SLP-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing SLP-Article by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 39
Results Per Page
Sort Options
Item Causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand(Kasetsart Journal of Social Sciences, 2018-03-22) Khemapat Yenpiam; Somboon Sirisunhirun; Wisut WichitputchrapronThe purpose of this research was to study the consistency between the causal relationship model of factors affecting collaboration between local administrative organizations in early childhood education management in Thailand and the empirical data, and to examine the factors which directly and indirectly affect collaboration between local administrative organizations in early-childhood education management in Thailand. The methodology in the research was quantitative, using questionnaires as a research tool. The sample based on simple random sampling and drawing lots consisted of 62 child development centers and 372 participants. The findings of this study showed that the casual relationship model was inconsistent with the empirical data and therefore had to be adjusted. It was also discovered that only the law, and financial and budget limitations have direct effects on collaboration between local administration organizations in early childhood education management in Thailand.Item รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2020-05-08) ศิริมา สุวรรณศรี; เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; สมศักดิ์ เจริญพูล; พนารัตน์ พรมมาการศึกษาเรื่อง รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัย ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบ ผสมผสาน โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึก การสนทนากลุ่มย่อย ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากผู้สูงวัย จำนวน 297 คน และเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ จำนวน 33 คน การวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า สวัสดิการที่ผู้สูงวัยได้รับอยู่ในระดับมาก ความต้องการด้านเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสวัสดิการผู้สูงวัย อยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงวัยต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีการกำหนดนโยบาย และสนับสนุน งบประมาณด้านการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงวัย การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโพธิ์จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า จะต้องมีทุนในการดำเนินการ ที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ทุนด้านสังคม ทุนด้านการเงิน และทุนด้านกายภาพ 2. ด้านกระบวนการ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นประสาน หน่วยงาน/องค์กร ขั้นสร้างพันธสัญญา ขั้นบริหารจัดการ และขั้นพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์Item รัฐกับนโนทัศน์ทางกฎหมายและการเมือง(วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2020-08) ธนภัทร ปัจฉิมม์; รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจันในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ว่าด้วยรัฐกับกฎหมายและการเมือง ซึ่งแนวคิด ดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการพิจารณา “รัฐ” ที่ปรากฏขึ้นในมิติของการดำรงอยู่จริงทางกฎหมาย ในขณะที่คำอธิบาย โดยทั่วไปมักพิจารณา “รัฐ” ในฐานะเป็นหน่วยทางสังคมที่ดำรงอยู่แยกต่างหากจาก “กฎหมาย” กล่าวคือ รัฐ จะปรากฏขึ้นในฐานะที่เป็นหน่วยทางการปกครองซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรวมกันตัวของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ สังคมและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระในตัวเองและมีอยู่ก่อนกฎหมาย กฎหมายจึงเกิดขึ้นจากการเป็นรัฐที่มีฐานะ ในการดำรงอยู่ของระเบียบทางกฎหมาย และปรากฏขึ้นเป็น “รูปแบบการปกครอง” (Form of Government) แม้ว่าในแต่ละรัฐจะมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันก็ล้วนแต่มีเงื่อนไขและวิธีการสร้างระเบียบทางสังคม และระเบียบทางกฎหมายเฉกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าในสมัยใหม่ สถานที่แห่งใด หรือในวัฒนธรรมใดคำว่า “กฎหมาย” ย่อมมีนัยถึงเทคนิคทางสังคมอันมีรูปแบบเฉพาะของระเบียบที่มีอำนาจบังคับเสมอ ดังนั้น แม้ว่า กฎหมายสังคมโบราณกับสังคมสมัยใหม่ ต่างชาติต่างภาษาที่แตกต่างกันแต่ก็มีแก่นแท้ร่วมกัน คือ การมีเทคนิคทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์มีการกระทำทางสังคมที่เป็นไปในทิศทางที่พึงปราถนา และโดยเหตุวัตถุแห่งการศึกษาของศาสตร์ว่าด้วยกฎหมายและการเมืองนั้นจะไม่สามารถกระทำได้อย่างครบถ้วน หากปราศจากตัวแปรสำคัญคือการพิจารณาจากความเป็นรัฐและกระบวนการทางการเมือง ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดข้อเท็จจริงในชุมชนการเมืองอันเป็นเป้าหมายให้ศาสตร์ด้านกฎหมายมุ่งพรรณาถึงบรรทัดฐานทางกฎหมายทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้น โดยการกระทำในลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมItem ผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน(วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 2020-12) ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัย เรื่อง“ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวน คดีเด็กและเยาวชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ศึกษาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน และศึกษาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการสัมมนากลุ่ม (Focus Group) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน สามารถทาได้โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น จากการกระทาความผิดของเด็กและเยาวชน ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวจาเป็นต้องมีเงื่อนไขสาคัญ ได้แก่ คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยหรือพนักงานสอบสวนเห็นว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นสามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ เช่น คดีความผิดลหุโทษ หรือความผิด ที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ คดีความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทและคดีความผิดที่มีโทษจาคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น ซึ่งผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวจะเกิดจากความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายในการยินยอม ยอมรับการชดใช้ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ในขณะที่มีข้อเสนอแนะนั้นให้มีการสร้างความรู้เชิงคุณค่าของกระบวนยุติธรรมเชิงสมานท์ให้กว้างขวางทั้งในระดับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานด้านยุติธรรมของรัฐItem รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรกับการจัดโครงสร้างสถาบันทางการเมืองไทย(วารสารโรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 2020-12) ธนภัทร ปัจฉิมม์แนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยม เป็นแนวคิดที่อาศัย “รัฐธรรมนูญ” ที่เป็นลายลักษณ์อักษรวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครอง สถาบันทางการเมือง และความสัมพันธ์ ขององค์กรดังกล่าว ตลอดจนการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ส่วนจะจัดวางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศ เป็นเบื้องต้น เช่น อุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย หรือแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทั้งสองรูปแบบต่างก็ใช้รัฐธรรมนูญวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบการปกครองทั้งสิ้น ดังนั้น “รัฐธรรมนูญ” จึงไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองการปกครองเฉพาะของฝ่ายเสรีประชาธิปไตยแต่ยังเป็นเครื่องมือของฝ่ายอื่น ๆ อีกด้วย เพียงแต่มีวิวัฒนาการมาจากฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งหากกล่าวเฉพาะในฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเมื่อใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองของประเทศแล้ว ประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ จะอาศัยแนวนโยบาย และอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลรูปแบบใดในการจัดโครงสร้างสถาบันทางการเมืองไทยItem จดหมายหลวงอุดมสมบัติ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021-02-15) ยอดชาย ชุติกาโมรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงเวลา ทกี่รงุรตันโกสนิทรม์คีวามเจรญิรงุ่เรอืงและมคีวามมนั่คงมง่ัคงั่ ในชว่งเวลา เพียง ครึ่งศตวรรษหลังจากสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ชนชั้นนำ สยามสามารถสร้างบ้านเมือง วางระบบการปกครองที่มีเสถียรภาพและ สามารถแผ่อำนาจการปกครองไปได้มากกว่าที่กรุงศรีอยุธยาเคยมีมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายอำนาจลง ไปทางหัวเมืองปักษ์ใต้และคาบสมุทรมลายู ที่กรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ไม่สามารถนำหัวเมืองมลายูมาอยู่ ภายใต้อำนาจได้อย่างมั่นคง การปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้และหัวเมืองประเทศราชในคาบสมุทรมลายูในสมัย รตันโกสนิทรน์มี้คีวามสำคญัทางยทุธศาสตรอ์ยา่งมาก จะเหน็ไดว้า่หลงัจากสรา้งกรงุรตันโกสนิทรเ์ปน็ราชธานี ไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา สรุสงิหนาท กรมพระราชวงับวรสถานมงคล เสดจ็ลงไปจดัการปกครองหวัเมอืงปกัษใ์ตแ้ละหวัเมอืงประเทศราช มลายูที่สำคัญให้เข้ามาอยู่ใน พระราชอาณาเขต เหตุที่หัวเมืองปักษ์ใต้และหัวเมืองประเทศราชมลายูมีความ สำคัญทั้งที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมากนั้น เนื่องจากเป็นดินแดนแห่งทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าของป่า และ การเป็นชุมทางการค้าทางเรือกับโลกภายนอก ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การจัดเก็บส่วยอากรต่าง ๆ ที่ กล่าวได้ว่าเป็นที่มาของรายได้จำนวนมากของแผ่นดินItem การพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่(วารสารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021-04-01) บูชิตา สังข์แก้ว; พันธรักษ์ ผูกพันธุ์; อัญชลี รัตนะบทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและภัยคุกคามป่าในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ยม สถานภาพ แนวทางการพัฒนา และตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมีสว่น ร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1. ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยมมีศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผืนป่าสักและ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ด้านเศรษฐกิจในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และด้านประวัติศาสตร์ สังคมและ วัฒนธรรมของชุมชน แต่ยังมีภัยคุกคามจากขบวนการทำลายป่า 2. ชุมชนตำบลสะเอียบมีส่วนร่วมในการ จัดการป่าแม่ยมในด้านการมีส่วนร่วมในแผนจัดการอุทยานแห่งชาติแม่ยม ด้านการจัดการพื้นที่การ จัดการผู้มาเยือน และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการจัดการป่า และ 3. ตัวแบบการจัดการป่าอย่าง ยั่งยืนเป็นแนวทางการจัดการป่าแบบูรณาการระหว่างภาครัฐ ชุมชน และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการป่า และการบูรณาการกิจกรรมการจัดการป่าแม่ยมItem รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี(หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2021-05-25) สุชาดา โทผล; สมศักดิ์ เจริญพูล; ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์; เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; จันทรกานต์ ทรงเดช; ณัฐธิดา กิจเนตร; เมฐินีย์ นุ้ยสุด; สุทัศน์ ด่านตระกูลThis research aims to investigate conditions and needs for health promotion of the elderly in the community and to investigate activity models for the wellbeing promotion of the elderly based on the community’s capacity. The quantitative data were collected by questionnaire from 340 elderly people, and the data were analyzed with descriptive statistics. Qualitative data were obtained from seminars for small groups of stakeholders three times, totaling 45 people, and the data were analyzed with content analysis. Research results are as follows:1. The condition and demand for promoting the well-being of the elderly were at the highest level in all issues, including education for promoting aging well-being. They were allowing communities to organize activities with leaders, groups, and networks to promote aging.2. Community potential in supporting activities to promote the wellbeing of the elderly found that the elderly agreed that it was necessary at a high level, which was community leaders, human resources, community communication, and participation in health promotion activities.3. The study of the elderly health promotion model based on community potential found that it consisted of 1) activities with characteristics that the elderly could do independently. 2) The activities are diverse, not boring, fun, consisting of knowledge, practice, and recreation. 3) Doing activities take less time, and 4) Do activities where equipment and materials are required to be easily obtained from the community.Item การประเมินผลการดาเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน(Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL), 2021-06) เอกอนงค์ ศรีสำอำงค์; ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามกรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพื่อจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลตัวชี้วัดทั้งระดับผลลัพธ์และระดับผลผลิตภายใต้กรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนจำนวน 1,250 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับ ทำการกระจายการเก็บข้อมูลจากประชาชนจำแนกตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบูรณาการ เรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) แบ่งออกเป็น 7 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน สอบถามกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งทางตรงและทางสนับสนุน จำนวน 42 คน โดยจำแนกการสัมภาษณ์ตามพื้นที่เช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรการ ซึ่งจาการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมพบว่าผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ จำแนกตามลักษณะเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเคยหรือไม่เคยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ลักษณะบริบทชุมชนที่อยู่อาศัย และการมีหรือไม่มีผู้นำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในมาตรการที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สินทั้งของตนเองและบุคคลอื่นให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม นอกนั้นมาตรการอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพของประชาชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการป้องกันอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความหวาดกลัวของประชาชนต่อภัยอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมค่าเฉลี่ยในระดับมาก จึงควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในสังคมร่วมกันให้กับเยาวชนตั้งแต่ในระดับวัยเรียน ปรับทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมว่าอาชญากรรมเป็นเรืองไกลตัว และเป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมให้ชุมชนมีโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันการอาชญากรรมโดยเฉพาะการให้ความรู้ในการป้องกันภัย หาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนในการกระตุ้นในประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นItem ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021-10-15) ยอดชาย ชุติกาโมตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย” โดย สายป่าน ปุริวรรณชนะ เล่มนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาตำนาน นิทาน เรื่องเล่าของชุมชนริมแม่น้ำและชายฝั่ง ทะเลภาคกลางของไทย โดยได้จำแนกประเภทของตำนานเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามศาสนากลุ่มชาติพันธุ์ และ ทำการวิเคราะห์ถึงรูปแบบลักษณะเนื้อเรื่องในตำนาน ตัวเอกในตำนาน การดำเนินเรื่องของตำนานที่สะท้อน ถึงการตั้งถิ่นฐาน ร่องรอยของจารีตและความเชื่อในท้องถิ่น นำมาสู่การอธิบายถึงคุณค่าของตำนาน นิทาน พื้นถิ่นต่าง ๆ ว่าคือการสร้างหรืออธิบายอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของคนในพื้นที่นั้น ตลอดจนมุมมองของ คนในพื้นที่นั้น ๆ ที่มีต่อคนต่างถิ่นที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรม ตลอดจนการสื่อถึงมุม มอง ความเข้าใจของกลุ่มชนในพื้นที่นั้นๆ กับชุมชนอื่นหรือท้องที่อื่น นำมาสู่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มชนในพื้นที่ต่าง ๆ ให้อยู่ร่วมกันในลักษณะพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายแต่เชื่อมร้อยเป็นเอกลักษณ์ ของตนเองได้Item Thai Police Officers and Prosecution of Children in Thailand(International Journal of Criminal Justice Science, 2021-12) Pemika Sanitphot; Sunee Kanyajit; Patchara Sinloyma; Thanapat PatchimThis research aimed to explore the police operations enacted in relation to the prosecution of children in Thailand, utilizing both quantitative (through a questionnaire completed by 325 respondents) and qualitative (through in-depth interviews conducted with 20 respondents). The sample constituted police officers, judges, public prosecutors and psychologists/social workers with experience in the prosecution of children. The research findings revealed that police officers in Thailand lacked knowledge and experience in relation to the prosecution of children, with regards to the pertinent legal provisions as well as prosecution principles which existed in this region. Furthermore, a standard operating procedure and a set of prosecution guidelines were also not being followed by the Thai police officers. These initiatives, if taken, would improve the capabilities of Thai police officers. Additionally, the current research also provided a model of standards for law enforcement entities to follow in the prosecution of children and juveniles in Thailand.Item การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-02-15) ภิญโญ คูวัฒนาเสนีย์การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมมนากลุ่ม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลของการวิจัยพบว่าบทบัญญัติของกฎีหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎีหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์รวมทั้งแนวคิดในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเป็นอุปสรรคในการปฏิิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในเจตนารมณ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมถึงความพร้อมในด้านงบประมาณและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิิบัติงาน และความร่วมมือของเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดและครอบครัวก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กเยาวชน และเพื่อพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนได้อย่างแท้จริงนั้น ควรมีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์แทนการดำเนินคดีอาญาItem COMMUNITY DEMOCRACY AND THE PROMOTION OF LOCAL DEVELOPMENT(PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 2022-06-13) Pawini ROTPRASOET; Jatupon DONGJIT; Pennapa WEBBThe Western democracy mainstream in Thailand led to a change of governance in the year 1932. Thailand has continued to evolve politically since the shift, including political activity focused solely on urban residents. Until the 1997 Constitution of Thailand was enforced, its provisions stipulated that Thai people shall participate in political activities especially at the local level possibly for the purpose of strengthening and developing local potential to achieve self-administration of public affairs using local social capital for the benefits and efficiency, reduce external dependence, form people gathering, meetings, consultations in accordance with democratic guidelines, creating civil society in the development of local communities leading to a self-reliant community also known as “Strengthening Community” based on the concept of community democracy. The concept and process of Community Democracy have been applied by a wide range of Thai communities. Local people in the community are pioneers to initiate the activities and participate in driving the process of participation with local government organizations or organizations through meetings, consultations, and integration between people and members from outside organizations to mutually make an agreement according to Social Contract concept. Through the foresaid concept, the community shall apply it and community democratic processes to utilize social capital for maximum benefits, achieving the guidelines for effective community management.Item กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) ยอดชาย ชุติกาโม“กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง” เป็นหน้งสือแปลบทประพันธ์กาพย์กลอนภาษาจีนของเหมาเจ๋อตุง ที่พยายามรักษาเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับภาษาจีนมากที่สุด โดยการใช้ฉันทลักษณ์ของไทย แม้ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้จะมิได้ระบุชื่อผู้แปลว่าเป็นใคร แต่คาดเดาได้ว่าคงเป็น "สหาย" ชาวไทยที่มีความแตกฉานในภาษาไทย-จีน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ของจีน จึงสามารถแปลออกมาได้อย่างสละสลวย ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาที่ผู้นิพนธ์ต้องการสื่อได้เป็นอย่างดีItem การประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน(วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2022-06-24) เอกอนงค์ ศรีสำอางค์; ธนภัทร ปัจฉิมม์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามกรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพื่อจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลตัวชี้วัดทั้งระดับผลลัพธ์และระดับผลผลิตภายใต้กรอบการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการ วิจัยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนจำนวน 1,250 คนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับ ทำการกระจายการเก็บข้อมูลจากประชาชนจำแนกตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบูรณาการ เรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม จังหวัด (ฉบับที่ 3) แบ่งออกเป็น 7 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ และส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน สอบถามกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมภาคประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งทางตรงและทางสนับสนุน จำนวน 42 คน โดยจำแนกการสัมภาษณ์ตามพื้นที่เช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรการ ซึ่งจาการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมพบว่าผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม 5 มาตรการจำแนกตามลักษณะเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเคยหรือไม่เคยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ลักษณะบริบทชุมชนที่อยู่อาศัย และการมีหรือไม่มีผู้นำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในมาตรการที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สินทั้งของตนเองและบุคคลอื่นให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม นอกนั้นมาตรการอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพของประชาชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการป้องกันอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีค่าเฉลียอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับความหวาดกลัวของประชาชนต่อภัยอาชญากรรมภายใต้มาตรการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมค่าเฉลี่ยในระดับมาก จึงควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในสังคมร่วมกันให้กับเยาวชนตั้งแต่ในระดับวัยเรียน ปรับทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมให้ชุมชนมีโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันการอาชญากรรมโดยเฉพาะการให้ความรู้ในการป้องกันภัย หาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนในการกระตุ้นในประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นItem การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 2022-06-30) โชคดี นพวรรณบทความ "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) กับการป้องกันการคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ" เป็นการศึกษาถึง หลักการ กลไก หรือมาตรการของ ITA หรือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และการปรับใช้กับข้อเท็จจริงการคอร์รัปชัน เพื่อศึกษาว่า ITA สามารถป้องกันการคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ ได้หรือไม่ และศึกษาแนวทางในการปรับปรุง ITA เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการป้องกัน การคอร์รัปชัน สำหรับกระบวนการศึกษาของบทความนี้ จะดำเนินการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการพิจารณา การคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ จากข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้เห็นรูปร่าง ภาพรวมลักษณะของคอร์รัปชัน และนำข้อสรุปจากเท็จจริง มาวิเคราะห์ ในการศึกษาในส่วนนี้จะใช้วิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงการคอร์รัปชันจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) สำหรับการวิเคราะห์จะเริ่มจากการทำความเข้าใจหลักการ และแนวทางที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขการคอร์รัปชัน โดยจะพิจารณาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และรวมถึงหลักกฎหมาย บทบัญญัติกฎหมาย ที่สนับสนุนให้นำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เพื่อให้เห็นเหตุผลเบื้องหลังของ ITA และจึงพิจารณาหลักการของ ITA ซึ่งประกอบ ด้วยแนวคิด วัตถุประสงค์ และกลไกต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาในส่วนนี้ทั้งหมดจะใช้วิธีค้นคว้าจาก เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) หลังจากนั้นจึงนำหลักการของ ITA มาวิเคราะห์ การปรับใช้เข้ากับข้อเท็จจริงก็จะได้ผลของการ ศึกษา คือ ประสิทธิภาพ และข้อจำกัดที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่บทสรุปที่ทำให้เห็นว่า ITA ยังมีข้อจำกัดในการป้องกันการคอร์รัปชันบางรูปแบบจึงได้ให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้นไว้ เพื่อปรับปรุงITA ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้Item มาตรการทางกฎหมายในการจัดการช้างเร่ร่อนของกรมปศุสัตว์(สัตวแพทย์มหานครสาร, 2022-08-12) บุณิกา จุลละโพธิ; ธนภัทร ปัจฉิมม์; อานุภาพ รักษ์สุวรรณ; ศักดา ศรีทิพย์วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาหลักกฎหมายของกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการช้างเร่ร่อน ปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายของกรมปศุสัตว์ในการจัดการช้างเร่ร่อน และแนวทางการบริหารจัดการช้างเร่ร่อนของกรมปศุสัตว์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสาร กฎหมาย รายงาน และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสีย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับช้าง มีทั้งหมด 22 ฉบับ เป็นกฎหมายที่สามารถนำมาบังคับใช้เมื่อได้รับการแจ้งเหตุพบช้างเร่ร่อน 10 ฉบับ และเป็นกฎหมายของกรมปศุสัตว์ 2 ฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง ลักษณะของยานพาหนะและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายช้าง การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ และ (2) พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้กับช้าง ปัญหาและอุปสรรคพบว่ามีกฎหมายเกี่ยวข้องกับช้างหลายฉบับ แต่ละฉบับมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกัน ทำให้ไม่มีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ เจ้าของช้างไม่มีความเกรงกลัวกฎหมาย เจ้าหน้าที่ขาดความเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขาดความร่วมมือในการทำงานหรือบูรณาการใช้กฎหมายร่วมกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเดิม เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานการบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ในภาพรวมทุกหน่วยงาน ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ เป็นการกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันให้เป็นเอกภาพ นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ควรใช้แนวทางการส่งเสริมและการสนับสนุนต่อเจ้าของช้าง เพื่อให้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสม มีอาหารและน้ำให้กับช้างอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง จะเป็นการแก้ไขปัญหาในภาพรวมอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืนItem รูปแบบการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน GAP ในจังหวัดสุพรรณบุรี(Journal of Buddhist Anthropology, 2022-08-31) เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม; ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรไม่ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกข้าวแบบปลอดภัยและประเมินโอกาสการผ่านการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เกษตรกรที่ไม่ปลูก ข้าวแบบปลอดภัย จำนวน 10 คน 2) เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 5 คน และ 3) เกษตรกรที่มีความพร้อมประเมินโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่มใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบต่อเนื่องและการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP คือ ขาดการจดบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียด ราคารับซื้อข้าวเปลือกปลอดภัยมีราคาไม่ต่างจาก ข้าวเปลือกทั่วไป สภาพอากาศมีผลต่อการระบาดของวัชพืช แมลงศัตรูข้าว และโรคพืชแนวปฏิบัติทางเกษตรที่ดีและเหมาะสม คือ มุ่งเน้นการลดต้นทุน การบันทึกข้อมูลแบบกลุ่มการสังเกตคุณภาพน้ำ การจัดการวัชพืชโดยการตัดหญ้าบริเวณคันนา แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อเตรียมการเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐานที่ดีและเหมาะสมควรอยู่บนหลักการ "ทำให้ง่าย" คือ ง่ายต่อความเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ ผลการประเมินโอกาส การผ่านรับรองมาตรฐาน พบว่า เกษตรกรทุกรายมีโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐานGAP ทั้งหมดItem บทบาทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2022-12-20) ศักดา ศรีทิพย์รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทั้งปวง เป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐ และยังกำหนดสถานะความสัมพันธ์ ขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต่อกันและต่อประชาชน รัฐธรรมนูญจึงเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม โดยตรง ในฐานะที่เป็นโครงสร้างหลักของระบบเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของ ภาคเอกชน รัฐจะให้สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจแก่เอกชนก็ตาม แต่กฎกติกาต่าง ๆ ล้วนมาจากภาครัฐ ทั้งสิ้น หลักเกณฑ์บางอย่างก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิด ปัญหาทางสังคม หลักเกณฑ์บางอย่างเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน ซึ่งผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมมีดุลยภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางการค้าและการลงทุน การให้สิทธิในทรัพย์สินซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต เสรีภาพในการประกอบกิจการหรืออาชีพ และเสรีภาพ ในการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการรับรองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความเหลื่อมลำ้กัน กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม รัฐธรรมนูญก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปItem การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซินดิเคท (Syndicate) ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2023-04-27) ภาวินี รอดประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการ คิดวิเคราะห์ของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาตPอการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการ จัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการ เมืองไทยสมัยใหม่ จำนวน 44 คน การวิจัยครั้งนี้เปdนการวิจัยทดลองเบื้องต้น ใช้แบบแผนการทดลองแบบ กลุ่มเดียว และทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการ จัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยผ่านการประเมินจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน และด้านรัฐศาสตร์ โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อ เปรียบเทียบคะแนนกPอนและหลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยใช้สถิติทดสอบ นี้ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบ ซินดิเคท (Syndicate) มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบซินดิเคท (Syndicate) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้าน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้าน ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด