SDU Dissertaions Thesis and Research
Permanent URI for this community
Browse
Browsing SDU Dissertaions Thesis and Research by Title
Now showing 1 - 20 of 723
Results Per Page
Sort Options
Item A Comparative Study of Chinese Tourists' Attitude and Behavior towards Siam Paragon and Central World(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2015) Tan ZhuonaThe purpose of this research was to study the Chinese tourists' attitude and behavior towards Siam Paragon and Central World. Sample size was 400 Chinese tourists and the data were gathered from a survey which conducted in Siam Paragon and Central World in Bangkok, Thailand. Questionnaires were used as the tool to collect the data. The analytic statistics included descriptive statistics, t-test, F-test with Least Significant Difference (LSD), Paired t-test and Simple Linear Regression. The Accidental Sampling method were employed to collect the data from the sample of Chinese tourists in Siam Paragon and Central World at the Ratchaprasong area, Bangkok. The questionnaire was translated into Chinese and pretested to ensure the content validity and reliability.Item กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมด้านการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สำหรับนักศึกษารายวิชาเทคโนโลยีข้าว(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) อานง ใจแน่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมการสาธิตในการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียน (2) เพื่อศึกษาผลการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนที่ได้จากการจัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ คณะโรงเรียนการเรือน ศูนย์การศึกษาลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีข้าว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบสังเกตสังเกตการทำกิจกรรมและ (2) แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมสาธิตการทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนตามกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรูแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมการสาธิตใน การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ ตามที่ผู้สอนสาธิต ทั้งในด้านการเตรียมวัตถุดิบ การปรุงประกอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติให้ได้เมนูขนมที่ถูกต้องบรรลุตามเป้าหมายการเรียนรู้ และผลการศึกษาความพึงพอใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำขนมชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์สู่ผู้เรียนที่ได้จากการจัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (คาเฉลี่ยเทากับ 4.62)Item กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022) สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; จิรัฐ ชวนชม; อัมพร ศรีประเสริฐสุข; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน; พรเพ็ญ ไตรพงษการวิจัยนี้มุ่งศึกษา ดังนี้ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการบริการกับระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ได้แก่ ผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลรวมความคาดหวังในการบริการที่มีต่อแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ 80.71 จากคะแนนเต็ม 7) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยว ประเมินความพร้อมในการบริการที่ได้รับจากที่อื่นสูงกว่าสิ่งที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการบริการที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านความสุภาพ อย่างคงเส้นคงวาไม่พบความแตกต่าง ผลการศึกษาระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการ และวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมากเกิน 5.60 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 7) ยกเว้นคุณภาพการบริการด้านการเห็นอกเห็นใจ (ค่าเฉลี่ย = 5.56) และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (ค่าเฉลี่ย = 5.41) 2) ผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีการพัฒนาคุณภาพบริการแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 4.03) ซึ่งเป็นเพียงด้านเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยเกิน 4.00 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนในด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ 3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการ (2) ปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพ การบริการในด้านต่าง ๆ (3) พัฒนาวิทยากร/นักสื่อความหมายให้มีคุณภาพ และ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้คุณภาพการบริการItem กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) จิรัฐ ชวนชม; ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล; พรเพ็ญ ไตรพงษ์; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์; สฤษดิ์ ศรีโยธิน; ขจีนุช เชาวนปรีชา; นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศินงานวิจัย เรื่อง กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี วัตถุประสงค์ของ การวิจัยเพื่อศึกษาความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว ความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยี ความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยว ความเข้มแข็งของชุมชน การประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยว การประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวและสร้างกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการแบบเจาะจง รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยมีดังนี้ ความคาดหวังในการรับบริการต่อนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.19, S.D. = .69) ส่วนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.36, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.14, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.34, S.D. = .74) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความเข้มแข็งของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .72) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.35, S.D. = .73) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.43, S.D. = .75) การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.02, S.D. = .50) สำหรับกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อ เพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการดำเนินการเกษตรแบบครัวเรือนในการพึ่งพาตนเองและการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อการพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ในการนำความรู้มาช่วยเหลือเกษตรในพื้นที่ในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ ขั้นตอนที่ 3 การยกระดับเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม นำแนวคิดทางการบริหารมาปรับใช้ในการเกษตร ประกอบการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมการผลิตItem กระบวนการเกิดอาชญากรรมในแง่มุมของพุทธธรรม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2017) วิศิษฏ์ เจนนานนท์การวิจัยเรื่อง “กระบวนการเกิดอาชญากรรม ในแง่มุมของพุทธธรรม" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้สาเหตุการเกิดอาชญากรรมและรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมตามหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎก โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ซึ่งศึกษา ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล สําคัญ รวม 5 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งเป็นนักวิชาการ ราชบัณฑิตทางด้านพุทธศาสนา และปรัชญา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการทางด้านอาชญาวิทยา กลุ่มบุคลากร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มบุคคลผู้ที่เคยต้องโทษ และพ้นโทษ มาแล้ว และไม่กลับไปกระทําความผิดซ้ํา และกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจํากลางคลองเปรม รวมจํานวน 25 คนItem กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) เดช เฉิดสุวรรณรักษ์การวิจัยเรื่อง กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการ วิเคราะห์ สภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการจัดการของภาครัฐกับปัญหา กากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีความสําคัญ และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ทําให้มีผลกระทบ ในวงกว้างทั้งในเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชน ผลกระทบการส่งออกสินค้าของไทยกับมาตรการที่สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศประกาศใช้ และการขนย้ายหรือธุรกรรมนอกระบบที่ไม่มีการควบคุมดูแล ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยงานภาครัฐของไทย หลายหน่วยกําลัง เริ่มทําการศึกษา และได้เร่งพยายามพัฒนาขีดความสามารถให้แก่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกับบริษัท ขนาดกลาง-ย่อย ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทั้งในด้านของการออกกฎหมาย การพัฒนาบุคคลากร และการควบคุมItem กระบวนทัศน์การจัดการตลาดกลางผักและผลไม้ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) กัญญานนท์ กมลยะบุตรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดําเนินงาน ปัญหาอุปสรรคของการจัดการตลาดกลางผักและผลไม้ วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสําเร็จที่ทําให้การจัดการตลาดกลาง ผักและผลไม้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนําเสนอกระบวนทัศน์ของการจัดการตลาดกลางผัก และผลไม้ของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารระดับสูงของตลาดกลางผักและผลไม้ ทั้ง 4 ภาค และผู้เชี่ยวชาญภาครัฐและนักวิชาการ จํานวนทั้งสิ้น 15 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล กลุ่มเป้าหมายจํานวน 398 คน ประกอบด้วย ผู้ค้าหรือคนกลาง เกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในตลาดกลางสุรนครเมืองใหม่ จังหวัดนครราชสีมาItem กระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อธำรงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) กันณวัน อภิรักษ์ธนากรการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงอุปสรรค และข้อจํากัดในการพัฒนากระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา คุณภาพกระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สุดท้ายศึกษาถึงรูปแบบและ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อธํารงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงอุปสรรค และข้อจํากัดในการพัฒนากระบวน ทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา คุณภาพกระบวนทัศน์การตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สุดท้ายศึกษาถึงรูปแบบและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อธํารงศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนที่เหมาะสมItem กระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 2561)(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) นันทิดา ทองเจือการศึกษา เรื่อง กระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) ในปัจจุบัน และเพื่อนําเสนอกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) 2) ขั้นการร่างกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสม และเป็นไปได้ของกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เอกสาร ผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานItem กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงานร้านพลก๊อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015) เลิศพล บรรลือการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงานร้านพลก๊อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการเลือกใช้บริการและเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของลูกค้า และ 3. เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของพนักงาน ร้านพลก็อปปี้ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.959 จากลูกค้าที่ใช้บริการจํานวน 184 คน และพนักงาน ในร้านฯ จํานวน 6 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าความถี่ (X) ค่าเฉลี่ย (S.D.) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (T-test) ค่าสัมประสิทธ์สัมพันธ์ ANOVA และ Schelfe test และใช้การ วิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) เพื่อกําหนดกลยุทธ์Item กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ณัฐหทัย โสตาศรีการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานในสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้ ศึกษาปัจจัยการจัดการความรู้ที่มีต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และสร้างรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล การศึกษาใช้การวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสํานักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาล จํานวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .981 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ สําหรับข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นํามาจัดการสนทนากลุ่มเพื่อสร้างรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยใช้กลยุทธ์ทางการจัดการความรู้Item กลยุทธ์การจัดการคุณภาพบริการหลังการขาย เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) อิศรทรัพย์ รัตนอมรชัยการศึกษาเรื่องกลยุทธ์การจัดการคุณภาพบริการหลังการขายเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้ซื้อระบบกระจายเสียงชนิดไร้สายด้านคุณภาพ การให้บริการหลังการขาย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการหลังการขายสําหรับผู้ซื้อระบบ กระจายเสียงชนิดไร้สาย 3) ความอยู่รอดของธุรกิจระบบกระจายเสียงชนิดไร้สาย โดยใช้วิธี การศึกษา คือ การวิจัยแบบผสมผสาน ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก นายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจซื้อ (ผู้ซื้อ) และผู้ใช้ ประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์เทศบาล สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนในการตัดสินใจ ซื้อในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ที่ใช้ระบบกระจายเสียงชนิดไร้สายรวม 62 หน่วยงาน ทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและ การวิเคราะห์ถดถอยพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานItem กลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ศรานนท์ นนทวงษ์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดําเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษาภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน 2) ศึกษาแบบอย่างที่ดีในการดําเนินงานประกัน คุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) เสนอกลยุทธ์การจัดการตามระบบการประกัน คุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชน 2) ขั้นการออกแบบการจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 162 คน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการประกันคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาตรวจสอบความเหมาะสมของข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem กลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2011) ก่อสิทธิ์ ดีวงศ์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาอุปสรรค การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และ 2) เพื่อเสนอกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 2) ขั้นการออกแบบการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และ 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 177 คน แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาตรวจสอบ ความเหมาะสมของกลยุทธ์ จํานวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจง ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem กลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) สุจิตรา วสุวัตการวิจัย “กลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน” เป็นการศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านโอกาส และอุปสรรค ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ด้านจุดแข็ง และจุดอ่อน ในการ บริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบนในปัจจุบัน 3) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อเสนอกลยุทธ์การจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ ในเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants ) ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 25 คน ดําเนินกรรมวิธีทางการวิจัยกําหนดเป็นกลยุทธ์การจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 399 ชุด เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อผลการวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าวItem กลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ฤทัยรัตน์ ก่อเกียรติสกุลชัยการศึกษาเรื่องกลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชน ท่าด่านโฮมสเตย์ อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ศึกษาได้ทําการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ประกอบการด้านบ้านพัก ด้านกิจกรรม การท่องเที่ยว และ ด้านสินค้าที่ระลึก ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ มีแนวทางการใช้กลยุทธ์การตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ (สินค้า/บริการ) ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสาร (Document Analysis) วิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)Item กลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบสนองต่อการรับรู้คุณค่าในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) ไพโรจน์ ซึงศิลป์การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบสนองต่อการรับรู้คุณค่า ในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสําคัญสําหรับผู้บริหารและ นักการตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าใจถึงผู้บริโภค เพื่อเสนอกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้านการตลาดสําหรับบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้มีลักษณะพิเศษคือ มีความคงทนถาวร และ มีราคาสูง ผู้บริโภคต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะบางท่านในชีวิตหนึ่งอาจจะใช้กระบวนการดังกล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าในการซื้อที่อยู่อาศัยและ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องกับการรับรู้คุณค่าของผู้ซื้อบ้านใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสม (Mix Research) คือ การวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดย การวิจัยเชิงคุณภาพกําหนดผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด (Brain Storming Workshop) คือ ผู้ที่ซื้อบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 70 คน แบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม และกําหนดผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 5 คน กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จํานวน 5 คน และกลุ่มตัวแทนสมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จํานวน 5 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สําหรับผู้จะซื้อและผู้ซื้อบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจํานวน 438 ชุดItem กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาเฉพาะในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) สรรเสริญ อินทรัตน์การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จํานวน 7 จังหวัด คือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะละ และนราธิวาส เป็นกรณีศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มข้าราชการในองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 4 คน กรรมาธิการแปรญัตติขององค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 2 คน กลุ่มพระสงฆ์ จํานวน 2 รูป นักวิชาการ จํานวน 3 คน นักข่าวประจําท้องถิ่น จํานวน 3 คน และผู้มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์Item กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2009) สุริยา สุวรรณประสิทธิ์การวิจัย เรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม” เป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในการบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภาวะคุกคาม และปัจจัยที่มีผลต่อบริหารจัดการของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อเสนอ กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) คือ ข้าราชการสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติจํานวน 25 คน และดําเนินกรรมวิธีทางการวิจัย กําหนดเป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการสู องค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 371 ชุด เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นของข้าราชการจากหน่วยขึ้นตรงของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจํานวน 12 หน่วย ที่มีต่อผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้มาซึ่งแสดงผลในรูปแบบของ PRINCIPLE StrategyItem กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2018) วรวรรษ เทียมสุวรรณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน 3) ประเมินกลยุทธ์ การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สู่ประชาคมอาเซียน ใช้วิธี การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้อํานวยการโรงเรียน/รองผู้อํานวยการ และหัวหน้าฝ่ายทั้ง 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารงานวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ และฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 48 โรงเรียน จํานวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จํานวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่ม