SLP-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing SLP-Article by Title
Now showing 1 - 20 of 39
Results Per Page
Sort Options
Item Causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand(Kasetsart Journal of Social Sciences, 2018-03-22) Khemapat Yenpiam; Somboon Sirisunhirun; Wisut WichitputchrapronThe purpose of this research was to study the consistency between the causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand and the empirical data, and to examine the factors which directly and indirectly affect collaboration between local administrative organizations in early-childhood education management in Thailand. The methodology in the research was quantitative, using questionnaires as a research tool. The sample based on simple random sampling and drawing lots consisted of 62 child development centers and 372 participants. The findings of this study showed that the casual relationship model was inconsistent with the empirical data and therefore had to be adjusted. It was also discovered that only the law, and financial and budget limitations have direct effects on collaboration between local administration organizations in early childhood education management in Thailand.Item COMMUNITY DEMOCRACY AND THE PROMOTION OF LOCAL DEVELOPMENT(PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 2022-06-13) Pawini ROTPRASOET; Jatupon DONGJIT; Pennapa WEBBThe Western democracy mainstream in Thailand led to a change of governance in the year 1932. Thailand has continued to evolve politically since the shift, including political activity focused solely on urban residents. Until the 1997 Constitution of Thailand was enforced, its provisions stipulated that Thai people shall participate in political activities especially at the local level possibly for the purpose of strengthening and developing local potential to achieve self-administration of public affairs using local social capital for the benefits and efficiency, reduce external dependence, form people gathering, meetings, consultations in accordance with democratic guidelines, creating civil society in the development of local communities leading to a self-reliant community also known as “Strengthening Community” based on the concept of community democracy. The concept and process of Community Democracy have been applied by a wide range of Thai communities. Local people in the community are pioneers to initiate the activities and participate in driving the process of participation with local government organizations or organizations through meetings, consultations, and integration between people and members from outside organizations to mutually make an agreement according to Social Contract concept. Through the foresaid concept, the community shall apply it and community democratic processes to utilize social capital for maximum benefits, achieving the guidelines for effective community management.Item Effective Implementation of Pre-Release Juvenile Offender Toward Drug Offense on Thailand(Przestrzeń Społeczna (Social Space), 2023-09-06) Patchara Sinloyma; Surat Saruang; Thanapat Patchim; Thiti Mahacharoen; Wichit Yaemyimeffectiveness and preventing juveniles from reoffending. This qualitative research used the in-depth interview and focus groups to collect data. There were 40 samples in this research, including the Department of Juvenile Observation and Protection administrator, criminologist, lawyer, social worker, personnel of vocational education institutions, and representative of establishments in Bangkok and regional areas. The results revealed that effective pre-release for reintegrating juveniles toward drug offenses comprised 2 elements: a rehabilitation program and social sector participation. This is because a few establishments allowed juveniles to participate in vocational training. Therefore, the government sector should publicize the project to expand the network of establishments ready to cooperate in vocational training projects for juveniles.Item Thai Police Officers and Prosecution of Children in Thailand(International Journal of Criminal Justice Science, 2021-12) Pemika Sanitphot; Sunee Kanyajit; Patchara Sinloyma; Thanapat PatchimThis research aimed to explore the police operations enacted in relation to the prosecution of children in Thailand, utilizing both quantitative (through a questionnaire completed by 325 respondents) and qualitative (through in-depth interviews conducted with 20 respondents). The sample constituted police officers, judges, public prosecutors and psychologists/social workers with experience in the prosecution of children. The research findings revealed that police officers in Thailand lacked knowledge and experience in relation to the prosecution of children, with regards to the pertinent legal provisions as well as prosecution principles which existed in this region. Furthermore, a standard operating procedure and a set of prosecution guidelines were also not being followed by the Thai police officers. These initiatives, if taken, would improve the capabilities of Thai police officers. Additionally, the current research also provided a model of standards for law enforcement entities to follow in the prosecution of children and juveniles in Thailand.Item กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) ยอดชาย ชุติกาโม“กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง” เป็นหน้งสือแปลบทประพันธ์กาพย์กลอนภาษาจีนของเหมาเจ๋อตุง ที่พยายามรักษาเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับภาษาจีนมากที่สุด โดยการใช้ฉันทลักษณ์ของไทย แม้ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้จะมิได้ระบุชื่อผู้แปลว่าเป็นใคร แต่คาดเดาได้ว่าคงเป็น "สหาย" ชาวไทยที่มีความแตกฉานในภาษาไทย-จีน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ของจีน จึงสามารถแปลออกมาได้อย่างสละสลวย ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาที่ผู้นิพนธ์ต้องการสื่อได้เป็นอย่างดีItem การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท(วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 2024-09-22) ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยเรื่องการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา ประการที่สองศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และประการที่สามเพื่อประเมินผลสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน เป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน จะเป็นรูปแบบที่ใช้เพื่อหันเหคดีจากการตั้งข้อกล่าวหาหรือการฟ้องร้องคดีในระบบยุติธรรมทางอาญาที่เป็นทางการ อาจเรียกได้ว่าเป็นการประชุมคดีเชิงสมานฉันท์ระหว่างผู้เสียหาย (รัฐ) และผู้กระทำความผิด ในขณะที่การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการในแผน รวมถึงการส่งเสริมในเรื่องทักษะอาชีพ การเรียน และการอบรม ซึ่งการกำหนดดังกล่าว จะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนแต่ละราย ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชน นอกจากนี้ยังพบว่า หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ ในคดีอาญา เป็นคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี และต้องสำนึกผิดในการกระทำ โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยจะร่วมกันจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน สำหรับการประเมินผลสำเร็จการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูครั้งนี้ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการดำเนินการ 3) ผลผลิตจากการดำเนินการ และ 4) ผลลัพธ์จากการดำเนินการ ซึ่งการประเมินผลดังกล่าว จะเป็นการทบทวนและช่วยเสริมให้แผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถกลับคืนสู่สังคม ชุมชนของตนได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีกItem การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-02-15) ภิญโญ คูวัฒนาเสนีย์การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมมนากลุ่ม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลของการวิจัยพบว่าบทบัญญัติของกฎีหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์รวมทั้งแนวคิดในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเป็นอุปสรรคในการปฏิิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในเจตนารมณ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมถึงความพร้อมในด้านงบประมาณและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิิบัติงาน และความร่วมมือของเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดและครอบครัวก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กเยาวชน และเพื่อพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนได้อย่างแท้จริงนั้น ควรมีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์แทนการดำเนินคดีอาญาItem การปฏิรูประบบราชการไทย : จากอดีตสู่การเป็นเครือข่ายการจัดการภาครัฐเครือข่ายการจัดการภาครัฐ(วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ, 2023-12-06) อานุภาพ รักษ์สุวรรณเครือข่ายการจัดการภาครัฐเป็นแนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐที่กำลังได้รับการกล่าวถึง ในปัจจุบันโดยอาศัย การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ในการจัดทำ และส่งมอบบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ระบบและกลไกการ บริหารราชการแผ่นดินของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถูกออกแบบมา โดยเน้นการปกครองแบบรวมศูนย์ อำนาจแต่ละหน่วยงาน ถูกออกแบบให้มีบทบาท และทำงานตามหน้าที่เฉพาะด้าน (Function) ของตนเองเป็น หลักและได้รับการวิจารณ์ว่าขาดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ดังนั้น ในบทความนี้ จึง นำเสนอพัฒนาการของแนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐพัฒนาการของระบบราชการ และกลไกการบริหาร ราชการแผ่นดินของไทย และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบราชการไทยกับการเป็นเครือข่ายการจัดการภาครัฐ พร้อม ทั้งข้อเสนอแนะItem การประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา ในการควบคุมเด็กและเยาวชนที่กระทาผิดในคดียาเสพติด(วารสารการเมืองการปกครอง, 2023-08) ธนภัทร ปัจฉิมม์บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนเสนอรูปแบบ และวิธีการประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา รวมถึงเสนอแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการอานวยความยุติธรรมเด็กและเยาวชน ที่กระทาความผิดในคดียาเสพติด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ประกอบด้วย สหวิชาชีพ ได้แก่ นักจิตวิทยา นักสังคมสังเคราะห์ นอกจากนั้นยังมีผู้แทนชุมชน พนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษาสมทบ เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ได้ดาเนินการในรูปแบบที่เป็นคณะกรรมการ โดยการประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือในการแสวงหาแนวทางในการระงับข้อพิพาทตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกที่ใช้ในกระบวนจัดทาแผนแก้ไขบาบัดฟื้นฟูในคดีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กและเยาวชนสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน การบรรเทาผลร้าย ทดแทนหรือชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จะมุ่งเน้นการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นสาคัญ สาหรับมาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา นั้น เป็นการหันเหคดีเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิดในชั้นก่อนฟ้องคดีและในชั้นการพิจารณาคดีตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวItem การประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา ในการควบคุมเด็กและเยาวชนที่กระทาผิดในคดียาเสพติด(Journal of Politics and Governance, 2023-08) ธนภัทร ปัจฉิมม์บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนเสนอรูปแบบ และวิธีการประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา รวมถึงเสนอแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการอานวยความยุติธรรมเด็กและเยาวชน ที่กระทาความผิดในคดียาเสพติด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ประกอบด้วย สหวิชาชีพ ได้แก่ นักจิตวิทยา นักสังคมสังเคราะห์ นอกจากนั้นยังมีผู้แทนชุมชน พนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษาสมทบ เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ได้ดาเนินการในรูปแบบที่เป็นคณะกรรมการ โดยการประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือในการแสวงหาแนวทางในการระงับข้อพิพาทตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกที่ใช้ในกระบวนจัดทาแผนแก้ไขบาบัดฟื้นฟูในคดีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กและเยาวชนสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน การบรรเทาผลร้าย ทดแทนหรือชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จะมุ่งเน้นการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นสาคัญ สาหรับมาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา นั้น เป็นการหันเหคดีเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิดในชั้นก่อนฟ้องคดีและในชั้นการพิจารณาคดีตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวItem การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 2022-06-30) โชคดี นพวรรณบทความ "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) กับการป้องกันการคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ" เป็นการศึกษาถึง หลักการ กลไก หรือมาตรการของ ITA หรือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และการปรับใช้กับข้อเท็จจริงการคอร์รัปชัน เพื่อศึกษาว่า ITA สามารถป้องกันการคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ ได้หรือไม่ และศึกษาแนวทางในการปรับปรุง ITA เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการป้องกัน การคอร์รัปชัน สำหรับกระบวนการศึกษาของบทความนี้ จะดำเนินการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการพิจารณา การคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ จากข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้เห็นรูปร่าง ภาพรวมลักษณะของคอร์รัปชัน และนำข้อสรุปจากเท็จจริง มาวิเคราะห์ ในการศึกษาในส่วนนี้จะใช้วิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงการคอร์รัปชันจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) สำหรับการวิเคราะห์จะเริ่มจากการทำความเข้าใจหลักการ และแนวทางที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขการคอร์รัปชัน โดยจะพิจารณาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และรวมถึงหลักกฎหมาย บทบัญญัติกฎหมาย ที่สนับสนุนให้นำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เพื่อให้เห็นเหตุผลเบื้องหลังของ ITA และจึงพิจารณาหลักการของ ITA ซึ่งประกอบ ด้วยแนวคิด วัตถุประสงค์ และกลไกต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาในส่วนนี้ทั้งหมดจะใช้วิธีค้นคว้าจาก เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) หลังจากนั้นจึงนำหลักการของ ITA มาวิเคราะห์ การปรับใช้เข้ากับข้อเท็จจริงก็จะได้ผลของการ ศึกษา คือ ประสิทธิภาพ และข้อจำกัดที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่บทสรุปที่ทำให้เห็นว่า ITA ยังมีข้อจำกัดในการป้องกันการคอร์รัปชันบางรูปแบบจึงได้ให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้นไว้ เพื่อปรับปรุงITA ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้Item การประเมินผลการดาเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน(Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL), 2021-06) เอกอนงค์ ศรีสำอำงค์; ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามกรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพื่อจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลตัวชี้วัดทั้งระดับผลลัพธ์และระดับผลผลิตภายใต้กรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนจำนวน 1,250 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับ ทำการกระจายการเก็บข้อมูลจากประชาชนจำแนกตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบูรณาการ เรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) แบ่งออกเป็น 7 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน สอบถามกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งทางตรงและทางสนับสนุน จำนวน 42 คน โดยจำแนกการสัมภาษณ์ตามพื้นที่เช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรการ ซึ่งจาการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมพบว่าผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ จำแนกตามลักษณะเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเคยหรือไม่เคยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ลักษณะบริบทชุมชนที่อยู่อาศัย และการมีหรือไม่มีผู้นำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในมาตรการที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สินทั้งของตนเองและบุคคลอื่นให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม นอกนั้นมาตรการอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพของประชาชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการป้องกันอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความหวาดกลัวของประชาชนต่อภัยอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมค่าเฉลี่ยในระดับมาก จึงควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในสังคมร่วมกันให้กับเยาวชนตั้งแต่ในระดับวัยเรียน ปรับทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมว่าอาชญากรรมเป็นเรืองไกลตัว และเป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมให้ชุมชนมีโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันการอาชญากรรมโดยเฉพาะการให้ความรู้ในการป้องกันภัย หาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนในการกระตุ้นในประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นItem การประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน(วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2022-06-24) เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามกรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพื่อจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลตัวชี้วัดทั้งระดับผลลัพธ์และระดับผลผลิตภายใต้กรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการ วิจัยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนจำนวน 1,250 คนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับ ทำการกระจายการเก็บข้อมูลจากประชาชนจำแนกตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบูรณาการ เรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม จังหวัด (ฉบับที่ 3) แบ่งออกเป็น 7 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ และส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน สอบถามกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งทางตรงและทางสนับสนุน จำนวน 42 คน โดยจำแนกการสัมภาษณ์ตามพื้นที่เช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรการ ซึ่งจาการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมพบว่าผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการจำแนกตามลักษณะเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเคยหรือไม่เคยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ลักษณะบริบทชุมชนที่อยู่อาศัย และการมีหรือไม่มีผู้นำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในมาตรการที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สินทั้งของตนเองและบุคคลอื่นให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม นอกนั้นมาตรการอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพของประชาชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการป้องกันอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีค่าเฉลียอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความหวาดกลัวของประชาชนต่อภัยอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมค่าเฉลี่ยในระดับมาก จึงควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในสังคมร่วมกันให้กับเยาวชนตั้งแต่ในระดับวัยเรียน ปรับทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมให้ชุมชนมีโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันการอาชญากรรมโดยเฉพาะการให้ความรู้ในการป้องกันภัย หาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนในการกระตุ้นในประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นItem การพัฒนาชุมชนสขุภาวะและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกชว่งวัยตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2024-04-29) ดังนภสร ณ ป้อมเพชร; สมศักดิ์ เจริญพูล; จันทรกานต์ ทรงเดช; ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์; สุชาดา โทผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการและศักยภาพชุมชน รวมทั้งรูปแบบชุมชนสุขภาวะ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำคู่มือชุมชน สร้างแกนนำกิจกรรมชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และสัมมนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง ข้อมูลเชงิปริมาณที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์ตามกรอบของ CIPP model ก่อนทำการอบรมแกนนำตามคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึน้ ผลการศึกษา พบว่า สภาพการณ์ด้านสุขภาวะมีค่าที่ร้อยละ 84.95-97.96 ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าร้อยละ 72.96-83.67 ส่วนสภาพการณ์ด้านชุมชนและด้านความต้องการของประชาชนเพื่อการพัฒนาเป็นชุมชนสุขภาวะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบชุมชนสุขภาวะประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภท ได้แก่ 1) การนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2) การดูแลสุขภาพกายด้วยตนเอง 3) การออกกำลังกาย และ 4) อาหารสุขภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวต้องมีลักษณะกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์ หรือวัตถุดิบประกอบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน และผู้วิจัยได้ทำการอบรมแกนนำประประชาชนที่สนใจกว่า 60 คนผ่านคู่มือ ที่พัฒนาขนึ้เพื่อส่งเสริมการสรา้งผลิตภัณฑ์ 3 ได้แก่ 1) ลูกประคบสมุนไพรสด 2) น้ำพริกอบสมุนไพร และ 3) คัฟเค็กกล้วยน้ำว้าItem การพัฒนาชุมชนสุขภาวะและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2024-04-29) ดังนภสร ณ ป้อมเพชร; สมศักดิ์ เจริญพูล; จันทรกานต์ ทรงเดช; ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต; สุชาดา โทผลการวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการและศักยภาพชุมชน รวมทั ้งรูปแบบชุมชนสุขภาวะ และการอยู ่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำคู่มือชุมชน สร้างแกนนำกิจกรรมชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และสัมมนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์ตามกรอบของ CIPP model ก่อนทำการอบรมแกนนำตามคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการศึกษา พบว่า สภาพการณ์ด้านสุขภาวะมีค่าที ่ร้อยละ 84.95-97.96 ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่า ร้อยละ 72.96-83.67 ส่วนสภาพการณ์ด้านชุมชนและด้านความต้องการของประชาชนเพื ่อการพัฒนาเป็นชุมชนสุขภาวะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบชุมชนสุขภาวะประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภท ได้แก่ 1) การนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2) การดูแลสุขภาพกายด้วยตนเอง 3) การออกกำลังกาย และ 4) อาหารสุขภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวต้องมีลักษณะกิจกรรมดังนี ้ 1) กิจกรรมมีลักษณะที ่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมที ่ทำต้องใช้เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3) กิจกรรมที ่ทำหากต้องมีอุปกรณ์ หรือวัตถุดิบประกอบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน และผู้วิจัยได้ทำการอบรมแกนนำประประชาชนที่สนใจกว่า 60 คนผ่านคู่มือ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ 3 ได้แก่ 1) ลูกประคบสมุนไพรสด 2) น้ำพริกอบสมุนไพร และ 3) คัฟเค็กกล้วยน้ำว้าItem การพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่(วารสารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021-04-01) บูชิตา สังข์แก้ว; พันธรักษ์ ผูกพันธุ์; อัญชลี รัตนะบทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและภัยคุกคามป่าในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ยม สถานภาพ แนวทางการพัฒนา และตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีสว่น ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1. ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยมมีศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผืนป่าสักและ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ด้านเศรษฐกิจในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และด้านประวัติศาสตร์ สังคมและ วัฒนธรรมของชุมชน แต่ยังมีภัยคุกคามจากขบวนการทำลายป่า 2. ชุมชนตำบลสะเอียบมีส่วนร่วมในการ จัดการป่าแม่ยมในด้านการมีส่วนร่วมในแผนจัดการอุทยานแห่งชาติแม่ยม ด้านการจัดการพื้นที่การ จัดการผู้มาเยือน และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการจัดการป่า และ 3. ตัวแบบการจัดการป่าอย่าง ยั่งยืนเป็นแนวทางการจัดการป่าแบบูรณาการระหว่างภาครัฐ ชุมชน และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการป่า และการบูรณาการกิจกรรมการจัดการป่าแม่ยมItem การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซินดิเคท (Syndicate) ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2023-04-27) ภาวินี รอดประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการ คิดวิเคราะห์ของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาตPอการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการ จัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการ เมืองไทยสมัยใหม่ จำนวน 44 คน การวิจัยครั้งนี้เปdนการวิจัยทดลองเบื้องต้น ใช้แบบแผนการทดลองแบบ กลุ่มเดียว และทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการ จัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยผ่านการประเมินจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน และด้านรัฐศาสตร์ โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อ เปรียบเทียบคะแนนกPอนและหลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยใช้สถิติทดสอบ นี้ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบ ซินดิเคท (Syndicate) มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบซินดิเคท (Syndicate) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้าน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้าน ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุดItem การพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท่องถิ่นเป็นฐานเพื่อรองรับการท่องเทยี่วชุมชนในพนื้ที่กลุ่ม จังหวัดภาคกลางตอนลา่ง 1(วารสารสหศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2024-02-05) ดังนภสร ณ ป้อมเพชร; สมศักดิ์ เจริญพูล; สุชาดา โทผล; ขวัญใจ จริยาทัศน์กรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ นํามาใช้เป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน 2) พัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความ สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) จัดตั้งศูนย์การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน โดยทําการเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชนชนและเยาวชนจํานวน 1,507 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จาก การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจํานวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิด Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมชมชุมชน ด้านความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต ดัานความต่อเนื่องและสนับสนุนการเป็นธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และสถานการณ์การแข่งขัน และด้านนโยบายรัฐบาล มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก 2) การสังเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และได้ทําการอบรมให้เยาวชนจํานวน 165 คน ผ่าน 5 หลักสูตร 3) การจัดตั้งศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการทองเที่ยวชุมชนโดยเน้นการดําเนินกิจกรรม 4 แนวทางได้แก่ การให้ ความรู้ผ่านผ่านเครือข่ายออนไลน์ การนําวิทยากรหรือปราชญ์ในพื้นที่เข้ามาให้ความรู้แก่เยาวชน การแทรก กิจกรรมการพัฒนาในกิจกรรมการเรียน และการจัดกิจกรรมผ่านชมรมมัคคุเทศน์ของโรงเรียน 4) เครือข่าย ระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนมีหน่วยงานเข้าร่วมในเบื้องต้นจํานวน 9 หน่วยงาน โดยมีการดําเนินกิจกรรมใน 4 แนวทางคือ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนรู้ข้ามพื้นที่ การแลกเปลี่ยน วิทยากร และการส่งต่อนักท่องเที่ยวItem การพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2024-05-02) ขวัญใจ จริยาทัศน์กร; สมศักดิ์ เจริญพูล; สุชาดา โทผล; ดังนภสร ณ ป้อมเพชรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด เหตุผลของศาล หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย ลักษณะคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่ามีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิในสัญญาทางปกครอง และพิจารณาความแตกต่างของคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งเสนอแนะ แนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง คำพิพากษา และคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้จะนำมา วิเคราะห์เนื้อหาและทำการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยมีดังนี้ประการแรกแนวคิดของศาลในการวินิจฉัยลักษณะคตีคือกระบวนการเริ่มต้นอันเป็นที่มาของการออกคำสั่งลงโทษและ เหตุที่อ้างของผู้ถูกฟ้องคดีในการเริ่มต้นกระบวนการ ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายภายใน หรืออ้างสิทธิตามสัญญาจ้างพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับ ลักษณะของคำสั่งทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง ประการที่สองแนววินิจฉัยของศาลปกครองกรณีคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิของพนักงานฯ โดยตรง เนื่องจากอาจเกิดความสับสนทั้งขณะอยู่ในกระบวนการการดำเนินการทางวินัยและขั้นตอนก่อนฟ้องคดี และส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาในแง่ของการดำเนินการออกคำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย และประการสุดท้ายแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานให้ยึดถือรูปแบบการดำเนินการทางวินัยโดยต้องมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดItem การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายผู้สูงอายุ: ศึกษาประเทศนอร์เวย์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย(วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 2023-06-29) ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์; พรเลิศ อาภานุทัต; อานุภาพ รักษ์สุวรรณ; ธีรพล พงษ์บัวบทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษานโยบายผู้สูงอายุในประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และ 2) เปรียบเทียบเบื้องต้นของนโยบายผู้สูงอายุของประเทศทั้งสามกับประเทศไทย โดยใช้ตัวแบบของ Walt & Gilson (1994) การศึกษาพบว่า ในด้านบริบท นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมีอัตราผู้สูงอายุสูงมาก ในขณะที่ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งมีอัตราผู้มีรายได้น้อยมากกว่าประเทศทั้งสาม ในด้านเนื้อหาของนโยบาย ประเทศทั้งสามมีนโยบายผู้สูงอายุที่ครอบคลุมเรื่องการประกันสุขภาพ การดูแลรักษาทางการแพทย์ ที่พักในระยะสั้นและระยะยาว การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ และการขยายอายุการเกษียณ ส่วนนโยบายและมาตรการส่วนใหญ่ของไทยเน้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางสังคมเนื่องจากจำนวนผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก ในด้านกระบวนการหรือกลไก นอร์เวย์มีระบบบำนาญแห่งชาติที่เข้มแข็ง ญี่ปุ่นมีระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวที่ดี สิงคโปร์มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง สำหรับไทยมีกองทุนประกันสังคมและเบี้ยยังชีพ สำหรับด้านหน่วยปฏิบัติของนโยบาย นอร์เวย์ใช้ท้องถิ่นและอาสาสมัคร ญี่ปุ่นให้ท้องถิ่น ผู้ประกอบการทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร และต้นทุนทางสังคมอื่น สิงคโปร์เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่ไทยมีหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน ในส่วนสุดท้ายบทความนี้ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุในไทย