รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2023-06-15
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษ ศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในโครงการ ครู หรือบุคลากรในโครงการ ผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ ผู้อ านวยการโรงเรียน หรือหัวหน้าโครงการ Education Hub จำนวน 351 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาษาไทยและอังกฤษที่เกี่ยวกับแนวโน้มด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ ด้านบุคคล ด้านวิชาการ และด้านงบประมาณ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 198 คน เท่ากับ 56.41%, 157 คน เป็นนักเรียนและผู้ปกครอง เท่ากับ 44.73%, 231 คน ระดับการศึกษามัธยมตอนปลาย เท่ากับ 65.82% จากแบบสอบถาม รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยทุกด้าน โดยด้านลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในภาพรวม คือ X 4.38 และ S.D. คือ 0.40 เมื่อพิจารณาความสำคัญของแต่ละด้าน พบว่า ความสำคัญลำดับที่ 1 คือ ด้านด้านลักษณะส่วนบุคคลความสำคัญลำดับสุดท้าย คือ ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการรูปแบบ วัตถุประสงค์รูปแบบแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ คำนิยามรูปแบบ และแผนภาพรูปแบบ ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ระบุ (2) แนวทางและประเด็นที่ควรคำนึงถึงในการส่งเสริมให้เกิดแนวโน้มด้านต่าง ๆ ไว้เป็นกรอบคิดอย่างชัดเจน ดังนั้น สถาบันการศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทขององค์กรทั้งในด้านการวางนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ ข้อเสนอแนะ คือ หลังจากที่นำรูปแบบไปปรับใช้นั้นควรมีการวัดผล โดยอาจจะทำการวิจัยเชิงสำรวจต่อไป
Description
ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา
Citation
View online resources