Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Subject "กระบวนการสร้างเม็ดสี"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item ศึกษาฤทธิ์ของชะเอมเทศและมะหาดต่อการยับยั้งการสร้างเม็ดสี เพื่อพัฒนา whitening cream(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ทัศนีย์ พาณิชย์กุล; ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ; ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง; ณัฐพร บู๊ฮวด; ปิยวรรณ อยู่ดีมะหาดและชะเอมเทศ เป็นสมุนไพรที่มีรายงาน มีฤทธิ์ในการยับยั้ง tyrosinase และลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน การศึกษาฤทธิ์ร่วมกันระหว่างสารสกัดจากแก่นมะหาด (Al) และรากชะเอมเทศ (Gg) เป็นอีกแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพร โดย Al และ Gg ถูกสกัดด้วย 70 % และ 95 % ethanol สารสกัดถูกวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบ phenolic และ flavonoid และตรวจวิเคราะห์สาร oxyresveratrol และ glabridin ด้วย Ultra High Performance Liquid Chromatography (UHPLC) และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ในการยับยั้ง tyrosinase และการสร้างเม็ดสีในเซลล์เมลาโนมา B16 และศึกษาฤทธิ์ร่วมกันของสารสกัดในการยับยั้ง tyrosinase และการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 นอกจากนี้ศึกษาความคงตัวของสารสกัดที่ถูกเก็บในอุณหภูมิ 4, 25 และ 45 C เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดมะหาดที่สกัดด้วย 95 % ethanol (Al 95) มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และการยับยั้งการทำงานของ mushroom tyrosinase และ cellular tyrosinase และยับยั้งการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ได้ดีกว่าสารสกัดมะหาดที่สกัดด้วย 70 % ethanol (Al 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบ phenolic และflavonoid และพบสาร oxyresveratrol ของสารสกัด Al 95 มีมากกว่าสารสกัด Al 70 สำหรับสารสกัดชะเอมเทศที่สกัดด้วย 95 % ethanol (Gg 95) และสกัดด้วย 70 % ethanol (Gg 70) เมื่อเปรียบเทียบกัน สารสกัด Gg 95 มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของ mushroom tyrosinase ได้ดีกว่าสารสกัด Gg 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบ phenolic และ flavonoid และพบสาร glabridin มากกว่าสารสกัด Gg 70 แต่ฤทธิ์ในการยับยั้ง cellular tyrosinase และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ไม่แตกต่างกัน ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ B16 พบว่า สารสกัด Al 70 และ Al 95 ที่ความเข้มข้น ≤ 0.1 mg/ml และสารกสัด Gg 70 และ Gg 95 ที่ความเข้มข้น ≤ 0.8 mg/ml ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ B16 จึงได้เลือกสารสกัด Al 95 และ Gg 95 ศึกษาฤทธิ์ร่วมกันในการยับยั้ง tyrosinase และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 พบว่า การผสมสารสกัด Al 95 และ Gg 95 ที่ความเข้มข้นสุดท้ายเท่ากับ 0.1 mg/ml ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยเฉพาะที่น่าสนใจฤทธิ์ร่วมกันระหว่างสารสกัด Al 95 และสารสกัด Gg 95 ในอัตราส่วน 9:1 สามารถลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ได้ถึง 53 % ดีกว่าการใช้สารสกัด Al 95 หรือ Gg 95 ที่ความเข้มข้น 0.1 mg/ml อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสารสกัด Al 95 ยับยั้งการสร้างเมลานินได้เพียง 39 % และ Gg 95 ไม่ยับยั้งการสร้างเมลานิน นอกจากนี้ยังพบว่า การเก็บสารสกัดไว้นาน 4 สัปดาห์ และอยู่ในที่อุณหภูมิสูงถึง 45 C มีผลทำให้สารประกอบ phenolic และflavonoid และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้ง mushroom tyrosinase ของสารสกัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) จึงแนะนำควรเก็บสารสกัดที่อุณหภูมิต่ำ (≤ 4 OC) จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นรายงานครั้งแรก แสดงให้เห็นว่าสารสกัดแก่นมะหาดและสารสกัดรากชะเอมเทศสามารถออกฤทธิ์ร่วมกันได้ ซึ่งมีแนวโน้มนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไปItem ศึกษาฤทธิ์ของชะเอมเทศและมะหาดต่อการยับยั้งการสร้างเม็ดสี เพื่อพัฒนา whitening cream (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ทัศนีย์ พาณิชย์กุล; ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ; ขวัญจิต อิสระสุข; ณัฐพร บู๊ฮวด; ปิยวรรณ อยู่ดีไลโปโซมเป็นการกักเก็บ (encapsulation) สารสกัดเพื่อลดการเสื่อมสภาพ หรือรักษาความคงตัวสาร งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตไลโปโซมในการกักเก็บสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศ ด้วยวิธีเคมีเชิงกล (Mechanochemical Method) และศึกษาความคงตัวของไลโปโซมในรูปแบบแห้ง (Freeze dry) ในสภาวะการเก็บรักษาจริงที่อุณหภูมิ 4, 25 และ 45 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพการกักเก็บ และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโร ซิเนสของสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศที่ถูกกัก เก็บในไลโปโซม จากผลการทดลองไลโปโซมที่กักเก็บสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสาร สกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศ เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านพบว่า ไลโปโซมมีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดอนุภาค เท่ากับ 156.966 ± 0.808, 140.8 ± 0.818 และ 158.633 ± 4.193 นาโนเมตร ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสกัดมะหาด ชะเอมเทศ และมะหาด ผสมชะเอมเทศ มีค่าเท่ากับ 95.83 ± 13.48, 97.99 ± 5.23 และ 93.90 ± 16.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดมะหาด ชะเอมเทศ และมะหาดผสม ชะเอมเทศ ที่ถูกกักเก็บในไลโปโซม มีค่าเท่ากับ 81.57 ± 1.22, 68.92 ± 1.23 และ 81.40 ± 0.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หลังจากทำไลโปโซมในรูปแบบแห้ง พบมีขนาดอนุภาคของไลโปโซมที่กักเก็บ สารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศ เท่ากับ 163.5 ± 2.95, 151.40 ± 0.96 และ 180.6 ± 2.26 นาโนเมตร ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกักเก็บของไลโปโซม ในรูปแบบแห้งที่กักเก็บสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศ เท่ากับ 83.333 ± 1.990, 94.779 ± 5.016, 90.847 ± 2.560 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศที่ถูกกักเก็บในไลโปโซม มีค่าเท่ากับ 77.220 ± 1.840, 68.070 ± 2.500 และ 79.920 ± 1.700 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีขนาดของอนุภาค ประสิทธิภาพการกักเก็บ และฤทธิ์ในการยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดใกล้เคียงก่อนทำไลโปโซมในรูปแบบแห้ง การทดสอบความคงตัวของไลโปโซมในรูปแบบแห้งในสภาวะการเก็บรักษาจริง พบว่า การเก็บไลโปโซมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยเฉพาะไลโปโซมที่กักเก็บสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศมีขนาดอนุภาคใกล้เคียงก่อนทดสอบประสิทธิภาพในการกักเก็บและฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดมะหาดผสมสารสกัดชะเอมเทศไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการทำไลโปโซมใน รูปแบบแห้งและการเก็บรักษาไลโปโซมรูปแบบแห้งที่ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สามารถรักษาประสิทธิภาพของไลโปโซมและสารสกัดได้