617 และ .586 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความสามารถทางด้านดิจิทัล สุขภาพจิต ความเครียดในงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.599, .647, .506 และ .705 ตามลำดับ) และ 3. ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และความสามารถทางด้านดิจิทัล ร่วมกันพยากรณ์ผลิตภาพได้ โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ 80.2%
  • Default Image
    Item
    Personal Factors, Personality Types, and Stress affecting to Employees’ Burnout: A Case Study of a Food Service Company in Bangkok
    (2024-12-27) ชูเกียรติ จากใจชน; จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์; รุ่งฤดี กล้าหาญ; ศุภมิตร บัวเสนาะ; สุวัลลี สัตยาอภิธาน
    ประสงค์ของการวิจัยเชิงสําารวจครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาประเภทของบุคลิกภาพ ระดับความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงานจําาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และรุ่นของคน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ประเภทของบุคลิกภาพความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงาน และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะหมดไฟของพนักงาน โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ประเภทของบุคลิกภาพ และความเครียดของพนักงานร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย จําานวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพในงานพัฒนาตามแนวคิดของ John Holland แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทําางาน พัฒนาตามแนวคิดของ Maslach มีค่าความเชื่อมั่น .885, .828 และ .843 ตามลําาดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความเครียดและภาพรวมของภาวะหมดไฟของพนักงานอยู่ในระดับมากและปานกลาง 2) พนักงานเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟในการทําางาน ไม่แตกต่างกัน และพนักงานรุ่น Y กับรุ่น Z มีค่าเฉลี่ยของความเครียดและภาวะหมดไฟในการทําางานไม่แตกต่างกัน 3) บุคลิกภาพแบบ Artistic มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์ และภาพรวมของภาวะหมดไฟ อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .283 และ .264 ตามลําาดับ) บุคลิกภาพแบบ Conventionalมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการขาดความสามารถในการทําางาน อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .338) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การเมินเฉยต่องาน และภาพรวมของภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 (r = -.306, -.338, -.368 และ -.261ตามลําาดับ) และ 4) บุคลิกภาพแบบ Artistic และความเครียด มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟ และร่วมกันพยากรณ์ภาวะหมดไฟของพนักงานได้โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ 50.9%
  • Default Image
    Item
    การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน
    (2024-12-23) สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; จิรัฐ ชวนชม; อัมพร ศรีประเสริฐสุข; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; เบญจศรี ศรีโยธิน
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอรูปแบบและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้นแบบของชุมชนการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนความสำคัญ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความวิชาการ บทความวิจัยรวมถึงการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหรือการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวสำหรับเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ โดยชุมชนมีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรกรรมภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศ การนำเสนอวิถีชีวิตด้านการเกษตรโดยเกษตรกรอย่างใกล้ชิด นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิทยาการเกษตรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเกษตรกรที่มีประสบการณ์และความภูมิใจเพื่อที่จะนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้และเกิดจิตสำนึก เข้าใจ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ พร้อมกับสัมผัสบรรยากาศของชุมชน การจำหน่ายสินค้าการเกษตร รวมถึงสินค้าเกษตรแปรรูปและยังเป็นการพัฒนาความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ตอบสนองกลุ่มคนเมืองที่มีความสนใจในวิถีชีวิตชนบท สัมผัสกับธรรมชาติ ร่วมกิจกรรมนันทนาการในชุมชน แสวงหาวิถีชีวิตที่สงบสุขและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตจากกิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร ประโยชน์สำคัญจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของสังคมและชุมชน โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษา ทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหา และอุปสรรครวมถึงแผนพัฒนาปรับปรุงการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนโอกาสการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ 5) สร้างการตลาดในยุคดิจิทัลเพื่อขยายฐานของการท่องเที่ยว 6) ออกแบบการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัย และ 7) ส่งเสริมการดูแลการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด