SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing SDP-Public Opinion Poll : Public Survey Results by Subject "POll"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item ผลการสำรวจ : "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนกันยายน 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-29) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกันยายน 2567 เฉลี่ย 4.80 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2567 ที่ได้ 4.46 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.41 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.32 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.70 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 29.94 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 38.43 รองลงมา คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 34.10 ผลงานฝ่ายรัฐบาล ที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เริ่มจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 61.33 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบงบประมาณ ปี 2568 ร้อยละ 50.78 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯคนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่นในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้างItem ผลการสำรวจ : การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-08) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เรื่อง “การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ” ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,149 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ร้อยละ 57.88 โดยอยากให้ผู้สมัครนำเสนอนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมในชุมชน ร้อยละ 72.58 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร คือ นโยบายของผู้สมัคร ร้อยละ 67.42 ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยหากมองว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งระดับชาติ ร้อยละ 52.13 สุดท้ายในการทำงานท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในพรรคประชาชนมากที่สุด ร้อยละ 30.73 รองลงมาคือ เพื่อไทย ร้อยละ 22.38 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 9 - 12 กรกฎาคม 2567 พบว่า คะแนนของพรรคประชาชน (ก้าวไกลเดิม) ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.53 เหลือร้อยละ 30.73 ในขณะที่พรรค เพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.79 เป็นร้อยละ 22.38 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมองการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งระดับชาติมีทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกัน โดยอาจมีความเชื่อมโยงกันทางการเมือง และการสนับสนุนของพรรคและบทบาทของบ้านใหญ่ก็มีผลต่อการเลือกตั้ง ด้านพรรคประชาชนนอกจากมีกระแสในการเลือกตั้งระดับชาติแล้ว ก็ยังมีกระแสในการเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นกัน แต่หากพรรคไม่สามารถล้มบ้านใหญ่ได้ก็อาจจะยากในสนามแข่งขันItem ผลการสำรวจ : ดัชนีการเมืองไทย เดือนสิงหาคม 2567(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-09-01) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนสิงหาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,249 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-30 สิงหาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนสิงหาคม 2567 เฉลี่ย 4.46 คะแนน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ได้ 4.59 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.39 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.05 คะแนน (ลดลงจากเดือนกรกฎาคม) นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 49.73 รองลงมาคือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 28.52 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 44.77 รองลงมา คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 32.35 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 41.44 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบรัฐบาล เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง ร้อยละ 51.29 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจดัชนีการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 ภาพรวมคะแนนลดลงจากเดือนก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีในช่วงกลางเดือนและการปรับคณะรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ประชาชนเท่าที่ควร ในขณะที่ความนิยมในตัวนายกฯแพทองธาร ชินวัตร และผู้นำฝ่ายค้านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงความสนใจและความคาดหวังที่สูงขึ้นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ถือเป็นความท้าทายที่ทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญในช่วงนี้