การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

Loading...
Thumbnail Image
Date
2024-09-22
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์
Journal Title
การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
Recommended by
Abstract
การวิจัยเรื่องการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา ประการที่สองศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และประการที่สามเพื่อประเมินผลสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน เป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน จะเป็นรูปแบบที่ใช้เพื่อหันเหคดีจากการตั้งข้อกล่าวหาหรือการฟ้องร้องคดีในระบบยุติธรรมทางอาญาที่เป็นทางการ อาจเรียกได้ว่าเป็นการประชุมคดีเชิงสมานฉันท์ระหว่างผู้เสียหาย (รัฐ) และผู้กระทำความผิด ในขณะที่การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการในแผน รวมถึงการส่งเสริมในเรื่องทักษะอาชีพ การเรียน และการอบรม ซึ่งการกำหนดดังกล่าว จะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนแต่ละราย ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชน นอกจากนี้ยังพบว่า หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ ในคดีอาญา เป็นคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี และต้องสำนึกผิดในการกระทำ โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยจะร่วมกันจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน สำหรับการประเมินผลสำเร็จการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูครั้งนี้ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการดำเนินการ 3) ผลผลิตจากการดำเนินการ และ 4) ผลลัพธ์จากการดำเนินการ ซึ่งการประเมินผลดังกล่าว จะเป็นการทบทวนและช่วยเสริมให้แผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถกลับคืนสู่สังคม ชุมชนของตนได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก
Description
Citation
วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์
View online resources
Collections