Thesis
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Thesis by Subject "การขยายโอกาสทางการศึกษา การจัดการ พังงา"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2010) ศรัณยา ขวัญทองการวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสภาพ ปัจจุบันของการจัดการศึกษา คือ ผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการโรงเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอท้ายเหมือง เขตพื้นที่การศึกษาพังงา จํานวน 82 คน ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา ได้แก่ผู้อํานวยการโรงเรียน จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาคเท่ากับ 98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาItem ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) อับดุลอาซีร์ ยาหมายการวิจัยเรื่อง ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา จําแนกตาม เพศ ระดับ การศึกษา ประสบการณ์การสอน ระดับชั้นที่ปฏิบัติการสอน และการเข้ารับการอบรมการใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ดําเนินการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา จํานวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ