SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results by Subject "SUANDUSITPOLL"
Now showing 1 - 20 of 41
Results Per Page
Sort Options
Item ผลการสำรวจ : "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนกันยายน 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-29) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกันยายน 2567 เฉลี่ย 4.80 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2567 ที่ได้ 4.46 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.41 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.32 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.70 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 29.94 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 38.43 รองลงมา คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 34.10 ผลงานฝ่ายรัฐบาล ที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เริ่มจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 61.33 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบงบประมาณ ปี 2568 ร้อยละ 50.78 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯคนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่นในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้างItem ผลการสำรวจ : "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนธันวาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-29) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,154 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-25 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนธันวาคม 2567 เฉลี่ย 4.97 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ได้ 4.92 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.37 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส เฉลี่ย 4.60 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.25 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.36 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 45.78 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 33.13 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 9,000 บาท ร้อยละ 40.05 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบรัฐบาลเพื่อความโปร่งใส ร้อยละ 42.72 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ดัชนีการเมืองไทยปิดท้ายปีด้วยการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แสดงให้ถึงความพยายามของรัฐบาลในการเร่งสร้างผลงาน ด้านคะแนนนายกฯ ที่ลดลงก็สะท้อนถึงความคาดหวังที่ยังตอบสนองได้ไม่ดีพอ การสร้างความเชื่อมั่นในปีใหม่จึงขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ดัชนีการเมืองเดือนสุดท้ายของปีจึงเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่า “รัฐบาลนั้นเร่งเกม มีผลงานเพิ่ม แต่เศรษฐกิจยังเป็นจุดอ่อน”Item ผลการสำรวจ : "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนมีนาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-04-01) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 เฉลี่ย 5.10 คะแนน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ได้ 5.16 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.56 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.80 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.) นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 53.22 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 59.32 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ สงกรานต์ 21 วัน ดัน Soft Power ร้อยละ 47.51 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบ คือ อภิปรายงบประมาณ ปี 2567 ร้อยละ 48.36 จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าดัชนีการเมืองไทยเดือนนี้ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน สาเหตุหลักอาจมาจากปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจที่ประชาชนกังวล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ได้คะแนนไม่ดีนัก นอกจากนี้ผลสำรวจชี้ว่าฝ่ายค้านยังคงครองใจประชาชน อาจเป็นเพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายค้านในการทำงาน แต่ฝ่ายรัฐบาลเองก็เริ่มมีผลงานที่โดนใจประชาชนมากขึ้น ทั้งการผลักดัน Soft Power การจับบ่อน และแก้ปัญหาวงการตำรวจPublication ผลการสำรวจ : "สถานการณ์การเมืองไทย" ณ วันนี้(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-08-11) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทย ณ วันนี้” ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,147 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจข่าวการเมืองในช่วงนี้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.42 โดยสนใจข่าวยุบพรรคก้าวไกลเป็นพิเศษ ร้อยละ 75.65 เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์การเมือง ณ วันนี้กับช่วงที่ผ่านมา คิดว่าแย่ลง ร้อยละ 67.57 ด้านความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเศรษฐา กลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 63.73 ด้านกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีก็เห็นว่าควรปรับ ร้อยละ 55.62 สุดท้ายมองว่าทิศทางการเมืองไทยต่อจากนี้น่าจะแย่ลง ร้อยละ 68.44 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนความวิตกกังวลของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการยุบพรรคก้าวไกลที่กระตุ้นความสนใจข่าวการเมือง การมองว่าการเมืองแย่ลงสะท้อนถึงความไม่พอใจต่อการบริหารงาน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจแม้จะมีความคืบหน้านโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก็ยังไม่เพียงพอ ความเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ต่ำและการสนับสนุนการปรับคณะรัฐมนตรีแสดงถึงความคาดหวังในการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นความท้าทายที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนItem ผลการสำรวจ : 10 นโยบายเร่งด่วน รัฐบาลแพทองธาร 1(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-15) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “10 นโยบายเร่งด่วน รัฐบาลแพทองธาร 1” ระหว่างวันที่ 10-13 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,159 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า จาก 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับทุกนโยบาย โดยเห็นด้วยกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวมากที่สุด ร้อยละ 97.15 โดยคิดว่าเป็นนโยบายที่คาดว่าน่าจะทำได้สำเร็จ ร้อยละ 74.46 อีกนโยบายที่คาดว่าน่าจะทำได้สำเร็จ คือ นโยบายออกมาตรการลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค ร้อยละ 65.40 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมองว่านโยบายแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมออนไลน์นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำได้สำเร็จ ร้อยละ 33.05 และร้อยละ 31.06 ตามลำดับ นอกจาก 10 นโยบายแล้วก็อยากให้เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนโดยเร็ว ร้อยละ 67.46 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความหวังกับนโยบายด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะไทยมีศักยภาพและเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจ ด้านนโยบายลดราคาพลังงานก็ได้รับความหวังสูงเนื่องจากเกี่ยวข้องกับค่าครองชีพ ในขณะที่นโยบายเรือธงอย่างดิจิทัลวอลเล็ตกลับสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้น้อยกว่านโยบายอื่น ๆ อาจเนื่องมาจากความกังวลในแง่การดำเนินการ โดยรวมแล้วประชาชนเห็นด้วยทุกนโยบาย สุดท้ายจะสำเร็จหรือไม่ก็เป็นเรื่องของฝีมือItem ผลการสำรวจ : 3 เดือนรัฐบาลแพทองธาร(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-15) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “3 เดือนรัฐบาลแพทองธาร” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,162 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองจุดแข็งของรัฐบาลแพทองธาร คือ การมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ร้อยละ 49.38 ภาพรวมผลงาน 3 เดือนของรัฐบาล ยังประเมินไม่ได้ ร้อยละ 39.85 ต่ำกว่าที่คาดหวัง ร้อยละ 28.14 และยังไม่เชื่อมั่นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 54.99 โดยมองว่านโยบายที่เห็นผลชัดเจนที่สุดใน 3 เดือนที่ผ่านมา คือ การแจกเงิน 10,000 บาท ร้อยละ 71.44 เรื่องที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วนยังคงเป็นเรื่องการแก้ปัญหาค่าครองชีพ สร้างงาน เพิ่มรายได้ ร้อยละ 70.84 สุดท้ายสิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ในฐานะผู้นำประเทศ คือ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดค่าครองชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนอย่างทั่วถึง ร้อยละ 49.14 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลสะท้อนให้เห็นว่า ผลงาน 3 เดือนรัฐบาลแพทองธารยังประเมินไม่ได้ และบางส่วนมองว่าต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ แม้นโยบายระยะสั้นจะสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนได้ระดับหนึ่ง แต่ในฐานะที่รัฐบาลมีที่ปรึกษามากประสบการณ์และขึ้นชื่อเรื่องการทำให้ “คนไทยมีกิน มีใช้” ประชาชนจึงคาดหวังเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ “สื่อสารเป็น-เห็นผลชัด-จับต้องได้” ให้มากขึ้นItem ผลการสำรวจ : การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-08) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เรื่อง “การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ” ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,149 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ร้อยละ 57.88 โดยอยากให้ผู้สมัครนำเสนอนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมในชุมชน ร้อยละ 72.58 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร คือ นโยบายของผู้สมัคร ร้อยละ 67.42 ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยหากมองว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งระดับชาติ ร้อยละ 52.13 สุดท้ายในการทำงานท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในพรรคประชาชนมากที่สุด ร้อยละ 30.73 รองลงมาคือ เพื่อไทย ร้อยละ 22.38 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 9 - 12 กรกฎาคม 2567 พบว่า คะแนนของพรรคประชาชน (ก้าวไกลเดิม) ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.53 เหลือร้อยละ 30.73 ในขณะที่พรรค เพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.79 เป็นร้อยละ 22.38 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมองการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งระดับชาติมีทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกัน โดยอาจมีความเชื่อมโยงกันทางการเมือง และการสนับสนุนของพรรคและบทบาทของบ้านใหญ่ก็มีผลต่อการเลือกตั้ง ด้านพรรคประชาชนนอกจากมีกระแสในการเลือกตั้งระดับชาติแล้ว ก็ยังมีกระแสในการเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นกัน แต่หากพรรคไม่สามารถล้มบ้านใหญ่ได้ก็อาจจะยากในสนามแข่งขันItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่ 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-05-26) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,127 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 พบผล ดังนี้ • ร้อยละ 54.30 ทราบว่าผู้สมัคร สว. ต้องมีอายุครบ 40 ปี ประสบการณ์ 10 ปี และเสียค่าสมัคร 2,500 บาท • ร้อยละ 57.68 ทราบว่าผู้สมัคร สว. หาเสียงไม่ได้ แนะนำตัวได้เท่านั้น • ร้อยละ 55.81 ไม่ทราบว่ามีการเลือก สว. รอบแรกวันที่ 9 มิ.ย. 67 • ร้อยละ 50.31 ไม่ทราบว่ามีเฉพาะผู้สมัคร สว. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก สว. • ร้อยละ 52.35 ไม่ทราบว่า สว. ชุดใหม่มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรตรวจสอบอิสระ และเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ • ความคาดหวังของประชาชน ต่อ สว.ชุดใหม่ พบว่า อันดับ 1 สว.ควรใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ถูกต้อง ร้อยละ 56.71 รองลงมาคือ ประวัติดี ซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 53.88 และตั้งใจทำงาน เป็นที่พึ่งของประชาชน ร้อยละ 44.24 นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลเผยให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อจำกัดของผู้สมัคร สว. อยู่บ้าง อย่างไรก็ตามหลายคนยังไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งรอบแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 และสับสนเกี่ยวกับสิทธิ์ในการเลือก สว. โดยมีเพียง 49.69% ที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์เลือก สว. การที่ผลโพลสะท้อนว่าประชาชนขาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและบทบาทของ สว. ทั้ง ๆ ที่ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว สะท้อนถึงความจำเป็น ในการสื่อสารข้อมูล และ กกต. ควรเร่งสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้น เพื่อให้การเลือกตั้ง สว. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-27) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 77.47 อยากให้สื่อนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ให้ข้อมูลครบถ้วน ร้อยละ 67.74 โดยมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่อไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าระหว่างกัน ร้อยละ 73.70 หลังการเลือกตั้งเศรษฐกิจไทยก็น่าจะยังเหมือนเดิม ร้อยละ 57.02 โดยคิดว่าคามาลา แฮร์ริส (พรรคเดโมแครต) จะชนะการเลือกตั้ง ร้อยละ 43.06 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยคาดหวังให้สื่อไทยรายงานอย่างเป็นกลาง ครบถ้วน และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทย ในด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้คาดว่าคามาลา แฮร์ริสจะชนะ โดยมีคะแนนนำไม่เกิน 5% ซึ่งสอดคล้องกับผลโพลหลายสำนักในสหรัฐฯ จึงต้องจับตาดูว่าผลจริง จะเป็นอย่างไรItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-08) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,246 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 3-6 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 56.02 โดยเป็นแผนเที่ยวในประเทศ ร้อยละ 90.26 ต่างประเทศ ร้อยละ 9.74 จังหวัดที่อยากไปเที่ยวมากที่สุด คือ เชียงใหม่ ร้อยละ 56.83 รองลงมาคือ เชียงราย ร้อยละ 49.05 โดยคาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ เฉลี่ยประมาณ 17,317.10 บาท/ต่อคน จากที่รัฐบาลประกาศจะมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ของขวัญที่อยากได้มากที่สุด คือ มาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ ร้อยละ 59.95 รองลงมาคือ ช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงานต่าง ๆ ร้อยละ 58.03 ทั้งนี้แนวคิดในการ “มอบของขวัญให้ประชาชนช่วง ปีใหม่จากรัฐบาล” มองว่าควรเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 60.76 สุดท้ายปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไขก่อนปีใหม่ คือ ปัญหาค่าครองชีพ ร้อยละ 66.48 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนคาดหวังจากรัฐบาล คือ มาตรการแจกเงิน สะท้อนภาระค่าครองชีพที่เป็นปัญหาหลักในปัจจุบัน ความต้องการของประชาชนไม่ได้เป็นเพียง “ความหวัง” แต่เป็น “สัญญาณ” ที่สะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในประเทศ รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสช่วงปีใหม่พัฒนานโยบายเศรษฐกิจที่มีผลยั่งยืน เพื่อไม่ให้ “ของขวัญ” กลายเป็นเรื่องพิเศษแต่กลับสะท้อนปัญหาพื้นฐานในสังคมItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-07-14) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าปัจจุบัน “ปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” เป็นปัญหารุนแรง ร้อยละ 78.80 โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.07 มีหนี้สินส่วนตัวและคิดเป็นประมาณ 20 – 50% ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ร้อยละ 47.99 เคยถูกเลิกจ้าง/เห็นคนใกล้ตัวถูกเลิกจ้าง ด้านความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มโอกาสในการทำงาน/จ้างงาน ร้อยละ 79.02 ส่วนปัญหาหนี้สินอยากให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับประชาชน ร้อยละ 79.16 ส่วนปัญหาเลิกจ้างงาน อยากให้ช่วยส่งเสริมการสร้างงานใหม่/ช่วยหางานใหม่ ร้อยละ 77.34 โดยกลุ่มตัวอย่างมองว่าแนวทางที่จะทำให้คนไทย “กินดีอยู่ดีไม่มีหนี้สิน” คือ ต้องมีงานทำ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละ 34.06 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงานเป็นปัญหาที่รุนแรงและต้องแก้ไขเร่งด่วน ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องและผลกระทบจากโควิด-19 การมีหนี้สินส่วนตัวที่สูงและการเลิกจ้างงานทำให้ประชาชนรู้สึกถึงภาระทางการเงินที่หนักหน่วง รัฐบาลจึงควรเน้นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสในการทำงานและจ้างงาน ผลักดันนโยบายเรือธงที่หาเสียงไว้โดยเน้นผลลัพธ์ของโครงการ ที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ช่วยให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถจัดการกับหนี้สินได้ดีขึ้นItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับนายกรัฐมนตรี(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-08-16) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทย ณ วันนี้” ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,147 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจข่าวการเมืองในช่วงนี้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.42 โดยสนใจข่าวยุบพรรคก้าวไกลเป็นพิเศษ ร้อยละ 75.65 เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์การเมือง ณ วันนี้กับช่วงที่ผ่านมา คิดว่าแย่ลง ร้อยละ 67.57 ด้านความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเศรษฐา กลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 63.73 ด้านกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีก็เห็นว่าควรปรับ ร้อยละ 55.62 สุดท้ายมองว่าทิศทางการเมืองไทยต่อจากนี้น่าจะแย่ลง ร้อยละ 68.44 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนความวิตกกังวลของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการยุบพรรคก้าวไกลที่กระตุ้นความสนใจข่าวการเมือง การมองว่าการเมืองแย่ลงสะท้อนถึงความไม่พอใจต่อการบริหารงาน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจแม้จะมีความคืบหน้านโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก็ยังไม่เพียงพอ ความเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ต่ำและการสนับสนุนการปรับคณะรัฐมนตรีแสดงถึงความคาดหวังในการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นความท้าทายที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-23) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ส่งผลกระทบทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ร้อยละ51.01 โดยคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด คือ เรื่องค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว ร้อยละ 82.94 ทั้งนี้เห็นว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 69.50 โดยนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ร้อยละ 76.58 เมื่อถามว่าหากอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างมองว่าเศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 41.63 สุดท้ายเมื่อคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2568 นี้ ร้อยละ 46.01 มองว่าก็น่าจะเหมือนเดิมเช่นกัน นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เป็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แม้รัฐบาลพยายามเร่งอัดฉีดเงินหมื่นเข้าไปกระตุ้น แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า นี่คือความท้าทายของรัฐบาลเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างชื่อจากความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ วันนี้ต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศItem ผลการสำรวจ : คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-22) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม” ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77 สาเหตุหลักของน้ำท่วม คือ การกระทำของมนุษย์ ร้อยละ 42.49 ในช่วงน้ำท่วมเตรียมพร้อมรับมือด้วยการติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด ร้อยละ 70.05 ด้านความเชื่อมั่นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 69.76 และไม่พึงพอใจต่อการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ร้อยละ 77.80 ทั้งนี้สิ่งที่อยากฝากบอกรัฐบาลแพทองธาร คือ อยากให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและทันท่วงที ร้อยละ 64.07 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยประสบปัญหาน้ำท่วม แม้จะสามารถเตรียมรับปัญหาได้ด้วยตนเองส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เชื่อมั่นในความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและรู้สึกไม่พึงพอใจกับการจัดการปัญหาปัจจุบัน โดยคาดหวังให้เร่งช่วยเหลือและบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีแผนป้องกันระยะยาวและมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจประชาชนให้มากขึ้นItem ผลการสำรวจ : ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-09) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ เรื่อง “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,386 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.28 ไปเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา อีกร้อยละ 36.72 ไม่ได้ไปเพราะติดภารกิจ ต้องทำงาน โดยคิดว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์เพราะติดธุระ ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ ร้อยละ 68.99 รองลงมาคือ ตรงกับวันเสาร์ ร้อยละ 47.18 ทั้งนี้มองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 52.89 เพราะผู้สมัครท้องถิ่นเป็นคนในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาของชุมชนได้ดี มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่า โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งนายก อบจ. ครั้งนี้ คือ ประชาชนมีแนวคิดใหม่ ๆ ในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ร้อยละ 54.91 สุดท้ายในแง่ของผลการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนั้นอาจต้องรอดูผลลัพธ์ในระยะยาว ร้อยละ 26.98 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ควันหลงการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของอำนาจในแต่ละพื้นที่ ผู้ใช้สิทธิที่ลดลงจากความไม่สะดวกและการเลือกตั้งที่ตรงกับวันเสาร์และการตั้งคำถามถึงการประชาสัมพันธ์ของ กกต. สร้างความสงสัยให้กับประชาชน สำหรับพรรคการเมืองที่ลงสนามแบบเปิดหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ประชาชนต้องการ “ผู้นำใกล้ชิด” และ “เข้าใจพื้นที่” มากกว่าผู้นำในเชิงนโยบายกว้าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการเมืองระดับชาติItem ผลการสำรวจ : ความคาดหวังของประชาชน ต่อ ครม.ชุดใหม่(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-08-25) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชน ต่อ ครม.ชุดใหม่” ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,164 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างอยากให้ ครม. ชุดใหม่ควรต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ร้อยละ 74.43 และคาดหวังว่าจะทำงานดีขึ้น กระทรวงต่าง ๆ ร่วมมือกันทำงานได้ดีขึ้น ร้อยละ 70.30 โดยมองว่า “ความซื่อสัตย์และจริยธรรม” ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือก ครม.ชุดใหม่ ร้อยละ 84.19 การปรับ ครม. ครั้งนี้คาดหวังว่าน่าจะส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลดีขึ้น ร้อยละ 46.39 สุดท้ายการปรับ ครม. จะส่งผลต่อสถานการณ์บ้านเมืองอย่างไรนั้น ยังคาดการณ์อะไรไม่ได้ ร้อยละ 30.50 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลไม่ว่าจะกี่ครั้งของรัฐบาลนี้ ประชาชนยังคงให้ความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ค่าครองชีพ ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่กระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยมีความหวังว่า ครม. ชุดใหม่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ โปร่งใส เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล แม้ประชาชนจะมีความหวังแต่ก็ยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมืองจะไปในทิศทางใด เนื่องจากยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้Item ผลการสำรวจ : ความคาดหวังต่อการทำงานของ “ผบ.ตร.คนใหม่”(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-13) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังต่อการทำงานของ ผบ.ตร.คนใหม่” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,244 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัญหาขององค์กรตำรวจ ณ วันนี้ คือ การมีความขัดแย้งภายในองค์กร ร้อยละ 65.84 สิ่งที่อยากให้ผบ.ตร.คนใหม่ เร่งดำเนินการ คือ การปฏิรูปองค์กรตำรวจให้โปร่งใส ร้อยละ 76.49 โดยรวมค่อนข้างคาดหวังกับ ผบ.ตร. คนใหม่ ร้อยละ 45.90 สิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น คือ ต้องยกระดับมาตรฐานการทำงานของตำรวจให้ดีขึ้น ร้อยละ 73.70 สุดท้ายสิ่งที่อยากบอกเป็นพิเศษกับ ผบ.ตร.คนใหม่ คือ ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ทำเพื่อประชาชน ร้อยละ 43.13 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลการสำรวจชี้ว่าความขัดแย้งภายในองค์กรตำรวจเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม ประชาชนจึงอยากเห็นการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ยกระดับมาตรฐานการทำงาน สร้างผลงานที่จับต้องได้ และเร่งจัดการปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์โดยด่วน โดยมีความหวังว่า ผบ.ตร.คนใหม่จะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งทำงานช่วยเหลือประชาชนPublication ผลการสำรวจ : ความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-06) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน (สำรวจทางภาคสนาม) พบว่า สถานะทางการเงินของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินไม่พอใช้และมีหนี้ ร้อยละ 46.75 จากเงินที่ได้รับได้นำไปใช้ซื้อของกินของใช้ ร้อยละ 47.00 โดยมองว่านโยบายนี้ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้มาก ร้อยละ 57.75 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้พอสมควร ร้อยละ 53.61 ส่งผลให้ค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 50.65 อยากให้รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนเพิ่ม คือ การเพิ่มเงินเดิน ค่าจ้าง สร้างงาน สร้างอาชีพ ร้อยละ 31.70 ทั้งนี้จากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ทำให้รู้สึกชื่นชอบพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.70 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาทช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยเงินส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ซื้อของกินของใช้ที่จำเป็นและชำระหนี้ โดยมีจำนวนไม่มากนักที่จะนำไปลงทุนต่อยอด แม้จะเห็นว่านโยบายนี้ช่วยเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลเพื่อไทย แต่ประชาชนยังคงต้องการเพิ่มค่าจ้าง การจ้างงาน และสร้างอาชีพ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงได้Item ผลการสำรวจ : ความสุขของครูและนักเรียนในปี 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-10-01) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของครูและนักเรียนทั่วประเทศเกี่ยวกับความสุขที่ต้องการในปี 2567 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,184 คน ผลสำรวจพบว่า ครูต้องการความสุข จากการลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการสอน (65.77%) ปรับเงินเดือนให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ (62.18%) รวมถึงต้องการเห็นลูกศิษย์ตั้งใจเรียนและประสบความสำเร็จ (56.20%) นอกจากนี้ ครูยังอยากให้การทำงานราบรื่น มีความก้าวหน้า (55.46%) และมีชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมครอบครัวที่มีความสุข (44.39%) สำหรับนักเรียน ความสุขที่ต้องการมากที่สุดคือ การมีเงินเพียงพอสำหรับค่าเล่าเรียนและไม่ลำบาก (57.08%) รองลงมาคือ ครูและผู้ปกครองมีความสุขกับการเรียนของพวกเขา (52.50%) ครอบครัวอบอุ่นแข็งแรง (50.21%) พ่อแม่มีเวลาให้และทำกิจกรรมร่วมกัน (48.54%) รวมถึงการได้รับความเข้าใจจากครูและมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเอง (41.04%) ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการด้านคุณภาพชีวิตและการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสุขให้ทั้งครูและนักเรียนในปี 2567Item ผลการสำรวจ : ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-02-16) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,255 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ณ วันนี้ เป็นปัญหาที่รุนแรง ร้อยละ 88.61 โดยตั้งแต่ ปี 2562 ที่เริ่มมีปัญหาฝุ่นจนถึงปัจจุบันส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ซื้อหน้ากาก ซื้อยา ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ร้อยละ 71.16 โดยมองว่าการแก้ไขปัญหาฝุ่นของรัฐบาลยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 73.39 ทั้งนี้รัฐบาลควรมีมาตรการด้วยการควบคุมการเผาที่ทำให้เกิดมลพิษอย่างเข้มงวด ร้อยละ 82.46 ทั้งนี้หน่วยงานที่ควรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 คือ กรมควบคุมมลพิษ ร้อยละ 75.82 รองลงมาคือ นายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 63.13 ส่วนในอนาคตประเทศไทยจะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นPM 2.5 ได้สำเร็จหรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างมองว่ายากที่จะแก้ไขได้ มาจากหลายสาเหตุ เป็นปัญหาที่วนกลับมาซ้ำ ร้อยละ 62.95 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่รุนแรงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนผ่านผลโพล ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน แม้ทุกฝ่ายจะตระหนักถึงสาเหตุหลักของมลพิษ แต่การแก้ไขกลับยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก สิ่งที่ประชาชนต้องการไม่ใช่แค่การให้ข้อมูลค่าฝุ่นรายวัน แต่เป็นมาตรการที่เข้มข้นและบังคับใช้จริงจังและทันที ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่านอกจากคุณภาพอากาศที่แย่ลงแล้ว ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลก็อาจถดถอยตามไปด้วย
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »