SDU Dissertaions and Thesis
Permanent URI for this community
Browse
Browsing SDU Dissertaions and Thesis by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 625
Results Per Page
Sort Options
Item ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการเรียนวิชาชีพเฉพาะทาง วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2003) กนิษฐา มิสเกตุการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการเรียนอาชีพเฉพาะทางวิทยาลัยนาฏศิลป์ จําแนกตามภูมิหลังของผู้ปกครอง ดําเนินการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นปกครองของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์ ปีการศึกษา 2545 จํานวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บนรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9272 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe)Item ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาครูกับการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชน สายสามัญ เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2005) ลดาวัลย์ คารวะสิริธรรมการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาครูกับการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จํานวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นการพัฒนาครูเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Coefficient Correlation)Item ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรที่เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) ศิริพันธ์ จุรีมาศการวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการเป็นหนี้เสียของลูกหนี้ นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกิดขึ้นในระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัย ความสําเร็จและวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของลูกหนี้ รวมทั้งบทเรียนทั้งในด้านดีและไม่ดีที่เกิดจากความสัมพันธ์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยได้มีการเสนอยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาหนี้เสียขององค์กรจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ของลูกหนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทําการศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ (Key Informants) ประกอบด้วยเจ้าของกิจการ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินItem ยุทธศาสตร์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของจังหวัดในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) ดิเรก ถึงฝั่งการศึกษายุทธศาสตร์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เพื่อเพิ่ม ศักยภาพการแข่งขันของจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการรูปแบบใหม่และแบบเดิม วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข จัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แนวทางในการบริหารงานของจังหวัดรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และยุทธศาสตร์ การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้ ทําการศึกษากับภาคราชการ กับหัวหน้ากลุ่มจังหวัด 19 จังหวัด ภาคเอกชนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ภาควิชาการจากอาจารย์ มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)Item การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) สมลักษณา ไชยเสริฐการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของประชาชน ในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตํารวจ สถานีตํารวจนครบาล (กต.ตร.สน.) ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กต.ตร.สน. และนําเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กต.ตร.สน. ที่เพิ่มศักยภาพในการบริหารงานสถานีตํารวจนครบาล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth- Interview) การจัดประชุมเวทีสาธารณะ (Public Meeting) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) คือ ประชาชนที่เป็น กต.ตร.สน. ประธานชุมชนหรือผู้แทนชุมชนในเขตพื้นที่สถานีตํารวจนครบาล 9 แห่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนในคณะกรรมการ ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.)Item ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2006) กาญจนา สัจจวทีกุลการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตําบลท่าข้าม อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณเทศบาลตําบลท่าข้าม อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-testItem ทรรศนะของลูกจ้างต่อการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานล่วงเวลา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 : ศึกษาในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า สิ่งทอ พื้นที่เขตบางแค(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 2006) สุนีรัตน์ พรหมมาศการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรรศนะของลูกจ้างต่อการคุ้มครองแรงงานที่ทํางานล่วงเวลา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 : ศึกษาในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอ พื้นที่เขตบางแค และเปรียบเทียบทรรศนะของลูกจ้างที่มีต่อการคุ้มครองแรงงานที่ทํางานล่วงเวลา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใน 8 ด้าน คือ ด้านการทํางานล่วงเวลาทํางานปกติ ด้านการทํางานล่วงเวลาในวันหยุด ด้านการจ่ายค่าล่วงเวลา ด้านชั่วโมง การทํางานล่วงเวลา ด้านการได้รับความยินยอมให้ทํางานล่วงเวลา ด้านการใช้แรงงานหญิง ด้านการใช้แรงงานเด็ก และด้านความปลอดภัยในการทํางาน โดยใช้การวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นลูกจ้างจํานวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 4 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F - test) และที่ระดับนัยสําคัญ 05 ใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยราย ด้วยวิธีเซฟเฟ (Scheffe's Multiple Contrast)Item ยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ปรภฏ ศศิประภาการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคของแผนพัฒนานักกีฬาในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติในอดีตและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ และ 3) เพื่อนําเสนอยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการนําวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติที่ ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (QUALITATIVE RESEARCH) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (IN-DEPTH INTERVIEW) จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (KEY INFORMANTS) ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง นักกีฬาผู้ฝึกสอน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาทีมชาติ จํานวน 17 ท่าน และดําเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (QUANTITATIVE RESEARCH) เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น (VERIFICATION) ของยุทธศาสตร์ ด้วยการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้อง จํานวน 493 คนItem การประเมินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในจังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ทัดกมล เที่ยงตันการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดําเนินงานของโครงการ หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในจังหวัดพังงา ตามทัศนะของสมาชิกโครงการที่มีต่อความสําเร็จของโครงการ และเปรียบเทียบผลการประเมินตามประเภทของผลิต ใช้วิธีการวิจัย เชิงสํารวจจากประชากรที่เป็นสมาชิกโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในจังหวัดพังงา โดยสุ่มตัวอย่างจํานวน 156 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟItem การปลูกฝังกระบวนทัศน์ใหม่ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานด้านการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ : กรณีศึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ดิเรก ดีประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพกระบวนทัศน์ในปัจจุบัน ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในที่มีผลต่อสมรรถนะใน การปฏิบัติงาน 2) เสนอกระบวนทัศน์ใหม่ ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ที่ทํางานด้านการรักษา ความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ 3) เสนอแนวทางการปลูกฝัง กระบวนทัศน์ใหม่ในกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ที่ทํางานด้านการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์กรภาครัฐ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกําหนดผู้ให้ ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) คือ ผู้บริหาร ระดับนโยบาย และผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จํานวน 27 คน รวมทั้งผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) คือ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับผู้ปฏิบัติ จํานวน 25 คนItem กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาเฉพาะในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) สรรเสริญ อินทรัตน์การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จํานวน 7 จังหวัด คือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะละ และนราธิวาส เป็นกรณีศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มข้าราชการในองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 7 คน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 4 คน กรรมาธิการแปรญัตติขององค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 2 คน กลุ่มพระสงฆ์ จํานวน 2 รูป นักวิชาการ จํานวน 3 คน นักข่าวประจําท้องถิ่น จํานวน 3 คน และผู้มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์Item กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) เดช เฉิดสุวรรณรักษ์การวิจัยเรื่อง กระบวนทรรศน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการ วิเคราะห์ สภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการจัดการของภาครัฐกับปัญหา กากของเสียและสารอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีความสําคัญ และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ทําให้มีผลกระทบ ในวงกว้างทั้งในเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชน ผลกระทบการส่งออกสินค้าของไทยกับมาตรการที่สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศประกาศใช้ และการขนย้ายหรือธุรกรรมนอกระบบที่ไม่มีการควบคุมดูแล ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยงานภาครัฐของไทย หลายหน่วยกําลัง เริ่มทําการศึกษา และได้เร่งพยายามพัฒนาขีดความสามารถให้แก่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกับบริษัท ขนาดกลาง-ย่อย ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทั้งในด้านของการออกกฎหมาย การพัฒนาบุคคลากร และการควบคุมItem กลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ฤทัยรัตน์ ก่อเกียรติสกุลชัยการศึกษาเรื่องกลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชน ท่าด่านโฮมสเตย์ อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ศึกษาได้ทําการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ประกอบการด้านบ้านพัก ด้านกิจกรรม การท่องเที่ยว และ ด้านสินค้าที่ระลึก ของชุมชนท่าด่านโฮมสเตย์ มีแนวทางการใช้กลยุทธ์การตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ (สินค้า/บริการ) ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสาร (Document Analysis) วิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)Item ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ศูนย์ธุรกิจภูเก็ต(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ธิดารัตน์ รัตนาการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยศูนย์ธุรกิจ จําแนกตามข้อมูลทั่วไปของลูกค้า ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นลูกค้า จํานวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟItem การพัฒนากระบวนทัศน์การสื่อสารแห่งคุณธรรมแบบบูรณาการเพื่อการเสริมสร้างภาพลักษณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ชนะเทพ สวนแก้วการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนทัศน์การสื่อสารแห่งคุณธรรมแบบบูรณา การเพื่อการเสริมสร้างภาพลักษณ์สํานักงานตํารวจแห่งชาติ” โดยการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ตลอดจนภาพลักษณ์ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อแสวงหายุทธศาสตร์ในการสื่อสารแบบบูรณาการในการสร้างภาพลักษณ์ โดยพัฒนาเป็นกระบวนทัศน์การสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อภาพลักษณ์แห่งคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.)Item ปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาแผนโบราณของผู้บริโภคในเขตเมือง จังหวัดชลบุรี(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) จิราพร ภิญญากรณ์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาแผนโบราณของผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาแผนโบราณของผู้บริโภค โดยจําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษา คือ การวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .8828 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคยาแผนโบราณในเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จํานวน 400 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์โดยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ โปรแกรมสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟItem ประสิทธิผลโครงการฝากบ้านกับตำรวจของสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 2007) ธนากร สุพลจิตร์การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลโครงการ ฝากบ้านกับตํารวจของสถานีตํารวจนครบาลพลับพลาไชย 1 จําแนกตามข้อมูลทั่วไปของประชาชนการวิจัยเชิงสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน จํานวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟItem ความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีต่อองค์กรกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายส่งกำลัง โรงเรียนเตรียมทหาร(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) คณธัช ทองวิชิตการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สายส่งกําลังศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายส่งกําลัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีต่อองค์กรกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายส่งกําลัง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นข้าราชการและปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่สายส่งกําลังของโรงเรียนเตรียมทหาร จํานวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านความจงรักภักดีต่อองค์กร เท่ากับ 0.93 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านผู้บังคับบัญชา เท่ากับ 0.84 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านผู้ใต้บังคับบัญชา เท่ากับ 0.86 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านเพื่อนร่วมงาน เท่ากับ 0.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านหน่วยงาน เท่ากับ 0.77 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เท่ากับ 0.93 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านแรงจูงใจภายใน เท่ากับ 0.91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านแรงจูงใจภายนอก เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูลในการดําเนินการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันItem การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเขตปริมณฑล(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2007) ชวลิต สวัสดิ์ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดเขตปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การบริหารจัดการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตําบล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพItem การปรับกระบวนทัศน์เพื่อปรับปรุงการจัดการ ในองค์กรภาครัฐ ที่ทำงานด้านคนพิการ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2008) สรวงสุดา พูลเจริญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและสภาพ กระบวนทัศน์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการบริหารจัดการในองค์กรภาครัฐที่ทํางานด้านคนพิการ และ เสนอแนวทางการปรับกระบวนทัศน์เพื่อปรับปรุงการจัดการโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ข้าราชการในองค์กรภาครัฐที่ทํางานด้านคนพิการ คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือนักวิชาการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เอ็นจีโอ และผู้แทนคนพิการ