SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results by Subject "POLL"
Now showing 1 - 20 of 22
Results Per Page
Sort Options
Item ผลการสำรวจ : "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนธันวาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-29) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,154 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-25 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนธันวาคม 2567 เฉลี่ย 4.97 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ได้ 4.92 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.37 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส เฉลี่ย 4.60 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.25 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.36 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 45.78 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 33.13 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 9,000 บาท ร้อยละ 40.05 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบรัฐบาลเพื่อความโปร่งใส ร้อยละ 42.72 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ดัชนีการเมืองไทยปิดท้ายปีด้วยการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แสดงให้ถึงความพยายามของรัฐบาลในการเร่งสร้างผลงาน ด้านคะแนนนายกฯ ที่ลดลงก็สะท้อนถึงความคาดหวังที่ยังตอบสนองได้ไม่ดีพอ การสร้างความเชื่อมั่นในปีใหม่จึงขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ดัชนีการเมืองเดือนสุดท้ายของปีจึงเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่า “รัฐบาลนั้นเร่งเกม มีผลงานเพิ่ม แต่เศรษฐกิจยังเป็นจุดอ่อน”Item ผลการสำรวจ : 3 เดือนรัฐบาลแพทองธาร(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-15) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “3 เดือนรัฐบาลแพทองธาร” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,162 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองจุดแข็งของรัฐบาลแพทองธาร คือ การมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ร้อยละ 49.38 ภาพรวมผลงาน 3 เดือนของรัฐบาล ยังประเมินไม่ได้ ร้อยละ 39.85 ต่ำกว่าที่คาดหวัง ร้อยละ 28.14 และยังไม่เชื่อมั่นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 54.99 โดยมองว่านโยบายที่เห็นผลชัดเจนที่สุดใน 3 เดือนที่ผ่านมา คือ การแจกเงิน 10,000 บาท ร้อยละ 71.44 เรื่องที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วนยังคงเป็นเรื่องการแก้ปัญหาค่าครองชีพ สร้างงาน เพิ่มรายได้ ร้อยละ 70.84 สุดท้ายสิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ในฐานะผู้นำประเทศ คือ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดค่าครองชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนอย่างทั่วถึง ร้อยละ 49.14 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลสะท้อนให้เห็นว่า ผลงาน 3 เดือนรัฐบาลแพทองธารยังประเมินไม่ได้ และบางส่วนมองว่าต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ แม้นโยบายระยะสั้นจะสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนได้ระดับหนึ่ง แต่ในฐานะที่รัฐบาลมีที่ปรึกษามากประสบการณ์และขึ้นชื่อเรื่องการทำให้ “คนไทยมีกิน มีใช้” ประชาชนจึงคาดหวังเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ “สื่อสารเป็น-เห็นผลชัด-จับต้องได้” ให้มากขึ้นItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-27) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 77.47 อยากให้สื่อนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ให้ข้อมูลครบถ้วน ร้อยละ 67.74 โดยมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่อไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าระหว่างกัน ร้อยละ 73.70 หลังการเลือกตั้งเศรษฐกิจไทยก็น่าจะยังเหมือนเดิม ร้อยละ 57.02 โดยคิดว่าคามาลา แฮร์ริส (พรรคเดโมแครต) จะชนะการเลือกตั้ง ร้อยละ 43.06 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยคาดหวังให้สื่อไทยรายงานอย่างเป็นกลาง ครบถ้วน และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทย ในด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้คาดว่าคามาลา แฮร์ริสจะชนะ โดยมีคะแนนนำไม่เกิน 5% ซึ่งสอดคล้องกับผลโพลหลายสำนักในสหรัฐฯ จึงต้องจับตาดูว่าผลจริง จะเป็นอย่างไรItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-08) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,246 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 3-6 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 56.02 โดยเป็นแผนเที่ยวในประเทศ ร้อยละ 90.26 ต่างประเทศ ร้อยละ 9.74 จังหวัดที่อยากไปเที่ยวมากที่สุด คือ เชียงใหม่ ร้อยละ 56.83 รองลงมาคือ เชียงราย ร้อยละ 49.05 โดยคาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ เฉลี่ยประมาณ 17,317.10 บาท/ต่อคน จากที่รัฐบาลประกาศจะมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ของขวัญที่อยากได้มากที่สุด คือ มาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ ร้อยละ 59.95 รองลงมาคือ ช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงานต่าง ๆ ร้อยละ 58.03 ทั้งนี้แนวคิดในการ “มอบของขวัญให้ประชาชนช่วง ปีใหม่จากรัฐบาล” มองว่าควรเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 60.76 สุดท้ายปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไขก่อนปีใหม่ คือ ปัญหาค่าครองชีพ ร้อยละ 66.48 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนคาดหวังจากรัฐบาล คือ มาตรการแจกเงิน สะท้อนภาระค่าครองชีพที่เป็นปัญหาหลักในปัจจุบัน ความต้องการของประชาชนไม่ได้เป็นเพียง “ความหวัง” แต่เป็น “สัญญาณ” ที่สะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในประเทศ รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสช่วงปีใหม่พัฒนานโยบายเศรษฐกิจที่มีผลยั่งยืน เพื่อไม่ให้ “ของขวัญ” กลายเป็นเรื่องพิเศษแต่กลับสะท้อนปัญหาพื้นฐานในสังคมItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-23) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ส่งผลกระทบทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ร้อยละ51.01 โดยคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด คือ เรื่องค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว ร้อยละ 82.94 ทั้งนี้เห็นว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 69.50 โดยนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ร้อยละ 76.58 เมื่อถามว่าหากอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างมองว่าเศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 41.63 สุดท้ายเมื่อคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2568 นี้ ร้อยละ 46.01 มองว่าก็น่าจะเหมือนเดิมเช่นกัน นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เป็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แม้รัฐบาลพยายามเร่งอัดฉีดเงินหมื่นเข้าไปกระตุ้น แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า นี่คือความท้าทายของรัฐบาลเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างชื่อจากความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ วันนี้ต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศItem ผลการสำรวจ : ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-09) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ เรื่อง “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,386 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.28 ไปเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา อีกร้อยละ 36.72 ไม่ได้ไปเพราะติดภารกิจ ต้องทำงาน โดยคิดว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์เพราะติดธุระ ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ ร้อยละ 68.99 รองลงมาคือ ตรงกับวันเสาร์ ร้อยละ 47.18 ทั้งนี้มองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 52.89 เพราะผู้สมัครท้องถิ่นเป็นคนในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาของชุมชนได้ดี มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่า โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งนายก อบจ. ครั้งนี้ คือ ประชาชนมีแนวคิดใหม่ ๆ ในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ร้อยละ 54.91 สุดท้ายในแง่ของผลการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนั้นอาจต้องรอดูผลลัพธ์ในระยะยาว ร้อยละ 26.98 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ควันหลงการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของอำนาจในแต่ละพื้นที่ ผู้ใช้สิทธิที่ลดลงจากความไม่สะดวกและการเลือกตั้งที่ตรงกับวันเสาร์และการตั้งคำถามถึงการประชาสัมพันธ์ของ กกต. สร้างความสงสัยให้กับประชาชน สำหรับพรรคการเมืองที่ลงสนามแบบเปิดหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ประชาชนต้องการ “ผู้นำใกล้ชิด” และ “เข้าใจพื้นที่” มากกว่าผู้นำในเชิงนโยบายกว้าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการเมืองระดับชาติItem ผลการสำรวจ : ความคาดหวังของประชาชน ต่อ ครม.ชุดใหม่(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-08-25) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชน ต่อ ครม.ชุดใหม่” ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,164 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างอยากให้ ครม. ชุดใหม่ควรต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ร้อยละ 74.43 และคาดหวังว่าจะทำงานดีขึ้น กระทรวงต่าง ๆ ร่วมมือกันทำงานได้ดีขึ้น ร้อยละ 70.30 โดยมองว่า “ความซื่อสัตย์และจริยธรรม” ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือก ครม.ชุดใหม่ ร้อยละ 84.19 การปรับ ครม. ครั้งนี้คาดหวังว่าน่าจะส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลดีขึ้น ร้อยละ 46.39 สุดท้ายการปรับ ครม. จะส่งผลต่อสถานการณ์บ้านเมืองอย่างไรนั้น ยังคาดการณ์อะไรไม่ได้ ร้อยละ 30.50 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลไม่ว่าจะกี่ครั้งของรัฐบาลนี้ ประชาชนยังคงให้ความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ค่าครองชีพ ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่กระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยมีความหวังว่า ครม. ชุดใหม่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ โปร่งใส เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล แม้ประชาชนจะมีความหวังแต่ก็ยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมืองจะไปในทิศทางใด เนื่องจากยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้Item ผลการสำรวจ : ความคาดหวังต่อการทำงานของ “ผบ.ตร.คนใหม่”(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-13) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังต่อการทำงานของ ผบ.ตร.คนใหม่” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,244 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัญหาขององค์กรตำรวจ ณ วันนี้ คือ การมีความขัดแย้งภายในองค์กร ร้อยละ 65.84 สิ่งที่อยากให้ผบ.ตร.คนใหม่ เร่งดำเนินการ คือ การปฏิรูปองค์กรตำรวจให้โปร่งใส ร้อยละ 76.49 โดยรวมค่อนข้างคาดหวังกับ ผบ.ตร. คนใหม่ ร้อยละ 45.90 สิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น คือ ต้องยกระดับมาตรฐานการทำงานของตำรวจให้ดีขึ้น ร้อยละ 73.70 สุดท้ายสิ่งที่อยากบอกเป็นพิเศษกับ ผบ.ตร.คนใหม่ คือ ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ทำเพื่อประชาชน ร้อยละ 43.13 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลการสำรวจชี้ว่าความขัดแย้งภายในองค์กรตำรวจเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม ประชาชนจึงอยากเห็นการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ยกระดับมาตรฐานการทำงาน สร้างผลงานที่จับต้องได้ และเร่งจัดการปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์โดยด่วน โดยมีความหวังว่า ผบ.ตร.คนใหม่จะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งทำงานช่วยเหลือประชาชนPublication ผลการสำรวจ : ความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-06) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน (สำรวจทางภาคสนาม) พบว่า สถานะทางการเงินของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินไม่พอใช้และมีหนี้ ร้อยละ 46.75 จากเงินที่ได้รับได้นำไปใช้ซื้อของกินของใช้ ร้อยละ 47.00 โดยมองว่านโยบายนี้ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้มาก ร้อยละ 57.75 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้พอสมควร ร้อยละ 53.61 ส่งผลให้ค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 50.65 อยากให้รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนเพิ่ม คือ การเพิ่มเงินเดิน ค่าจ้าง สร้างงาน สร้างอาชีพ ร้อยละ 31.70 ทั้งนี้จากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ทำให้รู้สึกชื่นชอบพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.70 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาทช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยเงินส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ซื้อของกินของใช้ที่จำเป็นและชำระหนี้ โดยมีจำนวนไม่มากนักที่จะนำไปลงทุนต่อยอด แม้จะเห็นว่านโยบายนี้ช่วยเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลเพื่อไทย แต่ประชาชนยังคงต้องการเพิ่มค่าจ้าง การจ้างงาน และสร้างอาชีพ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงได้Item ผลการสำรวจ : ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-16) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,255 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ณ วันนี้ เป็นปัญหาที่รุนแรง ร้อยละ 88.61 โดยตั้งแต่ ปี 2562 ที่เริ่มมีปัญหาฝุ่นจนถึงปัจจุบันส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ซื้อหน้ากาก ซื้อยา ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ร้อยละ 71.16 โดยมองว่าการแก้ไขปัญหาฝุ่นของรัฐบาลยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 73.39 ทั้งนี้รัฐบาลควรมีมาตรการด้วยการควบคุมการเผาที่ทำให้เกิดมลพิษอย่างเข้มงวด ร้อยละ 82.46 ทั้งนี้หน่วยงานที่ควรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 คือ กรมควบคุมมลพิษ ร้อยละ 75.82 รองลงมาคือ นายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 63.13 ส่วนในอนาคตประเทศไทยจะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นPM 2.5 ได้สำเร็จหรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างมองว่ายากที่จะแก้ไขได้ มาจากหลายสาเหตุ เป็นปัญหาที่วนกลับมาซ้ำ ร้อยละ 62.95 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่รุนแรงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนผ่านผลโพล ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน แม้ทุกฝ่ายจะตระหนักถึงสาเหตุหลักของมลพิษ แต่การแก้ไขกลับยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก สิ่งที่ประชาชนต้องการไม่ใช่แค่การให้ข้อมูลค่าฝุ่นรายวัน แต่เป็นมาตรการที่เข้มข้นและบังคับใช้จริงจังและทันที ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่านอกจากคุณภาพอากาศที่แย่ลงแล้ว ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลก็อาจถดถอยตามไปด้วยItem ผลการสำรวจ : ดัชนีครูไทย ปี 2567 “เรียนดี มีความสุข”(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-01-16) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 20 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,089 คน ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2567 พบว่า ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2567 เต็ม 10 ได้ 7.94 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากปี 66 ได้ 7.90 คะแนน) โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ เฉลี่ย 8.22 คะแนน รองลงมาคือ มีความเมตตา มีจิตใจโอบอ้อมอารี เฉลี่ย 8.18 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน เฉลี่ย 7.54 คะแนน (ได้คะแนนต่ำสุด 5 ปีติดต่อกัน) จุดเด่นของครูไทยในปี 2567 คือ ขยัน อดทน ทุ่มเท เสียสละ ร้อยละ 60.70 จุดด้อยของครูไทย คือ ขาดงบประมาณสนับสุนน ร้อยละ 55.33 จากนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” กลุ่มตัวอย่างมองว่ามีความสำคัญต่อครูและนักเรียนในแง่ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ร้อยละ 63.32 ทั้งนี้ตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา สิ่งที่ประชาชนภูมิใจในตัวครู คือ เข้าใจผู้เรียน รับฟังความเห็น ให้คำปรึกษา ร้อยละ 51.57 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากคะแนนดัชนีความเชื่อมั่นต่อครูไทย 5 ปี พบว่า คะแนนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้คะแนนในปี 2565 ลดลง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ครูต้องปรับตัวสู่การสอนออนไลน์ ซึ่งมีข้อจำกัดหลายด้าน แต่การฟื้นตัวในปี 2566 และ 2567 ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามของครูในการพัฒนาตนเอง โดยในปี 2567 คะแนนอยู่ที่ 7.94 คะแนน สูงที่สุดในรอบ 5 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับและความเชื่อมั่นในบทบาทของครูจากประชาชน แม้จะเผชิญกับข้อจำกัด เช่น ขาดงบประมาณ และภาระงานที่หนักเกินไป แต่ครูไทยก็ยังมีศักยภาพและปรับตัวได้ดี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งส่งเสริมการพัฒนาครูในทุกมิติ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน เย อาชีพ เย .19Item ผลการสำรวจ : ที่สุดแห่งปี 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-31) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2567” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14,246 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) สำรวจระหว่างวันที่ 13-27 ธันวาคม 2567 พบว่า เหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2567 คือ หมูเด้ง โด่งดังทั่วโลก ร้อยละ 26.43 คดีดิไอคอน ร้อยละ 24.54 และยุบพรรคก้าวไกล ร้อยละ 17.95 นักร้องเพลงไทยสากลชายที่สุดแห่งปี คือ เจฟ ซาเตอร์ ร้อยละ 30.65 ฝ่ายหญิง คือ ปาล์มมี่ ร้อยละ 28.38 นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี คือ ก้อง ห้วยไร่ (ปีที่ 4 ติดต่อกัน) ร้อยละ 40.58 ฝ่ายหญิง คือ ลำไย ไหทองคำ ร้อยละ 34.74 ดาราชายที่สุดแห่งปี คือ ต่อ ธนภพ ร้อยละ 30.41 ฝ่ายหญิง คือ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ร้อยละ 29.22 นักกีฬาชายที่สุดแห่งปี คือ วิว กุลวุฒิ ร้อยละ 44.35 ฝ่ายหญิง คือ น้องเทนนิส (ปีที่ 4 ติดต่อกัน) ร้อยละ 46.22 นักการเมืองชายที่สุดแห่งปี คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 35.89 ฝ่ายหญิง คือ แพทองธาร ร้อยละ 36.77 นักการศึกษาที่สุดแห่งปี 2567 คือ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ร้อยละ 31.13 ด้านผู้ทรงอิทธิพลของไทยแห่งปี คือ กรรชัย กำเนิดพลอย ร้อยละ 40.69 และความหวัง ในปีหน้า 2568 คือ คนไทยมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ร้อยละ 30.15 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจที่สุดแห่งปี “น้องหมูเด้ง” เป็นปรากฏการณ์ที่ครองใจทั้งไทยและต่างชาติ สะท้อนความนิยมที่ตอบโจทย์ความเครียดสะสมจากข่าวหนักหน่วงตลอดปี เช่น การยุบพรรคก้าวไกลและคดีดิไอคอน คนไทยจึงหันมาหาความสุขจากบันเทิง ตั้งแต่น้องหมูเด้ง ละคร ซีรีส์ เพลง ไปจนถึงการเชียร์กีฬา ขณะเดียวกันบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปีอย่างกรรชัย กำเนิดพลอย สะท้อนพลังของคนในวงการสื่อที่สร้างแรงกระเพื่อมในสังคม โดยความหวังปีหน้าคนไทยยังคงมองไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นสำคัญItem ผลการสำรวจ : นายก อบจ. กับการทำงานท้องถิ่น(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-11-16) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ทั่วประเทศ เรื่อง “นายก อบจ. กับการทำงานท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,039 คน สำรวจทางภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามข่าวการเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยละ 71.44 โดยตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากความชอบ ภาพลักษณ์ ประวัติ นิสัย ร้อยละ 56.83 เรื่องที่อยากให้ท้องถิ่นพัฒนามากที่สุด คือ พัฒนาไฟฟ้า ประปา ถนน ร้อยละ 62.02 โดยจะเลือกจากผู้สมัครคนเก่า ร้อยละ 50.71 ทั้งนี้พรรคการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาท้องถิ่นมากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.15 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า การเมืองท้องถิ่นใกล้ชิดกับชีวิตของประชาชนอย่างยิ่ง ในการสำรวจครั้งนี้ การตัดสินใจเลือกนายก อบจ. ประชาชนสนใจจะเลือกคนเก่าเข้ามาทำงานมากกว่าคนใหม่ ผนวกกับความเชื่อมั่นต่อพรรคเพื่อไทยก็เพิ่มสูงขึ้นและแซงหน้าพรรคประชาชนที่เคยครองความนิยมจากการสำรวจที่ผ่านมา จึงสะท้อนให้เห็นว่า สนามเลือกตั้งท้องถิ่นที่พรรคประชาชนพยายามพิสูจน์ตนเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นโจทย์หินของการเปลี่ยนแปลงระดับท้องถิ่นซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญในการเชื่อมโยงไปยังการเมืองระดับชาติItem ผลการสำรวจ : บทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ 2024(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-11-10) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “บทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,118 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.13 รู้สึกเฉยๆที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” ชนะการเลือกตั้ง โดยมองว่าการที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งนี้จะส่งผลต่อไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ร้อยละ 62.82 และบทเรียนที่ได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ร้อยละ 59.17 รองลงมาคือ ได้เห็นบทบาทและอิทธิพลของสื่อในการเลือกตั้ง ร้อยละ 56.12 และได้รับรู้ถึงความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่มีต่อโลก ร้อยละ 52.88 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยมีท่าทีเป็นกลางต่อผลการเลือกตั้ง โดยสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การเลือกตั้ง ครั้งนี้ยังเป็นบทเรียนที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการยอมรับผลการเลือกตั้ง กระบวนการที่โปร่งใส และอิทธิพลของสื่อที่ขับเคลื่อนกระแสสังคม ทั้งนี้ ผลโพลที่สูสีตลอดช่วงเลือกตั้งยังสะท้อนว่า ความเห็นของผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมและช่วงเวลา ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ทำได้ยากยิ่งขึ้นItem ผลการสำรวจ : ยาเสพติดกับสังคมไทย(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-07-28) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ยาเสพติดกับสังคมไทย” ระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,128 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยพบเห็นคนใกล้ตัวใช้หรือซื้อยาเสพติด ร้อยละ 47.70 โดยมองว่าสาเหตุที่คนหันไปพึ่งยาเสพติดเพราะซื้อขายได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 82.54 ด้านการจัดการปัญหายาเสพติดในประเทศไทยปัจจุบันก็ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 88.21 สาเหตุที่ยาเสพติดปราบปรามไม่หมดสิ้นเพราะยาเสพติดราคาถูกและหาได้ง่าย ร้อยละ 79.40 ส่วนการที่ให้กัญชาและกัญชงกลับไปเป็นยาเสพติดน่าจะส่งผลให้เศรษฐไทยดีขึ้น ร้อยละ 36.10 ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจแย่ลง ร้อยละ 34.74 และภาพลักษณ์รัฐบาลน่าจะดีขึ้น ร้อยละ 45.12 ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหายาเสพติดด้วยการเพิ่มบทลงโทษและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ร้อยละ 81.14 โดยคาดหวังว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะปราบปรามยาเสพติดได้ ร้อยละ 56.91 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าปัญหายาเสพติดไม่ได้อยู่ในมุมมืดของสังคมอีกต่อไป โดยมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 47% ที่เคยพบเห็นผู้ใช้และซื้อยาเสพติด เนื่องจากยาเสพติด "ซื้อง่าย-ขายคล่อง-ล่องหน" กล่าวคือ ยาเสพติดราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และผู้ขายก็ล่องหนไปในเงามืด การปราบปรามไม่ทั่วถึง ประชาชน จึงมองว่าการแก้ปัญหายาเสพติดยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อกัญชาและกัญชงจะกลับสถานะเป็นยาเสพติด บางส่วนจึงรู้สึกว่าน่าจะทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีขึ้น การปราบปรามปัญหายาเสพติดจึงเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนItem ผลการสำรวจ : รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-11-24) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,227 คน สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างกังวลว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะร้อยละ 54.80 ซึ่งจากมาตรการต่าง ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจมาตรการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นถ้วนหน้ามากที่สุดร้อยละ 55.78 และเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 53.87 โดยคิดว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 อาจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง ร้อยละ 43.44 แต่ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ร้อยละ 45.31 ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องลดค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้ามากที่สุด ร้อยละ 60.98 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจสะท้อนความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะเชื่อมั่นแต่ก็ยังไม่แน่ใจในนโยบายเฉพาะหน้า และมีความกังวลต่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ด้านมุมมองต่อสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ เรียกว่า “ชอบเงินหมื่นแต่ไม่รู้เศรษฐกิจจะฟื้นเมื่อไหร่” ทั้งนี้ ต้องการให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเรื่องปากท้องโดยเร่งด่วนItem ผลการสำรวจ : เสียงสะท้อนจากเด็กไทย ปี 2568(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-01-11) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็กไทยทั่วประเทศ เรื่อง “เสียงสะท้อนจากเด็กไทย ปี 2568” ระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กไทยอายุระหว่าง 6 – 18 ปี จำนวน 1,030 คน สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า สิ่งที่เด็กไทยชอบหรือประทับใจที่สุดในวัยเรียน คือ การเล่นกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน ร้อยละ 66.21 นอกเหนือจากห้องเรียน เด็กไทยชอบเรียนรู้จากการดูคลิปหรือเรียนรู้จากมือถือ/แท็บเล็ตมากที่สุด ร้อยละ 76.99 ทักษะที่สำคัญสำหรับอนาคต คือ ทักษะการรู้จักป้องกันและรับมือกับภัยอันตรายทั้งในชีวิตจริงและออนไลน์ ร้อยละ 74.76 ทั้งนี้เด็กไทยอยากเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลง คือ โรงเรียนและการเรียนสนุกขึ้น ร้อยละ 61.26 ของขวัญที่อยากได้จากรัฐบาล/นายกรัฐมนตรีในวันเด็กปีนี้ คือ ทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 74.37 นอกจากคุณพ่อคุณแม่ คนที่เด็กไทยชื่นชมและเป็นแรงบันดาลใจ คือ ลิซ่า ลลิษา ร้อยละ 47.09 รองลงมาคือ คุณครู ร้อยละ 41.26 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลสะท้อนเสียงของเด็กไทยอายุ 6-18 ปี ว่า “ความสนุก” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของช่วงวัยนี้ ทั้งการเล่นกับเพื่อนในโรงเรียนและคาดหวังให้การเรียนในห้องเรียนสนุกมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้น “เรียนดี มีความสุข” หากสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ย่อมตอบโจทย์ผู้เรียนอย่างแท้จริง ผลโพลยังชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยตระหนักถึงภัยมิจฉาชีพออนไลน์ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี รวมถึงชื่นชมบุคคลศิลปินระดับโลกอย่าง “ลิซ่า ลลิษา” คุณครู นักกีฬา ไปจนถึงนักการเมืองอย่าง “พิธา” และ “แพทองธาร”Item ผลการสำรวจ : “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนกรกฎาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-08-02) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,318 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-30 กรกฎาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกรกฎาคม 2567 เฉลี่ย 4.59 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ที่ได้ 4.33 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.35 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.09 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน) นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 52.13 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 58.93 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การเปิดให้ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต ร้อยละ 46.42 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 55.09 สุดท้ายสิ่งที่กังวลเมื่อมีการเริ่มลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต คือ กังวลเรื่องระบบของแอพ เช่น การใช้งาน ความปลอดภัย ระบบล่ม ร้อยละ 36.57 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลการสำรวจคะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงการทำงานของรัฐบาลที่ดูดีขึ้นในสายตาประชาชน อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาความยากจนยังคงเป็นประเด็นที่ได้คะแนนต่ำสุด แม้จะมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน แสดงถึงความท้าทายที่รัฐบาลยังต้องเผชิญ ขณะที่ผลงานโดดเด่นของรัฐบาลคือความชัดเจนของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่มีการเปิดให้ลงทะเบียน แต่ประชาชนยังกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเสถียรของแอพพลิเคชัน รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขเพื่อสร้างความมั่นใจต่อไป ด้านฝ่ายค้านได้คะแนนสูงขึ้นจากการตามติดการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเรื่องปลาหมอคางดำที่กระทบกับชีวิตเกษตรกรเป็นวงกว้างItem ผลการสำรวจ : “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนตุลาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-11-03) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.34 คะแนน (ลดลงจากเดือนกันยายน) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.58 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือนคือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 52.81 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.40 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 37.80 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 34.36 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ มาตรการช่วยน้ำท่วม ร้อยละ 40.15 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 49.76 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจล่าสุดดัชนีผลงานของนายกฯ แพทองธารพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการตอบสนองปัญหาของประชาชนอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางด้วยเงินหมื่น มาตรการบรรเทาภัยน้ำท่วม ลดค่าไฟ หรือการแก้ไขปัญหาเชิงรุกในหลายด้าน ซึ่งทั้งหมดได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น สวนทางกับคะแนนผลงานของฝ่ายค้านที่ปรับตัวลดลงในรอบ 10 เดือน สะท้อนถึงความไม่แน่นอนในการดำเนินงาน แม้ประชาชนจะชื่นชมการอภิปรายของฝ่ายค้านแต่ก็ยังไม่สามารถดึงความสนใจในวงกว้างได้Item ผลการสำรวจ : “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนพฤศจิกายน 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-01) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.39 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.39 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 50.66 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 28.96 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือนคือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 43.80 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 31.72 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ร้อยละ 37.50 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 48.51 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ดัชนีการเมืองไทยเดือนพฤศจิกายนลดลงต่ำกว่า 5 คะแนนอีกครั้ง สะท้อนความคาดหวังของประชาชนต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล แม้การแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 จะเสริมคะแนนนิยมได้บ้าง แต่กลับไม่เพียงพอที่จะยกระดับคะแนนตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อคะแนนผลงานนายกฯ ลดลง จึงสะท้อนถึงความไม่แน่นอนต่อความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ ความท้าทายเหล่านี้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงรัฐบาลว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้มากกว่าการเยียวยาชั่วคราว