Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Author "กนกอร เนตรชู"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การบริหารจัดการข้าวไร่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้รูปแบบธนาคารข้าว : กรณีศึกษา ชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) มณฑล สุวรรณประภา; พีรดา พงษ์ทอง; นงนุช ผ่องศรี; กนกอร เนตรชู; ฐปนรรฆ์ ฮาบสุวรรณ์; อนุชิต สวัสดิ์ตาลการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่และสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตข้าวไร่ของชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกในการบริหารจัดการข้าวไร่ในรูปแบบธนาคารข้าว โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของชุมชนตามหลักการ 5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมติดตามประเมินผล โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ชุมชาวชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ มีทั้งหมด 50 ครัวเรือน ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักโดยการปลูกพืชไร่หมุนเวียนตามฤดูกาลและราคาของผลผลิตทางการเกษตรในส่วนของการปลูกข้าวไร่เป็นการปลูกตามฤดูกาลโดยเริ่มปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน มีพื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ไร่ต่อครัวเรือน จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายและในภายนอกของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้าวไร่ของชุมชนด้วยวิธีการ SWOT Analysis พบว่า ชุมชนมีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรมการปลูกข้าวและความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าว แต่ขาดการบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในชุมชน และการอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าว รวมทั้งการอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว ดังนั้น ในการบริหารจัดการข้าวไร่ในรูปแบบธนาคารข้าวของชุมชน ควรดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกภายในชุมชน โดยการกำหนดระเบียบข้อบังคับตามความต้องการของสมาชิก ความเหมาะสมทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และสภาพเศรษฐกิจของชุมชน และเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนของผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการธนาคารข้าว ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการผลผลิตข้าว วัฒนธรรมการปลูกข้าว ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติItem การศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เมืองยั่งยืนเชิงพื้นที่ ในเศรษฐกิจและสังคม ของตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) พรธิดา เทพประสิทธิ์; กนกอร เนตรชู; ธีระวัฒน์ จันทึกการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก รวมถึงจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เมืองยั่งยืนของพื้นที่ และถอดบทเรียนการพัฒนาประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เมืองยั่งยืนเชิงพื้นที่ ในมิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคม ของตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative methods) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) ประกอบด้วย การสำรวจเชิงพื้นที่ (Area Frame Survey) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) การสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (Survey) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) พื้นที่ที่ศึกษา คือ พื้นที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาบริบทของพื้นที่และนำมาจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เมืองยั่งยืน สำหรับแนวทางในการพัฒนาที่ได้จากการถอดบทเรียนร่วมกันจากการประชุมสนทนากลุ่ม เห็นว่าควรมีการจัดลำดับการดำเนินงาน โดยที่ให้ความสำคัญลำดับที่ 1 กับการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการในตลาดน้ำดำเนินสะดวกเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน ลำดับที่ 2 การบริการท่องเที่ยวและการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำดำเนินสะดวก ลำดับที่ 3 การจัดการการท่องเที่ยวในตลาดน้ำดำเนินสะดวก ลำดับที่ 4 การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนในตลาดน้ำดำเนินสะดวก ลำดับที่ 5 การจัดการให้มีการสืบทอดภูมิปัญญาในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในตลาดน้ำดำเนินสะดวก และลำดับที่ 6 การจัดการภาพลักษณ์ในตลาดน้ำดำเนินสะดวกเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน โดยกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามามีส่วนร่วม 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี 2) ตำรวจท่องเที่ยว 3) กรมเจ้าท่า 4) กรมการปกครอง 5) พัฒนาชุมชนตำบลดำเนินสะดวก 6) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก 7) ผู้ประกอบการท่าเรือ 8) ตัวแทนแม่ค้า และ 9) ประชาชนในพื้นที่