Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item กลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส; กนกวรรณ ไทยประดิษฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคสูงอายุที่มีต่อร้านอาหารออนไลน์ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรับสังคมสูงวัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยในขั้นตอนแรกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จํานวน 10 คน แล้วนําไปสรุป เพื่อจัดทําแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลในขั้นตอนที่สอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดตรัง จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการ้านอาหารออนไลน์ ของผู้บริโภคสูงอายุ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ แบบ Principal component analysis และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับด้วยการวิเคราะห์ด้วยสถิติกําลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุ ผู้สูงอายุมีระดับการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความสนใจที่จะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์ และมีแนวโน้มจะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์ด้วยตนเองในระดับมาก และจะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์อย่างต่อเนื่องในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้สูงอายุ มีจํานวน 4 ปัจจัย เรียงลําดับความสําคัญ คือ ความเคยชิน สภาพสิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้งานแรงจูงใจด้านความบันเทิง และอิทธิพล ของสังคม 2. พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคสูงอายุที่มีต่อร้านอาหารออนไลน์ ผู้สูงอายุมีความคิดจะสั่งอาหารออนไลน์จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เดือนละ 1 - 3 ครั้ง ผ่านแอปพลิเคชันของร้านค้า และเลือกสั่งอาหารเพื่อสุขภาพ โดยจะจ่ายเงินสั่งอาหารออนไลน์ 100 299 บาทต่อครั้ง และจะจ่ายเงินค่าบริการจัดส่งอาหารจากร้านออนไลน์ 30 - 40 บาทต่อครั้ง โดยใหความสําคัญต่อบรรจุภัณฑ์ที่เก็บอาหารได้อย่างมิดชิด ถูกหลักอนามัย จัดส่งอาหารอย่างรวดเร็ว มีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และอาหารต้องปรุงสดใหม่ 3. กลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (กลยุทธ์ 5Cs) Cleanliness (ความปลอดภัย) เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร และภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารที่เป็นอันตราย เหมาะสมกับราคา และผลิตจากร้านค้าที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ Confident (ความมั่นใจ) เกี่ยวข้องกับการเชื่อถือในตัวร้านอาหารออนไลน์ โดยได้รับข้อมูล แนะนําจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือจากสื่อต่างๆ รวมทั้ง มีร้านอาหารที่เป็นตัวอาคาร (Brick and mortar) ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้บริโภคสูงอายุ Conveyance (กระบวนการจัดส่ง) เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งอาหาร มีช่องทางการสั่งอาหารที่สะดวก มีภาพอาหารให้เลือก จัดส่งอาหารถึงที่พัก และการรับชําระค่าอาหารปลายทาง Character (คุณลักษณะ) เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาหารสวยงามน่ารับประทาน ลักษณะของอาหารปรุงสดใหม่ สามารถเก็บรักษาได้นาน และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน Convenience (ความสะดวก) ที่ช่วยให้การดําเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ จัดส่งอาหารอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องประกอบอาหารเอง ทําให้ประหยัดเวลาการปรุงอาหารหรือ การออกไปรับประทานนอกบ้านItem กลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส; กนกวรรณ ไทยประดิษฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคสูงอายุที่มีต่อร้านอาหารออนไลน์ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรับสังคมสูงวัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยในขั้นตอนแรกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จํานวน 10 คน แล้วนําไปสรุป เพื่อจัดทําแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลในขั้นตอนที่สอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดตรัง จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ แบบ Principal component analysis และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับด้วยการวิเคราะห์ด้วยสถิติกําลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุผู้สูงอายุมีระดับการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความสนใจที่จะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์ และมีแนวโน้มจะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์ด้วยตนเองในระดับมาก และจะสั่งอาหารจากร้านอาหารออนไลน์อย่างต่อเนื่องในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับร้านอาหารออนไลน์ของผู้สูงอายุ มีจํานวน 4 ปัจจัย เรียงลําดับความสําคัญ คือ ความเคยชิน สภาพสิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้งาน แรงจูงใจด้านความบันเทิง และอิทธิพลของสังคม 2. พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคสูงอายุที่มีต่อร้านอาหารออนไลน์ ผู้สูงอายุมีความคิดจะสั่งอาหารออนไลน์จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เดือนละ 1 - 3 ครั้ง ผ่านแอปพลิเคชันของร้านค้า และเลือกสั่งอาหารเพื่อสุขภาพ โดยจะจ่ายเงินสั่งอาหารออนไลน์ 100-299 บาทต่อครั้ง และจะจ่ายเงินค่าบริการจัดส่งอาหารจากร้านออนไลน์ 30 - 40 บาทต่อครั้ง โดยให้ความสําคัญต่อบรรจุภัณฑ์ที่เก็บอาหารได้อย่างมิดชิด ถูกหลักอนามัย จัดส่งอาหารอย่างรวดเร็ว มีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และอาหารต้องปรุงสดใหม่ 3. กลยุทธ์การตลาดร้านอาหารออนไลน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (กลยุทธ์ 5Cs) Cleanliness (ความปลอดภัย) เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร และภาชนะบรรจุอาหาร ที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารที่เป็นอันตราย เหมาะสมกับราคา และผลิตจากร้านที่ค่าที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ Confident (ความมั่นใจ) เกี่ยวข้องกับการเชื่อถือในตัวร้านอาหารออนไลน์ โดยได้รับข้อมูล แนะนําจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้ง มีร้านอาหารที่เป็นตัวอาคาร (Brick and mortar) ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้บริโภคสูงอายุ Conveyance (กระบวนการจัดส่ง) เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งอาหาร มีช่องทางการสั่ง อาหารที่สะดวก มีภาพอาหารให้เลือก จัดส่งอาหารถึงที่พัก และการรับชําระค่าอาหารปลายทาง Character (คุณลักษณะ) เกี่ยวกับภาพลักษณะของอาหารสวยงามน่ารับประทาน ลักษณะ ของอาหารปรุงสดใหม่ สามารถเก็บรักษาได้นาน และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน Convenience (ความสะดวก) ที่ช่วยให้การดําเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ จัดส่งอาหารอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องประกอบอาหารเอง ทําให้ประหยัดเวลาการปรุงอาหาร หรือการออกไปรับประทานนอกบ้านItem รูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รายวิชา สถิติและการวางแผนการทดลองในการวิจัยด้านอาหาร ในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส; สุภาวดี นาคบรรพ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยด้วยการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) พัฒนาการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยและเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง โดยศึกษาจากประชากรนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา สถิติและการวางแผนการทดลองในการวิจัยด้านอาหาร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง จำนวน 6 คน โดยให้นักศึกษาเลือกทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกหรือไม่ทำกิจกรรมตามความสมัครใจ โดยมีนักศึกษาทำกิจกรรมจำนวน 5 คน ไม่ทำกิจกรรม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย สื่อวิดีทัศน์ การเชิญผู้มีประสบการณ์มาบรรยาย และกรณีศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินจริยธรรมในกระบวนการวิจัย และแบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้ประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ทำกิจกรรม มีระดับจริยธรรมการวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.22 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ทำกิจกรรม ซึ่งมีระดับจริยธรรมการวิจัยในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษากลุ่มที่ทำกิจกรรมปฏิบัติตามทักษะชีวิตและอาชีพที่เหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.65 สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ทำกิจกรรมซึ่งปฏิบัติตามทักษะชีวิตและอาชีพที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับจริยธรรมการวิจัยระหว่างกลุ่มไม่ทำกิจกรรมและกลุ่มทำกิจกรรม พบว่า ระดับจริยธรรมการวิจัยของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผลการการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในภาพรวมระหว่างนักศึกษากลุ่มไม่ทำกิจกรรมและกลุ่มทำกิจกรรม พบว่า ระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในภาพรวมทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับจริยธรรมการวิจัยและระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของกลุ่มที่ทำกิจกรรม พบว่า ระดับจริยธรรมการวิจัยและระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กัน