Browse
Recent Submissions
Item กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) ยอดชาย ชุติกาโม“กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง” เป็นหน้งสือแปลบทประพันธ์กาพย์กลอนภาษาจีนของเหมาเจ๋อตุง ที่พยายามรักษาเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับภาษาจีนมากที่สุด โดยการใช้ฉันทลักษณ์ของไทย แม้ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้จะมิได้ระบุชื่อผู้แปลว่าเป็นใคร แต่คาดเดาได้ว่าคงเป็น "สหาย" ชาวไทยที่มีความแตกฉานในภาษาไทย-จีน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ของจีน จึงสามารถแปลออกมาได้อย่างสละสลวย ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาที่ผู้นิพนธ์ต้องการสื่อได้เป็นอย่างดีItem ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021-10-15) ยอดชาย ชุติกาโมตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย” โดย สายป่าน ปุริวรรณชนะ เล่มนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาตำนาน นิทาน เรื่องเล่าของชุมชนริมแม่น้ำและชายฝั่ง ทะเลภาคกลางของไทย โดยได้จำแนกประเภทของตำนานเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามศาสนากลุ่มชาติพันธุ์ และ ทำการวิเคราะห์ถึงรูปแบบลักษณะเนื้อเรื่องในตำนาน ตัวเอกในตำนาน การดำเนินเรื่องของตำนานที่สะท้อน ถึงการตั้งถิ่นฐาน ร่องรอยของจารีตและความเชื่อในท้องถิ่น นำมาสู่การอธิบายถึงคุณค่าของตำนาน นิทาน พื้นถิ่นต่าง ๆ ว่าคือการสร้างหรืออธิบายอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของคนในพื้นที่นั้น ตลอดจนมุมมองของ คนในพื้นที่นั้น ๆ ที่มีต่อคนต่างถิ่นที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรม ตลอดจนการสื่อถึงมุม มอง ความเข้าใจของกลุ่มชนในพื้นที่นั้นๆ กับชุมชนอื่นหรือท้องที่อื่น นำมาสู่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มชนในพื้นที่ต่าง ๆ ให้อยู่ร่วมกันในลักษณะพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายแต่เชื่อมร้อยเป็นเอกลักษณ์ ของตนเองได้Item จดหมายหลวงอุดมสมบัติ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021-02-15) ยอดชาย ชุติกาโมรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงเวลา ทกี่รงุรตันโกสนิทรม์คีวามเจรญิรงุ่เรอืงและมคีวามมนั่คงมง่ัคงั่ ในชว่งเวลา เพียง ครึ่งศตวรรษหลังจากสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ชนชั้นนำ สยามสามารถสร้างบ้านเมือง วางระบบการปกครองที่มีเสถียรภาพและ สามารถแผ่อำนาจการปกครองไปได้มากกว่าที่กรุงศรีอยุธยาเคยมีมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายอำนาจลง ไปทางหัวเมืองปักษ์ใต้และคาบสมุทรมลายู ที่กรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ไม่สามารถนำหัวเมืองมลายูมาอยู่ ภายใต้อำนาจได้อย่างมั่นคง การปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้และหัวเมืองประเทศราชในคาบสมุทรมลายูในสมัย รตันโกสนิทรน์มี้คีวามสำคญัทางยทุธศาสตรอ์ยา่งมาก จะเหน็ไดว้า่หลงัจากสรา้งกรงุรตันโกสนิทรเ์ปน็ราชธานี ไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา สรุสงิหนาท กรมพระราชวงับวรสถานมงคล เสดจ็ลงไปจดัการปกครองหวัเมอืงปกัษใ์ตแ้ละหวัเมอืงประเทศราช มลายูที่สำคัญให้เข้ามาอยู่ใน พระราชอาณาเขต เหตุที่หัวเมืองปักษ์ใต้และหัวเมืองประเทศราชมลายูมีความ สำคัญทั้งที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมากนั้น เนื่องจากเป็นดินแดนแห่งทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าของป่า และ การเป็นชุมทางการค้าทางเรือกับโลกภายนอก ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การจัดเก็บส่วยอากรต่าง ๆ ที่ กล่าวได้ว่าเป็นที่มาของรายได้จำนวนมากของแผ่นดินItem ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา–พ.ศ. 2475(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-06-15) ยอดชาย ชุติกาโมบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัย อยุธยา–พ. ศ. 2475 ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลี่คลายตัวของรัฐไทยจากสังคมรัฐจารีตมาสู่รัฐสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่าในสมัยที่เป็นรัฐจารีตคือสมัยอยุธยาและก่อนหน้านั้น พุทธศาสนากับกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกัน โดยตรงน้อยมาก เนื้อหาและหลักค าสอนของพุทธศาสนามิได้ถูกน ามาบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยตรงในกฎหมายต่าง ๆ หลักการทางพุทธศาสนามีบทบาทเน้นต่อตัวผู้ปกครองเป็นส าคัญที่ให้ปกครองอย่างมีธรรม ถ้าผู้ปกครองมีธรรมแล้ว สังคมก็เป็นธรรม จนกระทั่งสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่เริ่มมีการตรากฎหมายมาบังคับใช้คณะสงฆ์เกี่ยวกับ การประพฤติตนให้อยู่ในวัตรปฏิบัติตามพระวินัยและจารีตที่ดีงาม อันเนื่องมาจากวัตรปฏิบัติที่ย่อหย่อนของคณะสงฆ์ใน เวลานั้น ท าให้เกิดผลพลอยได้ที่คณะสงฆ์ได้เข้ามาสู่การควบคุมจากฝ่ายอาณาจักร และเมื่อเข้าสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ใน ลักษณะที่เรียกว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มที่ พุทธศาสนาและกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้น ในรูปแบบที่ คณะสงฆ์ก็ได้รับการจัดการจากรัฐไทยด้วยกฎหมายคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ ท าให้พระสงฆ์มิเพียงอยู่ภายใต้บังคับของ พระธรรมวินัยเท่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองด้วยเช่นกัน และในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้ที่สถานะของ พุทธศาสนาได้รับการยกย่องโดยนัยยะทางกฎหมายว่าเป็นศาสนาประจ าชาติไทยจากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบ ราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ที่ก าหนดว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพุทธศาสนูปถัมภกItem บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-06-15) เบญจพร พึงไชยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการพึ่งพาตนเอง 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแล ผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากร ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ ในองค์กรภาครัฐ และผู้สูงอายุในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการณ์แบบไม่มี ส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ ดำเนินงานตามบทบาทที่ได้รับ ในเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ การสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ การฝึกอาชีพ รวมถึงการส่งเสริมให้มีที่อยู่อาศัย และจดัสภาพแวดลอ้มที่เหมาะสม สว่นปญัหา และอปุสรรคที่ทำใหป้ฏิบัตงิานไดอ้ยา่งจำกดั ไดแ้ก ่ปญัหาดา้น งบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่ในการดูแลผู้สูงอายุ แนวทางส่งเสริม บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสนับสนุนในเรื่อง การจัดสรรงบประมาณ บุคลากรด้านผู้สูงอายุ และองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรวางแผนร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และสังคมเน้นให้ผู้สูงอายุ บุคคลในครอบครัว ได้มีส่วนร่วมItem การพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่(วารสารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021-04-01) บูชิตา สังข์แก้ว; พันธรักษ์ ผูกพันธุ์; อัญชลี รัตนะบทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและภัยคุกคามป่าในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ยม สถานภาพ แนวทางการพัฒนา และตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีสว่น ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1. ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยมมีศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผืนป่าสักและ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ด้านเศรษฐกิจในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และด้านประวัติศาสตร์ สังคมและ วัฒนธรรมของชุมชน แต่ยังมีภัยคุกคามจากขบวนการทำลายป่า 2. ชุมชนตำบลสะเอียบมีส่วนร่วมในการ จัดการป่าแม่ยมในด้านการมีส่วนร่วมในแผนจัดการอุทยานแห่งชาติแม่ยม ด้านการจัดการพื้นที่การ จัดการผู้มาเยือน และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการจัดการป่า และ 3. ตัวแบบการจัดการป่าอย่าง ยั่งยืนเป็นแนวทางการจัดการป่าแบบูรณาการระหว่างภาครัฐ ชุมชน และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการป่า และการบูรณาการกิจกรรมการจัดการป่าแม่ยมItem การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซินดิเคท (Syndicate) ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2023-04-27) ภาวินี รอดประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการ คิดวิเคราะห์ของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาตPอการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการ จัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการ เมืองไทยสมัยใหม่ จำนวน 44 คน การวิจัยครั้งนี้เปdนการวิจัยทดลองเบื้องต้น ใช้แบบแผนการทดลองแบบ กลุ่มเดียว และทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการ จัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยผ่านการประเมินจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน และด้านรัฐศาสตร์ โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อ เปรียบเทียบคะแนนกPอนและหลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยใช้สถิติทดสอบ นี้ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบ ซินดิเคท (Syndicate) มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบซินดิเคท (Syndicate) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้าน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้าน ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุดItem COMMUNITY DEMOCRACY AND THE PROMOTION OF LOCAL DEVELOPMENT(PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 2022-06-13) Pawini ROTPRASOET; Jatupon DONGJIT; Pennapa WEBBThe Western democracy mainstream in Thailand led to a change of governance in the year 1932. Thailand has continued to evolve politically since the shift, including political activity focused solely on urban residents. Until the 1997 Constitution of Thailand was enforced, its provisions stipulated that Thai people shall participate in political activities especially at the local level possibly for the purpose of strengthening and developing local potential to achieve self-administration of public affairs using local social capital for the benefits and efficiency, reduce external dependence, form people gathering, meetings, consultations in accordance with democratic guidelines, creating civil society in the development of local communities leading to a self-reliant community also known as “Strengthening Community” based on the concept of community democracy. The concept and process of Community Democracy have been applied by a wide range of Thai communities. Local people in the community are pioneers to initiate the activities and participate in driving the process of participation with local government organizations or organizations through meetings, consultations, and integration between people and members from outside organizations to mutually make an agreement according to Social Contract concept. Through the foresaid concept, the community shall apply it and community democratic processes to utilize social capital for maximum benefits, achieving the guidelines for effective community management.Item การพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท่องถิ่นเป็นฐานเพื่อรองรับการท่องเทยี่วชุมชนในพนื้ที่กลุ่ม จังหวัดภาคกลางตอนลา่ง 1(วารสารสหศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2024-02-05) ดังนภสร ณ ป้อมเพชร; สมศักดิ์ เจริญพูล; สุชาดา โทผล; ขวัญใจ จริยาทัศน์กรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ นํามาใช้เป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน 2) พัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความ สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) จัดตั้งศูนย์การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน โดยทําการเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชนชนและเยาวชนจํานวน 1,507 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จาก การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจํานวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิด Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมชมชุมชน ด้านความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต ดัานความต่อเนื่องและสนับสนุนการเป็นธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และสถานการณ์การแข่งขัน และด้านนโยบายรัฐบาล มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก 2) การสังเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และได้ทําการอบรมให้เยาวชนจํานวน 165 คน ผ่าน 5 หลักสูตร 3) การจัดตั้งศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการทองเที่ยวชุมชนโดยเน้นการดําเนินกิจกรรม 4 แนวทางได้แก่ การให้ ความรู้ผ่านผ่านเครือข่ายออนไลน์ การนําวิทยากรหรือปราชญ์ในพื้นที่เข้ามาให้ความรู้แก่เยาวชน การแทรก กิจกรรมการพัฒนาในกิจกรรมการเรียน และการจัดกิจกรรมผ่านชมรมมัคคุเทศน์ของโรงเรียน 4) เครือข่าย ระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนมีหน่วยงานเข้าร่วมในเบื้องต้นจํานวน 9 หน่วยงาน โดยมีการดําเนินกิจกรรมใน 4 แนวทางคือ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนรู้ข้ามพื้นที่ การแลกเปลี่ยน วิทยากร และการส่งต่อนักท่องเที่ยวItem การพัฒนาชุมชนสขุภาวะและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกชว่งวัยตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2024-04-29) ดังนภสร ณ ป้อมเพชร; สมศักดิ์ เจริญพูล; จันทรกานต์ ทรงเดช; ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์; สุชาดา โทผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการและศักยภาพชุมชน รวมทั้งรูปแบบชุมชนสุขภาวะ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำคู่มือชุมชน สร้างแกนนำกิจกรรมชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และสัมมนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง ข้อมูลเชงิปริมาณที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์ตามกรอบของ CIPP model ก่อนทำการอบรมแกนนำตามคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึน้ ผลการศึกษา พบว่า สภาพการณ์ด้านสุขภาวะมีค่าที่ร้อยละ 84.95-97.96 ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าร้อยละ 72.96-83.67 ส่วนสภาพการณ์ด้านชุมชนและด้านความต้องการของประชาชนเพื่อการพัฒนาเป็นชุมชนสุขภาวะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบชุมชนสุขภาวะประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภท ได้แก่ 1) การนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2) การดูแลสุขภาพกายด้วยตนเอง 3) การออกกำลังกาย และ 4) อาหารสุขภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวต้องมีลักษณะกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์ หรือวัตถุดิบประกอบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน และผู้วิจัยได้ทำการอบรมแกนนำประประชาชนที่สนใจกว่า 60 คนผ่านคู่มือ ที่พัฒนาขนึ้เพื่อส่งเสริมการสรา้งผลิตภัณฑ์ 3 ได้แก่ 1) ลูกประคบสมุนไพรสด 2) น้ำพริกอบสมุนไพร และ 3) คัฟเค็กกล้วยน้ำว้าItem บทบาทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2022-12-20) ศักดา ศรีทิพย์รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทั้งปวง เป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐ และยังกำหนดสถานะความสัมพันธ์ ขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต่อกันและต่อประชาชน รัฐธรรมนูญจึงเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม โดยตรง ในฐานะที่เป็นโครงสร้างหลักของระบบเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของ ภาคเอกชน รัฐจะให้สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจแก่เอกชนก็ตาม แต่กฎกติกาต่าง ๆ ล้วนมาจากภาครัฐ ทั้งสิ้น หลักเกณฑ์บางอย่างก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิด ปัญหาทางสังคม หลักเกณฑ์บางอย่างเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน ซึ่งผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมมีดุลยภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางการค้าและการลงทุน การให้สิทธิในทรัพย์สินซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต เสรีภาพในการประกอบกิจการหรืออาชีพ และเสรีภาพ ในการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการรับรองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความเหลื่อมลำ้กัน กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม รัฐธรรมนูญก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปItem รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2020-05-08) ศิริมา สุวรรณศรี; เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; สมศักดิ์ เจริญพูล; พนารัตน์ พรมมาการศึกษาเรื่อง รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัย ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบ ผสมผสาน โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึก การสนทนากลุ่มย่อย ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากผู้สูงวัย จำนวน 297 คน และเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ จำนวน 33 คน การวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า สวัสดิการที่ผู้สูงวัยได้รับอยู่ในระดับมาก ความต้องการด้านเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสวัสดิการผู้สูงวัย อยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงวัยต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีการกำหนดนโยบาย และสนับสนุน งบประมาณด้านการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงวัย การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโพธิ์จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า จะต้องมีทุนในการดำเนินการ ที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ทุนด้านสังคม ทุนด้านการเงิน และทุนด้านกายภาพ 2. ด้านกระบวนการ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นประสาน หน่วยงาน/องค์กร ขั้นสร้างพันธสัญญา ขั้นบริหารจัดการ และขั้นพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์Item Causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand(Kasetsart Journal of Social Sciences, 2018-03-22) Khemapat Yenpiam; Somboon Sirisunhirun; Wisut WichitputchrapronThe purpose of this research was to study the consistency between the causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand and the empirical data, and to examine the factors which directly and indirectly affect collaboration between local administrative organizations in early-childhood education management in Thailand. The methodology in the research was quantitative, using questionnaires as a research tool. The sample based on simple random sampling and drawing lots consisted of 62 child development centers and 372 participants. The findings of this study showed that the casual relationship model was inconsistent with the empirical data and therefore had to be adjusted. It was also discovered that only the law, and financial and budget limitations have direct effects on collaboration between local administration organizations in early childhood education management in Thailand.Item เครือข่ายนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2023-12-26) เขมภัทท์ เย็นเปี่ยมบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครือข่ายนโยบายสาธารณะ กรณีศึกษากองทุนสนับสนนการสร้าง เสริมสุขภาพ โดยเน้นการพิจารณาการปฏิบัติงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีการสร้างเครือข่าย นโยบายสาธารณะใน 3 มิติ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร ประกอบด้วย (1) เครือข่ายด้านสุขภาพ เป็นเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมีความหลากหลายและถูกแบ่งออกเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคม มีหน้าที่ จัดตั้งหรือได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งทางตรงและทางอ้อมหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องมีบทบาทและหน้าที่ต่าง ๆ (2) เครือข่ายด้านวิชาการ เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการมีทั้งเครือข่ายประชาสังคม แบบจัดตั้งและสนับสนุน รวมถึงเครือข่ายประชาสังคมภาครัฐ เครือข่ายประชาสังคมประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีการร่วมมือกับหลายสถาบันการศึกษา และหน่วยงานวิจัย และ (3) เครือข่ายด้านสังคม เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมมีการแบ่งเป็นเครือข่ายประชา สังคมแบบจัดตั้งและสนับสนุน และเครือข่ายประชาสังคมภาครัฐ ในเครือข่ายประชาสังคมมีหน่วยงานที่มุ่งเน้นการ พัฒนานโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่หลากหลาย เครือข่ายภาครัฐมีร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความ ชำนาญในการดำเนินนโยบายสาธารณะItem รูปแบบการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน GAP ในจังหวัดสุพรรณบุรี(Journal of Buddhist Anthropology, 2022-08-31) เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม; ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรไม่ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกข้าวแบบปลอดภัยและประเมินโอกาสการผ่านการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เกษตรกรที่ไม่ปลูก ข้าวแบบปลอดภัย จำนวน 10 คน 2) เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 5 คน และ 3) เกษตรกรที่มีความพร้อมประเมินโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่มใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบต่อเนื่องและการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP คือ ขาดการจดบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียด ราคารับซื้อข้าวเปลือกปลอดภัยมีราคาไม่ต่างจาก ข้าวเปลือกทั่วไป สภาพอากาศมีผลต่อการระบาดของวัชพืช แมลงศัตรูข้าว และโรคพืชแนวปฏิบัติทางเกษตรที่ดีและเหมาะสม คือ มุ่งเน้นการลดต้นทุน การบันทึกข้อมูลแบบกลุ่มการสังเกตคุณภาพน้ำ การจัดการวัชพืชโดยการตัดหญ้าบริเวณคันนา แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อเตรียมการเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐานที่ดีและเหมาะสมควรอยู่บนหลักการ "ทำให้ง่าย" คือ ง่ายต่อความเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ ผลการประเมินโอกาส การผ่านรับรองมาตรฐาน พบว่า เกษตรกรทุกรายมีโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐานGAP ทั้งหมดItem แนวทางการยกระดับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ(วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2023-12-26) อานุภาพ รักษ์สุวรรณ; มนตรี พานิชยานุวัฒน์นับตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในปี พ.ศ.2557 ยังไม่มีการศึกษาในเชิงระบบเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ศพอส. บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและนโยบายการจัดตั้ง ศพอส. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค้นหาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อยกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. โดยใช้การวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับศพอส. และใช้แบบสอบถามเพื่อทราบความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการดำเนินงานของ ศพอส. ผลการวิจัยพบว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้มี ศพอส. ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในพื้นที่ซึ่งผู้สูงอายุมภูมิลำเนาอยู่โดยกรมกิจการผู้สูงอายุมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประสานงานและกำกับดูแลการจัดตั้งและการดำเนินงานของ ศพอส. กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของ ศพอส. ประกอบด้วย ปัญหาด้านภาพลักษณ์และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของผู้สูงอายุเกี่ยวกับที่มาของ ศพอส, การขาดการให้ความสำคัญกับคุณสมบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและศักยภาพของบุคลากรที่จะมาขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศพอส. ปัญหาและ ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณและบุคลากรสำหรับการขับเคลื่อน ศพอส. การขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงของ ศพอส. และไม่สามารถใช้เป็น ข้อมูลสำหรับการพัฒนา ศพอส. และปัญหาการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความยั่งยืนของการดำเนินงานของ ศพอส. ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. ประกอบด้วย 1) กรมกิจการผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อน ศพอส. 2) กรมกิจการผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ ศพอส. และใช้ผลการประเมินดังกล่าวในการ พัฒนามาตรฐาน ศพอส. 3) กรมกิจการผู้สูงอายุจะต้องจัดเตรียมบุคลากรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบ เพื่อรับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับ ศพอส. ในอนาคต และ 4) กรมกิจการผู้สูงอายุต้อง พิจารณายกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. ไปสู่การเป็นศูนย์ให้บริการผู้สูงอายุแบบเบ็ดเสร็จคำสำคัญItem การปฏิรูประบบราชการไทย : จากอดีตสู่การเป็นเครือข่ายการจัดการภาครัฐเครือข่ายการจัดการภาครัฐ(วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ, 2023-12-06) อานุภาพ รักษ์สุวรรณเครือข่ายการจัดการภาครัฐเป็นแนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐที่กำลังได้รับการกล่าวถึง ในปัจจุบันโดยอาศัย การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ในการจัดทำ และส่งมอบบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ระบบและกลไกการ บริหารราชการแผ่นดินของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถูกออกแบบมา โดยเน้นการปกครองแบบรวมศูนย์ อำนาจแต่ละหน่วยงาน ถูกออกแบบให้มีบทบาท และทำงานตามหน้าที่เฉพาะด้าน (Function) ของตนเองเป็น หลักและได้รับการวิจารณ์ว่าขาดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ดังนั้น ในบทความนี้ จึง นำเสนอพัฒนาการของแนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐพัฒนาการของระบบราชการ และกลไกการบริหาร ราชการแผ่นดินของไทย และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบราชการไทยกับการเป็นเครือข่ายการจัดการภาครัฐ พร้อม ทั้งข้อเสนอแนะItem การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายผู้สูงอายุ: ศึกษาประเทศนอร์เวย์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย(วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 2023-06-29) ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์; พรเลิศ อาภานุทัต; อานุภาพ รักษ์สุวรรณ; ธีรพล พงษ์บัวบทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษานโยบายผู้สูงอายุในประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และ 2) เปรียบเทียบเบื้องต้นของนโยบายผู้สูงอายุของประเทศทั้งสามกับประเทศไทย โดยใช้ตัวแบบของ Walt & Gilson (1994) การศึกษาพบว่า ในด้านบริบท นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมีอัตราผู้สูงอายุสูงมาก ในขณะที่ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งมีอัตราผู้มีรายได้น้อยมากกว่าประเทศทั้งสาม ในด้านเนื้อหาของนโยบาย ประเทศทั้งสามมีนโยบายผู้สูงอายุที่ครอบคลุมเรื่องการประกันสุขภาพ การดูแลรักษาทางการแพทย์ ที่พักในระยะสั้นและระยะยาว การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ และการขยายอายุการเกษียณ ส่วนนโยบายและมาตรการส่วนใหญ่ของไทยเน้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางสังคมเนื่องจากจำนวนผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก ในด้านกระบวนการหรือกลไก นอร์เวย์มีระบบบำนาญแห่งชาติที่เข้มแข็ง ญี่ปุ่นมีระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวที่ดี สิงคโปร์มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง สำหรับไทยมีกองทุนประกันสังคมและเบี้ยยังชีพ สำหรับด้านหน่วยปฏิบัติของนโยบาย นอร์เวย์ใช้ท้องถิ่นและอาสาสมัคร ญี่ปุ่นให้ท้องถิ่น ผู้ประกอบการทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร และต้นทุนทางสังคมอื่น สิงคโปร์เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่ไทยมีหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน ในส่วนสุดท้ายบทความนี้ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุในไทยItem การประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน(วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2022-06-24) เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามกรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพื่อจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลตัวชี้วัดทั้งระดับผลลัพธ์และระดับผลผลิตภายใต้กรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการ วิจัยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนจำนวน 1,250 คนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับ ทำการกระจายการเก็บข้อมูลจากประชาชนจำแนกตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบูรณาการ เรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม จังหวัด (ฉบับที่ 3) แบ่งออกเป็น 7 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ และส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน สอบถามกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งทางตรงและทางสนับสนุน จำนวน 42 คน โดยจำแนกการสัมภาษณ์ตามพื้นที่เช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรการ ซึ่งจาการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมพบว่าผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการจำแนกตามลักษณะเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเคยหรือไม่เคยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ลักษณะบริบทชุมชนที่อยู่อาศัย และการมีหรือไม่มีผู้นำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในมาตรการที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สินทั้งของตนเองและบุคคลอื่นให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม นอกนั้นมาตรการอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพของประชาชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการป้องกันอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีค่าเฉลียอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความหวาดกลัวของประชาชนต่อภัยอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมค่าเฉลี่ยในระดับมาก จึงควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในสังคมร่วมกันให้กับเยาวชนตั้งแต่ในระดับวัยเรียน ปรับทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมให้ชุมชนมีโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันการอาชญากรรมโดยเฉพาะการให้ความรู้ในการป้องกันภัย หาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนในการกระตุ้นในประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นItem ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560(วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 2024-05-28) เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; สมศักดิ์ เจริญพูล; รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจันรายงานวิจัย เรื่อง “ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากประชากรที่หลากหลายจำนวน 2,641 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ได้แก่ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 สถิติคำร้องตามมาตรา 213 การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและของต่างประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนทั่วไปมีความรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพ หน้าที่ของคนไทย หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยมีหน้าที่ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้าที่เสียภาษีอากร ด้านความเข้าใจต่อการยื่นคำร้องประชาชนมีความเข้าใจในระดับน้อย ด้านทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการยื่นคำร้องเห็นว่า ผู้ที่ยื่นคำร้องโดยตรงได้ดีที่สุดคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิ ด้านกระบวนการยื่นคำร้องจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำร้องมากขึ้นหากมีการกำหนดรูปแบบการร้องทุกข์ต่อศาลรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน ด้านการรับคำร้องจะเป็นประโยชน์หากมีการจัดหาบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำในการเขียนคำร้องแก่ผู้มายื่นคำร้องที่ตามหลักเกณฑ์ถูกต้อง และด้านความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องประชาชนคาดหวังว่าจะมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการขั้นตอนการยื่นคำร้องและการพิจารณาคดีของศาล ประชาชนคาดหวังว่าขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน มีความชัดเจน และด้านผลของคดีประชาชนคาดหวังว่าคำวินิจฉัยจะเป็นที่ยอมรับของคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย