Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กรณิศ ทองสอาด"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ชนม์ธิดา ยาแก้ว; เกษร ขวัญมา; พรพิมล นามวงศ์; ทรรศนัย โกวิทยากร; กรณิศ ทองสอาดการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญ 2) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 138 โรงเรียน จำนวนประชากร 15,000 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กปฐมวัยอายุ 4-6 ปี กำลังเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 20 โรงเรียน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน (e) ±5% รวมทั้งสิ้น 600 คน และดำเนินการคัดเลือกครูที่ใช้ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบประเมินพัฒนาการ 4 ด้าน แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเองแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบสํารวจแหล่งการเรียนรู้ ภมูิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากการจัดกิจกรรมตามชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนได้ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งผลการจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมมีดังนี้ 1. ผลการประเมินความสอดคล้องของชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ความสอดคล้องของชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักการของชุดจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญของเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (x ̅=3.33, S.D.=0.58) และที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หน่วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีจำนวนหน่วยเหมาะสมกับเด็ก (x ̅=4.67, S.D.=0.58) ส่วนรายข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก 2. การจัดทําชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญของเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเลือกภูมิปัญญาาท้องถิ่นที่มีค่าร้อยละ 60 ขึ้นไป และอยู่ใน 4 อันดับแรกของแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านโบราณสถาน ประกอบด้วย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เท่ากับ 71.13 หน่วยด้านวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เท่ากับ 70.51 หน่วยเมืองโบราณอู่ทอง เท่ากับ 67.31 และหน่วยด้านดอนเจดีย์ (พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์) เท่ากับ 65.13 ด้านที่ 2 ด้านบุคคลสำคัญสุพรรณบุรี ประกอบด้วย หน่วยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เท่ากับ 75.21 หน่วยคุณขวัญจิต ศรีประจันต์ เท่ากับ 69.44 หน่วย ฯพณฯ นายบรรหาร ศิลปอาชา เท่ากับ 69.23 และหน่วยคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ เท่ากับ 67.73 ตามลำดับ