Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กันต์ ปานประยูร"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การส่งเสริมการดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมจากดินดาน โดย Potassium solubilizing bacteria เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; สุรชาติ สินวรณ์; กันต์ ปานประยูรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแบคทีเรีย KSB ในดินบริเวณรอบรากมันสำปะหลังที่มีศักยภาพในการละลายแร่โพแทสเซียมออกจากดินดาน และทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียในการส่งเสริมการดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมจากดินดาน ในห้องปฏิบัติการและกระถางทดสอบ โดยเก็บตัวอย่างดินจำนวน 80 ตัวอย่าง จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีประวัติดินดาน ผลการคัดแยกพบแบคทีเรีย 5 strains ที่สามารถละลายแร่โพแทสเซียมในอาหาร modified aleksandrov medium ได้แก่ strain SS 011, SS 030, SS 040, SS 045 และ SS 046 เมื่อศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rRNA ของแบคทีเรียทั้ง 7 strain พบว่า มีลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rRNA เหมือนกับ Bacillus kochii strain SBCYB2 (98%) Bacillus megaterium NBRC 15308 (96%) Bacillus aryabhattai strain P10 (98%) Bacillus safensis strain SHR3-1 (97%) และ Bacillus megaterium strain AVMB3 (97%) ตามลำดับItem การเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยของมันสำปะหลัง โดยการควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P K ในรูปแบบของเจลบีด(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ณัฐบดี วิริยาวัฒน์; สุรชาติ สินวรณ์; กันต์ ปานประยูรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P K ในรูปแบบอัลจิเนตเจลบีดและคาราจีแนนเจลบีด ศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหาร และอัตราการสลายตัวทางชีวภาพ ทดสอบประสิทธิภาพในการปลดปล่อยธาตุอาหารและประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยและการเติบโตของมันสำปะหลังในแปลงทดลองในโรงเรือน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอัลจิเนตเจลบีดกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยที่ขายในท้องตลาด และปุ๋ยเคมี ผลการวิจัยพบว่า เจลบีดที่มีการห่อหุ้มด้วยอัลจิเนต 2% มีการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P และ K ได้ดีกว่าเจลบีดที่ห่อหุ้มด้วยคาราจีแนน 1% โดยอัลจิเนตเจลบีด 2% สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้สูงสุดถึง 49 วัน ในขณะที่คาราจีแนนเจลบีด 1% ปลดปล่อยได้สูงสุดเพียง 28 วันเท่านั้น โดยความชื้นประจุภาคสนามที่เหมาะสมกับการปลดปล่อยธาตุอาหารอยู่ระหว่าง 0 – 15 บาร์ และ pH ในดินที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 5.5 - 8.0 นอกจากนี้ ทุกตำรับการทดลองของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารชนิดอัลจิเนตเจลบีด มีผลทำให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นมากกว่าตำรับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยละลายช้าที่มีอยู่ในท้องตลาดและปุ๋ยเคมี ในทุกช่วงอายุมันสำปะหลัง