Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Subject "การจัดการเรียนรู้"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดการความรู้แบบ TUNA(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) อารีย์ เรืองภัทรนนท์การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยด้วย การจัดการความรู้แบบ TUNA มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้แบบ TUNA 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้แบบ TUNA กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จํานวน 8 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดม่วงเจริญผล จังหวัดสุพรรณบุรี จํานวน 30 คน ในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบแผนการวิจัยคือ แบบทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบประเมินการจัดการความรู้แบบ TUNA 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA และ 3. แบบประเมินการคิดเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยการจัดการความรู้แบบ TUNA ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อน ได้รับความรู้ อยู่ในระดับมาก (X = 3.60, S.D.= 0.54) หลังได้รับความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.54, S.D.= 0.57) และ คะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้สูงกว่าก่อนได้รับความรู้ อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1. หลักการ และเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรม ฐานความรู้ 5 ฐาน ได้แก่ ฐานทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ฐานภาษาและการสื่อสาร ฐาน คณิตศาสตร์ ฐาน Science kids และ ฐานศิลปะสร้างสรรค์ 4. บทบาทของผู้สอน 5. บทบาทของ ผู้เรียน 6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 7. เงื่อนไขปัจจัยสู่ความสําเร็จ 8. การวัดและประเมินผล 3. คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.92, S.D. = 0.60) หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52, S.D.= 0.59) และ คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการคุณภาพ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) วิภาดา มุกดาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Post-test) และหลังเรียน (Pre-test) โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ในรายวิชา การจัดการคุณภาพ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ในรายวิชาการจัดการคุณภาพ 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดล ซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test และวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์ ตีความแล้วสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.10 ผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านประโยชน์และการนำไปประยุกต์ใช้ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และด้านจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) ผลของจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา ด้านการทบทวนความรู้เดิม เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อม ด้านการแสวงหาความรู้ใหม่เป็น การให้ผู้เรียนไปค้นคว้าข้อมูลแล้วศึกษาทำความเข้าใจ ด้านการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเป็นการใช้กระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมา ด้านการสรุปและจัดระเบียบความรู้เป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดและจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็น ระบบระเบียบ ด้านการปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงานเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานให้ผู้อื่นรับรู้ ส่วนด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้