การประเมินฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนส และพฤกษเคมี ของสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากข่าป่า และการประเมินความปลอดภัยฑ์โรออนระงับกลิ่นทางคลินิก

dc.contributor.authorศรีสุดา หาญภาคภูมิ
dc.contributor.authorจิราภรณ์ ทองตัน
dc.contributor.authorอรพิณ โกมุติบาล
dc.contributor.authorสรียา เรืองพัฒนพงษ์
dc.contributor.authorไพบูรณ์ เรืองพัฒนพงษ์
dc.contributor.authorสมพงษ์ นาคพินิจ
dc.date.accessioned2025-05-16T05:52:14Z
dc.date.available2025-05-16T05:52:14Z
dc.description.abstractสารสกัดข่าถูกนำมาใช้สำหรับฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและคุณสมบัติอื่น ๆ ข่าบ้าน ข่าเหลือง และข่าน้ำถูกนำมาทดสอบการต้านแบคทีเรียสร้างกลิ่น ซึ่งข่าบ้าน ข่าเหลือง และข่าน้ำระบุชนิดเป็น Alpinia siamensis K. Schum Alpinia galangal (Linn.) Swartz. และ Alpinia nigra (Gaertn.) B.L. Burtt. ตามลำดับ ส่วนใบ ลำต้น และเหง้าของข่าทั้ง 3 ชนิดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล ผลการทดลอง พบว่า ร้อยละของปริมาณผลผลิตที่ได้จากข่าบ้าน (27.80%) จะสูงกว่าข่าชนิดอื่น ๆ ปริมาณผลผลิตน้ำมันหอมระเหยจากข่าบ้านจะสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข่าชนิดอื่น ๆ (0.098±0.021) สารสกัดเหง้าข่าเหลืองจะให้ค่าสูงต่อการต้าน Corynebacterium xerosis 2637 (19.00±0.00 mm) และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 (30.25±9.22 mm) ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ค่าการยับยั้ง Propionibacterium acnes DMST 14916 สูงที่สุด (27.25±3.86 nm) ในขณะที่สารสกัดส่วนใบของข่าทั้ง 3 ชนิดจะไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Corynebacterium xerosis 2637, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228, Propionibacterium acnes DMST 14916 และ Staphylococcus aureus ATCC 25923 ค่าดีที่สุดของค่าเหลืองต่อทั้ง Corynebacterium xerosis 2637 และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 คือ 6.25 mg/mL ตามด้วยทั้งแบคทีเรีย Propionibacterium acnes DMST 14916 และ Staphylococcus aureus ATCC 25923 จะแสดงค่า MIC เท่ากับ 12.5 mg/mL สารสกัดข่าเหลืองจะแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด (38.12±0.18 µmol Trolox / g extract) ฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษจาก UV ค่าการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงสุดจากลำต้นข่าบ้าน คือ 77.93±1.67% สารสกัดเหง้าข่าน้ำจะแสดงปริมาณสารฟิโนลิกสูงสุด (4.30 GAE/g extract) ในการทดสอบในอาสาสมัครแบบ Sniff test สูตรผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ 1 (1% สารสกัดเหง้าข่าเหลือง) ถูกนำมาประเมินกลิ่นกายนาน 48 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 จุดเวลา ผลการทดลอง พบว่า กลิ่นกายที่เวลา 12-24 ชั่วโมงจะยังคงลดลง หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายไป 24 ชั่วโมง กลิ่นกายจะลดลง 43.75% การลดลงของแบคทีเรียทั้งหมด พบว่า สูตรที่ 3 จะทำให้แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทั้งหมดลดลง 82.09% และแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศลดลง 71.92%
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6737
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectสารสกัด -- การประเมิน
dc.subjectระงับกลิ่น
dc.titleการประเมินฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนส และพฤกษเคมี ของสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากข่าป่า และการประเมินความปลอดภัยฑ์โรออนระงับกลิ่นทางคลินิก
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2533
Files
Collections