Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กมลวรรณ อินอร่าม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางเห็นในระยะแรกเริ่ม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กมลวรรณ อินอร่าม; ภริมา วินิธาสถิตย์กุลการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อสร้างชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นระยะแรกเริ่มในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และหาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่มที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี ที่เข้ามาใช้บริการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน โดยไม่แยกเพศชาย หญิง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม และแบบประเมินทักษะการเตรียมความพร้อมในการอ่านเขียนอักษรเบรลล์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนแบบประเมินทักษะการเตรียมความพร้อมในการอ่านเขียนอักษรเบรลล์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม กลุ่มตัวอย่าง แล้วประเมินค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ และหาค่าความแตกต่างของคะแนนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ t-test dependent วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการเตรียมความพร้อมในการอ่านเขียนอักษรเบรลล์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม ดำเนินการภายหลังจากทดลอง ใช้ชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม นำแบบประเมินทักษะการเตรียมความพร้อมในการอ่าน เขียนอักษรเบรลล์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม มาวิเคราะห์โดยการหาค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 โดยมีเกณฑ์ค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างการเรียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่มทั้งหมดต่อร้อยละของค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด ร้อยละ 70 ขึ้นไป ค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือ E1/E2 มีค่ามากกว่าที่กำหนดคือ มีค่าเท่ากับ E1 = 72 และ E2 = 90.33 ซึ่งได้สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะดังนี้ ผลการวิเคราะห์ แสดงผลค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการประเมินทักษะฯ ของเด็กแต่ละคนที่ประเมินทักษะฯ พบว่า ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแต่ละคนที่ประเมินทักษะฯ ก่อนและหลังการประเมิน มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่า t = 8.232, p-value= .000 และผลการวิเคราะห์ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการประเมินทักษะฯของเด็กก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่าก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ย ของคะแนนส่วนใหญ่ของเด็กที่ประเมินทักษะการแยกแยะวัตถุระหว่างการทดลองทั้งหมด 5 ด้าน และทักษะการนำไปใช้ทั้งหมด 2 ด้าน จะมีค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของคะแนนอยู่ในระดับต่ำโดยคะแนนค่าเฉลี่ยทักษะการแยกแยะวัตถุในแต่ละด้านอยู่ในระดับต่ำทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.00 ส่วนทักษะ การนำไปใช้จะมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลางและสูงยกเว้นในเด็กคนที่ 5 ที่มีคะแนนอยู่ในระดับต่ า ทั้ง 2 ด้าน คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.20 และ 0.33 หลังการทดลองค่าเฉลี่ยของเด็กที่ประเมินทักษะ การแยกแยะวัตถุหลังการทดลองทั้งหมด 5 ด้าน จะมีค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านของคะแนนอยู่ในระดับสูง ทั้งหมด โดยเด็กที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านมากที่สุด คือ เด็กคนที่ 6 และ 9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ส่วนทักษะการนำไปใช้มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00