Browse
Recent Submissions
Item เรียนรู้ออนไลน์ : กรณี “ข้าวแช่สวนดุสิต”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; ทิพสุดา คิดเลิศ; พงศ์อนันต์ ศิริแสงไพรวัลย์; ดวงดาว พรมรักษ์ข้าวแช่สวนดุสิตเป็นเมนูยอดนิยมเมนูหนึ่งที่ทำออกจำหน่ายในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนใหญ่เป็นบุคคลภายนอก แต่ภายในมหาวิทยาลัยกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยม อาจจะเป็นเพราะว่าวัยของคนปัจจุบันที่ไม่ค่อยชอบการกินอาหารที่มีวิธีกินค่อนข้างจะมากเรื่องไปบ้าง ข้าวแช่สวนดุสิตจึงขายผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าช่องทางจัดจำหน่ายแบบอื่น ๆ ข้าวแช่ สวนดุสิตมีลักษณะเป็นข้าวแช่ตามต้นฉบับของชาวมอญ เป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารแบบนหนึ่งItem “อาหาร”…จาก “ร้าน”…สู่ “ดิลิเวอรี่”…ถึง “ทูโก”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; กมลกนก เกียรติศักดิ์ชัย; จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนาอาหารทูโก (To Go) น่าจะเป็นทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการได้ดีในระยะยาว เพราะผู้บริโภคสามารถเลือกได้ในหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะของการกินไม่ว่าจะเป็นกินแบบมีบรรยากาศ กินแบบรีบเร่ง เตรียมไว้เพื่อที่จะกินในภายหลังหรือเอาไปให้คนอื่นกิน ความมีอิสระใน การเลือกและการได้สัมผัสอาหารที่จะกินโดยตรง ทาให้มีความรู้สึกที่ดีต่ออาหารที่จะกินมากกว่าอาหารเดลิเวอรี่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของ คนเมือง น่าจะสะท้อนความต้องการของอาหารทูโกได้เป็นอย่างดีItem อาหารเดลิเวอรี่ “สิ่งจำเป็นสำหรับคนไม่มีครัว”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; พวงทอง ไกรพิบูลย์; ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; พัสสนันท์ แย้มฉ่ำไพรครัวนับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ในเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ หรือหอพักที่มีพื้นที่ไม่มาก กลิ่นของอาหาร เวลาที่ต้องใช้ในการประกอบอาหาร รวมทั้งการล้างและการจัดเก็บของเครื่องมือ ทำให้ครัวในปัจจุบันมีลักษณะเป็นเพียงพื้นที่อุ่นอาหารเท่านั้น มีตู้อบ และตู้ไมโครเวฟเล็ก ๆ เท่านั้น อาหารเดลิเวอรี่จึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทำงานในปัจจุบัน การพัฒนาอาหารเดลิเวอรี่เพื่อให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและมาตรการของการควบคุมคุณภาพของอาหารดีขึ้น ในสภาพการณ์เช่นทุกวันนี้ ไม่มีอะไรจะดีกว่าอาหารเดลิเวอรี่อีกแล้วItem วิชาการนั้นสำคัญไฉนต่อฟู้ดเดลิเวอรี่(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; อาภาศิริ สุวรรณานนท์; สิทธิพร เอี่ยมเสนสถานการณ์โควิด-19 ก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมของการผลิตอาหารเดลิเวอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันสูง ฝีมือของแม่ครัวอย่างเดียวก็คงจะไม่เพียงพอแล้ว ต้องอาศัยหลักการทางวิชาการเข้ามาช่วยทั้งในด้านกระบวนการผลิตที่จะทำให้สินค้ามีมาตรฐาน และการขนส่งที่จะต้องมีมาตรฐานที่ดีเพื่อรักษาคุณภาพของอาหารไว้ เงื่อนไขเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้การเรียนรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติผสมผสานกันได้Item แค่ “สมหวัง”คงยังไม่พอ..!(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์; ศักดา บุญประเสริฐความคาดหวังของผู้ซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบ Online มักจะตั้งไว้เท่ากับมาตรฐานสินค้าและบริการนั้น ๆ แต่ถ้าได้รับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นพิเศษกว่าที่คาดไว้ (Value Add) จากการซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ ก็จะเป็นความพึงพอใจที่มีเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ การ Promotion ต่าง ๆ ที่แถมมากับสินค้าก็จะมีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลให้คุณภาพของวัตถุดิบอาจจะต้องถูกปรับลดลงมา จะคุ้มกันไหมกับความพึงพอใจนั้น ๆItem “อาหารเดลิเวอรี่” ทำไมต้องใส่ใจ Big data(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; ณัฏฐนิช สิริสัจจานุรักษ์; ธีรพจน์ จินดาเดช; นันท์ธิญา ศฤงค์สวัสดิ์การใช้ฐานข้อมูลของลูกค้าที่แสดงรายละเอียดบางประการ ทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารสภาวะสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การมีข้อมูลของลูกค้ามากเท่าใดก็จะทำให้สินค้าทำตลาดได้มากขึ้นItem การจัดการขยะ “จากอาหารเดลิเวอรี่”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; วิชชา ฉิมพลี; สิรินดา ศักดิ์ศรีอาหารทูโก (To Go) น่าจะเป็นทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการได้ดีในระยะยาว เพราะผู้บริโภคสามารถเลือกได้ในหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะของการกินไม่ว่าจะเป็นกินแบบมีบรรยากาศ กินแบบรีบเร่ง เตรียมไว้เพื่อที่จะกินในภายหลังหรือเอาไปให้คนอื่นกิน ความมีอิสระใน การเลือกและการได้สัมผัสอาหารที่จะกินโดยตรง ทาให้มีความรู้สึกที่ดีต่ออาหารที่จะกินมากกว่าอาหารเดลิเวอรี่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของ คนเมือง น่าจะสะท้อนความต้องการของอาหารทูโกได้เป็นอย่างดีItem “อาหารจานเดียว” ที่ถูกจริต ยุค “โควิด - 19”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; เบญจรัตน์ ประพฤทธิ์ตระกูล; สำราญ บุญทองสุขอาหารจานเดียวผูกพันกับวิถีชีวิตคนเมืองมาเป็นระยะเวลานาน เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และมีให้เลือกอย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล นอกเหนือจากอาหารแบบไทยแล้ว ยังมีอาหารจากต่างประเทศเข้ามาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้อาหารจานเดียวได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งช่วงระยะเวลาที่ต้องดำเนินชีวิตแบบชีวิตวิถีใหม่ อาหารจานเดียวได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีกมากทั้งรสชาดและมาตรฐานการผลิต รวมทั้งการบริการที่มีให้เลือกได้หลายรูปแบบอาหารจานเดียวจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเมืองItem “อาหารเดลิเวอรี่” ก็มี “กฎหมายควบคุม”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ; กันวิศา สุขพานิชมาตรการของรัฐที่กำหนดขึ้นมาเพื่อกำกับและควบคุมการผลิตสินค้าประเภทอาหารและบริการเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากเพียงใดก็ย่อมต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาหารเดลิเวอรี่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตอาหารทำให้มาตรการที่กำหนดขึ้นมีความสำคัญItem "อาหารเดลิเวอรี่ ในทัศนะพยาบาล"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; ธณิดา พุ่มท่าอิฐ; พรนภัส สุขารมย์ความคิดเห็นของบุคคลในหลากหลายสาขาวิชาวิชาชีพที่มีต่ออาหาร เดลิเวอรี่นั้นเป็นมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้บริการควรนำมาใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อได้ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล การที่จะบอกว่าดีทั้งหมดนั้นก็คงจะเป็นไปไม่ได้ อาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นว่าพอรับได้ก็ถือว่าพอเพียงแล้วในการที่จะเลือกใช้บริการ เอาอย่างที่ชอบ นั่นแหละดีที่สุดแล้วItem “อาหารเดลิเวอรี่” จาก “ทฤษฎี” สู่ “ปฏิบัติ”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; ธนพัฒน์ แสงรุ่งเรือง; นราธิป ปุณเกษม; ฉัตรริสา ทองขลิบการเรียนรู้เรื่องการประกอบอาหารนั้นถือได้ว่าเป็นวิชาชีพอย่างหนึ่งที่หลักการทางทฤษฎีเป็นเพียงแนวทางที่จะทำให้ผลลัพธ์มีหลักทางวิชาการรองรับ แต่ทักษะที่แท้จริงเพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพมาจากการปฏิบัติโดยตรง เพราะบางอย่างไม่สามารถเรียนรู้จากทฤษฎีได้ ต้องมาจากการปฏิบัติเท่านั้น ห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมากที่สุด ซึ่งนอกเหนือจาการทำเป็นแล้ว เทคนิคและความสามารถในการใช้เครื่องมือก็จะเป็นส่วนสนับสนุนให้การประกอบวิชาชีพมีประสิทธิภาพดีขึ้นItem "ใคร?อยากเรียน ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ (ยกมือขึ้น)"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; จิตต์วิมล คล้ายสุบรรณ; ศุภวรรณ อภิชาติไตรสรณ์; ปัญจมา ประภาพันธ์ศักดิ์การจัดการศึกษาด้านอาหารนั้นมีหลายรูปแบบ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้งส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Culinology Sciences) หรือศิลปศาสตร์ (Culinology Arts) และคหกรรมศาสตร์ (Home Economics) สำหรับ สวนดุสิตนั้นไม่ว่าจะป็นหลักสูตรทางสายไหนก็จะเน้นการทำอาหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย ทักษะทางด้านนี้ถือว่าสำคัญสำหรับผู้ที่จะไปประกอบการด้านอาหารเป็นวิชาชีพ ถ้าไม่รู้จักวัตถุดิบและทำไม่เป็น การเรียนรู้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้การผลิตอาหารมีลักษณะเป็น Mass มากขึ้น มีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งการกำกับ ควบคุม การผลิตอาหารให้ได้คุณภาพ เมื่อเป็นผู้ผลิตอาหารอาชีพ ช่องทางการจัดจำหน่ายก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจอาหารสามารถอยู่รอดได้Item “ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่” ขาด IT ไม่ได้ !(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สวงค์ บุญปลูก; วีระพันธ์ ชมภูแดง; ศุภกร ปรุงศิลป์ชัยการนำ Information Technology มาใช้ในการบริหารจัดการอาหาร เดลิเวอรี่ เป็นกระบวนการที่สำคัญของช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารได้เป็นอย่างดี มีข้อมูลเป็นจำนวนมากและต้องใช้เวลาให้น้อยเพื่อความสะดวก รวดเร็ว จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย ความสามารถใน การบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน สภาพการณ์โควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีทางด้านอาหารพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว เป็นความรู้อีกระบบหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองItem “อาหารเดลิเวอรี่”…ไม่ใช่แค่ “อร่อย”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; อัมพวัลณ์ อยู่จุ้ย; อรทัย ศรีโคตรรสชาติของอาหารว่าอร่อยหรือไม่อร่อย ส่วนใหญ่เป็นที่ความชอบของแต่ละบุคคล เครื่องจิ้มหรือเครื่องปรุงก็มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารได้ อาหารบางอย่างรสชาติต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ประกอบอาหารโดยตรง โดยเฉพาะอาหารไทยที่ต้องอาศัยทักษะและเทคนิคของพ่อครัว/แม่ครัวเป็นพิเศษ รสชาติจึงจะออกมาดี คนที่ทำอาหารออกมาได้อร่อยถูกปากของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นความสามารถพิเศษที่ต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาไปตลอดเวลา เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ลงตัวต้องอาศัยใจที่รักในการทำอาหารให้ คนอื่นด้วย ถ้ามีใจให้ซะอย่างทำอะไรก็อร่อยได้Item เมื่อ “ลูกค้า” ตอบรับ “New normal” “อาหารเดลิเวอรี่”จะไปอย่างไร?(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; วรานี เวสสุนทรเทพ; ราเชนทร์ บุญลอยสง; เปรมฤดี เอี่ยมพงศ์ศักดาภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ธุรกิจอาหาร เดลิเวอรี่ที่ขยายตัวไปมากในช่วงนี้ มีแนวโน้มที่จะลดลงเพราะ ถ้าเปรียบเทียบการซื้อจากร้านสะดวกซื้อหรือมาเลือกซื้อโดยตรงจาก ผู้จัดจำหน่ายทั้งหลายราคาจะถูกกว่ามาก เพราะไม่ต้องบวกค่าเปอร์เซ็นต์จากการจัดจำหน่าย ค่าบรรจุผลิตภัณฑ์ และค่าจัดส่ง ซึ่งรวมแล้วจะแพงกว่าค่าอาหารเสียอีก Street Foods และร้านสะดวกซื้อจะมีบทบาทกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังคงจะมีปัญหาอยู่ จะส่ง ผลกระทบต่ออาหารเดลิเวอรี่โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของอาหารเดลิเวอรี่มักจะเป็นอาหารประเภทกินทันทีมากกว่าเก็บไว้กิน ในช่วงต่อไปอาหารเดลิเวอรี่จะเป็นเพียงช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารอีกช่องทางหนึ่งเท่านั้น สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารItem “New Normal”: การบริโภคอาหาร “ยุคโควิด-19”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; ชนะศึก นิชานนท์; สุรีรัตน์ จิตพัฒนกุล; เฉลิมชัย แสงอรุณการประกอบอาหารในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการเน้นคุณภาพของวัตถุดิบมากขึ้น นับตั้งแต่การคัดเลือก การเตรียมและการตัดแต่งวัตถุดิบ ในการเรียนเรื่องอาหารก็ได้มีการเพิ่มเติมรายวิชา เรื่องวัตถุดิบในหลักสูตรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสุขาภิบาลอาหารและสุขภาพของผู้ประกอบอาหารด้วย เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 เกิดขึ้น คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้มีการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันมากขึ้น การเลือกกินอาหารของคนไทยจึงเลือกกันที่ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อผู้ผลิตอาหารว่าผลิตอาหารได้ตามมาตรฐานการผลิต และใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด วัตถุดิบจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตอาหารในปัจจุบันItem “อาหารเดลิเวอรี่” 1 ใน New Normal(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; กนกกานต์ วีระกุล; นวลเพ็ญ ธรรมษาความตื่นตัวในด้านอาหารเดลิเวอรี่ในยุคนี้มีมาก ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น จากการตระหนักและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 นี้เองที่จะมีผลให้ความเคยชินเกี่ยวกับ การบริโภคอาหารเดลิเวอรี่ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งก็น่าเป็นกังวลอยู่เหมือนกันว่าวัฒนธรรมในการกินอาหารของคนไทยและการ สื่อสัมพันธ์กันในการกินอาหารร่วมกันจะเริ่มลดลงกลายเป็น ความเป็นส่วนตัวมีมากขึ้น นอกจากนี้ ขยะอันเกิดจากอาหารเดลิเวอรี่ก็จะมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันก็จะยังคงเป็นพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ บางอย่างพัฒนาไปเร็วก็เป็นปัญหาตามมาเร็วด้วยเช่นกัน เราคิดเรื่องนี้กันไว้บ้างหรือเปล่าItem อาหารเดลิเวอรี่ : PR อย่างไรจึงจะโดนใจ “ลูกค้า”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; วรรณรัตน์ โรจนวิเชียร; ไพศาล คงสถิตสถาพรการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในปัจจุบันแยกกันไม่ออก เพราะมาตรฐานการโฆษณาและการนำเสนอรูปแบบที่หลากหลายทำให้การโฆษณาเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า อาหารเดลิเวอรี่ถ้าประชาสัมพันธ์ตามรูปแบบก็อาจจะขาดแรงจูงใจของลูกค้า ถ้าเติมเต็มด้วยรูปแบบทาง การโฆษณาลงไปด้วย ก็จะมีผลให้เกิดภาพรวมของสินค้า และกระตุ้นให้ลูกค้ามีความสนใจการโฆษณาที่ดีที่สอดแทรกเนื้อหาทางของความถูกต้องตามข้อมูล และใช้ช่องทางของการสื่อสารที่หลากหลายก็มีโอกาสที่จะทำให้สินค้าไปได้ด้วยดีItem “อาหารเดลิเวอรี่” : “รุ่ง” เพราะ โควิด-19 จริงหรือ?(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; รณิดา ศรีธนาวรุณจากสถานการณ์ปัจจุบันอันเนื่องมากจากโควิด-19 ทำให้อาหาร เดลิเวอรี่เป็นที่ต้องการ และมีการพัฒนาขึ้นไปมากทั้งรูปแบบการบริการ คุณภาพของอาหาร และความหลากหลายของเมนู แต่วัฒนธรรมในการกินอาหารของคนไทยนั้นมีรูปแบบละเอียดอ่อนกว่านั้น เช่น บรรยากาศของสิ่งแวดล้อม เมนูที่ต้องมีเครื่องเคียงทั้งของกินเล่นและของหวานที่มีลักษณะกินเป็นชุดมากกว่าอาหารจานเดียว อันเป็นลักษณะของอาหารไทย นอกจากนี้ การเลือกองค์ประกอบของอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาหาร เดลิเวอรี่ไม่มี ก็ทำให้เกิดความเบื่อได้ง่าย เมื่อพ้นสถานการณ์นี้ไปแล้ว อาหารเดลิเวอรี่อาจจะยังคงมีอยู่ แต่คงไม่รุ่งเท่าตอนนี้ การกินอาหารแบบเดิมตามวัฒนธรรมของคนไทยก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้งItem การส่ง “อาหารเดลิเวอรี่” ไม่ใช่แค่...มอเตอร์ไซด์รับจ้าง!!(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; วิทยา ศิริพันธ์วัฒนา; วิษณุ คำสนิทประสิทธิภาพของการจัดส่งอาหารให้ถึงมือลูกค้าโดยยังคงสภาพที่สมบูรณ์ย่อมเป็นความพึงพอใจของลูกค้า เพราะถ้าเปรียบเทียบค่าบริการจัดส่งอาหารต่อหน่วยจะแพงกว่าค่าจัดส่งพัสดุอย่างอื่น ๆ เมื่อเทียบต่อหน่วยของสินค้า โดยเฉพาะถ้าลูกค้าสั่งน้อยชิ้น การจัดส่งที่รวดเร็วตามเวลา การบรรจุสินค้าที่ประณีต และภาพรวมของการจัดส่ง มีผลต่อ การจัดจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ทั้งสิ้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นอาหาร เดลิเวอรี่ ถ้ากระบวนการจัดส่งไม่ดี ขาดประสิทธิภาพ อาหารจะขายได้อย่างไร