Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กนิษฐา ศรีเอนก"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ลัดดา สวนมะลิ; กนิษฐา ศรีเอนกการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงวัย พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย การจัดการการเงินของผู้สูงวัย การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย และการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการการเงินของผู้สูงวัย การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย และการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงวัย (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน และการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการการเงินของผู้สูงวัย (4) เพื่อศึกษาบทบาทและสถานภาพการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลของชุมชน และ (5) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงวัยที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมี โครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การจำแนก แยกแยะข้อมูลเป็นหมวดหมู่ หาความหมาย และเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ โดยนำเสนอ ข้อมูลในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาความ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และสถานภาพสมรส ไม่ได้ประกอบอาชีพ (พ่อบ้าน/แม่บ้าน) มีรายได้ 10,000 บาท แหล่ง รายได้หลักจากการทำงานด้วยตนเอง นอกจากนี้ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือในการใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน มีความถี่ในใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน 1 - 2 ครั้งต่อเดือน โดยใช้จากที่บ้าน ผ่านช่องทางการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (อินเทอร์เน็ตบ้าน/ เครือข่ายไร้สายในบ้าน (WiFi) และใช้ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน Mobile Banking (การทำธุรกรรมของธนาคารผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต) มากที่สุด การจัดการการเงินของผู้สูงวัย พบว่า ด้านรายได้ ผู้สูงวัยส่วนใหญ่สามารถจัดสรรรายได้ให้ใช้ได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ด้านรายจ่าย ส่วนใหญ่ใช้จ่ายอย่างเหมาะสมตามสถานภาพของตน ด้านการออม ผู้สูงวัยส่วนใหญ่มีการเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และด้านการลงทุนส่วนใหญ่ การศึกษาและวางแผนที่จะลงทุนอย่างรอบคอบ นอกจากนี้การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย พบว่า ด้านเครือข่าย ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้สูงวัยมีความสมเหตุสมผล ด้านข้อมูลและระบบงานหลักส่วนใหญ่ใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินเพื่อการโอนเงิน การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัย พบว่า ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่ยอมรับว่าการใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินมีความสะดวก ด้านความคาดหวังในความพยายาม ส่วนใหญ่ยอมรับว่าการใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน ช่วยให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ ง่ายขึ้น ด้านอิทธิพลของสังคม ส่วนใหญ่ยอมรับว่าบุคคลใกล้ชิดมีอิทธิพลต่อการใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน ด้านสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนใหญ่ยอมรับว่าการใช้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินมีความปลอดภัยเหมาะสม นอกจากนี้ผู้สูงวัยที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ และแหล่งที่มาของรายได้ต่างกัน มีการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน แตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้น ผู้สูงวัยที่มีเพศ และรายได้ต่างกัน มีการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งผู้สูงวัยที่มีระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ และแหล่งที่มาของรายได้ต่างกัน มี การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินแตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้น ผู้สูงวัยที่มีเพศต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน ด้านความคาดหวังในความพยายาม และด้านสภาพสิ่ง อำนวยความสะดวกสบายไม่แตกต่างกัน ผู้สูงวัยที่มีอายุต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการเงิน ด้านความคาดหวังในความพยายามไม่แตกต่างกัน และผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงิน ด้านอิทธิพลของสังคมไม่แตกต่างกัน สำหรับการวิเคราะห์ ปัจจัยด้านการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินที่มีอิทธิพลต่อการจัดการการเงินของผู้สูงวัย เมื่อ เรียงลำดับตัวแปรตามขนาดอิทธิพลทางบวกต่อการจัดการการเงินของผู้สูงวัยจากมากไปน้อย ประกอบด้วย (1) ด้านข้อมูลและระบบงานหลัก และ (2) ด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามลำดับ สำหรับปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินของผู้สูงวัยอิทธิพลต่อการจัดการการเงิน ของผู้สูงวัย เมื่อเรียงลำดับตัวแปรตามขนาดอิทธิพลทางบวกต่อการจัดการการเงินของผู้สูงวัยจากมาก ไปน้อย ประกอบด้วย (1) อิทธิพลของสังคม และ (2) ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ตามลำดับ นอกจากนี้รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการด้านการเงินให้ผู้มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้านการเงินอย่างง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จัดการ โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมด้านปริมาณและคุณภาพสำหรับผู้สูงวัย ด้านการพัฒนาบุคลากร พัฒนาผู้สูงวัยให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานและได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเงินให้ผู้สูงวัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตให้มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและนำมาใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม