ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา–พ.ศ. 2475
Loading...
Date
2024-06-15
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา–พ.ศ. 2475
Authors
Recommended by
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัย อยุธยา–พ. ศ. 2475 ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลี่คลายตัวของรัฐไทยจากสังคมรัฐจารีตมาสู่รัฐสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่าในสมัยที่เป็นรัฐจารีตคือสมัยอยุธยาและก่อนหน้านั้น พุทธศาสนากับกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกัน โดยตรงน้อยมาก เนื้อหาและหลักค าสอนของพุทธศาสนามิได้ถูกน ามาบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยตรงในกฎหมายต่าง ๆ หลักการทางพุทธศาสนามีบทบาทเน้นต่อตัวผู้ปกครองเป็นส าคัญที่ให้ปกครองอย่างมีธรรม ถ้าผู้ปกครองมีธรรมแล้ว สังคมก็เป็นธรรม จนกระทั่งสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่เริ่มมีการตรากฎหมายมาบังคับใช้คณะสงฆ์เกี่ยวกับ การประพฤติตนให้อยู่ในวัตรปฏิบัติตามพระวินัยและจารีตที่ดีงาม อันเนื่องมาจากวัตรปฏิบัติที่ย่อหย่อนของคณะสงฆ์ใน เวลานั้น ท าให้เกิดผลพลอยได้ที่คณะสงฆ์ได้เข้ามาสู่การควบคุมจากฝ่ายอาณาจักร และเมื่อเข้าสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ใน ลักษณะที่เรียกว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มที่ พุทธศาสนาและกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้น ในรูปแบบที่ คณะสงฆ์ก็ได้รับการจัดการจากรัฐไทยด้วยกฎหมายคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ ท าให้พระสงฆ์มิเพียงอยู่ภายใต้บังคับของ พระธรรมวินัยเท่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองด้วยเช่นกัน และในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้ที่สถานะของ พุทธศาสนาได้รับการยกย่องโดยนัยยะทางกฎหมายว่าเป็นศาสนาประจ าชาติไทยจากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบ ราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ที่ก าหนดว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพุทธศาสนูปถัมภก
Description
Citation
บทความวิชาการ