การประเมินฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนส และพฤกษเคมี ของสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากข่าป่า และการประเมินความปลอดภัยฑ์โรออนระงับกลิ่นทางคลินิก

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การประเมินฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนส และพฤกษเคมี ของสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากข่าป่า และการประเมินความปลอดภัยฑ์โรออนระงับกลิ่นทางคลินิก
Recommended by
Abstract
สารสกัดข่าถูกนำมาใช้สำหรับฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและคุณสมบัติอื่น ๆ ข่าบ้าน ข่าเหลือง และข่าน้ำถูกนำมาทดสอบการต้านแบคทีเรียสร้างกลิ่น ซึ่งข่าบ้าน ข่าเหลือง และข่าน้ำระบุชนิดเป็น Alpinia siamensis K. Schum Alpinia galangal (Linn.) Swartz. และ Alpinia nigra (Gaertn.) B.L. Burtt. ตามลำดับ ส่วนใบ ลำต้น และเหง้าของข่าทั้ง 3 ชนิดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล ผลการทดลอง พบว่า ร้อยละของปริมาณผลผลิตที่ได้จากข่าบ้าน (27.80%) จะสูงกว่าข่าชนิดอื่น ๆ ปริมาณผลผลิตน้ำมันหอมระเหยจากข่าบ้านจะสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข่าชนิดอื่น ๆ (0.098±0.021) สารสกัดเหง้าข่าเหลืองจะให้ค่าสูงต่อการต้าน Corynebacterium xerosis 2637 (19.00±0.00 mm) และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 (30.25±9.22 mm) ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ค่าการยับยั้ง Propionibacterium acnes DMST 14916 สูงที่สุด (27.25±3.86 nm) ในขณะที่สารสกัดส่วนใบของข่าทั้ง 3 ชนิดจะไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Corynebacterium xerosis 2637, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228, Propionibacterium acnes DMST 14916 และ Staphylococcus aureus ATCC 25923 ค่าดีที่สุดของค่าเหลืองต่อทั้ง Corynebacterium xerosis 2637 และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 คือ 6.25 mg/mL ตามด้วยทั้งแบคทีเรีย Propionibacterium acnes DMST 14916 และ Staphylococcus aureus ATCC 25923 จะแสดงค่า MIC เท่ากับ 12.5 mg/mL สารสกัดข่าเหลืองจะแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด (38.12±0.18 µmol Trolox / g extract) ฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษจาก UV ค่าการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงสุดจากลำต้นข่าบ้าน คือ 77.93±1.67% สารสกัดเหง้าข่าน้ำจะแสดงปริมาณสารฟิโนลิกสูงสุด (4.30 GAE/g extract) ในการทดสอบในอาสาสมัครแบบ Sniff test สูตรผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ 1 (1% สารสกัดเหง้าข่าเหลือง) ถูกนำมาประเมินกลิ่นกายนาน 48 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 จุดเวลา ผลการทดลอง พบว่า กลิ่นกายที่เวลา 12-24 ชั่วโมงจะยังคงลดลง หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายไป 24 ชั่วโมง กลิ่นกายจะลดลง 43.75% การลดลงของแบคทีเรียทั้งหมด พบว่า สูตรที่ 3 จะทำให้แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทั้งหมดลดลง 82.09% และแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศลดลง 71.92%