การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

dc.contributor.authorธนภัทร ปัจฉิมม์
dc.date.accessioned2025-02-13T04:38:20Z
dc.date.available2025-02-13T04:38:20Z
dc.date.issued2024-09-22
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา ประการที่สองศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และประการที่สามเพื่อประเมินผลสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน เป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน จะเป็นรูปแบบที่ใช้เพื่อหันเหคดีจากการตั้งข้อกล่าวหาหรือการฟ้องร้องคดีในระบบยุติธรรมทางอาญาที่เป็นทางการ อาจเรียกได้ว่าเป็นการประชุมคดีเชิงสมานฉันท์ระหว่างผู้เสียหาย (รัฐ) และผู้กระทำความผิด ในขณะที่การจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการในแผน รวมถึงการส่งเสริมในเรื่องทักษะอาชีพ การเรียน และการอบรม ซึ่งการกำหนดดังกล่าว จะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนแต่ละราย ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชน นอกจากนี้ยังพบว่า หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ใช้ในการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ ในคดีอาญา เป็นคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี และต้องสำนึกผิดในการกระทำ โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยจะร่วมกันจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูในรูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน สำหรับการประเมินผลสำเร็จการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูครั้งนี้ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการดำเนินการ 3) ผลผลิตจากการดำเนินการ และ 4) ผลลัพธ์จากการดำเนินการ ซึ่งการประเมินผลดังกล่าว จะเป็นการทบทวนและช่วยเสริมให้แผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา และเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถกลับคืนสู่สังคม ชุมชนของตนได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก
dc.identifier.citationวารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์
dc.identifier.issn3027-8279
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3069
dc.language.isoth
dc.publisherวารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์
dc.relation.ispartofseries19; 3
dc.subjectแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู
dc.subjectการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
dc.subjectเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ
dc.titleการจัดทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
dc.typeArticle
mods.location.urlhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/271001
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
SLP_ART_2567_001.pdf
Size:
292.3 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Default Image
Name:
license.txt
Size:
371 B
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description:
Collections