GRS-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Item มาตรการทางกฎหมายในการจัดการช้างเร่ร่อนของกรมปศุสัตว์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) บุณิกา จุลละโพธิการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายของกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการช้างเร่ร่อน ปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายของกรมปศุสัตว์ในการจัดการช้างเร่ร่อน และแนวทางในการบริหารจัดการช้างเร่รอนของกรมปศุสัตว์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสาร กฎหมายแรงงาน รายงาน และการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสีย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับช้างมีทั้งหมด 21 ฉบับ เป็นกฎหมายที่สามารถนำมาบังคับใช้เมื่อได้รับการแจ้งเหตุพบช้างเร่ร่อน 10 ฉบับ และเป็นกฎหมายของกรมปศุสัตว์ 2 ฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง ลักษณะของยานพาหนะและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายช้าง การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ และ (2) พระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้กับช้าง ปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับช้างหลายฉบับ แต่ละฉบับมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันทำให้ไม่มีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ เจ้าของช้างไม่มีความเกรงกลัวกฎหมาย เจ้าหน้าที่ขาดความเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขาดความร่วมมือในการทำงานหรือบูรณาการใช้กฎหมายร่วมกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเดิม เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานการบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ในภาพรวมทุกหน่วยงาน ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ เป็นการกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันให้เป็นเอกภาพ นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วควรใช้แนวทางการส่งเสริมและการสนับสนุนต่อเจ้าของช้าง เพื่อให้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสม มีอาหารและน้ำให้กับช้างอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอย่างยิ่ง จะเป็นการแก้ปัญหาในภาพรวมอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืนItem วิเคราะห์คำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่ามีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-16) เอกรัฐ เผ่าพงศ์ประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด เหตุผลของศาล หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย ลักษณะคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่า มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง 2) พิจารณาความแตกต่างของคำสั่งลงโทษพนักงานในอุดมศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาหรือพนักงานในอุดมศึกษา และ 3) เสนอแนะแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง คำพิพากษา และคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและทำการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยมีดังนี้ ประการแรกแนวคิดของศาลในการวินิจฉัยลักษณะคดีคือ กระบวนการเริ่มต้นอันเป็นที่มาของการออกคำสั่งลงโทษ และเหตุที่อ้างของผู้ถูกฟ้องคดีในการเริ่มต้นกระบวนการ ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายภายใน หรืออ้างสิทธิตามสัญญาจ้างพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับลักษณะของคำสั่งทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง ประการที่สองแนววินิจฉัยของศาลปกครองกรณีมีคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิของพนักงานโดยตรง เนื่องจากอาจเกิดความสับสนทั้งขณะอยู่ในกระบวนการการดำเนินการทางวินัยและขั้นตอนก่อนฟ้องคดี และส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาในแง่ของการดำเนินการออกคำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประการสุดท้ายแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานให้ยึดถือรูปแบบการดำเนินการทางวินัยโดยต้องมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดItem หลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารกับการแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีศึกษา นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) อาทิตย์ สุทธิธรรมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักธรรมมาภิบาลของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 (2) ศึกษาปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 ในการนำหลักธรรมมาภิบาลมาแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 จำนวน 157 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาร โดยใช้สถิติค่าไควแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุ 41-50 ปี เพศชายมีสถานสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท และมีระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี (2) หลักธรรมาภิบาลของนักศึกษานักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 ในภาพรวมและรายด้านมีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองอยู่ในระดับน้อยที่สุด ยกเว้นรายด้านหลักความโปร่งใส มีหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก (3) ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในภาพรวมรายด้านมีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองอยู่ในระดับน้อยที่สุด ยกเว้นรายด้านหลักว่าด้วยกระบวนการขั้นตอนและหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ มีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านหลักการใช้เหตุผลและด้านหลักการว่าด้วยกระบวนการขั้นตอน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01Item การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล และ 2) การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 37 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 296 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .980 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพการปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.71, S.D. = .537) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ลำดับแรกคือ คุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.80, S.D. = .501) ได้แก่ ครองตน ครองคน ครองงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.80, S.D. = .501) รองลงมาคือ บุคลิกภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.75, S.D. = .582) ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.79, S.D. = .481) และสุดท้าย คือ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62, S.D. = .644) ได้แก่ สร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62, S.D. = .644) 2) รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) วิสัยทัศน์ได้แก่ วิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำหนดเป้าหมาย และผู้นำด้านวิชาการ (2) มนุษย์สัมพันธ์ได้แก่ ความตั้งใจปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหา (3) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (4) บุคลิกภาพ ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพท่าทางความน่าเชื่อถือเป็นตัวอย่างที่ดี(5) คุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ การครองตน ครองคน ครองงาน และ (6) การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แสวงหาความร่วมมือองค์กรภายนอก ความสามารถในการบริหารแบบมืออาชีพบริหารการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และการทำงานเป็นทีมItem การพัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครู(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) ฤดี กมลสวัสดิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครูและ 2) พัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed methods) โดยมี 2 ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 การศึกษาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เข้าใจประเด็นสำคัญของการเขียนสำหรับผู้นำ จำนวน 10 คนและสนทนากลุ่มนักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน และระยะที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การเรียนรู้ออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับผู้นำของนักศึกษาวิชาชีพครูมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.67/85.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ 3) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความพึงใจต่อบทเรียนออนไลน์แบบใช้ภาระงานเป็นฐานที่ 4.763 อยู่ในระดับมากที่สุดItem รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-06-15) อาทิตย์ จันทนทัศน์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษ ศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในโครงการ ครู หรือบุคลากรในโครงการ ผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ ผู้อ านวยการโรงเรียน หรือหัวหน้าโครงการ Education Hub จำนวน 351 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาษาไทยและอังกฤษที่เกี่ยวกับแนวโน้มด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ ด้านบุคคล ด้านวิชาการ และด้านงบประมาณ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 198 คน เท่ากับ 56.41%, 157 คน เป็นนักเรียนและผู้ปกครอง เท่ากับ 44.73%, 231 คน ระดับการศึกษามัธยมตอนปลาย เท่ากับ 65.82% จากแบบสอบถาม รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยทุกด้าน โดยด้านลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในภาพรวม คือ X 4.38 และ S.D. คือ 0.40 เมื่อพิจารณาความสำคัญของแต่ละด้าน พบว่า ความสำคัญลำดับที่ 1 คือ ด้านด้านลักษณะส่วนบุคคลความสำคัญลำดับสุดท้าย คือ ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการรูปแบบ วัตถุประสงค์รูปแบบแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ คำนิยามรูปแบบ และแผนภาพรูปแบบ ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ระบุ (2) แนวทางและประเด็นที่ควรคำนึงถึงในการส่งเสริมให้เกิดแนวโน้มด้านต่าง ๆ ไว้เป็นกรอบคิดอย่างชัดเจน ดังนั้น สถาบันการศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทขององค์กรทั้งในด้านการวางนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ ข้อเสนอแนะ คือ หลังจากที่นำรูปแบบไปปรับใช้นั้นควรมีการวัดผล โดยอาจจะทำการวิจัยเชิงสำรวจต่อไปItem การพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาผ่านชุดกิจกรรม "สนุกคิดคณิตศาสตร์"(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-06-07) อัมพรรณ พูลลาภการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาผ่านชุดกิจกรรม “สนุกคิดคณิตศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาผ่านชุดกิจกรรม “สนุกคิดคณิตศาสตร์” 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมสนุกคิดคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และ 3) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ผ่านชุดกิจกรรม “สนุกคิดคณิตศาสตร์” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กที่มีบกพร่องทางสติปัญญาชายและหญิงระดับปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คนซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ระบุมีความบกพร่องทางสติปัญญา ไม่มีความพิการซ้อน ใช้เวลาในการทดลองระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2561 วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแผนการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 24 แผน แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรม”สนุกคิดคณิตศาสตร์” และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระหว่างการเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรม “สนุกคิดคณิตศาสตร์” ในเรื่องการนับ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับและการจัดหมวดหมู่ของใช้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1. การประเมินความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ผ่านชุดกิจกรรม “สนุกคิดคณิตศาสตร์”อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์การปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 0.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีผ่านเกณฑ์ความรู้ 1 เรื่อง คือ เรื่องการเปรียบเทียบ ในขณะที่มี 3 เรื่อง อยู่ในระดับควรส่งเสริมไม่ผ่านเกณฑ์ความรู้ คือ เรื่องการนับ เรื่องการเรียงลำดับ และเรื่องการจัดหมวดหมู่ ตามลำดับแต่เมื่อได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ผ่านชุดกิจกรรม“สนุกคิดคณิตศาสตร์” ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วนำมาทดลองกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาผลหลังการทดลอง พบว่า ผ่านเกณฑ์ความรู้อยู่ในค่าเฉลี่ย 3.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีมากผ่านเกณฑ์ความรู้ทั้ง 4 เรื่อง คือ เรื่องการจัดหมวดหมู่เป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมา คือ เรื่องการเปรียบเทียบ เรื่องการนับและเรื่องการเรียงลำดับ ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสนุกคิดคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 88.54/83.33 3. การเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์หลังการใช้ชุดกิจกรรมสนุกคิดคณิตศาสตร์ในเรื่องการนับ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับและการจัดหมวดหมู่ของใช้สูงกว่าก่อนได้รับการใช้ชุดกิจกรรมสนุกคิดคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้Item กิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับปฐมวัย(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) จรินทร์ ภู่ระหงษ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หลังจากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อม กลุ่มงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและ ครอบครัว ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 5 คน เลือกแบบเจาะจงโดยทําการทดลองเป็นรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว และแบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 3 ด้าน จากแบบประเมินทักษะตามแบบประเมินพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น 0-6 ปี ของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (2549) ดําเนินการทดลอง ตามแบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Postest สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบก่อน-หลังการทดลอง The Wilcoxon Matched Paris Signed-Ranks TestItem ความสามารถด้านการเข้าใจภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปฐมวัย โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัส(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) ชณิญภัค ศรีวันทาการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการเข้าใจภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปฐมวัย โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัส 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเข้าใจภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปฐมวัย ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัส และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัส ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 6 คน อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ใช้การวิจัยเชิงทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 27 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัส และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเข้าใจภาษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบ คือ สถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถด้านการเข้าใจภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปฐมวัย จากการสอนโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัสอยู่ในระดับดี 2) ความสามารถด้านการเข้าใจภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปฐมวัย หลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัสแตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .026) และ 3) บทเรียนมัลติมีเดียแบบสตอรี่ไลน์ผ่านอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัสมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 มีค่าเท่ากับ 97.62/95.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้Item การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) ปรรัตน์ ศรีพินิจการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2) พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนเละหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และ3) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อย ไม่มีความพิการซ้อน ชาย-หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นป.1-ป.3 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนชุมชนวัดหนองรี ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 7 คน โดยมีขั้นตอนการเลือกตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทำการทดลอง สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและ แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วทดลองโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบกลุ่มตัวอย่างเดียวก่อน-หลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีค่าประสิทธิภาพ 80/82.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หลังการพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก 3) การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังการฝึกด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีความแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การศึกษาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูถัมถ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) วิชชุดา แหล่งสนามการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากประชากรที่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่สูญเสียการได้ยินระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป และมีใบรับรองความพิการกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ จำนวนทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อน-หลังการทดลอง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .643 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.29/83.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80) 2) ความสามารถด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับปรับปรุง ในขณะที่หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.88 คะแนน 3) ความสามารถด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในภาพรวมแตกต่างจากก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเซต โดยวิธีการสอนที่แตกต่างกันตามความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนที่มี่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) อรอนงค์ นุเสนการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย วิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ประชากรที่ศึกษา คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ระหว่างเรียนและหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.38/80.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับ หูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ หลังได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญาสูงกว่าก่อนได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญาItem การศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้กระดานสอนอ่าน(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) สุมาลี พูลสวัสดิ์การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระดานสอนอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คน ซึ่งเลือกมาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ มีระดับสติปัญญาระหว่าง 50-70 และไม่มีความพิการซ้ำซ้อน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการสอนอ่านคำศัพท์โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนำคะแนนที่ได้จากการประเมินทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีทดสอบวิลคอกชัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ก่อนการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่านในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ความรู้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง อ่านจากคำ อ่านจากภาพ และอ่านจากภาพและคำ แต่หลังการทดลองความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียน ปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ความรู้ ค่าเฉลี่ย 52.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ความรู้ทั้ง 3 เรื่องคือ อ่านจากคำอ่านจากภาพ และอ่านจากภาพและคำ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่านในภาพรวม แตกต่าง จากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .026) การทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .026) เมื่อ พิจารณาความสามารถการอ่านคำศัพท์ก่อน-หลังได้รับการพัฒนาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถ การอ่านคำศัพท์หลังได้รับการพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ อ่านจากคำ (p-value = .024) อ่านจากภาพ (p-value = .024) และอ่านจากภาพและคำ (p-value = .023) แตกต่างจากก่อนได้รับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-01) กาญจนา เดชภิญญาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเลือกแบบเจาะจงจากระดับสติปัญญา 50-70 ไม่มีพิการซ้อน มีจำนวนทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้การประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ จำนวน 8 แผน แบบประเมินระหว่างเรียนแต่ละแผน จำนวน 8 ชุด และแบบประเมินความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการประกอบอาหารก่อนและหลังที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วน าคะแนนที่ได้จากการประเมินท าการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คะแนนระหว่างการพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.50 และคะแนนหลังการพัฒนาความสามารถในการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80) 2) ความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนอยู่ระหว่าง 140-176 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 161.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.20 3) การเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .028) แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีการพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้Item